Custom Search

Dec 4, 2009

'สัปปายะสภาสถาน' ถอดรหัสรัฐสภาแห่งศีลธรรม




รัชดา ธราภาค

วันที่ 3 ธันวาคม 2552 01:00


เจาะไอเดียทีมสถาปนิกผู้คว้าชัย
การประกวดออกแบบก่อสร้าง
อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ที่มุ่งสร้างผลงานออกแบบ
ทางสถาปัตย์สื่ออัตลักษณ์ไทย
พร้อมๆ กับ
ประเด็นศีลธรรม "ข้างใน" เพื่อไปสู่สังคมสงบร่มเย็น


หลังจากรอลุ้นกันมาหลายเดือน
ในที่สุดผลการประกวดแบ
บก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ก็ถู
กประกาศกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปรากฏว่า 'สัป
ปายะสภาสถาน' ผลงานที่มี
ธีรพล นิยม จากอาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สถาบันอาศรมศิลป์ เป็นหัวหน้าทีม ก็ผ่านการพิจารณา
โดยทีมงานได้ให้ความหมายของชื่อไว้สั้นๆ ว่า
สัปปายะ แปลว่า สบายในทางธรรม


ดังนั้น สัปปายะสภาสถาน
จึงหมายถึงสถานที่ประกอบกรรมดี

และ
นี่จะเป็นที่ทำงานในอนาคตอันใกล้
ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และสมาชิกวุฒิสภาผู้ทรงเกียรติ
บนเนื้อที่ 300,000 ตาราง
เมตรในย่านเกียกกาย

"รัฐสภาไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะในระดับประเทศ
แต่ยังมีความหมายที่สื่อไปถึงนานาประเทศ
เราจึงหวังให้อาคารแห่งนี้สะท้อนภูมิปัญญาไทยให้ทุกชาติได้รับรู้"


ธีรพล อธิบายถึงคอนเซปต์โดยรวมของงานออกแบบครั้งนี้
ว่ามาจากโจทย์ 4 ข้อของทีมงาน
ได้แก่

1.ทำอย่างไร สถาปัตยกรรมจึงจะตอบสนองประโยชน์ใช้สอย
พร้อมกับการทำหน้าที่พลิกฟื้นจิตวิญญาณสังคม
ซึ่งปัจจุบันเผชิญวิกฤติศีลธรรม
2.ทำอย่างไร จะมีอัตลักษณ์ไทย
ที่คนทั่วไปเข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความ
และเป็นการแสดงออกว่าอาคารที่เป็นสัญลักษณ์ไทย
ที่ต้องสร้างบนแผ่นดินไทยเท่านั้น

3.ทำอย่างไร อาคารจึงจะสามารถ
สร้างให้สังคมเกิดการเรียนรู้ครั้งใหม่

4.ทำอย่างไร จึงจะเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสำนึกถึง
ความเป็นพลเมือง
ทำให้เกิดความใกล้ชิด
ไม่แปลกแยกระหว่างรัฐกับประชาชน
ทีมงานจึงตอบโจทย์เหล่านี้ผ่านสถาปัตยกรรมที่ออกแบบด้วย
ภูมิปัญญาตามคติทางพุทธศาสนา ได้แก่ แบบแผนไตรภูมิ
โดยมุ่งหมายเพื่อพลิกฟื้นจิตใจของผู้ค

ด้วยการสำนึกถึงบาปบุญคุณโทษ
อันจะนำไปสู่บ้านเมืองแห่งความสงบสุข ร่มเย็น


สะท้อน 5 อุดมการณ์ผ่านงานดีไซน์

ด้วยแนวคิดดังที่กล่าวมา นำไปสู่การสะท้อนอุดมคติ 5 ประกา
ผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรม
ซึ่ง ชาตรี ลดาลลิตสกุล
จาก บจก.ต้นศิลป์สตูดิโอ ผู้รับหน้าที่เป็นสถาปนิกโครงการ
เปิดเผยว่าประกอบด้วยอุดมคติเรื่อง
ชาติ, ศีลธรรม, สติปัญญา, สถาบันกษัตริย์ และประชาชน


