เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Dec 6, 2009
พระพุทธจริยาวัตร60ปาง ปางโปรดภาติกชฎิล
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 06 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ภา ติกชฎิล แปลว่า ชฎิลที่เป็นพี่น้องกัน 3 คน
คือ อุรุเวลกัสสปะ, นทีกัสสปะ,
คยากัสสปะ ทั้งสามนี้ตั้งสำนักอยู่ตามคุ้งน้ำ
แห่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดกันตามลำดับ
ชฎิลผู้พี่ใหญ่ ตั้งสำนักอยู่คุ้งน้ำ ตำบลอุรุเวลา
พร้อมบริวาร 500 คน คนพี่รองตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำ
ตำบลนที พร้อมบริวาร 300 คน
ส่วนน้องเล็ก ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตำบลคยา
พร้อมบริวาร 200 คน รวมเป็นจำนวน
(ไม่นับเจ้าสำนักทั้งสาม) 1,000 คนพอดี
ท่านเหล่านี้ เป็นใคร ทำอะไรอยู่ ณ ริมน้ำแห่งนี้
ท่านเหล่านี้เป็นนักบวชเกล้าผม ไม่ยอมตัดผม
จะใช้วิธีมุ่นผมเป็นชฎา จึงเรียกว่า "ชฎิล"
(แปลตามศัพท์ว่า ไว้ผมดุจชฎา)
ท่านเหล่านี้ถือลัทธิบูชาไฟ
พูดแค่นี้คนไทยก็คงงง คงคิดว่าวันๆ ไม่ต้องทำอะไร
นั่งยกมือไหว้ไฟตลอดหรืออย่างไร
เพราะคำว่า "บูชา" ก็น่าจะส่อความในทำนองนั้น
แท้ที่จริงแล้ว การบูชาไฟของพวกพราหมณ์นั้นเป็น
พิธีกรรมที่ถือศักดิ์สิทธิ์มากเพราะพวกเขา
เชื่อกันว่า การนำเครื่องบูชา หรือเครื่องสังเวยมา
ถวายเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่โดยผ่านตัวแทน
พวกเขาจะได้รับความโปรดปราน
และรางวัลจากเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นั้น
พวกเขาจะเอาเครื่องสังเวยมาเผาไฟ
(ทำนองเดียวกับชาวจีนเผากงเต๊กกระมังครับ)
เชื่อกันว่ามีเทพองค์หนึ่งคือ "อัคนีเทพ"
จะกลืนกินเครื่องสังเวยนั้น แล้วก็จะลอยลิ่วขึ้นไปบนสวรรค์
ไปป้อนเครื่องสังเวยนั้นเข้าปากพระปชาบดี
(เป็นชื่อหนึ่งของพระพรหม)
และเทพองค์อื่นๆ บนสรวงสวรรค์
ดุจดังแม่นกป้อนอาหารลูกนกนั้นแล
เมื่อพระปชาบดีและเทพทั้งหลายได้รับการ "ป้อนอาหาร"
ผ่านอัคนีเทพบ่อยๆ เทพเหล่านั้นก็จะเมตตาปรานี
มนุษย์ทั้งหลายผู้ทำการเซ่นสรวง
ก็จะประทานรางวัลให้ตามความเชื่อของพวกเขา
เรื่องความเชื่อครับ เราไม่เชื่ออย่าดูหมิ่น
ชฎิลเหล่านี้ถือปฏิบัติอย่างนี้อย่างเคร่งครัด
บำเพ็ญพรตอย่างเข้มงวดเสมอมา
เข้าใจว่าตนเองเป็นพระอรหันต์
สั่งสอนประชาชนชาวมคธรัฐ
อันมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมหากษัตริย์มานานปี
ทุกกึ่งเดือนพระเจ้าพิมพิสาร
และชาวเมืองจะไปฟังธรรมจากชฎิลเหล่านี้เป็นประจำ
ในช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้ พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า
มีพระอรหันต์สาวกถึง 60 รูปมากพอที่จะส่งไปประกาศพระศาสนาแล้ว
จึงส่งท่านเหล่านี้แยกย้ายกันไปยังแว่นแคว้นต่างๆ
พระพุทธดำรัสที่ตรัสตอนส่งพระสาวกเหล่านี้ไปน่าสนใจมาก มีดังนี้ครับ
" ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งเป็นของทิพย์ ทั้งเป็นของมนุษย์
พวกเธอก็พ้นแล้วเช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
