skip to main |
skip to sidebar
https://www.facebook.com/varakornsamakoses
วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มติชนออนไลน์
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่าเมื่อประเทศมีความกินดี อยู่ดีขึ้น
ขนาดของครอบครัวจะเล็กลงซึ่งส่งผลกระทบอย่างสำคัญ
ต่อขนาดของประชากรและสัด ส่วนของประชากรในวัยต่างๆ
จนอาจส่งผลกระทบต่อภาระการดูแลประชาชนของภาครัฐในอนาคต
อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาที่มีหลักฐานสนับสนุนว่า
สิ่งที่เข้าใจกันมาแต่เดิมนั้นไม่ถูกต้องสำหรับ สัตว์ทั่วไปนั้นเมื่อมีอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าเดิม
มีความกินดีอยู่ดีขึ้น การเจริญพันธุ์ก็จะสูงขึ้น
แต่สำหรับมนุษย์แล้วกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม
หลักฐานมีมากมายว่าเมื่อกระบวนการพัฒนาติดไฟ
ประเทศเหล่านี้จะประสบกับสิ่งที่เรียกว่า
การเปลี่ยนผ่านของประชากร (demographic transition)
อัตราการเจริญพันธุ์ (fertility rate)
ซึ่งหมายถึงจำนวนลูกซึ่งเกิดจากหญิงคนหนึ่ง
ตลอดอายุขัยของเธอจะเริ่มลดลง
ตัวเลขนี้มีการลดลงตั้งแต่ 8 ถึง 1.5
หากอัตราเจริญพันธุ์ต่ำเช่น อยู่ในระดับ 1.5
และถึงแม้อัตราตายของทารกจะลดลงเมื่อประเทศมีความกินดีอยู่ดีขึ้น
แต่ในหลายกรณีก็ไม่ทำให้ประชากรอยู่ในจำนวนคงที่ยั่งยืนได้ ตัวอย่างเช่น
ญี่ปุ่น แคนาดา และอีกหลายประเทศประสบปรากฏการณ์นี้
จนทำให้จำนวนประชากรลดลง
การพัฒนาประเทศมิได้ทำให้การเจริญพันธุ์ลดลงเท่านั้น
ยังสร้างปัญหาในอีกลักษณะหนึ่ง
กล่าวคืออายุขัยเฉลี่ยของประชากร (life expectance) เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ ต่ำมาก
อัตราการตายของทารกลดน้อยลง และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น
สิ่งที่เกิดตามมาก็คือโครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนไป
ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า
ประชากรในวัยทำงานจะต้องจ่ายภาษีเพื่อดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้
พูดง่ายๆ ก็คือต้องทำงานกันหนักเพื่อเลี้ยงดูคนสูงอายุ
ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ
ประสบปัญหาการลดลงของประชากร
หากไม่มีการอพยพประชาชนจากประเทศอื่นเข้ามาช่วย
(ในตอนกลางศตวรรษนี้ประชากรของประเทศพัฒนาแล้ว
ส่วนใหญ่จะลดลงพร้อมกับสัด ส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นมาก)
ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริงดังที่เข้าใจกันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ Mikko Myrskyla
แห่ง University of Pennsylvania
และพวกได้ศึกษาและเขียนบทความในนิตยสาร Nature
เมื่อปีที่แล้ว โดยพิสูจน์ว่าเมื่อประเทศต่างๆ มีการพัฒนาไปในระดับหนึ่งแล้ว
อัตราเจริญพันธุ์จะเพิ่มขึ้นอย่างกลับทิศทางกับความเชื่อเดิม
ศาสตราจารย์ Myrskyla
ใช้ข้อมูลอัตราการเจริญพันธุ์และ
ดัชนี HDI (Human Development Index ของ UN
ซึ่งสร้างบนพื้นฐานข้อมูลอายุขัยเฉลี่ย รายได้ต่อหัว
และระดับการศึกษา โดยมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1)
ของหลายประเทศทั่วโลกของ 2 ปี คือ
ค.ศ.1975 และ 2005
เมื่อเอาข้อมูลทั้งสองชุดของปี 1975 และ 2005
มาคำนวณหาความสัมพันธ์ก็พบว่า
ในปี 1975 ข้อมูลของ 107 ประเทศ
แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ชัดเจนที่ HDI สูงขึ้น
และอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง
กล่าวคือเป็นเส้นเกือบตรงที่ลากลงจากซ้ายมาขวา
เมื่อแกนตั้งคืออัตราการเจริญพันธุ์และแกนนอนคือ HDI
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาข้อมูลของ 240 ประเทศของปี 2005
ก็พบว่าความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับของปี 1975
แต่สำหรับกลุ่มประเทศที่มีค่า HDI สูงเกินกว่า 0.90 แล้ว
อัตราเจริญพันธุ์จะกลับสูงขึ้น
ข้อมูลของปี 2505 ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์
เป็นไปในลักษณะตัวยู คือ ลากจากซ้ายมาขวา
(เมื่อ HDI สูงขึ้น อัตราเจริญพันธุ์ลดลง)
แต่เมื่อมาถึงค่า HDI = 0.90 เส้นดังกล่าว
ก็จะทอดขึ้นจากขวาขึ้นไปซ้าย
ซึ่งหมายความว่ามีจุดผกผัน
กล่าวคือเมื่อพ้น HDI = 0.90 ไปแล้วอัตราเจริญพันธุ์จะสูงขึ้น
(ยกเว้นคานาดาและญี่ปุ่น)
ทางโน้มนี้เห็นได้ชัดเจนการศึกษาของ Myrskyla การ
ค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญเพราะส่งผลกระทบต่อ
การกำหนดนโยบายของภาครัฐสำหรับ อนาคต
ไม่ว่าจะเรื่องการรับคนอพยพเข้าประเทศ
การวางแผนดูแลผู้สูงอายุ การวางแผนครอบครัว ฯลฯ
และถือได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว
ว่ายังมีความหวังที่ประชากรอาจไม่ลดน้อยลงไป
แต่อาจคงตัว กล่าวคือจำนวนคนตายและคนเกิดเท่ากันในแต่ละปี
เหตุใดอัตราการเจริญพันธุ์จึงต่ำลงและกลับสูงขึ้นอีกครั้ง?
คาดว่าไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับคำตอบต่อไปนี้
แต่คำตอบของการลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์น่าจะเป็นว่า
(1) เมื่อประเทศรวยขึ้นสัดส่วนหญิงเข้าสู่ตลาดแรงงานสูงขึ้น
จึงไม่ต้องการมีลูกมาก
(2) เมื่อพอมีเงินมีความรู้ก็มีปัญญาวางแผนครอบครัว
(3) หญิงมีปากมีเสียงมากขึ้น
ในการควบคุมจำนวนลูกที่ตนเองต้องการมี
(4) ต้นทุนในการมีลูกสูงขึ้น
จึงมีลูกน้อยลงเป็นธรรมดา
(5) โอกาสลูกตายมีน้อยลง
จึงไม่จำเป็นต้องมีลูกมากเพื่อตาย
ดังในสมัยที่ประเทศยังไม่พัฒนา
(6) เมื่อมีการศึกษามากขึ้นก็รู้ว่าการมีลูกน้อย
แต่มีคุณภาพสูงดีกว่ามีลูกมาก
แต่คุณภาพด้อยกว่าสำหรับการผกผันของอัตราเจริญพันธุ์
เมื่อประเทศพัฒนาขึ้นมากนั้น
อาจมาจากการมีนโยบายการจ้างงาน
ที่สนับสนุนให้หญิงมีลูกมากคนขึ้น เช่น
ในประเทศพัฒนาแล้วอนุญาตให้ลางานได้นานขึ้น
บางประเทศยอมให้สามีลางานมาช่วยเลี้ยงลูกได้ด้วย
อย่างไรก็ ดี คำถามที่น่าสนใจกว่า
เพราะเป็นจริงกับครอบครัวเกือบทั่วโลก
นั่นก็คือเหตุใดมนุษย์จึงปรารถนา
ที่จะมีลูกน้อยลงในขณะที่มีเงินทองมากขึ้น
คำตอบอาจโยงใยกับจิตวิทยาของการสืบทอดชาติพันธุ์ของสัตว์
โดยอาจเห็นว่าทาง เลือกแรกคือการมีลูกมากๆ
และหวังว่าคงมีรอดบ้างเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์
ทางเลือกสองคือมีลูกน้อยและดูแลเป็นอย่างดีเพื่อให้อยู่รอด
ทางเลือกแรกเป็นของเผ่าพันธุ์สัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่มั่นคง
(ถูกกิน ถูกฆ่าง่าย)
และสำหรับสัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ "นิ่ง" พอควรและปลอดภัย
จากศัตรูในระดับหนึ่งนั้นจะใช้ทางเลือกสอง
เมื่อ เปรียบเทียบกับสัตว์อื่นแล้ว
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสิ่งแวดล้อมไม่เป็นภัยจึงใช้ทางเลือกสอง
แต่กระนั้นก็ตามในขณะที่ยังจนอยู่ดังเช่น
ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
ก็จำเป็นต้องมีลูกมากๆ คล้ายทางเลือกแรก