โดยอุดมคติความเป็น 'ชาติ' นั้น มุ่งสร้างผลงานสถาปัตยกรรม
ซึ่งแสดงถึงความเป็นชาติไทย
ที่มี
ความรุ่งเรืองให้ปรากฏต่อสายตาสังคมโลก
ขณะที่ อุดมคติว่าด้ว
'ศีลธรรม'
ทีมนักออกแบบ
หวังจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งก่อสร้าง
ที่เป็นศูนย์รวมของศีลธรรมและการทำความดี
โดยนำคติโบราณมาเป็นตัวขับเคลื่อน
ด้วยการอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชมาประดิษฐาน

ยังหลังคาเครื่องยอดของตัวอาคาร

อุดมคติในข้อ ''สติปัญญา" สะท้อนผ่านพิพิธภัณฑ์ชาติไทย
ภายในอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เพื่อ
หวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้
ทั้งสำหรับเยาวชนและชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมเยือน


รวมทั้งแนวคิดของทีมสถาปนิกที่ต้องการสะท้อนถึง
'สถาบันกษัตริย์' ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจคน
ไทยทั้งชาติ
จึงเสนอจัดสร้างโถงพระราชพิธีขึ้นภายในอาคาร กับอีกด้า
นคือ
'ประชาชน' ที่อาคารแห่งนี้จะไม่ใช่สถานที่ซึ่งประชาชนไม่อาจเข้าถึง
แต่มุ่งออกแบบเพื่อแสดงถึงการต้อนรับทั้งประชาชนที่จะมาเยี่ยมชม
รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นไปยังรัฐสภา


นอกจากอุดมคติทั้ง 5 ประการ
งานออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่

ยังให้ความสำคัญสูงสุดกับ
ระบบความปลอดภัย
แต่เน้นดีไซน์ที่ดูกลมกลืน
เช่นการใช้คูน้ำเป็นด่านเพื่อป้องกันภัยในยามฉุกเฉิน
และให้ความรู้สึกต้อนรับในภาวะปกติ


สถาปนิกโครงการยังเน้นย้ำถึง
ความทันสมัยในด้านแนวคิดการออก
แบบ
ซึ่งทีมงานหวังให้อาคารแห่งนี้เป็น
ต้นแบบของ Green Architecture
ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อคนพิการ

โดยในขั้นตอนการทำงานมีผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะทางกว่า 20 คนเข้าร่วมคิดร่วมดีไซน์


อาคารรัฐสภาซึ่งคนส่วนใหญ่คุ้นชินว่าเป็น
เพียงที่ประชุมของบรรดาสมาชิกรัฐ
สภานั้น
"ชาตรี" ชี้ว่าที่จริงแล้วรัฐสภาทั่วโลกไม่ได้เป็นเพียงห้องประชุม
แต่ด้วยความจำกัดของสถานที่อาคารรัฐสภาหลังเดิม
ทำให้แม้ภาระงานที่จำเป็นก็ยังถูกใช้สอยอย่างอัตคัด
ไม่ว่าจะเป็นห้องทำงาน
ของ ส.ส., ส.ว.ซึ่งไม่เพียงพอ
สถานีโทรทัศน์ของรัฐสภา
ที่แออัดอยู่ในห้องเล็กๆ ชั้นบนของสโมสร
แล้วยังมีโรงพิมพ์ของรัฐสภา
ไม่ต้องพูดถึงที่จอดรถซึ่งเป็นปัญหาใหญ่
สำหรับหลายคนที่
มีความจำเป็นต้องเดินทางไปรัฐสภา
ด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลย่อมรับรู้กันดี


อาคารแห่งใหม่จึงหมายถึง การใช้สอยพื้นที่
อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เพื่อเอื้อต่อการ
ทำงานของสมาชิกรัฐสภา
รวมทั้งข้าราชการในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาอีกราว 5,000 คน
สโมสรที่พร้อมสำหรับการจัดเลี้ยงรับรอง อย่างสมฐานะ
ขณะที่จอดรถรองรับจำนวนรถได้กว่า 2,000 คัน


ส่วนที่ทีมงานสถาปนิกเสนอเพิ่มนอกเหนือจากทีโออาร์
(เงื่อนไขการประมูล) ได้แก่ พิพิธภัณฑ์
ชาติไทย

