Custom Search

Apr 5, 2020

ไนท์สปอต : ปรับคลื่นก่อนที่จะหายไปกับสายลม

นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2533
โดย เพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม
ที่มา http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=7120




เคยมีคนกล่าวว่า ชื่อ "ไนท์สปอต" นั้นเอาไปแปะไว้ที่ไหนก็ขายได้ซึ่งก็พอจะเป็นความจริงอยู่บ้าง
แต่ไป ๆ มา ๆ ไนท์สปอตก็ถูกทอดทิ้งจากคู่แข่งคนอื่น ๆ
กลายเป็นบริษัทธุรกิจบันเทิงที่ค่อนข้างจะไม่บันเทิงนัก
ล่าสุดซีเอสเอ็นบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจต้องโดดเข้าไปช่วยคลายปมปัญหาและผัดหน้าผัดตาไนท์สปอตให้ขึ้นบน
เวทีร้องเพลงได้อีกครั้ง



เมื่อประมาณ 25 ปีมาแล้ว อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ เป็นดีเจนั่งจัดรายการวิทยุอยู่ที่จส.เอฟ
เอ็มรายการที่เขาจัดเป็นรายการบันเทิง เสนอเพลงสากล
โดยเฉพาะเพลงร็อคจากอังกฤษ โดยมีน้ำส้ม "กรีนสปอต"
เป็นสปอนเซอร์รายใหญ่
รายการวิทยุดังกล่าว อิทธิวัฒน์ให้ชื่อว่า "ไนท์สปอต" (NITE SPOT)

อิทธิวัฒน์นั้นสนใจในเรื่องดนตรีและการเป็นดีเจมาตั้งแต่เรียนอยู่เซ็นคาเบรียล
ตรงข้ามกับโรงเรียนมีร้านขายกาแฟของหลุยส์ ธุรวณิชย์
ซึ่งหลุยส์ก็เป็นดีเจจัดรายการวิทยุอยู่ด้วย โดยมีกรีนสปอตเป็นสปอนเซอร์
ตัวอิทธิวัฒน์มีโอกาสจัดรายการวิทยุแทนหลุยส์เป็นบางครั้งในฐานะคนรู้จัก
จนในที่สุดเมื่ออิทธิวัฒน์เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และมาทำงานที่เอสโซ่ อิทธิวัฒน์ก็มีโอกาสจัดรายการ "ไนท์สปอต"
เป็นของตนเต็มตัวโดยกรีนสปอตก็ตามมาเป็นสปอนเซอร์ให้อีกด้วย


รายการไนท์สปอตเป็นที่นิยมในบรรดาคอเพลงสากลค่อนข้างมาก เพราะจัดเพลงได้ทัน
สมัยกับเมืองนอก และลีลาการจัดรายการที่แปลกออกไปเช่น
ลีลาการพูดคร่อมเพลง รายได้จากสปอนเซอร์ก็มากขึ้นทุกที
จนอิทธิวัฒน์มปัญหาเรื่องการเสียภาษี
เพราะใจอิทธิวัฒน์เองนั้นรู้สึกว่าตนเองน่าจะ
มีวิธีการเสียภาษีที่ถูกต้องและรัดกุมเหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่
ซีซีจง กรรมการผู้จัดการบริษัทกรีนสปอตในยุคนั้น
ในฐานะสปอนเซอร์รายใหญ่ก็เลย
แนะนำให้อิทธิวัฒน์ตั้งกิจการของตนเป็นรูปบริษัทเสียเลยจะเหมาะกว่าพร้อม ๆ
กับแนะนำคนที่มีความสามารถในเรื่องการจัดการ ติดต่อหน่วยราชการ
อีกทั้งมีความพร้อมในด้านการตลาดเป็นอย่างมากในยุคนั้นมาร่วมปรึกษาหารือด้วย
นั่นคือขวัญชัย กิตติศรีไสว
ในช่วงนั้นขวัญชัยเป็นพนักงานของบริษัทไทยยาซากิ ขายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับหน่วยราช
การเมื่อกรมการขนส่งทางบกจัดสร้างสถานีวิทยุขสทบ.เป็นของตนเอง
ไทยยาซากิประมูลขายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับขสทบ.ได้
ขณะเดียวกับที่ขวัญชัยก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการเช่าเหมาเวลาของสถานีวิทยุขสทบ.ได้ทั้งหมด
ขวัญชัยกลายมาเป็นผู้บริหารรายการวิทยุด้วยเหตุนี้ขวัญชัยจึงมีโอกาสรู้จักกับซีซีจง ใน
ฐานะเจ้าของสินค้ากับเจ้าของสื่อ ซีซีจงจึงกลายเป็นสะพานเชื่อมให้ขวัญชัยรู้จักกับอิทธิวัฒน์
และต่อมาทั้งสองคนก็มาร่วมหุ้นกันสร้างบริษัทไนท์สปอตโปรดักชั่นขึ้นมาในปี 2518
แรกเริ่มของไนท์สปอตมีพนักงานสี่คน นอกจากอิทธิวัฒน์และขวัญชัยแล้วก็มี
วาสนา วีระชาติพลีซึ่งเพิ่งจบสถาปัตย์ จุฬาฯ
มาช่วยจัดรายการและเลขานุการบริษัทอีกหนึ่งคน
อิทธิวัฒน์นั้นดูแลเรื่องการผลิตรายการส่วนขวัญชัย
ซึ่งไม่มีความรู้ด้านเพลงเลยนั้นรับหน้าที่ทางด้านการตลาด
และการบริหารภายในสำนักงานสำหรับที่ขสทบ. นั้นขวัญชัยก็ยังทำอยู่
แต่เมื่อหมดสัญญากับสถานี ขวัญชัยก็มามุงานที่ไนท์สปอตเต็มที่
ทั้งอิทธิวัฒน์และขวัญชัยคือคู่หูที่ร่วมแรงร่วมใจสร้างไนท์สปอต
จนเป็นที่รู้จักไปทั่วในช่วงเวลากว่า 15 ปี