และเมื่อร่ำรวยขึ้นรู้สึกปลอดภัยขึ้นก็ใช้ทางเลือกสอง
โดยดูแลอุ้มชูลูกน้อย เป็นอย่างดี
แต่เมื่อกินดีอยู่ดีมากยิ่งขึ้น
จนรู้สึกว่าการมีลูกมากขึ้นมิได้ทำให้
ลูกคนอื่นสูญเสียการอุ้มชูดูแลลงไป
สัญชาตญาณเดิมของการมีลูกไว้สืบเผ่าพันธุ์ก็ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
และนั่นก็คือจุดผกผันดังกล่าว
สิ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือจิตวิทยา
ของการสืบสานเผ่าพันธุ์เป็นปัจจัยเบื้องหลัง
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ ของมนุษย์
ทางโน้มของการมีอัตราเจริญพันธุ์สูงขึ้น
เมื่อประเทศพัฒนาไปมากๆ ขึ้น
ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วอุ่นใจขึ้นมาก
แต่ก็ไม่อาจมั่นใจได้ว่าเป็นจริงกับทุกประเทศ
และเมื่อข้ามเวลาออกไปอีกปรากฏการณ์เช่นนี้
จะยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะที่เรียกว่า cross section
กล่าวคือเสมือนกับการถ่ายภาพนิ่ง 2 ครั้ง
ข้ามเวลากัน คือ 1975 ที่ไม่มีจุดผกผัน
และปี 2005 ที่มีจุดผกผัน
มิได้เป็นการศึกษาข้อมูลของประเทศ
ข้ามระยะเวลายาวนาน (time series data)
ในแนวลึกว่าอัตราการเจริญพันธุ์เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อกินดีอยู่ดีมากขึ้นจริง หรือไม่
ถึงอย่างไรก็เป็นงานศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะกระตุ้นให้มีการถกเถียงกันและศึกษากันลึกซึ้งยิ่งขึ้น



ไทยรัฐ
23 ตุลาคมของทุกปี คือ วันปิยมหาราช
โดยเฉพาะ 23 ตุลาคม 2553 ถือเป็นวันสำคัญกว่าทุกปี
เพราะเป็นวาระครบรอบ 100 ปีแห่งวันสวรรคต
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยจะมีการเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่
เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงคุณูปการ
ที่ทรงมีแก่ประเทศชาติและ ประชาชนชาวไทย
"๑๐๐ ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ชื่องาน ที่รัฐบาลกำหนดจัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็น 100 ปี
ที่ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะ ทรงนำพาประเทศ
ให้รอดพ้นจากการล่าอาณานิคม ชาติไทยจึงเป็นเอกราชมาจนถึงทุกวันนี้
ทั้งทรงริเริ่มและวางแผนให้โครงสร้างของสังคมไทย
มีความทันสมัยทัดเทียมกับ นานาอารยประเทศ
ที่สำคัญ ทรง "เลิกทาส"
เพื่อให้คนไทย ได้เป็น "ไท" เท่าเทียมกัน
อันเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
คุณูปการ จากพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ ต่อนานาประเทศทั่วโลก
และใน ปี พ.ศ.2546 องค์ การยูเนสโก
ได้ยกย่องและประกาศเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็น "บุคคลสำคัญของโลก"
และในปี พ.ศ.2552
ก็ประกาศขึ้นทะเบียนเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระองค์เป็น
"มรดกความทรงจำของโลก"
และในวาระสำคัญนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต แบบตราสัญลักษณ์ ๑๐๐ ปี
แห่ง การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อให้ประชาชนนำไปประดับบ้านเรือนเทิดพระเกียรติในวาระดังกล่าวด้วย
โดยตราสัญลักษณ์ มีอักษรพระ ปรมาภิไธย จปร
ประดิษฐานอยู่ใจกลางตรา
หมายถึง พระองค์ทรงสถิตอยู่ในใจไพร่ฟ้าประชากร
ดั่งเลข ๑๐๐ ในหัวใจสีชมพู
ด้านล่าง แบบลวดลายไทย หมายถึง
ความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย แพรแถบประดิษฐ์อักษร
