ภาพวาดโดย อ.ดินหิน รักพงษ์อโศก
จาก คอลัมภ์ ถอดเสื้อกาว์น และ เล่าชีวิต ศ.นพ.ประเวศ วะสี สอบได้ที่ 1 เพราะนิยายจีนของย่า (19 พ.ย. 57) ในวันนี้ จะพามารู้จักกับอีกแง่มุมหนึ่งของชีวิตหมอประเวศ ศ.นพ. ประเวศ วะสี หรือที่คนทั่วไปเรียกท่านติดปากว่า ราษฎรอาวุโสเพราะเชื่อว่า อ่านเปลี่ยนชีวิต การอ่านทำให้เป็นคนมีสติปัญญา มีเหตุมีผล และเป็นคนดีมีศีลธรรมในที่สุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส จึงยกประสบการณ์ชีวิตจากเด็กยากจนคนหนึ่ง หลังได้อ่านนวนิยายก็ทำให้ได้เปิดหูเปิดตา ได้รู้หลากซอกมุมของประเทศจีน ทั้งที่เขาพักอาศัยอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี เริ่มอ่านหนังสือออกบ้าง เมื่ออายุ 7 ปี ความบังเอิญที่ย่าอ่านหนังสือไม่ออกแต่อยากฟังนิยายก็ใช้ผมอ่านให้ฟัง ซึ่งเป็นนวนิยายจีนเรื่องต่างๆ จากหนังสือพิมพ์สมัยนั้น พออ่านให้ย่าฟัง ท่านก็สนุกหัวเราะคิกคัก บ้างย่าก็พูดมาว่า มันกำลังแก้เผ็ดกัน ซึ่งผมไม่รู้ว่าคืออะไร แต่พออ่านไปๆ ก็เริ่มสนุกจึงหยิบมาอ่านเอง ติดมาก ตอนนั้นอ่านทุกวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น พออ่านไปๆ ก็เริ่มรู้เรื่อง ทั้งที่อยู่เมืองกาญจนบุรี ไม่เคยไปไหน เห็นแต่กองฟาง ภูเขา หน่อไม้ แต่การอ่านหนังสือทำให้ได้รู้อะไรหลายอย่างเกี่ยวกับประเทศจีน อาทิ รู้จักเมือง ระบบราชวงศ์ ประเพณีต่างๆ การอ่านทำให้ ด.ช.ประเวศเกิดจินตนาการ จากชีวิตที่อาศัยอยู่ที่แคบๆ เห็นอะไรเดิมๆ แต่การอ่านหนังสือได้พาเขาไปไกลมาก ได้รู้เรื่องตงฉิน กังฉิน จนจำฝังใจว่าเกลียดพวกกังฉินที่สุด เพราะเป็นพวกเลวร้าย ตอนขึ้น ระดับมัธยมศึกษาก็ยังติดอ่านนวนิยายเหมือนเดิม ตอนนั้นพี่ชายที่อยู่ชั้น ม.6 ห่วงว่าจะอ่านแต่นวนิยายจนสอบตก ก็คอยรังควาญไม่ให้อ่านนวนิยายและให้มาอ่านหนังสือเรียนแทน แต่ผมก็มีวิธีแอบอ่านจนได้ จนผลการศึกษาออกมาซึ่งตรงข้ามกับที่พี่ชายคาด เพราะผมสอบได้ที่ 1 ก็เลยเลิกรังควาญไป ตอนประถมผมเรียน รร.บ้านนอกอยู่ในป่าพอเรียน ม.1 ต้องมาเรียนที่จังหวัด พี่ผมอยู่ ม.6 เขาเห็นผมอ่านหนังสือพวกนี้ก็คอยไล่ไม่ให้อ่านเขากลัวผมจะสอบตก ผมก็ไปแอบในชอกที่บ้านย่า เป็นซอกแคบ ๆ ติดกับตรอกชาวบ้านเขาลงอาบน้ำ แล้วผมก็เอาเสื่อมานั้นไม่ให้เขาเห็น เพราะความสนุก แต่มันก็พาเราไปเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งเรื่อง กังฉิน ตงฉินทันที เรื่องเมืองเชียงอาน ความสําคัญ การสอบจอหงวน อะไรร้อยแปด ทําให้เกิดจินตนาการ และความคิดจากการอ่าน