ภาพแห่งความสำเร็จของไนท์สปอตนั้นก็คือ

หนึ่ง-ความสำเร็จในฐานะผู้นำในด้านผู้ผลิตรายการวิทยุ
หัวใจแห่งความสำเร็จของไนท์สปอตนั้นก็คือ "พลังการสร้างสรรค์สิ่งใหม่"
ในด้านผลิตรายการวิทยุ อิทธิวัฒน์เล่าว่า ในยุคเริ่มต้นไนท์สปอตนั้นเพลงไทย
ยังไม่เป็นที่นิยสอย่างแพร่หลายเช่นปัจจุบันรายการวิทยุส่วนใหญ่เปิดแต่เพลงสากล
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงสากลจากอเมริกา
แต่ด้วยประสบการณ์ในการฟังเพลงและจัดรายการมานานของอิทธิวัฒน์
ทำให้เขามาจับตลาดได้ว่า ต้นตอเพลงสากลที่เป็นที่นิยมในอเมริกา
และลามเรื่อยมาถึงเมืองไทยนั้นล้วนเป้นที่นิยมมาจากอังกฤษก่อน
ทั้งสิ้นพอดีอิทธิวัฒน์มีน้องชายอยู่ที่อังกฤษ ส่งแผ่นเสียงมาให้สม่ำเสมอ
ซึ่งกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบเป็นอย่างดี
ดังนั้นอิทธิวัฒน์จึงเปิดเพลงสากลล่วงหน้าคนอื่นถึงสามเดือน

อิทธิวัฒน์เป็นนักจัดรายการที่สร้างภาพพจน์ที่เก่งโดยธรรมชาติ
เขาสามารถสร้างรายการที่ผลิตโดยไนท์สปอตให้
เป็นรายการที่เป็นสัญลักษณ์ของ "ความสมัยใหม่" ด้วยตัวเพลงทีเขาเปิด
ด้วยวิธีการนำเสนอและรูปแบบที่แตกต่างจากนักจัดรายการรุ่นเดียวกัน
เช่น เสนอช่วงคุยกับศิลปิน บันทึกการแสดงสด
ร่วมสนุกทางโทรศัพท์ เพลงแจ๊ส AMERICAN TOP FORTY เป็นต้น
ไนท์สปอตกลายเป็นสถานที่ที่คนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนักจัดรายการวิทยุเข้าไปร่วมงานด้วย
เช่น วินิจ เลิศรัตนชัย จิราพรรณ ลิ่มไทย วิโรจน์ ควันธรรม ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ เป็นต้น
และคนรุ่นใหม่เหล่านี้นี่เองที่ยิ่งกลายเป็นพลังขับเคลื่อนแห่งการสร้างสรรค์
ให้กับไนท์สปอตทับทวี ซึ่งคเหล่านี้ต่อมาคือนักจัดรายการวิทยุชื่อดัง
ที่ยังได้รับความนิยมแม้ในปัจจุบัน
การตั้งเป็นรูปบริษัทเป็นเงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่ทำให้ไนท์สปอต
เติบโตรวดเร็วเพราะในยุคนั้นนักจัดรายการล้วนเป็นอาชีพอิสระ ไม่มีสังกัด
แต่เมื่อไนท์สปอตเป็นบริษัทขึ้นมา
อิทธิวัฒน์ก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตรายการวิทยุ
ได้มากรายการมากสถานีโดยการเสริมนักจัดรายการเข้ามาร่วมงานมากขึ้น
เมื่อรายการได้รับความนิยม โฆษณาเพิ่มมากขึ้น
ก็ย่อมเป็นที่สนใจของเจ้าขงสถานีหรือเข้าขอเวลาไนท์สปอต
จึงได้รับจ้างวานให้ไปผลิตรายการในช่วงเวลาต่าง ๆ มากมาย
รวมไปถึงเป็นเจ้าของเวลาของตนเองโดยตรง
สถานีวิทยุที่เป็นหลักของไนท์สปอตในช่วงต่อมาคือททท.เอฟเอ็ม.99.OMHz ของอสทม.
ซึ่งไนท์สปอตเหมาเวลาการจัดรายการไปทั้งหมด, ททบ.เอฟเอ็ม94.MHz,100.5 และ 95 MHz

