Custom Search

Dec 4, 2009

เปิดโฉม...รัฐสภาใหม่ "สัปปายะสภาสถาน"


มติชน
วันที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อีกไม่เกิน 5 ปี ประเทศไทยจะมีสถาปัตยกรรม
ที่สวยงามแห่งใหม่ จะเป็นสัญลักษณ์สำคัญของประเทศ
บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย
นั่นคือ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ภายใต้ชื่อ "สัปปายะสภาสถาน"เป็นผลงานของ
ทีมสถาปนิกจาก
5 บริษัท
หัวหน้าทีมคือ "ธีรพล นิยม" สถาบันอาศรมศิลป์
ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ
ความหมายของคำว่า "สัปปายะ" แปลว่า สบาย



ทัศนียภาพของรัฐสภาใหม่
ท้องพระโรง ชั้นที่ 11


ส่วนในทางธรรม หมายถึง
สถานที่ประกอบกรรมดี
ซึ่งเมื่อก่อนประเทศวิกฤต
กษัตริย์จะสร้างสถานที่เพื่อปลุกขวัญกำลังใจ
"สัปปายะสภาสถาน" จึงออกแบบจากแนวคิดทางพุทธศาสนา
โดยการดำเนินชีวิตทางโลกียะ จะมีโลกุตระคือธรรมะกำกับ
และนำหลักการสถาปัตยกรรมไทยแบบแผนไตรภูมิตามพุทธคติ

มาเป็นแรงบันดาลใจออก
แบบ

เป้าหมายเพื่อ สถาปนาเขาพระสุเมรุครั้งใหม่ในยุครัตนโกสินทร์
รัฐสภาแห่งใหม่ อยู่บนพื้นที่ 119 ไร่
หรือ 300,000 ตารางเมตร รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
วงเงินก่อสร้างทั้งหมดไม่เกิน 12,000 ล้านบาท

ด้านหน้าทิศตะวันออกเป็นถนนสามเสน
ด้านหลังทิศตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านขวาทิศเหนือติดถนนทหาร ด้านซ้ายเป็นชุมชนสามเสน




ห้องพระสุริยัน
ห้องโถงรับรอง ส.ส.และส.ว.


สัปปายะสภาสถาน

ตอบโจทย์ เรื่องแนวคิดในการวางผังแม่บท

ผังบริเวณและภูมิทัศน์
การตอบสนองความต้องการ
ประโยชน์ใช้สอยและงบประมาณ

รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่ทุกคนรวมถึง

คนพิการและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึง

การออกแบบสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมภายในที่มีเอกลักษณ์
การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
โดยผู้ออกแบบ วางแนวคิดไว้ 4 ข้อ
และแสดงออกมาเป็นรูปธรรมใน 9 เรื่อง
คือ ชาติ ศีลธรรม สติปัญญา สถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาชน
ประโยชน์ใช้สอย
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน
การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม
และระบบรักษาความปลอดภัย

จุดเด่นที่สุดอยู่ที่อาคารหลัก 11 ชั้น ที่มีเครื่องยอดเป็นเจดีย์
แสดงถึงการใช้พระศาสนานำ ถัดลงมาได้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชมาประดิษฐาน
เพื่อคุ้มครองบ้านเมือง ถัดลงมาจึงเป็นชั้น 11
ซึ่งเป็นโถงรัฐพิธีเพื่อใช้ในพระราชพิธีเสด็จประชุมรัฐสภา
มีปีกรอบ 4 ทิศ เป็นกำแพงแก้ว สำหรับจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ชาติไทย

ส่วนชั้นอื่นๆ ถัดลงมาได้แก่ ชั้น 9-10 เป็นห้องสมุด
ชั้น 8หอจดหมายเหตุ ชั้น 6-7 ห้องทำงาน ส.ส.และ ส.ว.
ชั้น 5 เป็นสวน ชั้น 3-4 ห้องทำงานกรรมาธิการ ส.ส.และ ส.ว.

