วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม พ.ศ.2486
คนไทยร่วมกันทำบุญตักบาตรที่ท้องสนามหลวง
นับจากวันนี้อีกเพียง 4 วัน ก็จะถึงวันเปลี่ยนศักราชเป็น พ.ศ.2553
ผมจึงขอถือโอกาสอวยพรวันปีใหม่มายัง
ท่านที่เคารพทุกท่านตามประเพณี
ที่เราถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล
ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพบูชา
ตลอดจนพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จงดลบันดาลให้ทุกท่านเจริญด้วยจตุรพิธพรสี่ประการ
ปราศจากโรคาพาธ อุปัทวันตรายทั้งหลายทั้งปวง
ทำมาค้าคล่องคิดปรารถนาสิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ดีงาม
จงสัมฤทธิผลทุกประการ สวัสดีปีใหม่ครับ
เพลงพรปีใหม่
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันปีใหม่ไทยนั้นเราถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่
เปลี่ยนศักราชมาเป็นเวลานานนับร้อยปี จนถึงปี 2483
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
สั่งให้ใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่ตามสากล
ทำให้ปี 2483 มีเพียง 9 เดือน
นอกจากนี้ เพลงเถลิงศกที่ ท่านขุนวิจิตรมาตรา
แต่งเนื้อร้องวันปีใหม่ 1 เมษายนจึงใช้ไม่ได้ เพราะเนื้อร้องไม่รับกัน
โดยเพลงเดิมมีว่า "วันที่ 1 เมษายน วันตั้งต้นปีใหม่"
พอเป็นมกราคมก็จะสะดุดไม่รับกับ "ตั้งต้นปีใหม่"
พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
จึงขอเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม วันประถมปีใหม่"
เพื่อ ให้รับกับมกราคมด้วยประการฉะนี้
เพลงพรปีใหม่
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2495
คำร้อง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรอันปราณี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ทุกวัน ทุกคืน ชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
*******
เพลงเถลิงศก ที่ดังก้องกังวาลทั่วเมืองไทย ยุค 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในสมัยที่เรายังถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่
บรรยากาศของเมืองไทยเป็นช่วงฤดูร้อน
ทุกคนแต่งตัวตามสบายใส่เสื้อกุยเฮงคอกลมสีฉูดฉาด
บางคนนุ่งกางเกงแพรปั๋งลิ้นสีดำ และกางเกงแพรสีต่างๆ เข้ากับเสื้อกุยเฮง
ฝ่ายหญิงที่อายุมากก็จะนุ่งผ้าลาย ห่มผ้าแถบ
ส่วนสาวๆ ก็จะนุ่งผ้าลายบ้าง นุ่งซิ่นบ้าง
บางคนใจถึงก็ห่มสไบเฉียงพร้อมเพรียงกันมาตักบาตร
ที่ท้องสนามหลวงในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 1 เมษายน
ส่วนคืนวันสุดท้ายของปีเก่าก็จะมีการเลี้ยงดูกัน
ระหว่างครอบครัวและญาติสนิทมิตรสหาย
ไม่ไปกินไก่งวงเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสอย่างฝรั่งเขาของเรามีแต่
การทำบุญตักบาตร เสียงเพลงวันปีใหม่จะก้องกังวานไปทั่วเมืองไทย
ซึ่งผมขอถือโอกาสนำเอาเพลงวันขึ้นปีใหม่ 1 เมษายน
มาตีพิมพ์เอาไว้ให้ผู้ที่เกิดทันได้รำลึกถึงเพลงปีใหม่ในยุคนั้น
เพลงเถลิงศก
ของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
วันที่หนึ่ง เมษายน วันประถมปีใหม่ (เดิมวันตั้งต้นปีใหม่)
แสงตะวัน เรืองรองใส สว่างแจ่มจ้า
เสียงระฆัง เหง่งหง่างก้อง ร้องทักทายมา
ไตรรงค์ร่า ระเริงปลิว พลิ้วพลิ้วเล่นลม
(สร้อย) ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส
สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
มองทางไหน มีชีวิต จิตใจทั้งนั้น
ต้อนรับวัน ปีใหม่เริ่ม ประเดิมปฐม
มาเถิดหนา พวกเรามา มาหย่อนอารมณ์
มาชื่นชม นิยมยินดี ขึ้นปีใหม่แล้ว
(สร้อย) ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส
สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
สิ่งใดแล้ว ให้แล้วไป ไม่ต้องนำพา
สิ่งผิดมา ให้อภัย ให้ใจผ่องแผ้ว
สิ่งร้าวราน ประสานใหม่ ให้หายเป็นแนว
สิ่งสอดแคล้ว มาสอดคล้อง ให้ต้องตามกัน
(สร้อย) ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส
สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
มาชื่นชม แสดงยินดี ในวันปีใหม่
มาทำใจ ให้ชื่นบาน ร่วมสมานฉันท์
มาเล่นหัว ให้เบิกบาน สำราญใจครัน
มารับขวัญปีใหม่ไทย อวยชัยไชโยฯ
(สร้อย) ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส
สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
ชาวบ้านกับผู้เขียน.