สอง-ความสำเร็จในด้านการเป็นผู้นำการจัดคอนเสิร์ท ไม่มีใครที่ปฎิเสธบทบาทนี้ของไนท์สปอต
เป็นเวลาเกือบ 15 ปีมาแล้วที่ไนท์สปอตทำให้คนไทยคุ้นเคยกับคำว่าคอนเสิร์ต
หลังจากตั้งไนท์สปอตมาได้ประมาณ 1 ปี ไนท์สปอตก็เริ่มจับงานคอนเสิร์ตจากต่างประเทศ
เป็นครั้งแรก ซึ่งอิทธิวัฒน์กล่าวว่ามันเป็นจังหวะที่มาโดยบังเอิญ
เพราะครั้งนั้นไนท์สปอตรับจัดคอนเสิร์ตวง THE STYLISTIC ต่อจากชาวมาเลเซีย
ที่จะมาจัดในไทยและติดต่อจะโฆษณาผ่านไนท์สปอต
พอดีชาวมาเลเซียคนนั้นเกิดมีปัญหาจัดร็อคคอนเสิร์ตที่มาเลเซียแล้วเกิดจลาจล
เจ้าตัวก็เลยหลบลี้หายหน้าไปไนท์สปอตก็เลยรับช่วงจัดต่อไป

คอนเสิร์ตครั้งนั้นจัดที่โรงแรมดุสิตธานีก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่กี่วัน
แต่ก็ประสบความสำเร็จด้วยดี ผลพวงการจัดคอนเสิร์ตครั้งนั้นนอกจากจะทำให้อิทธิวัฒน์
และไนท์สปอตเกิดความคิดที่จะจัดคอนเสิร์ตครั้งต่อไปแล้ว
ยังทำให้อิทธิวัฒน์และขวัญชัยได้รู้จักกับวิมล เตชะไพบูลย์และไชยยงค์ นนทสุต อีกด้วย

ไชยยงค์นั้นเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมมโนราห์
ซึ่งเป็นโรงแรมที่ชาวมาเลเซียที่เตรียมจัดคอนเสิร์ตมาพัก
ไชยยงค์รับติดต่อกับไนท์สปอตให้และเลยเถิดมาจน
ร่วมประสานงานจัดคอนเสิร์ตกับไนท์สปอต
และสุดท้ายก็เลยมาทำงานกับไนท์สปอตในตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการ

ไชยยงค์นั้นรู้จักกับวิมล เตชะไพบูลย์ ซึ่งเพิ่งกลับมาจากเมืองนอก
และเตรียมออกคลอสเตอร์เบียร์สู้กับเบียร์ตราสิงห์
แต่ยังไม่มีแผนโปรโมชั่นไยยงค์ก็เลยดึงวิมลและคลอสเตอร์เข้ามา
โดยทางด้านวิมลนั้นก็มองความสำเร็จของกรีนสปอตเป็นตัวอย่าง
คลอสเตอร์ก็น่าจะมีทางเป็นเช่นนั้นบ้างจึงมอบคอลสเตอร์ให้ไนท์สปอตทำโปรโมชั่น
ซึ่งในเวลาต่อมาผู้ฟังวิทยุจะต้องได้ยินเสียงของดีเจไนท์สปอต
ควบคู่กับเสียงเพลงโฆษณาคอลสเตอร์เป็นประจำ
และในปัจจุบันชื่อของเบียร์คลอสเตอร์ก็เป็นที่ยอมรับว่าพอจะทัดเทียมสู้กับ
เบียร์สิงห์ได้อยู่บ้างในตลาดเมืองไทย

ส่วนตัววิมลนั้นก็มีหุ้นในไนท์สปอตด้วยแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย
โดยขวัญชัยกล่าวว่า วิมลนั้นไม่มีบทบาทในการกำหนดทิศทาง นโยบาย
หรือรับรู้การบริหารแต่อย่างใดเลย เป็นเพียงผู้ถือหุ้นส่วนน้อยและผู้อุปถัมภ์รายใหญ่เท่านั้น
คอนเสิร์ตครั้งที่สองจัดที่โรงแรมอินทรา ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอีก
พอมาครั้งที่สาม ไนท์สปอตก็ได้รับบทเรียน นั่นคือเชอร์เบท
วงป๊อปจากออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเพลงส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นแต่ไนท์สปอต
กลับเอาไปจัดที่โรงแรมหรูหราแห่งหนึ่ง ขายบัตรในราคาค่อนข้างสูงและไปเลือกจัดวันปีใหม่
ซึ่งปรากฎว่ามีคนฟังอยู่เพียงร้อยกว่าคน ขาดทุนสนิท