ไตรภูมิ สู่งานออกแบบสถาปัตย์


แนวคิดที่เป็นนามธรรมเหล่านี้
ถูกนำมาขยายความให้เป็นรูปธรรม

ผ่านคติธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่ง
ปิยเมศ ไกรฤกษ์ จาก บจก.บลูพลาเน็ต อินเตอร์เนชั่นแนล
ที่ดูแลด้านภูมิสถาปนิก
ของโครงการ
รับหน้าที่ให้คำอธิบายในส่วนนี้ผ่านแนวคิดเรื่อง "ไตรภูมิ"


"เรามองว่าตัวอาคารรัฐสภาเป็นเรื่องทางโลกก็คือโลกียะ
ส่วนยอดชั้นบนถือเป็นส่วนศีลธรรมที่คอยกำกับคือโลกุตตรธรรม
อันเป็นมุมมองแนวตั้ง ส่วนแนวนอนที่เป็นงานภูมิทัศน์นั้น
ทิศทั้ง 3
คือ เหนือ ใต้ และตะวันออก
เรามองเป็นแดนสามัญที่เรียกว่า 'โลกียะ'
ซึ่งจะรองรับประชาชนทุกกระแส ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมเยือน
หรือรวมตัวแสดงพลัง ขณะที่ทิศตะวันตกริมฝั่งแม่น้ำ
ผม
เรียกว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็น
'โลกุตตระ' ซึ่งภูมิทัศน์ถูกจัดแบบโบราณจำลองเขาพระสุเมรุ"


งานของ "ปิยเมศ" คืองานแนวราบหรือ landscape
และที่เขาพูดถึง "โลกียะ" ซึ่งจะรองรับ
ประชาชนคนสามัญ
ขยายความว่าหมายถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ได้แก่ สถานีรถไฟใต้ดิน ท่า
เรือ และที่สำคัญ "ลานประชาธิปไตย"
ที่เตรียมไว้สำหรับประชาชนที่จะมารอพบสมาชิกรัฐสภา

และมีส่วนที่จัดไว้สำหรับผู้สื่อข่าวที่จะมารอทำข่าว
รวมถึงโพเดี้ยมสำหรับนักการเมืองที่จะมายืน
แถลง
หรือให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน


ขณะที่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
สมมติให้เป็นโซน "โลกุตตระ"
เน้นภูมิทัศน์
โบราณจำลองเขาพระสุเมรุ
มีกำแพงแก้วลอยอยู่เหนือยอดมะกอก
ที่ถือเป็นไม้ตำนานแห่งเมือง
บางกอก
ส่วนด้านล่างเสมือนเชิงเขาอยู่ริมฝั่งน้ำ
วางให้เป็นต้นไทรใบแหลม
ซึ่งปัจจุบันถือเป็น
อีกไม้มงคลประจำเมืองกรุงเทพมหานคร

"ภูมิทัศน์ริมน้ำตอนกลางวันจะสงบนิ่ง เหมือนสถาปัตยกรรมไทย
ที่ชี้แนวทางแห่งโลกุตตระ ส่วนตอนกลางคืน
เมื่อแสงไฟส่องสว่างตรงยอดเจดีย์จากกำแพงแก้ว
เปรียบได้กับจิตสว่างและสงบ
เวลานั่งเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณนี้
จะสัมผัสได้ถึงความสงบ สื่อถึงความไม่มีตัวตน ไม่มี
สิ่งใดควรยึดถือ"

รัฐสภาอันศักดิ์สิทธิ์แห่งยุคสมัย


ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ บุญญฤทธิ์ ขอดิลกรัตน์
จาก บจก.แปลนแอสโซซิเอทส์ เปิดเผยว่า
นี่เป็นผลงานที่ภาคภูมิใจในฐานะ
คนทำงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม
ซึ่งที่ผ่านมา งานสร้างสรรค์ที่สะท้อนความเป็นไทย
น้อยนักที่จะมีโอกาสได้ใช้สอย
ในอาคารสาธารณะที่มีความ
สำคัญระดับประเทศ

"ทุกคนรู้สึกว่าสถาปัตยกรรมไทยตายแล้ว
สิ่งก่อสร้างมีแต่ความทันสมัยที่เราเดินตามตะวันต
มาตลอด
การมีโอกาสได้ออกแบบอาคารสาธารณะซึ่งมีความสำคัญ
ประชาชนสามารถมีส่วน
ร่วมในการใช้สอย
และอยู่ในที่ตั้งซึ่งมีมุมมองที่โดดเด่นจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างนี้
ถือเป็น
ความฝันของนักออกแบบสัญชาติไทย"