๑๐๐ ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สีที่ใช้ ชมพู คือ สีประจำวันพระบรมราชสมภพ
สีน้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์
สีเหลือง แทน แสงสว่าง
สีทองนั้นด้วยพระองค์เปี่ยมคุณค่าหาผู้ใดเปรียบ
สีเขียว คือความสดชื่น เกษมสำราญ
ศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
กล่าวว่า 100 ปีแห่งวันสวรรคตคือ 100 ปี
แห่งบทเรียนที่คนไทยควรเรียนรู้ในพระราชกรณียกิจของพระองค์
ที่ทรงนำบ้านเมืองฝ่าฟันอุปสรรคจนไทยเป็นชาติที่มั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน
โดย เฉพาะด้านการศึกษา เพราะทรงต้องการให้คนไทยมีความรู้
โปรดให้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่
มีการตั้งโรงเรียนเพื่อวางรากฐาน สร้างครู
ที่สำคัญเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เรียนหนังสือเทียมเท่ากับผู้ชาย
ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากในสมัยนั้น
"ทรงทำให้คนฉลาด
แต่ขณะเดียวกันทรงเน้นมีความรู้ต้องคู่กับศีลธรรม
เพราะรู้มากฉลาดมากก็โกงมาก
รู้น้อยฉลาดน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่โกง
ดังนั้น ต้องมีศีลธรรมหรือธรรมะกำกับ" ศ.(พิเศษ) ธงทอง ระบุชัดเจน
ด้านพระ พุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้มี การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎก
เป็นอักษรไทยครั้งแรกในประเทศไทย
และพระราชทานแด่พระอารามหลวงและวัดราษฎร์
ทั้งในกรุงเทพฯและหัวเมือ
ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดราชบพิธ
วัดเทพศิรินทราวาสวัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางค์นิมิต
วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา
วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ และ ทรงปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ
ทำให้มีสร้อยนามว่า "วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์"
ทั้ง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่าง
ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี
และโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงสองแห่งจนกลายมาเป็น
มหาวิทยาลัยสงฆ์ในปัจจุบัน คือ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระธรรมวรเมธี กรรมการมหาเถรสมาคม
ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานที่วัดราชบพิธฯ กล่าวว่า
พระองค์ทรงใช้วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประชาชนในรูปแบบของ "บวร"
หรือ บ้าน วัด โรงเรียน
ที่สำคัญทรงเป็นผู้ให้กำเนิดการปกครองคณะสงฆ์
ทรงให้คณะสงฆ์ปกครองตนเอง
และให้มีการตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้นครั้งแรก
"วัด ราชบพิธฯ และหน่วยงานต่างๆ กว่า 300 แห่ง
ที่ใช้พระปรมาภิไธยของพระองค์ท่าน
ร่วมจัดกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 21-23 ต.ค.นี้
ที่วัดราชบพิธฯ โดยวันที่ 23 ต.ค.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญ
พระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ ด้วย" พระธรรมวรเมธี กล่าว
พระพรหมเมธี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส และกรรมการมหาเถรสมาคม กล่าวว่า
วัดเทพศิรินทราวาสจะจัดงานในวันที่ 22 ต.ค.มีทั้งตักบาตรพระสงฆ์ 100 รูป
มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียน 100 ทุน และเวลา 17.00 น.