ครั้งนั้นอิทธิวัฒน์กล่าวว่าเป็นบทเบียนครั้งสำคัญ แต่เขากล่าวว่าความผิดไม่ใช่อยู่ที่วงดนตรี
แต่อยู่ที่ปัจจัยแวดล้อมอื่น เขาสัญญากับตัวเองว่าอีกสี่เดือนเชอร์เบทต้องกลับมาใหม่
สี่เดือนต่อมา เชอร์เบทกลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้แสดง 2 รอบที่ยิมเนเซียม 2 จุคน
ได้รอบละ 9 พัน คน ขายบัตรราคา 80-120 บาท
ปรากฎว่าบัตรขายหมดเกลี้ยงภายในวันครึ่ง

ตั้งแต่นั้นมาไนท์สปอตก็ปักหลักจัดคอนเสิร์ทอีกหลายครั้ง
อาศัยบทเรียนในแต่ละครั้งแก้ไขปัญหาไปเรื่อย ๆ กำไรบ้างขาดทุนบ้าง
ซึ่งโดยรวมแล้วอิทธิวัฒน์กล่าวว่าเป็นธุรกิจที่น่าจะไปได้ดี
นอกเหนือไปจากนั้นภาพพจน์ที่ลบไม่ออกไปจากไนท์สปอตก็คือ
ผู้บุกเบิกการจัดคอนเสิร์ตในเมืองไทย และเป็นจุดที่สร้างชื่อแก่ไนท์สปอตอีกด้านหนึ่ง
ก่อนที่จะมีผู้ดำเนินรอยตามอีกหลายบริษัท

นอกเหนือจากธุรกิจผลิตรายการวิทยุและจัดคอนเสิร์ตแล้ว
ไนท์สปอตเริ่มขยายธุรกิจออกไปมากขึ้น
เริ่มจากเป็นดีลเลอร์ขายเทปเพลงของศิลปินต่างประเทศของ WEA RECORD
ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของวอเนอร์บราเดอร์ และต่อมาในปี 2526
ก็ตั้งไนท์สปอต คอมพิวเตอร์ ซิสเต็ม ขายคอมพิวเตอร์ อาตาริ
ซึ่งเป็นสินค้าที่พ่วงมาจาก WEA เพราะในช่วงนั้นผู้บริหารของ WEA ที่บริษัทแม่
มองการตลาดของเทปเพลงกับคอมพิวเตอร์นั้นเหมือนกันเป็นธุรกิจขายซอฟท์แวร์เหมือนกัน
จึงน่าจะไปด้วยกันได้ ซึ่งไนท์สปอตก็รับนโยบายนี้มาเช่นกัน

ในปี 2531 ไนท์สปอตตั้งบริษัท เดอะนิวไอเมนชั่นกรุ๊ป
หรืออีกชื่อหนึ่งรู้จักกันดีคือไนท์สปอต ฮอลิเดย์ รับบริการจัดนำเที่ยว
ช่วงปี 2527 เป็นต้นมาด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีกับประมุท สูตะบุตรผู้อำนวยการอสมท. ไนท์สปอต
ก็เริ่มเข้าไปจับธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ให้กับช่อง 9 อสมท.
ซึ่งทำให้เกิดไนท์สปอต เอนเตอร์เทนเม้นท์ผลิตรายการโทรทัศน์และไนท์สปอต สตูดิโอ
โรงถ่ายทำวิดิโอและรายการโทรทัศน์ แถวคลองประปา
รายการโทรทัศน์ที่ทำชื่อเสียงให้กับไนท์สปอตเป็นอย่างมากคือ "เพชฌฑาตความเครียด"
ของกลุ่มซูโม่สำอาง ซึ่งไป ๆ มา ๆ ทำให้เกิดธุรกิจแตกแขนงออกมาอีกคือ "ไนท์สปอตแกลเลอรี่"
เพราะตอนแรกตั้งใจเพียงจะทำเสื้อ T-SHIRT
โปรโมทรายการเพชฌฆาตความเครียดเท่านั้น แต่ปรากฎเสื้อกลับขายดีมาก ๆ
ก็เลยไปร่วมกับบริษัทไอซีซีผลิตเสื้อยืดออกขายเป็นล่ำเป็นสันเข้าไปอีก
ดู ๆ ไปแล้วธุรกิจของไนท์สปอตน่าจะไปได้ดีภาพพจน์ ชื่อเสียงก็เป็นที่ยอมรับ
มีสปอนเซอร์รายใหญ่คอยหนุน รายได้ก็น่าจะไปได้ดี
เฉพาะปี 2531 มีรายรับรวมบริษัทในเครือทั้งหมดประมาณ 117 ล้านบาท
โดยมีรายได้ส่วนใหญ่จากการจัดรายการวิทยุส่วนธุรกิจอื่น ๆ
นั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มก่อตั้งเป็นส่วนใหญ่รายรับยังไม่มากนัก
ขณะเดียวกันความเป็นไนท์สปอตก็เกือบจะถึงจุดที่เรียกว่าทำอะไรออกมา
ก็ขายได้ก็ว่าได้สรุปแล้วไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่ชื่อไนท์สปอตก็เกือบล่องละลอยหายไปตามเสียงเพลงจนได้
ในปี 2532-33 เป็นปีที่เห็นความถดถอยของไนท์สปอตมากที่สุด
โดยดูจากช่วงเวลาตามสถานีวิทยุต่าง ๆ
ที่ไนท์สปอตเคยครอบครองอยู่หลุดหายไปเกือบหมด
หรือสถานี 102 MHzของสถานีกองทัพอากาศ
ที่เพิ่งได้รับมอบหมายให้เข้าไปผลิตรายการให้ทั้งหมดก็หลุดไป