ทั้งนี้ การแบ่งสัดส่วน ปีกซ้ายจะเป็นของ ส.ส.
เพื่อให้เดินข้ามไปยังอาคารฝั่งซ้ายของอาคารหลัก
ที่เป็นห้องประชุมใหญ่รัฐสภา

ส่วนปีกขวาจะเป็นของ ส.ว. เพื่อให้เดินข้ามไปยังอาคารฝั่งขวาของอาคารหลัก
ที่เป็นห้องประชุมวุฒิสภา ส่วนชั้น 2 เป็นชั้นหลักของ ส.ส.และ ส.ว.
และชั้นล่างสุด เป็นชั้นประชาชน มีพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตย


ส่วนอาคารบริวาร ปีกซ้ายซึ่งเชื่อมกับอาคารหลัก
เป็นอาคารห้องประชุมรัฐสภา
ชื่อ "ห้องพระสุริยัน"จากแนวคิดที่พระสุริยัน
เป็นต้นกำเนิดของชีวิตและสรรพสิ่งในโลกนี้
เฉกเช่นภารกิจของสมาชิกรัฐสภาเพื่อความผาสุกของประชาชน
โดยจัดวางที่นั่ง 800 คน สำหรับประชุมสภา และประชุมร่วมรัฐสภา
โดยเป็นห้องรูปวงกลม ทางเข้าอยู่ชั้นที่ 2 จัดที่นั่งบัลลังก์ประธานสภา และ ครม.
ไว้ด้านหน้า หันหน้าเข้าหาที่นั่งสมาชิก ซึ่งจัดเป็นรูปโค้ง
เหมือนห้องประชุมรัฐสภาในปัจจุบันที่มองแล้วเป็นลักษณะก้นหอย
เสมือนกับประชุมอยู่ภายใต้ท้องฟ้ากว้างใหญ่ไร้ขอบเขต
เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและความผ่อนคลาย
ในการประชุมที่ต้องใช้พลัง สติปัญญาอย่างหนักหน่วงและยาวนาน


ขณะที่ด้านนอกห้องประชุม ส่วนหลักๆ อาทิ ฝั่งหลังบัลลังก์
เป็นห้องพักการประชุมของประธานสภาและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
และผู้นำฝ่ายค้านแยกคนละห้อง

ส่วนห้องรับรองของนายกรัฐมนตรี และห้องรับรอง ครม. ซึ่งแยกกัน
จะอยู่ชั้น 3 ฝั่งหลังบัลลังก์ประธานสภา


อาคารบริวาร ปีกขวาซึ่งเชื่อมกับอาคารหลัก
เป็นอาคารห้องประชุมวุฒิสภา
ชื่อ "ห้องพระจันทรา" จัดวางที่นั่ง 300 คน
สำหรับประชุมวุฒิสภา เพื่อแก้ปัญหาอาคารรัฐสภาปัจจุบัน
ที่มีห้องประชุมเพียงห้องเดียว ทำให้ ส.ส.และ ส.ว. ต้องแบ่งวันกันประชุม


โดยห้องประชุมเป็นห้องรูปวงกลม จัดวางที่นั่งเหมือนห้องพระสุริยัน
แต่แสงสว่างจะเย็นตากว่า ซึ่งมีความหมายถึงน้ำ
ซึ่งมีพลังเย็น ตรงข้ามกับพระอาทิตย์ที่เป็นพลังร้อน
เปรียบเสมือนการสร้างดุลยภาพอย่างเป็นเอกภาพระหว่าง ส.ว.และ ส.ส.

ยังมีส่วนอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น พิพิธภัณฑ์ชาติไทย ชั้น 11
ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นชาติของประชาชน
ห้องชุดประธานสภาและห้องชุดประธานวุฒิสภาพร้อมรอง
ชั้น 10 มีห้องย่อยของเลขาประธาน ที่ปรึกษา ฝ่ายละเกือบ 20 ห้องย่อย

มีห้องรับรองพิเศษ 30 คน ขนาด 105 ตรม.
ห้องรับรองพิเศษขนาด 50 คน 188 ตร.ม.
บริเวณชั้น 1 อาคารหลัก
และยังมีห้องจัดเลี้ยงขนาด 1,500 คน ขนาด 1,725 ตร.ม.
ด้านหลังชั้น 1 ของอาคารหลักด้วย