อ่านหนังสือสสนุกนะ โดยเฉพาะเด็กถ้าได้อ่านนิทานสนุกๆและมีคติทําให้ความรู้กว้างขวาง เข้าใจเรื่องซับซ้อนแต่คนไทยอ่านน้อย เพราะว่าเราเป็นเมืองร้อนจะอยู่นอกบ้าน พออยู่นอกบ้านก็อ่านไม่ได้ แต่เมืองหนาวต้องอยู่ในบ้านก็จะต้องอ่าน สมัยนี้จะมีเรื่องซับซ้อนเยอะ ถ้าเราไม่อ่านจะไม่เข้าใจ แค่ดูอย่างเดียวหรือฟังอย่างเดียวไม่ได้ดังนั้นคิดว่าจะต้องฝึกนิสัยการอ่านของคนไทยขึ้นมาให้ได้ นอกจากยกตัวอย่างจากตัวเอง ศ.นพ.ประเวศยังยกผลการวิจัยถึงข้อดีของการอ่านหนังสือว่ามีงานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญทางระบบสมองว่าการอ่านทำให้สมองเติบโตขึ้น เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ โดยมีเครื่องมือที่ทำให้เห็นการทำงานของสมองต่อการรู้สึกนึกคิด ซึ่งก็เห็นว่าการอ่านทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมอง ทำให้สติปัญญาดี เรียนอะไรก็ดี เพราะการอ่าน ระบบสมองมี 3 ชั้น อย่างสมองชั้นในสุดที่อยู่ข้างหลังศีรษะ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการอยู่รอด อาทิ การเต้นของหัวใจ การสืบพันธุ์ การกินอาหาร การต่อสู้ ส่วนสมองชั้นกลางทำหน้าที่กำหนดอารมณ์ ความรู้สึก และสมองชั้นหน้าทำหน้าที่สติปัญญา เหตุผล ศีลธรรม สังคมไทยเป็น สังคมที่ใช้อำนาจแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่พ่อแม่ใช้อำนาจกับลูก สั่งให้ทำโน่นนี่ ครูก็ใช้อำนาจ เจ้านายก็ใช้อำนาจกับลูกน้อง ตรงนี้จะไปสร้างความสับสนในสมองของเด็ก ทั้งที่เด็กเกิดมาอยากค้นคว้าอยากคิดเป็นของตัวเองแล้วจะมีความสุข แล้วก็ไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ซึ่งเวลาถูกแม่ห้ามก็จะกลัวและต่อสู้โดยจะใช้สมองส่วนหลัง ฉะนั้นเวลาเราสอนศีลธรรมอะไร หรือจะคำขวัญ 12 ประการอะไรก็ไม่สำเร็จ เพราะศีลธรรมจะเกิดต่อเมื่อเด็กได้คิดเองทำเอง เพราะได้ใช้สมองส่วนหน้า ศ.นพ.ประเวศ เล่าว่า ประเทศไทยต้องเปลี่ยนเกียร์ใหม่ จากเกียร์หลังเป็นเกียร์หน้า ต้องทำเรื่องการอ่านให้เป็นพลังเล็กปฏิรูปประเทศไทย ทำให้เด็กคิดเองทำเอง หากทำตรงนี้ทุกชุมชนท้องถิ่น มีการส่งเสริมเครือข่ายเด็กและเยาวชนให้เขาคิดเองทำเองโดยมีผู้ใหญ่คอยหนุน ไม่ใช้อำนาจ อย่างไรก็ดี อยากให้กลุ่มคนที่ทำงานด้านนี้มาประชุมครั้งใหญ่กัน แล้วชวนองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลให้มาร่วมสนับสนุน เพราะเขามีงบประมาณและต่อสู้ของบประมาณเพิ่มขึ้นได้ สาเหตุที่ทำให้ คนไทยอ่านหนังสือน้อย