สถานีไนท์สปอตยังผลิตรายการป้อนอยู่คือ 99 MHz ช่วง 22.00-02.00 น.
และ 107 MHz ช่วง 12.00-18.00 น. และสถานีตามต่างจังหวัด
เช่นที่พัทยา, นครราชสีมา, ข่อนแก่น, อุดรราชธานี, นครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นการขยายตัวของไนท์สปอตในช่วงหลัง
แต่หลายคนก็กล่าวว่าไนท์สปอตได้สูญเสียช่วงเวลาที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯซึ่งเป็นตลาดหลักไปแล้ว

สาเหตุที่ไนท์สปอตสูญเสียเวลาไปมากนั้น ขวัญชัยเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด
แต่เขากล่าวเพียงว่าเป็นเรื่องของการเมือง
ซึ่งไนท์สปอตไม่มีความชำนาญไปทัดเทียมได้
ประเด็นนี้พอจะเทียบเคียงได้กรณีที่อสมท.เพราะ
ทุกคนรู้ดีว่าทางไนท์สปอตนั้นค่อนข้างสนิทสนมกับประมุท สูตะบุตร
ผู้อำนวยการอสมท.ยุคนั้น แต่เมื่อประมุทหลุดวงโคจรไปและ
รตอ.เฉลิม อยู่บำรุงกับราชันย์ ฮูเซ็นเข้ามา
ศูนย์อำนาจก็เปลี่ยนไปและยุทธวิธีการช่วงชิงเวลาสถานีวิทยุ
ก็ต้องปรับเปลี่ยนแต่ไนท์สปอตกลับเข้าไม่ถึงและตามไมทันสถานการณ์
แต่การที่ไนท์สปอตสูญเสียเวลาไปจากสถานีวิทยุแห่งอื่น
ในเวลาที่เกือบจะพร้อม ๆ กันเป็นเรื่องแปลกมาก
แต่ขวัญชัยก็ปฏิเสธที่จะให้เหตุผล
เหตุผลด้านหนึ่งอาจเป็นเพราะความไม่พร้อมภายในไนท์สปอต
เองเป็นประการสำคัญนั่นคือปัญหา "สมองไหล" อันเนื่องมาจากปัญหาการบริหารภายใน
ไนท์สปอตสูญเสียนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียงและพนักงานระดับมันสมองไป
ตลอดเวลาทั้งวิโรจน์ ควันธรรม วินิจ เลิศรัตชัย วาสนา วีระชาติพลี ฯลฯ
ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นเพราะการบริหารบุคคลภายในที่มีปัญหา
ขณะที่ดีเจเหล่านี้มีความเป็นศิลปินสูง
แต่ไนท์สปอตกลับไปใช้ระบบราชการเข้าไปตรวจสอบ เช่น
การตอกบัตรก่อนเข้าทำงาน
"บริษัทก็เหมือนกับราชการเข้าไปทุกที มีพิธีการมากเกินไป
ขอให้เป็นพิธีการ ขอให้เสร็จไปตามพิธีการแล้วก็ถือว่าเสร็จไปตามวิธีการบริหาร
คือทุกอย่างให้ปล่อยไปตามเปเปอร์เวอร์คให้มันเดินไปตามเส้นที่ขีดไว้ก็ดี
และการเสนออะไรใหม่ ๆ ก็ต้องผ่านหลายขั้น เพราะโครงสร้างมันซับซ้อนเยอะ
และบางทีรายละเอียดตาง ๆ มันก็หลุดหายไป
บางทีก็ไม่มีการบันทึกไว้ไม่มีการวางแผน คือแพลนาแล้วยิ่ง
เมื่อเกิดปัญหาปุ๊ป ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเรื่อยก็ต้องวิ่งตามปัญหา
ไม่มีการวางแผนป้องกันปัญหา
และเมื่อมีปัญหามากก็ตัดตรงนั้นทิ้งไปแทนที่จะเยียวยา" แหล่งข่าวกล่าว