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จฯแทนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส
สำหรับ กิจกรรมในส่วนของรัฐบาลนั้น ส่วนกลางจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 ต.ค.
โดยมีพิธีการทำบุญ ตักบาตรและพิธีบวงสรวงบริเวณสวนอัมพร วันที่ 23 ต.ค.
และ ลานพระราชวังดุสิต มีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ของ 25 หน่วยงานภาครัฐ ที่
อาคารถาวรวัตถุ หน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จัดนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติ
หอประชุมกองทัพเรือ กองบัญชาการกองทัพเรือ มีสัมมนาเชิงวิชาการ
"รำลึก 100 ปี ปิยมหาราชานุสรณ์ : บทเรียนความอยู่รอดของชาติท่ามกลางความขัดแย้ง"
โรงละคร แห่งชาติ มีแสดงละครบทพระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า
และ หอสมุดดำรงราชานุภาพ
หลังอาคารถาวรวัตถุ จัดฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ในรัชสมัย
ส่วน ภูมิภาค จัดใน 4 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 8 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค.-31 ธ.ค.2553
เป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ ขณะที่ กรมป่าไม้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสถาปนาขึ้น จัดให้อาสาสมัครพิทักษ์ป่าปลูกต้นไม้ทั่วประเทศ
ทีมข่าวการศึกษา มั่นใจว่า ถึงวันนี้แม้ผ่านมาถึง 100 ปีแห่งการสวรรคต
แต่พระพุทธเจ้าหลวงยังคงสถิตในหัวใจของคนไทยทุกหมู่เหล่า
ทั้งสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงริเริ่มและพระราชทานกิจการด้านต่างๆ มากมาย
อันเป็นรากฐานของความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ดั่งพระสมัญญานาม "พระปิยมหาราช"..... พระราชาอันเป็นที่รักยิ่งแห่งราษฎร.
ทีมข่าวการศึกษา


http://teetwo.blogspot.com/2010/08/blog-post_8004.htmlhttp://teetwo.blogspot.com/2009/09/blog-post_6589.htmlสมคิด เลิศไพฑูรย์ ลอยลำ อธิการบดีคนใหม่
ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยม.ธรรมศาสตร์เลือกด้วยคะแนน 25 เสียง
มติชนออนไลน์
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ในช่วงเช้าวันที่ 18 ตุลาคม
มีการประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยมีวาระที่สำคัญคือ การเลือกอธิการบดี คนใหม่
แทน ดร. สุรพล นิติไกรพจน์
ที่จะพ้นวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 25 ตุลาคม ศกนี้
ผลการลงคะแนน ผลปรากฏว่า
ศ. ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 25 เสียง
ขณะที่ รศ. ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม ได้คะแนน 5 เสียง
และมีกรรมการ งดออกเสียง 1 คน ส่วน รศ.กําชัย จงจักรพันธ์"
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้ถอนตัวไปก่อนหน้านี้แล้วก่อนหน้า ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ เปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า
อาจารย์สมคิด เป็นเพื่อนของตนจริง
แต่ไม่ใช่ทายาทของตนเองแน่นอน
ไม่มีใครเป็นทายาทของใครได้ในธรรมศาสตร์
ส่วนตนเองจะกลับไปสอนกฎหมายที่คณะนิติศาสตร์
เช่นเดิม สำหรับ วิสัยทัศน์ของ ดร.สมคิด
ในช่วงหาเสียงอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศตัวว่า
เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย
ดังนั้นผมจึงอยากเห็นธรรมศาสตร์เน้นการวิจัย
เน้นวิชาการและพัฒนาให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ซึ่งคงต้องรับอาจารย์วุฒิปริญญาเอกเข้ามามากๆ
และมีอาจารย์ระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ให้มากด้วย มธ.