เพื่อความสุขแก่คนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พวกเธออย่าไปทางเดียวกันสอง รูป
พวกเธอจงแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดจงประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์
บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง พร้อมอรรถะ (ความ)
และพยัญชนะ (คำ) เหล่าสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาน้อย
(คือ มีอุปนิสัยพอจะเข้าใจได้) ถ้าไม่ได้ฟังธรรม
จะเสื่อมจากประโยชน์ที่พึงได้
เราตถาคตเองก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม"
ขอตั้งข้อสังเกตไว้สั้นๆ ก่อนกล่าวอะไรต่อไป
พุทธโอวาทตอนนี้ ถือว่าเป็น "อุดมการณ์"
ของพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว
พระองค์ทรงประกาศว่า
(1) ก่อนจะไปสอนใครตนเองต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมก่อน
ในกรณีนี้ พระพุทธองค์และสาวกทั้งหลาย
ได้บรรลุอรหัตตผล ถึงจุดหมายสูงสุดแล้ว
(2) พระพุทธศาสนาเน้นว่า เมื่อตนเองพร้อมแล้ว
ก็ให้ออกไปทำประโยชน์แก่สังคม
มิได้สอนปลีกตัวเสวยวิเวกเพียงลำพัง
เมื่อรู้ดังนี้แล้ว จะได้ไม่กล่าวหาผิดๆ ว่า
พระพุทธศาสนาสอนคนให้ "เอาตัวรอด" เฉพาะตน
ไม่สนใจสังคม ดังที่บางคนมักเข้าใจผิดกัน
เมื่อ พระสงฆ์สาวกต่างแยกย้ายกันไปตามชนบท
ตามนิคมต่างๆ พระพุทธองค์เสด็จดำเนินไปพระองค์เดียว
จุดมุ่งหมายคือชฎิลสามพี่น้องดังกล่าวข้างต้น
ระหว่างทางพระพุทธเจ้า พบ ภัททวัคคีย์
เด็กหนุ่มเจ้าสำราญ 30 คน ชาวแคว้นโกศล
กำลังตามล่าโสเภณีนางหนึ่ง
ที่ "เชิด" ทรัพย์สมบัติของพวกเขาไปหมด
ไม่เล่าเดี๋ยวความไม่ต่อเนื่อง ขอเล่านิดหน่อย ภัททวัคคีย์
(ตามศัพท์แปลว่า พวกที่เจริญ แต่ตามบริบทน่าจะหมายถึง
พวกหนุ่มเจ้าสำราญมากกว่า) 30 คน เป็นเพื่อนกิน
เพื่อนเที่ยวกัน วันหนึ่งนัดกันไป "ปิคนิค"
นอกเมือง ต่างก็พา "แฟน" ของตนไปด้วย
หนึ่งในจำนวนนั้นยังไม่มีคู่หมั้นคู่หมาย
จึงไปจ้างนางโสเภณี สมัยนี้เรียกว่า escort มานางหนึ่ง
เมื่อทั้งหมดเปลื้องพัสตราภรณ์ลงเล่นน้ำกันอยู่
นางเอสคอร์ตก็ขโมยทรัพย์สินของพวกเขาหนีไป
เมื่อรู้ตัวก็ตามล่าเป็นการใหญ่
พวกเขาสวนทางกับพระพุทธองค์
จึงถามว่า "สมณะ เห็นสตรีนางหนึ่งผ่านมาทางนี้ไหม"
พระพุทธเจ้าตรัสประโยคสั้นๆ ทำให้พวกเขาถึงกับชะงัก ตรัสว่า
"ประโยชน์อะไรที่มาตามหาสตรี
ทำไมไม่ตามหาตนให้พบเล่า"
" ตัวตนเราก็เห็นๆ อยู่ ทำไม สมณะท่านบอกให้ตามหาให้พบ"
พวกเขาฉุกคิดจึงทูลถามไป พระองค์จึงทรงแสดงธรรมให้ฟัง
ทรงแสดงอนุบุพพิกถา ตามด้วยอริยสัจให้ฟัง
ภัททวัคคีย์บรรลุโสดาปัตติผล ทูลขอบวชเป็นสาวกของพระองค์
พระพุทธองค์ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้
แล้วทรงส่งไปประกาศพระศาสนา
ในตำนานไม่พูดถึงภรรยาของพวกเขา 29 คน
ว่าไปไหน หลังจากสามีบวชพระแล้ว
เข้าใจว่าคงกลับภูมิลำเนาของตน
จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา
อาศรมของชฎิลผู้พี่นาม อุรุเวลกัสสปะ
ซึ่งผมขอไว้เล่าต่อในตอนต่อไปนะครับ
หน้า 6