"คนที่ทำงานเชิงสร้างสรรค์ก็คิดเสียจนตอนหลังก็ไม่คิดเพราะไม่มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
คิดไปก็ไอ้แค่นั้นเมื่อมีเปเปอร์เวอร์คมากขึ้น
คนก็สบายใจว่าเขียนแล้วนะ
ขั้นต่อ ๆ ไปคนจะไปทำอะไรก็แล้วแต่ เขียนแล้วก็เข้าไฟล์ไป"
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวเสริม

ไนท์สปอตนั้นเติบโตมาจากพลังการสร้างสรรค์
ดังนั้นเมื่อจุดนี้ถูกทำลายลงด้วยระบบการบริหารงาน
ไนท์สปอตก็เลยถูกทำให้เฉื่อยลงไปอย่างช่วยไม่ได้

โครงสร้างที่ซับซ้อนนั้นคือ แต่ละแผนกมีโครงสร้างแยกย่อยเป็นของตนเอง
และเป็นอิสระซึ่งกันและกัน ทำให้หน่วยงานเทอะทะและมีขั้นตอนมากมายโดยใช่เหตุ
"มันไม่ใช่เรื่องที่ว่าคุณจะต้องไประบุชี้ชัดว่า
ใครสร้างระบบแบบนี้ขึ้นมา
ทุกอย่างมันค่อย ๆ ก่อร่างสร้างขึ้นมา
ส่วนาบนอาจจะละเลยที่เข้าไปแก้ไขปัญหาด้วย
ทุกอย่างมันเลยสะสมเป็นปัญหาดินพอกหางหมู" แหล่งข่าวกล่าว
แม้ไนท์สปอตจะเคยมีพนักงานสูงสุดไม่เคยถึง 200 คน
แต่เพียงเท่านี้ก็ทำให้เรื่องราวต่าง ๆ ซับซ้อนมากมาย
และกลายเป็นองค์กรธุรกิจที่ไร้พลังการสร้างสรรค์ทางความคิดไปเป็นอันมาก
กล่าวกันว่าในช่วงหลังไนท์สปอตอยู่ได้ด้วย
ความสามารถเชิงสร้างสรรค์ส่วนบุคคลที่รับผิดชอบงานอยู่หรือคนรุ่นใหม่ ๆ ที่เพิ่งเข้าไป
แต่ขาดการสร้างสรรค์ในลักษณะ BRAIN STORMING
ขาดการเชื่อมต่อความคิดความเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน

"ไนท์สปอตโตมาจากการสร้างภาพพจน์ ซึ่งธุรกิจทำนองนี้
จะต้องมีไฟในการสร้างสรรค์ตลอดเวลา
พอบริษัทกลายเป็นราชการเข้าไปทุกที ความคิดมันก็ตาย
แม้จะมีอยู่บ้างในเรื่องของไอเดียใหม่ แต่ก็พุ่งขึ้นตอนแรก
แล้วก็ขาดการสร้างสรรค์ต่อเนื่องกันไป" แหล่งข่าวให้ความเห็น

ไนท์สปอตนั้นอาจจะไวในเรื่องของการสร้างสินค้าตัวใหม่
หรือมีไอเดียที่สร้างสรรค์ล้ำหน้าคนอื่นเสมอ ๆ
แต่จุดอ่อนที่สำคัญคือไนท์สปอตไม่มี
แผนการบริหารและแผนการเงินรองรับ

"ที่ค่อนข้างเป็นปัญหามากคือ โครงการใหม่ ๆ
ที่ขยายขึ้นมา เช่น ไนท์สปอตคอมพิวเตอร์ ไนท์สปอต แกลลอรี
ไนท์สปอตฮอลิเดย์ ไนท์สปอตสตูดิโอล้วนต้องกู้เงินมาลงทุนทั้งสิ้น
แต่ไม่มีแผนการเงินรองรับว่าจะต้องลงทุนต่อเรื่องอีกเท่าไรรายได้จะเป็นอย่างไร
จะคืนทุนเมื่อไร ช่วงหลังแม้จะมีรายได้มากแต่ไนท์สปอตก็หมด
ไปกับการจ่ายดอกเบี้ยเป็นส่วนใหญ่" แหล่งข่าวอธิบายถึงปัญหาสำคัญ