จึงจะอยู่ได้ด้วยคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกศิษย์มีคุณภาพดีตามไปด้วย
ผมอยากให้ธรรมศาสตร์เป็นแหล่งชุมนุมของผู้มีความรู้
ทั้งอาจารย์ นักศึกษาและผู้ที่ต้องการเข้ามาใฝ่หาความรู้
ที่สำคัญผมอยากให้ธรรมศาสตร์
กลับไปเน้นจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์
คือผลิตบัณฑิตที่รักประชาธิปไตย
กล้าตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รักความเป็นธรรม
กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้อง""นักศึกษาเปรียบเหมือน เมล็ดที่ตกอยู่ที่ไหนก็จะงอกเงย
ช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
ผมอยากเห็นภาพนี้อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า
บรรยากาศการเมืองในธรรมศาสตร์หายไป
ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากไม่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีในท่าพระจันทร์
เพราะย้ายไปอยู่ที่ศูนย์รังสิตหมด
ตอนนี้ท่าพระจันทร์เงียบมาก
แทบจะไม่เห็นบรรยากาศทางวิชาการเหมือนในอดีต
ผมจึงมีความคิดที่จะย้ายนักศึกษาชั้นปี 1-2 และบางคณะ
เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน พาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นต้น
กลับมาเรียนที่ท่าพระจันทร์เหมือนในอดีต
เพราะท่าพระจันทร์เป็นจุดเริ่มต้นของ มธ.
เราต้องธำรงรักษาสถานที่และจิตวิญญาณของท่าพระจันทร์ตลอดไป
แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยว่า
จะมีมติอย่างไร รวมทั้งจะต้องจัดสรรทรัพยากรให้ดี
โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนที่อาจจะต้องเดินทางระหว่าง
ท่าพระจันทร์กับรังสิต อย่างไรก็ตาม
คิดว่าประชาคมนักศึกษาคงไม่มีใครต่อต้าน
เพราะส่วนใหญ่ต้องการมาเรียนที่ท่าพระจันทร์กันทั้งนั้น"
"นอกจากนี้ ผมอยากให้ มธ.มีโรงเรียนธรรมศาสตร์วิทยานุสรณ์
ลักษณะเดียวกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
เพื่อผลิตเด็กเก่งด้านวิทยาศาสตร์ระดับชั้น ม.4-6
ป้อนให้กับ มธ. ตลอดจนจะปรับปรุง มธ.ให้ทันสมัย
ในเรื่องหอพักของนักศึกษาและบุคลากร
ผมได้ยินนักศึกษาบ่นเรื่องนี้กันมาก
ซึ่งคงต้องนั่งพูดคุยกับนักศึกษาว่า
ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร จะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด
เรื่องหอพักบุคลากร มธ.ต้องจัดให้เพียงพอ
โดยถือว่าเป็นสวัสดิการและขวัญกำลังใจของทุกคน
ทั้งนี้ การที่ มธ.อยู่ที่รังสิตเราเสียเปรียบมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเมืองพอสมควร
แต่เราไม่ควรยอมรับสภาพ เราควรพัฒนาชีวิตนักศึกษาให้ดีขึ้น
ผมอยากให้นักศึกษาที่รังสิตมีชีวิตที่ดีแบบเดียวกับที่ท่าพระจันทร์
หาอาหารกินง่าย ปลอดภัย และราคาไม่แพง
มีห้องสมุดที่ดี มีห้องเรียนที่ทันสมัย
ผมคาดหวังว่า มธ.ในอนาคตจะต้องเป็นศูนย์รวมของผู้รู้ทางวิชาการ
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
เป็น University of creative incubator
และนำความรู้ดังกล่าวไปชี้นำสังคม
มีศักยภาพในการแข่งขันกับมหาวิทยาลัย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และบุคลากรและนักศึกษา
สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและยั่งยืน"
"ผม อยากจะให้ธรรมศาสตร์มีวัน sport day
เพราะธรรมศาสตร์อาจเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่มี sport complex