ขณะที่ ชาตรี ลดาลลิตสกุล ไขข้อสงสัยของหลายคนที่รู้สึกไม่คุ้นชิน
ที่เรื่องของศีลธรรมกับ
รัฐสภาจะมารวมกันอยู่ในที่เดียว
โดยทีมงานยอมรับว่านี่เป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกตั้งคำถามว่า
ทำไมดีไซน์ของรัฐสภาถึงออกมาดูคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นวัด

"เวลาพูดถึงศีลธรรม คนชอบถามว่ามันเกี่ยวอย่างไรกับรัฐสภา

เราคิดว่าเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ได้

การเมืองคือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งชาติ
จึงมีความสำคัญที่เราจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ
รวมถึงสื่อความหมายถึงศีลธรรมและการทำ
ความดี"
สถาปนิกโครงการ เชื่อมั่นในพลังของสถาปัตยกรรม
ที่สามารถสร้างให้เกิดสภาวะอันศักดิ์สิทธิ์
และมองว่านี่เป็นโอกาสที่สังคม
จะได้เรียนรู้ถึงพลังของงานสร้างสรรค์แขนงนี้
รวมทั้งเน้นย้ำถึงการสร้างอาคารรัฐสภา
ที่เป็นสัญลักษณ์ของศีลธรรมและความดี
ที่ทีมงานมองว่าเป็นหัวใจของ
การอยู่ร่วมกันในสังคม

สัปปายะสภาสถาน อาคาร รัฐสภา
เพื่อความสงบและความดี
อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ สัปปายะสภาสถาน
ซึ่งเป็นที่ตั้งของการประชุมรวมกัน ของสมาชิกสภา ซึ่งคำว่า
สัปปายะ ในความหมาย ความสบาย
ซึ่งสถานที่รัฐสภาเป็นสถานที่สำคัญในการทำงาน
เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะงานที่ ส.ส. ส.ว. ทำงานเป็นงานที่ศักดิ์สิทธิ์
เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสงบร่มเย็นของประเทศชาติ
ซึ่งการออกแบบเน้นสบายที่กาย และใจ
จึงเป็นที่มาของความหมาย
สัปปายะสภาสถาน อาคารรัฐสภาแห่งใหม่

โครงการประกวดแบบรัฐสภาไทยแห่งใหม่
สถาปัตยกรรม "ไตรภูมิ"
การสถาปนา "เขาพระสุเมรุ" ครั้งใหม่ในยุครัตนโกสินทร์…
เพื่อนำสังคมไทนสู่ภาวะ "บังอบายเบิกฟ้า ฝึกฟื้นใจเมือง"

วัตถุประสงค์ของการเผยแพร่
๑. เพื่อจะเป็นการให้ข้อมูลให้สาธารณะชนได้รับทราบ
๒. เพื่อต้องการความเห็น ที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ในการทำงานต่อไป
เท่าที่เงื่อนไขจะอำนวย
๓. เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในสังคม

สงบ ๑o๕๑
อาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์
ต้นศิลป์ สตูดิโอ
แปลน สตูดิโอ
บลูแพลนเนต ดีไซน์ อินเตอร์เนชั่นแนล
แปลน แอสโซซิเอทส์


ธีรพล นิยม "แปลนกรุ๊ป" ธุรกิจคนหนุ่มที่ไม่หยุดนิ่ง




นิตยสารผู้จัดการ
พฤศจิกายน 2529

ธุรกิจสถาปนิกเดินหน้าด้วย "ไอเดีย"
จุดเริ่มต้นไม่จำเป็นต้องมีเงินลงทุน
แปลนอาคิเตคเริ่มต้นด้วยมันสมองของคน 7 คนรวมกัน

ค่อย ๆ สะสมทุนจากไม่มีเลย

จนถึงวันนี้ธุรกิจของพวกเขา
มีสินทรัพย์แล้วประมาณ 50 ล้านบาท
ท่ามกลางการขยายธุรกิจออกไปหลายแขนง
อันเกี่ยวข้องกับการออกแบบ และสิ่งสวย ๆ งาม ๆ


พวกเขารวมตัวกันครั้ง แรกที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวกเขาประกอบด้วย
ธีรพล นิยม ครองศักดิ์ จุฬามรกต วิฑูรย์ วิระพรสวรรค์