ขวัญชัยเองเคยกล่าวในที่ประชุมกรรมการหลายครั้งถึงสถานะ
ทางการเงินอันฝืดเคืองของบริษัท
ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นก่อนการขยายตัวไปสู่ธุรกิจใหม่เสียด้วยซ้ำ
โดยเฉพาะในช่วงปี 2527-2529
ไนท์สปอตมีแผนจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจเทปเพลงไทย
แต่ติดขัดตรงที่ว่าธุรกิจนี้ต้องใช้เงินมหาศาลโดยเฉพาะการโปรโมชั่น
ซึ่งแม้ไนท์สปอตจะมีความชำนาญแต่ตัวเองก็ไม่พร้อมเสียแล้วในเรื่องการเงิน
หรือจุดที่ทำให้ไนท์สปอตต้องสูญเสียรายได้ไปไม่ใช่น้อย
เช่น ธุรกิจเทปเพลงของ WEA ที่ถูกเทปปปลอมถล่มเสียย่ำแย่
รวมไปถึงการขึ้นค่าเช่าเวลาของสถานีวิทยุซึ่งมีมาเป็นระลอก
โดยเฉพาะธุรกิจเทปเพลงไทย ไนท์สปอตก็จัดได้ว่าเป็นผู้หนึ่ง
ที่ร่วมบุกเบิกวงการนี้ในช่วงต้น ไทน์สปอตเคยออกอัลบั้ม
อัสนี โชติกุลชุดแรก ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ชุดแรกและ
อัลบั้มเบิร์ดกับฮาร์ท ซึ่งล้วนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะปัญหางบประมาณโปรโมชั่น
และแผนการจัดการในเรื่องการตลาดที่จะมารองรับสินค้าของตนเองไม่สมบูรณ์พอ
โดยเฉพาะการจัดจำหน่ายที่ไม่สามารถสู้กับเจ้าถิ่นเช่น
ออนป้าที่ยึดกุมระบบตลาดมานานแล้วได้
ธุรกิจที่แตกแขนงออกมาของไนท์สปอตไม่เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น
เพราะขาดการวางแผนและการลงทุนต่อเนื่อง และเมื่อธุรกิจในเครือของไนท์สปอตเองใช้ช่วงเวลาของไนท์สปอตเป็นสื่อโฆษณาแต่ธุรกิจกลับไม่เฟื่อง บริษัทโฆษณาและเจ้าของสินค้าอื่นก็เริ่มตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับช่วงเวลาโฆษณาของไนท์สปอต

"คุณจำนิตยสารบีอาร์ได้ไหม ถ้าหากคุณบุรินทร์ วงศ์สงวน
แกยังทำนิตยสารอยู่อย่างเดียวป่านนี้บีอาร์อาจจะเป็นนิตยสารที่ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบันก็ได้
แต่พอแกไปขยายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค
ทำแป้งตราบีอาร์ ทุกอย่างมันก็ซวนเซไปหมดแล้วบีอาร์ก็หายไป
ไม่เหลืออะไรเลย" ใครบางคนเปรียบเทียบให้ฟัง

คนในวงการจึงสรุปว่า ไนท์สปอตนั้นมีฐานอยู่ที่ "การผลิตรายการวิทยุ" เป็นสำคัญ
แต่กลับไม่ยึดแนวนั้นไว้อย่างหนักแน่น
กลับไปทำธุรกิจอื่นที่ตนเองไม่ชำนาญ
แล้วละเลยสิ่งที่เป็นหัวใจของธุรกิจตนเองไป
ซึ่งจุดนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไนท์สปอตอับเฉาลงไปในช่วงหลัง

อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ หนึ่งในผู้ก่อตั้งไนท์สปอตคนสำคัญ
แยกตัวออกจากไนท์สปอตในปี 2529
นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำคัญอีกประการหนึ่งของไนท์สปอต

"ผมออกจากไนท์สปอตเพราะนโยบายไม่ตรงกัน
ทางผมคิดว่าจะถูกต้องกว่า อย่างทำละครทีวีผมว่ามันฉีกไป
เราควรจะเน้นเกี่ยวกับเพลงทั้งหมดไนท์สปอตควรจะเป็นธุรกิจที่ยุ่งกับเรื่องเพลงเท่านั้น
เราสร้างชื่อเสียงมาทางนั้น คอนเสิร์ทนั้นเป็นกิจกรรมที่ควรจะมีไว้
และทำอะไรก็ได้ที่มันเกี่ยวข้องกัน ไม่ควรทำอะไรที่มันออกนอกลู่
กรรมการคนอื่นไม่ต้องการทำคอนเสิร์ท
แต่ผมเชื่อว่าไนท์สปอตมันโตมาได้เพราะคอนเสิร์ทต่างประเทศ
ผมก็เลยลาออกมาเพื่อพิสูจน์ความเชื่อของผม" อิทธิวัฒน์เล่าถึงความหลัง
เขาสรุปว่า ปัญหาในการจัดคอนเสิร์ทต่างประเทศนั้นในช่วงหลัง ๆ นั้นมีสองประการคือ
เรื่องรายได้ที่ไม่ค่อยจะคุ้มทุนเพราะต้นทุนสูง
ซึ่งอิทธิวัฒน์อ้างว่า หากคิดเฉพาะรายได้จากค่าขายบัตรก็อาจจะไม่คุ้ม
แต่หากรวมรายได้จากค่าขายบัตรก็อาจจะไม่คุ้ม
แต่หากรวมรายได้ทางอื่น เช่น สปอนเซอร์ก็เรียกได้ว่าพอคุ้ม
อีกสาเหตุก็อยู่ที่ปัญหาต้นทุนเพราะช่วงหลัง
ต้องหาศิลปินที่มีชื่อเสียงเข้ามาคนถึงจะยอมรับซึ่งจะต้องสิ้นค่าใช้จ่ายมาก
และช่วงหลังมีคู่แข่งที่สำคัญคือบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์หรือช่อง 3
ที่ยอมทุ่มเรื่องค่าตัวมากกว่า ช่วงชิงศิลปินไปได้หลายคน