และจากเพลงวันปีใหม่ของโบราณ ผมขอ อัญเชิญเพลงพรปีใหม่
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย ซึ่งมี
เนื้อร้องที่นิพนธ์โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์
เพ็ญศิริ จักรพันธ์ เพื่อเป็นเพลงปีใหม่
ของเก่าและปัจจุบันให้ท่านได้ทราบความเป็นมาของเพลงปีใหม่ทั่วกัน
ป้ายหมู่บ้านโอทอป.
สำหรับรายการครอบจักรวาลในปีใหม่ นี้จะมี
รายการปิดทองหลังพระ ซึ่งเป็น โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้
มีการทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวอย่างพอเพียง
และเป็นโครง การที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
แต่โครงการทั้งหลายไม่ได้เผยแพร่ ให้คนทั่วไปได้รับรู้
เรียกว่าเป็นโครงการเปรียบเสมือนการปิดทองหลังพระโดยแท้
กอกระจูด.
คุณสุชาดา ยุวบูรณ์ และคุณเยาวลักษณ์ แพ่งสภา เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากกอกระจูด.
การนวดกระจูด.
เพื่อที่จะให้โครงการที่พระราชทานแก่
พสกนิกรชาวไทยได้เผยแพร่รู้กันทั่วเมืองไทย
จึงมีรายการที่เสมือนปิดทองหลังพระให้ผู้คนได้ล่วงรู้ว่า
มีโครงการอันใดบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทยและประเทศชาติ
เพื่อจะได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่ชาวไทยทุกหมู่เหล่า
ซึ่งรายการครอบจักรวาลจะได้เสนอออกอากาศทาง ทีวีช่อง 5 สนามเป้า
ทุกวันอาทิตย์เวลาประมาณแปดนาฬิกาเศษ
โครงการแรกนั้นเป็น โครงการสานกระจูด
ให้เป็นผลิตภัณฑ์ หลายอย่างจาก "จักสานบ้านกวี"
ที่ บ้านมาบเหลาชะโอน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง http://www.blogger.com/www.bannkawee.com
ผลิตภัณฑ์จากกระจูด.
บ้านมาบเหลาชะโอน มีบึงใหญ่เนื้อที่ 3,870 ไร่
มีกระจูดขึ้นอยู่เต็ม ใน สมัยรัชกาลที่ 1 ชาวบ้านท้องถิ่นนี้เป็นเชื้อชาติ "ชอง"
(หมู่ชนที่ความเจริญยังเข้าไม่ถึงเช่นเดียวกับ ขมุ ทางภาคเหนือ)
มีกิจกรรมสานเสื่อกระจูดเป็นส่วยส่งเข้าเมืองหลวง
ต่อมาชาวบ้านได้สานกระจูดเป็นถุงใส่น้ำตาลทรายแดง
ต่อมาทางโครงการปิดทองหลังพระได้มาฟื้นฟูบึง
สำนักใหญ่ให้เป็นที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค
ตลอดจนปลูกต้นกระจูดเพื่อนำเอามาพัฒนา แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายอย่างด้วยกัน
ทำให้ชาวบ้านที่สืบทอดการทอเสื่อกระจูด
มีรายได้สำหรับเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ดีมีสุขทั่วหน้ากัน
การสานกระจูด.
วันนี้เป็นการนำเรื่องดีๆ มาฝากคนไทยให้ได้ชื่นใจกันต้อนรับปีใหม่ 2553.
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์