อำพล กีรติบำรุงพงษ์ สันติพงษ์ ธรรมธำรง
เดชา สุทธินันท์ และพิมาย วิระพรสวรรค์
(ภรรยาวิฑูรย์)

" สำนักงานสถาปนิกครั้งแรก

ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ยายผม แถว ๆ บางโพ
ผมสร้างเป็นเรือนหอเล็ก ๆ เพียง 7-8 หมื่นบาท"
ธีรพล นิยม 1 ใน 7 ผู้ก่อการกล่าว


การรวมตัวครั้งนั้นเกิดขึ้นหลังจากจบการศึกษากันมาแล้ว 3 ปี
เวลาที่เสียไปเพราะธุรกิจขายหนังสือ
ซึ่งเริ่มต้นรวมตัวกันนอกมหาวิทยาลัย ครั้งแรกเมื่อ ปี 2517


พวกเขาล้วนเป็นเด็กบ้านนอก ส่วนใหญ่บ้านเกิดอยู่ปักษ์ใต้
ล้วนเรียนหนังสือเก่ง ๆ และปีท้าย ๆ
ของการเรียนในมหาวิทยาลัยพวกเขาเป็นนักกิจกรรม
จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ส่งผลดีต่อการทำงานในเวลาต่อมา


ปี 2520 เริ่มตั้งสำนักงานสถาปนิกได้งานครั้งแรกที่จังหวัดชุมพร
ออกแบบก่อสร้างโรงแรมภราดรอินน์ มูลค่าก่อสร้าง 38 ล้านบาท
"คุณครองศักดิ์ มีพื้นเพที่ชุมพรจึงได้งานเพราะคนรู้จักกัน
เป็นงานที่พวกเขาตัดสินใจเริ่มต้นรวมตัวกันตั้งสำนักงาน"
เพื่อนสนิทพวกเขาคนหนึ่งบอก


" เราคิดกันว่าในเมืองน่าจะมี ทาวน์เฮ้าส์
เป็นบ้านซึ่งไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง เสียค่ารถ เราออกแบบ
พีเอส ดีเวลล็อปเมนท์เป็นเจ้าของโครงการ ทำกันหลายโครงการ"
ธีรพล เล่าว่าเป็นจุดที่พวกเขาได้งานมากขึ้น
เพราะเป็นเจ้าของ "ไอเดีย"
ทาวน์เฮ้าส์ครั้งแรก ๆ ในกรุงเทพฯ


โครงการ เหล่านั้นได้แก่ ศาลาแดงทาวน์เฮ้าส์ มูลค่า 5 ล้านบาท
แสงเงินทาวน์เฮ้าส์ มูลค่า 6 ล้านบาท
สันติสุขทาวน์เฮ้าส์มูลค่า 8 ล้านบาทเป็นต้น


ในระยะแรก ๆ งานของพวกเขาที่ได้จะมาจาก 2 ทาง
เริ่มต้นที่ต่างจังหวัดกับงานขนาดย่อมในกรุงเทพฯ
ในปีที่ 3 พวกเขากระโดดไปหากินถึงสิงคโปร์
ซึ่งถือเป็นการฝึกฝนวิทยายุทธครั้งสำคัญ


ปี 2522 ธุรกิจเริ่มปักหลักและแตกแขนงในเวลาเดียวกัน
จดทะเบียนบริษัทแปลนอาคิเตคอย่างเป็นทางการ
ขณะเดียวกันก็ตั้งบริษัทแปลนดีเวลล็อปเมนท์
ร่วมโครงการพัฒนาที่ดิน สร้างและจัดสรรทาวเฮ้าส์
ธีรพลยอมรับว่าจุดนี้เป็นจุดก้าวกระโดดในการสะสมทรัพย์สิน
และขยายตัวออกไปอย่างมาก
"ถึงแม้มีเงินพวกเราใช้เงินอย่างประหยัด
เงินเดือนเพียงคนละ 2,500 บาท ได้แค่นี้อยู่หลายปี"


ในช่วงนี้แปลนอาคิเตคมีรายได้และกำไรเป็นล้านๆ บาทแล้ว!


