Custom Search

Dec 9, 2009

โรคความดันโลหิตสูง









แด่
อาจารย์
ดร. วิทยา กระจายศรี

ด้วยความอาลัยยิ่ง
Doctor of Business Administration,University of South Australia
Master of Art (International Affairs),Krirk University
Bachelor of Art (International Relations),Ramkhamhaeng University


โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่คนไทย
เป็นกันมากอันตรายจากโรคนี้ก็คือ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเช่นโรค หลอดเลือดหัวใจ
และสมองตีบการเสื่อมสมรรถภาพของไต
โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองแตกและเป็นอัมพาต
โดยความดันของคนปกติ ถ้าอายุต่ำกว่า 50 ปี

ความดันจะไม่เกิน 140 / 90 mmHg
และถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไปความดันไม่ควรเกิน 160 / 95 mmHg
และถ้าความดันของท่านคือตัวล่าง /เกิน 95 mmHg
ไม่ว่าท่านจะอายุเท่าใด ท่านต้องไปพบแพทย์ทันที
เพราะท่านอาจเป็นโรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุเป็นผลพวงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ

ที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อรักษาต้นเหตุ

แล้วความดันที่สูงก็จะหายไปส่วนใหญ่ผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 85 - 90

มักจะไม่ทราบสาเหตุ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง

และต้องได้รับการรักษาตลอดไปเพื่อลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดกับอวัยวะ

ที่สำคัญเช่น หัวใจ สมอง และไต

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรค

1. อายุ คนที่มีอายุน้อยถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

มีโอกาสเสียชีวิต มากกว่าคนที่มีอายุมาก

2. เพศ เพศชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง

3. น้ำหนัก หากน้ำหนักมากโอกาสที่จะเกิดโรคมีโอกาสสูง

4. ความเครียด มีความเครียดตลอดเวลาการสูบฉีดโลหิตก็จะมากตามความเครียด

5. พันธุกรรม


อาการ

1. ปวดศรีษะ มักมีอาการปวดบริเวณท้ายทอย

2. ปวดศรีษะแบบไมเกรน

3. บางครั้งมีเลือดกำเดาออก


ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง

1. สมอง อาจพบว่ามีเส้นเลือดในสมองแตก

หรือ มีการอุดดันของหลอดเลือดในสมองทำให้เป็นอัมพาตได้

2. หัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

3. ไต เกิดภาวะไตวาย

คำแนะนำ

1.ลดการบริโภคน้ำตาลเพราะน้ำตาล

ทำให้มีการเพิ่มพลังงานทำให้อ้วนและความดันสูง

2. ลดอาหารที่มีไขมันและมีคอเลสเตอรอลสูง

เช่น ไข่ นม เพื่อป้องกันการสะสม

เกาะตัวของไขมันในเส้นเลือด

3. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง

เช่น ผักต่าง ๆ ที่มีกากใยทั้งละลายน้ำได้

และละลายน้ำไม่ได้อย่างสมดุล

4. ไม่รับประทานอาหารที่มีรถเค็มจัด

5. งดเหล้า และงดสูบบุหรี่

6. ควบคุมน้ำหนัก

7. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

8. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

จะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

และพืชสมุนไพร จะช่วยป้องกันโรคเหล่านี้

การป้องกัน ดีกว่าการรักษา


ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่