สำหรับการออกแบบตกแต่งภายใน
สอดประสานกับสถาปัตยกรรมภายนอก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มพื้นที่ที่เกี่ยวกับรัฐพิธีและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตกแต่งอย่างสมพระเกียรติ กลุ่มพื้นที่โถงต้อนรับ สโมสร
ห้องอาหารต่างๆ ตกแต่งด้วยแนวคิดไทยร่วมสมัย
และกลุ่มพื้นที่สำนักงาน ห้องประชุมทั่วไป
ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนใหญ่ของอาคารเน้นการตกแต่งแบบเรียบง่ายทันสมัย


จุดสำคัญของการตกแต่งภายในอาทิ โถงรัฐพิธี ชั้น 11 ของอาคารหลัก
ลักษณะเป็นท้องพระโรง เหมือนท้องพระโรงในพระที่นั่งอนันตสมาคม
ที่ใช้เป็นสถานที่จัดรัฐพิธี

ท้องพระโรงด้านหน้ามีพื้นที่ 112 ตร.ม.
โถงด้านหน้า 795 ตร.ม. ความสูงและรายละเอียดของฝ้าเพดาน
จะสร้างความรู้สึกรโหฐาน ภายใต้แนวคิดศิลปะที่มีความวิจิตรบรรจง
และวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร
โดยจะรายล้อมด้วยน้ำและระเบียงแก้วทั้ง 4 ด้าน
เพื่อบรรยากาศที่ดูศักดิ์สิทธิ์และร่มเย็น สงบนิ่งและสง่างาม

ส่วนพื้นที่โดยรอบ ด้านหน้าของอาคารหลัก เป็นอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 7
ศาลาราชพิธี สนามรัฐสภา และลานประชาชนเรียกว่า ลานสนามหลวง
เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างประชาชนและ ส.ส.
ข้างขวาเป็นจุดแถลงข่าวและลานประชาธิปไตย
สำหรับการพบปะของนักข่าวและนักการเมือง
ด้า
นซ้ายมีสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


นอกจากนี้ยังมีห้องอาหาร ส.ส. ส.ว. และบุคคลทั่วไปแยกส่วนกัน
และมีส่วนสันทนาการและกีฬาในร่ม ท่าเรือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

ภายใต้อาคารหลักและอาคารรอง มีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น
เป็นที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา โรงพิมพ์รัฐสภา
โรงไฟฟ้าย่อย โรงเพาะชำและห้องขยะ
รวมถึงที่จอดรถสำหรับส.ส. ส.ว. 800 คัน
ที่จอดรถสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของ ส.ส.ส.ว.
และประชาชน 128 คัน ข้าราชการ 326 คัน
และที่จอดรถสำหรับบุคคลทั่วไปอีก 2,000 คัน

ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน
ตัวอาคารเน้นความโปร่ง เปิดโล่ง
มีดัชนีการใช้พลังงานไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ต่อตารางเมตรต่อปี

นอกจากนี้ การออกแบบยังคำนึงถึงการเข้าถึง
จากประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัยรวมถึงคนพิการและผู้สูงอายุ
โดยเฉพาะสุขา ทางสัญจร ที่นั่งพักที่กำหนดให้มีทุกระยะ 100 เมตร

ขณะที่ภูมิสถาปัตย์ บริเวณโดยรอบจะเป็นต้นไม้ใหญ่
พันธุ์ไม้ที่ใช้ตกแต่งบริเวณ อาทิ ต้นมะกอกน้ำ
เพื่อแสดงความเป็นตำนานของ "บางกอก"
และต้นไทรย้อยใบแหลม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
เหมือนดังป่าหิมพานต์ ต้นพะยูง ต้นตาลโตนด

ส่วนการประเมินราคาแบ่งเป็น งานโครงสร้าง 3.12 พันล้านบาท
งานสถาปัตยกรรม 1.32 พันล้านบาท
งานตกแต่งภายใน 2.95 พันล้านบาท
ระบบประกอบอาคาร 3.04 พันล้านบาท
งานภูมิสถาปัตย์ 301 ล้านบาท
เบ็ดเตล็ด 1.24 พันล้านบาท
รวมงบประมาณที่ใช้ 11,999,710,000 บาท
กำหนดเสร็จสิ้นพร้อมใช้งาน กลางปี 2557


หน้า 11