" เราพยายามขยันทำงานและตรงไปตรงมากับคนที่ใช้บริการเรา
ผมว่ามันเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เรามีเครดิต
เราก็ได้รับความไว้วางใจเราทำโครงการ REAL ESTATE
กำไรเป็นของเราค่าที่ดินเป็นของเขา" ธีรพลคุย


หลัง จากปี 2522 เป็นต้นมา แปลนอาคิเตค
ก็ได้ขยายกิจการและแตกแขนงออกไปหลายทางมากขึ้น
ตั้งแต่ REAL ESTATE MANAGEMENT (แปลนดีเวลล้อปเมนท์)
บริษัทแปลนทอย (เดิมชื่อแปลนครีเอชั่น)
ผลิตของเด็กเล่นส่งออก
ซึ่งเพิ่งจะขยายกิจการลงทุนเพิ่มเกือบ 20 ล้านบาท
ทั้งได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ.
และกู้เงินจาก ไอเอฟซีที. เมื่อไม่นานมานี้ด้วย
บริษัทแปลนกราฟฟิค (เดิมชื่อกราฟฟิค อินเตอร์ฯ)
ผลิตสิ่งพิมพ์รายงานประจำปี ปฏิทิน
และไดอารี่ต่าง ๆ ในงานที่เรียกว่า GRAPHIC DESIGN
ธุรกิจที่ใกล้เคียงกันนี้คือ บริษัทแปลน พับลิชชิ่ง
ดำเนินงานหนังสือรักลูกและโรงพิมพ์แปลนพริ้นติ้งเฮ้าส์

นอกจากนี้ยังเปิดร้านเสื้อผ้า-วิทวิทที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง และสยามเซ็นเตอร์

"แปลนอาคิเตคและแปลนทอย ดูจะไปได้ดีกว่ากิจการอื่นๆ"
ผู้ใกล้ชิดกลุ่มนักธุรกิจหนุ่มกลุ่มนี้ตั้งข้อสังเกต


" เรา DIVERSIFIED ออกไปก็เพื่อมารองรับ
บริษัทออกแบบแปลนอาคิเตคของเรา
ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสให้คนของเราฝึกฝนพวกเขาขึ้นมา
อีกประการหนึ่งเราคิดว่างานบริการ (ออกแบบ)
ในอนาคตจะหาเงินมากๆ ลำบาก เราเลยต้องลงทุน
เพื่อให้ได้เงินมามากๆ และเป็นกิจการที่มีคุณภาพ
ซึ่งก็นับว่าโชคดี" ธีรพลร่ายยาว


ถึงไม่บอกชัดก็พอจะทราบว่าพวกเขาเริ่มทำธุรกิจเป็น
หลังจากเดินเครื่อง DIVERSIFIED ธุรกิจ


" พวกเราพยายามทำความเข้าใจธุรกิจตอนต้น ๆ
ก็ไปเชิญเพื่อน ๆ ที่เรียน MBA มา LECTURE
ไม่งั้นเราไม่รู้เรื่องเหมือนกัน"
ธีรพล แจงถึงพัฒนาการของพวกเขาที่มาจาก ACTIVIST
มีความคิดทางการเมือง
และมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่มุ่งไปทางพัฒนาคน
และเพื่อสังคมมากไปในระยะ แรกๆ
"บางบริษัทเราไม่ตั้งเป้าหมายเพื่อกำไรสูงสุด
เช่นบริษัทผลิตหนังสือ
เรารู้สึกว่าหนังสือจะเป็นสื่อให้อะไรกับสังคมได้บ้าง"


ปี 2525-2527 เป็นช่วงที่แปลนอาคิเตคได้งานมาก
ได้รับรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น
วงการนี้ยอมรับว่าแปลนอาคิเตคเป็นท็อปเท็น


โครงการ ใบหยกทาวเวอร์ อาคารสูงที่สุดในกรุงเทพฯ
มูลค่า 280 ล้านบาท
สำนักงานใหญ่ ปตท.มูลค่า 400 ล้านบาท
ชาญอิสระทาวเวอร์มูลค่าก่อสร้าง 150 ล้านบาท ฯลฯ
เหล่านี้ล้วนเป็นฝีมือออกแบบของพวกเขา


แปลนอาคิเตคได้รับรางวัลออกแบบดีเด่น
จากอาคารคอนโดมิเนียม "สิทธาคาร"
ศูนย์เรียนรวมแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เป็นต้น

ความสำเร็จของพวกเขาเกิดขึ้นจาก "มันสมอง" ของพวกเขาโดยแท้!