ส่วนหนึ่งเพราะเราทำระบบการศึกษากับวิชาการให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งที่ระบบการศึกษาต้องเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง อาทิ การเรียนที่มีความสุข การเรียนที่สนุก ที่ผ่านมาจึงไม่แปลกหากเด็กไทยเรียนภาษาอังกฤษมาตลอดแต่พูดไม่ได้ เพราะเราไม่สอนให้พูด เราเน้นแต่ไวยากรณ์ ระบบการศึกษาที่ผ่านมาจึงทำให้คนเกลียดการอ่าน เพราะเกิดความทุกข์กับการเรียน เรียนจบก็จบกัน ฉะนั้นปฏิรูปการศึกษาต้องถูกทางตีประเด็นให้แตก แนวคิดการศึกษาของ ไทยที่ใช้มา 100 ปี เป็นแนวคิดที่ผิด ระบบก็ผิด เป็นแนวคิดแบบอาณานิคม ซึ่งเรื่องนี้เกิดตั้งแต่ที่ตะวันตกรุกรานประเทศแถบนี้ ตอนนั้นคนไทยคิด ว่าฝรั่งมีอำนาจมาก เพราะเขามีความรู้และเราไม่มีความรู้ ฉะนั้นต้องจัดการศึกษาแบบที่ต่อท่อความรู้จากยุโรปมาไทย เป็นการเรียนแบบท่องจำ เราใช้เรื่องดังกล่าวมามากเกินจากการต้องพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพที่ยังมี เรื่องอื่นๆ อีกมาก ซึ่งคนโบราณก็รู้จึงมีคำกล่าวว่า 10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น 10 ตาเห็นไม่เท่ามือคลำ ฉะนั้นการเรียนรู้ ที่ดีที่สุดคือการลงมือทำ แต่เราจัดการศึกษาแบบ 10 ปากว่า และได้ทุ่มกำลังทั้งหมดไปสอนการท่องหนังสือหมด ต้องพบกับความศูนย์เปล่า ที่ผลลัพธ์คือบัณฑิตจบมาแล้วทำงานไม่เป็น ไม่อดทน ไม่รับผิดชอบ โครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก เพราะ รู้ว่าการอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ มีคุณอเนกอนันต์ช่วยให้ผู้อ่านมีสติปัญญา สมาธิ อารมณ์ เป็นคนมีเหตุผล คุณธรรม แต่ปัจจุบันยังมีเด็กยากจนอีกมากที่อยากอ่านหนังสือแต่ไม่มีหนังสือดีๆ อ่าน มูลนิธิเด็กจัดโครงการตู้หนังสือในบ้านเด็ก โดยจัดหนังสือจำนวน 50 เล่ม พร้อมตู้หนังสือรวมจำนวนเงิน 6,000 บาทต่อตู้ ส่งไปยังบ้านเด็กที่ยากจน ขาดโอกาส เป็นนักเรียนในระดับชั้น ป.4-ป.6 และชั้น ม.1-ม.3 ที่เป็นช่วงวัยที่กำลังค้นหาแรงจูงใจ เหมาะแก่การบ่มเพาะอุดมคติที่ดีเพื่อมีผลกับชีวิตในอนาคต โดยจะเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับรางวัลทั้งรางวัลระดับนานาชาติ รางวัลระดับประเทศมากมาย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถร่วมสนับสนุนโครงการฯ โดยสามารถนำจำนวนเงินบริจาคไปยื่นลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โทร.0-2814-0369 หรือเว็บไซต์ www.ffc.or.th |
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search