สมบูรณ์ภายในมหาวิทยาลัย
เรามีศูนย์กีฬาที่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถดูแลอยู่
เราจึงควรส่งเสริมให้นักศึกษา
อาจารย์และเจ้าหน้าที่เล่นกีฬา
เหมือนกับหลายหน่วยงานที่กำหนดให้มีวัน sport day
ซึ่งกีฬาจะทำให้คนธรรมศาสตร์ไม่มีโรคภัย
ส่วนโรงพยาบาล มธ.ในอนาคต
จะต้องเป็นโรงพยาบาลด้านการวิจัยควบคู่ไปกับโรงพยาบาลรักษาคนไข้
ที่สำคัญจะต้องเพิ่มบุคลากรของโรงพยาบาลในด้านต่างๆ
ให้เพียงพอด้วย รวมทั้งเพิ่มการให้บริการแก่บุคลากรของเรา
ผมจะสนับสนุนเต็มที่ให้มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง
โดยแรกๆ อาจมีสัก 2-3 ศูนย์ เช่น
ศูนย์ความเป็นเลิศในการตรวจพิเคราะห์โรค
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสมุนไพร
และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
แล้วค่อยขยับขยายออกไปให้มากขึ้นในอนาคต
รวมทั้งควรมีศูนย์เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์
เราต้องหางบประมาณมาทำเรื่องพวกนี้ให้ได้
ไม่เช่นนั้นแล้วงานวิจัยของ มธ.ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวะ
แพทย์คงไม่ก้าวไกล ศูนย์เครื่องมือที่อาจมีเช่น
เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพและอณูชีววิทยา
ศูนย์เครื่องมือวิจัยด้านการวิเคราะห์เคมีและวัสดุศาสตร์
ศูนย์เครื่องมือด้านการวิจัยทางฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น"
"ผม อยากเห็น มธ.ศูนย์รังสิตในอนาคตเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ
ทั้งด้านวิชาการ คือมีครบทุกสาขา ด้านสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์
และสาธารณสุข สมบูรณ์แบบด้านการวิจัย คือ
มธ.จะมีศูนย์เครื่องมือ มีศูนย์ความเป็นเลิศ
มีการจดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร พร้อมร่วมมือกับทั้งสถาบัน A.I.T.
และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และมีความสมบูรณ์แบบด้านที่พักอาศัย
ที่สามารถรองรับทั้งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และนักศึกษาอย่างเพียงพอ สมบูรณ์แบบด้านสนามกีฬา
ที่มีสนามกีฬาทุกประเภท สมบูรณ์แบบด้านการแพทย์
โดยมีจุดเน้นเฉพาะทาง ซึ่งเราจะก้าวไปอย่างนั้นได้
ตัวอธิการบดีจะต้องทำงานหนัก วิสัยทัศน์ต้องชัดเจน
โดยมีคนใน มธ.ช่วยกันขับเคลื่อนไปข้างหน้า"
"สำหรับ มธ.ศูนย์ลำปางในอนาคตจะต้องดีขึ้น
ต้องพัฒนามากกว่าในปัจจุบัน
ทุกวันนี้แม้ว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังพัฒนาได้ไม่เท่าท่าพระจันทร์ และรังสิต
ผมจะพัฒนาให้ศูนย์ลำปางเป็นที่เชิดหน้าชูตาในภาคเหนืออย่างเต็มภาคภูมิ
เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านสังคมศาสตร์
ที่ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ที่สอดคล้อง กับสภาพพื้นที่
และวัฒนธรรมของชาวภาคเหนืออย่างแท้จริง
ส่วน มธ.ศูนย์พัทยา เราวางแผนให้เป็นศูนย์ด้านการฝึกอบรม
ศูนย์ด้านการปกครองท้องถิ่น และการเรียนการสอนระดับปริญญาโท
ซึ่งทิศทางนี้ถูกต้องแล้ว ผมจะขยายจำนวนห้องของโรงแรมเพิ่มขึ้น
ปรับปรุงด้านกายภาพ และส่งเสริมให้คณะที่จัดการเรียนการสอนอยู่แล้ว
ให้พัฒนาได้อย่างเต็มที่" "ส่วน เรื่องการผลักดัน
มธ.ออกนอกระบบราชการนั้น
ขณะนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยทำมาตั้งแต่สมัย รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร เป็นอธิการบดี