สถานการณ์ธุรกิจสถาปนิกทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก
มีการแข่งขันกันมากขึ้น การ DIVERSIFIED
สู่ธุรกิจอื่น ๆ ของพวกเขาที่ดำเนินการ
และวางรากฐานมาประมาณ 5 ปีก่อนจึงเป็นการมองการณ์ไกล


ลักษณะการบริหารของแปลนกรุ๊ปเริ่มจากคณะกรรมการ 7 คน
เป็นผู้กุมนโยบายและแผนงาน

โดยแบ่งงานให้กรรมการแต่ละคนรับผิดชอบโดยตรง
อาทิ ธีรพล รับผิดชอบแปลนอาคิเตค แปลนดีเวลล็อปเมนท์
วิฑูรย์รับผิดชอบแปลนทอย
พิมายบริหารร้านเสื้อผ้าวิทวิท เป็นต้น
"แต่ละบริษัทเราพยายามให้มีแผนงาน
มีระบบงบประมาณ จะได้รู้ว่ากองกลางจะสนับสนุนการเงินอย่างไร
คณะกรรมการบริหารของกลุ่มประชุม 3 เดือน/ครั้ง"
ธีรพลเล่าและว่าแปลนกรุ๊ปให้ความสำคัญ
ของการประชุมมากถึง 30% ของการทำงานทีเดียว"
แต่หากมีปัญหาใหญ่ก็จะเปิดประชุมทันที ซึ่งมันไม่ค่อยเกิด"


จุดเด่นของแปลนกรุ๊ปจึงอยู่ตรงที่คณะกรรมการสามัคคีกัน
ถึงมีความเห็นขัดแย้งกัน ก็สามารถแก้ตกในที่ประชุมเป็นส่วนใหญ่
ไม่ออกมาระเบิดนอกห้อง
อย่างไรก็ตามบางคนของพวกเขาก็ยอมรับความอะลุ้มอล่วย
เป็นจุดอ่อนในการบริหารของแปลนกรุ๊ป


" แต่ละบริษัทจะต้องทำงบประมาณของตัวเองขึ้นมา
ถ้าไม่พอ จำเป็นต้องใช้เงินเราก็จะประชุมคณะกรรมการกลุ่มว่า
เรามีเครดิตไลน์ที่ไหน หรือถ้าไม่พอจะทำอย่างไร
จะชวนคนมาร่วมหุ้นหรืออย่างไร
เรามีสมุห์บัญชีคนหนึ่ง ไม่ใช่ 7 คนนี้นะเรียก
FINANCE DIRECTOR
และจะมีนักบัญชีรับผิดชอบ
แต่ละบริษัทขึ้นต่อ FINANCE DIRECTOR
ส่วนการวางแผนด้านการเงินในลักษณะด่วนมาก
ผมจะทำโดยปรึกษากับเพื่อน ๆ ก่อน"
ธีรพล ในฐานะรับผิดชอบด้านการเงินของกรุ๊ปโดยตรงกล่าว


แปลนกรุ๊ปค่อนข้างโชคดีที่ได้รับการยอมรับ
จากธนาคารพาณิชย์ไม่ยากเหมือน YOUNG ENTREPRENUER คนอื่น ๆ
เพราะผลงานเป็นที่ประจักษ์ และจับต้องได้
"เขามีฝีมือเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจออกแบบก่อสร้าง
และของเล่นเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ แล้วเสี่ยงน้อยกว่า"
คนวงการธนาคารแสดงความเห็น


แปลนเริ่มกู้เงินธนาคารในยุคที่ CONDOMINEUM บูมในปี 2524-25
ซึ่งธุรกิจของเขาได้งานออกแบบชนิดนี้ในระดับแนวหน้า


แปลนกรุ๊ปย้ายออกจากบ้านแม่ยายของธีรพลมาเช่าอาคารที่สีลม
และเมื่อต้นปี 2529 นี้เอง คณะกรรมการได้ตัดสินใจโยกย้ายแผนกงานต่างๆ
มาอยู่อาคารสำนักงานที่เพิ่งสร้างเสร็จของตนเองบนเนื้อที่เช่า
"เราก็ใช้เงินธนาคารไทยพาณิชย์มาสร้างค่าก่อสร้างประมาณ 8 ล้านบาท"
ผู้บริหารคนหนึ่งบอก


หากใครผ่านซอยศึกษาวิทยา
บริเวณป่าช้าซึ่งเป็นบริเวณสิ่งแวดล้อมไม่ค่อยจะดีนัก
จะพบอาคารสถาปัตยกรรม แปลก ๆ
นั่นคือสำนักงานใหญ่ของแปลนกรุ๊ปทุกวันนี้
พวกเขาตั้งใจจะทำซัพพลีเมนท์โฆษณาตนเองในหนังสือพิมพ์
เหมือน ๆ ธุรกิจอื่น ๆ เช่นกัน


พวกเขาเป็นแบบฉบับของคนหนุ่มสมถะมาก ๆ
ทุกคนแทบจะไม่มีใคร "แยกวง" ตั้งธุรกิจต่างหาก
ยกเว้นธีรพลซึ่งเป็นที่ปรึกษาบริษัททำ REAL ESTATE
แห่งหนึ่งและมีหุ้นในกิจการปั๊มน้ำมันในสหรัฐฯ
ส่วนอื่น ๆ ยังรวมกันอยู่ใน "กงสี" นี้โดยทั้ง 7 คน
มีเงินเดือนเท่ากันประมาณ 2 หมื่นบาท
พวกเขาเป็นศิลปินชอบเดินทางชอบท่องเที่ยวและเล่นกีฬา


ปัญหาธุรกิจของพวกเขาที่สำคัญคือการตลาด
อาทิหนังสือรักลูกเคยขาดทุนมาก ๆ ถึง 2 ล้านบาท
ต้องพยายามพยุงฐานะจนดีขึ้นในปัจจุบัน
ร้านอาหารก็เคยประสบปัญหาขาดทุนเรียบร้อย 2 ล้านต้องเลิกไป

และอุตสาหกรรมของเล่นเด็กซึ่งประสบปัญหาในช่วงแรก ๆ


" เราลงทุนช่วงต้น ๆ 4-5 ล้านบาท มันเป็นของใหม่
และไม่เคยทำเรื่องการตลาดมาก่อนเลย
กว่าจะทำให้ยอดขายกระเตื้องขึ้นก็ใช้เวลาถึง 3 ปี สายป่านเกือบหมด"
ธีรพลยอมรับ


การแก้ปัญหาต้องระดมความคิดกัน!

คนที่ทำเรื่องการตลาดมากที่สุดเห็นจะได้แก่
วิฑูรย์ วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการแปลนทอย


" เรื่องออเดอร์ที่เราผลิตไม่ทัน เราก็ต้องบอกเขาตรง ๆ
หรือเราบอกเขาตรง ๆ ว่าตอนนี้ผมจะให้คุณครบ
แต่เราไม่มั่นใจว่าจะควบคุมคุณภาพได้หรือไม่
ทำให้เขามั่นใจเรามากขึ้น เราไม่ทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน
เขารู้ว่าเรารับผิดชอบ...เราภูมิใจมากที่สุดที่ขายให้ญี่ปุ่นได้
เพราะญี่ปุ่นขายยากที่สุด"
วิฑูรย์ เคยกล่าวถึงยุทธวิธีการตลาดของเขา
บางส่วนในนิตยสารรายเดือนฉบับหนึ่ง


ธีรพลกล่าวว่าปัจจุบันแปลนกรุ๊ปมีกิจการแตกออกไปหลายประเภท
แนวคิดต่อไปของพวกเขาก็คือสร้างคุณภาพของกิจการ
มากกว่าจะขยายกิจการใหม่ ๆ
เขาเชื่อว่าถึงแม้กิจการสถาปนิกจะต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันมากขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อต่างประเทศพาเหรดเข้ามา
แต่กิจการที่ขยายไปมากวันนี้ลดความเสี่ยงได้มาก


" เราขยายกิจการไปแล้วสร้างคนทำงานไม่ทันเมื่อธุรกิจใหญ่
การประสานงานต้องทำ มากขึ้น
เราพยายามให้ผู้ร่วมงานมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทเรามากขึ้น
จนถึงวันนี้มีผู้ถือหุ้นเดิมขายให้เพื่อนร่วมงานไปมากแล้ว"
ธีรพล นิยมกล่าวตอนท้าย