เข้าใจว่ามีการทบทวนในระดับคณะ/มหาวิทยาลัย/สภามหาวิทยาลัยหลายครั้ง
และน่าจะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วด้วย
ซึ่งขณะนี้มีมหาวิทยาลัยจำนวนมากเปลี่ยนสถานภาพ
เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของ รัฐไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา ฯลฯ
ดังนั้น การจะดำรงสภาพมหาวิทยาลัยในส่วนราชการต่อไป
อาจทำให้ธรรมศาสตร์ล้าหลังกว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้
แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสภาพไปแล้ว
ก็มีปัญหามากพอสมควร
ธรรมศาสตร์จึงต้องระมัดระวังกับการเปลี่ยนสภาพไปด้วย"

http://teetwo.blogspot.com/2009/08/blog-post_03.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/03/blog-post_8306.htmlhttp://teetwo.blogspot.com/2009/09/blog-post_28.html
สุดฮือฮา! พบความเกี่ยวข้องหลายประการระหว่างตัวเลข 33
กับภารกิจกู้ภัยช่วยชีวิต 33 คนงานติดเหมืองที่ชิลี...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค. ว่า
ตัวเลข 33 ได้กลายเป็น "หมายเลขนำโชค"
ของปฏิบัติการช่วยชีวิตคนงานทั้ง 33 ราย
ที่ติดอยู่ที่ระดับความลึกกว่า 700 เมตรใต้เหมืองทอง-ทองแดง"
ซัน โฮเซ" ที่เมืองโกเปียโปทางตอนเหนือของประเทศชิลี
ไปอย่างไม่น่าเชื่อ โดยพบความเกี่ยวข้องกันหลายประการระหว่างเลข 33
กับเหตุการณ์กู้ภัยครั้งประวัติศาสตร์นี้
เริ่มจากการขุดเจาะอุโมงค์ หรือ "ปล่องทางออก"
สำหรับใช้หย่อนแคปซูลช่วยเหลือซึ่งใช้เวลา 33 วัน
ในการขุดแบบพอดิบพอดี แม้หลายคนอาจมองว่า
เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้นก็ตาม
ขณะ ที่มิคาอิล โปรเอสทากิส ผู้บริหารของบริษัทดริลเลอร์ ซัพพลาย
ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขุดเจาะอุโมงค์ช่วยเหลือสำหรับช่วยชีวิตคนงาน
เหมืองทั้ง 33 รายออกมาระบุว่า
ขนาดของอุโมงค์หรือปล่องสำหรับหย่อนแคปซูล "ฟีนิกซ์"
นั้นก็มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 66 เซนติเมตร
ซึ่งมีค่าเท่ากับตัวเลข 33 คูณ 2 นั่นเอง
"ผมเชื่อในความมหัศจรรย์ของตัวเลข มันมั่นใจว่าระหว่างตัวเลข 33
กับคนงานทั้งหมดต้องมีความหมายพิเศษอะไรบางอย่างซ่อนอยู่เป็นแน่"
โปรเอสทากิสกล่าว
ขณะเดียวกันมีการตั้งข้อสังเกตว่า ปฏิบัติการช่วยเหลือ
คนงานเหมืองทั้งหมดยังได้เริ่มขึ้นในวันที่ 13 ต.ค. 2010
ซึ่งสามารถเขียนในรูปย่อๆได้ว่า 13/10/10
และเมื่อนำตัวเลขวันที่ทั้งหมดมาบวกกัน (13+10+10)
ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาเท่ากับ 33 อีกเช่นกัน
แม้แต่ประธานาธิบดีเซบาสเตียน ปินเญรา
ของชิลีเองยังพูดถึงความมหัศจรรย์ของเลข 33 ดังกล่าว
ด้าน มาเรีย เซโกเบีย น้องสาวของดาริโอ เซโกเบีย
หนึ่งในคนงานที่ได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาจากเหมืองซัน โฮเซ
ออกมาให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของชิลีว่า
เลข 33 ปรากฏอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ 33 คนงานอย่างสอดคล้องกัน
และเธอเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปาฏิหาริย์จากพระผู้เป็นเจ้า
แค่นั้นยังไม่พอ นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัย "กาตอลิกา" ของชิลี
ยังออกมาระบุว่า ตัวเลข 33 ตามความเชื่อของชาวคริสต์นั้น
ยังถือเป็นตัวเลขอายุของพระเยซู
เมื่อครั้งที่พระองค์ถูกตรึงด้วยไม้กางเขนอีกด้วย 