"สมัยผมอยู่ไนท์สปอต เราไม่กล้าพอที่จะเอาศิลปินขนาดใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดังมา
เพราะตัดสินใจหลายคน ถ้าผมคนเดียว ผมก็เอา
"อิทธิวัฒน์ กล่าวและอธิบายว่า การจัดคอนเสิร์ทต่างประเทศ
เป็นเหมือนกิจกรรมทางการตลาดที่จะส่งผลดีต่อ
การผลิตรายการวิทยุของไนท์สปอตซึ่งจัดเพลงสากลเป็นส่วนใหญ่
รวมไปถึงธุรกิจเทปเพลงของ WEA ที่ไนท์สปอตเป็นดีลเลอร์อยู่ด้วย

นอกจากนั้นอิทธิวัฒน์ยังให้ความเห็นว่าหากจะฉีกไปทำธุรกิจอื่น
เขาก็จะทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเพลงหรือการผลิตรายการวิทยุอยู่ดี

"ไนท์สปอตมันดีมาเพราะจัดรายการวิทยุ
แต่ถ้ามีใครมาบอกว่าจัดรายการโทรทัศน์แล้วมันดีผมก็จะพิสูจน์
แต่ผมยังกล้ายืนยันว่า มันไม่น่าจะถูก หากผมทำรายการทีวี
ผมก็จะทำรายการที่วีที่เกี่ยวกับเพลง เพราะผมถนัดแต่เพลง" เขาย้ำหนักแน่น
อิทธิวัฒน์กล่าวว่า เขาเชื่อว่าความคิดของเขาถูก เพราะในปัจจุบัน
เขาแยกตัวมาตั้งบริษัท ไมีเดียพลัส" ซึ่งทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกับไนท์สปอต
จัดแต่รายการวิทยุที่เอฟเอ็ม 88,95.5,105 MHz
และจัดคอนเสิร์ทต่างประเทศมากว่า 30 ครั้ง
ในช่วงเวลาสองปีและประสบความสำเร็จด้วยดี
แม้จะเป็นศิลปินที่ต้องทุ่มเทเงินเป็นอย่างมาก เช่น สตีวี วันเดอร์ เป็นต้น
นอกจากนั้นอิทธิวัฒน์ยังไปร่วมลงทุนกับ CBSRECORD
ผลิตและจำหน่ายเทปเพลงสากล ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นการร่วมลงทุนที่ดีมากๆ
เพราะทาง CBS ให้ความช่วยเหลือในด้านการบริหาร
การจัดการและการดูแลเอาใจใส่ที่ดีมากผิดกับทางไนท์สปอตกับ WEA
เพราะไนท์สปอตเป็นเพียงดีลเลอร์ให้ WEA เท่านั้น

ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือคลอสเตอร์เบียร์อดีตผู้อุปถัมภ์รายใหญ่
ของไนท์สปอตกลับกลายย้ายฟากมาเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญของมีเดียพลัสเสียอีกด้วย
"ผมเชื่อว่า หากเราทำธุรกิจที่เราชำนาญและรู้ดีที่สุด
ก็จะไม่มีเปอร์เซ็นต์เสี่ยง เพราะผมได้เดินมาแนวทางนี้
และประสบความสำเร็จมาแล้วตอนนี้ใครจะมาสู้เรื่องเพลงสากลกับ
มีเดียพลัสผมกล้าท้าเลยว่าสู้ไม่ได้ทุกรูปแบบ" อิทธิวัฒน์ย้ำหนักแน่น
เหมือนกับจะประกาศชัยชนะที่เหนือกว่าไนท์สปอตที่
แตกหักกับเขาในเรื่องแนวความคิดจนเขาต้องอำลาจากมา

ในสถานการณ์ที่ไม่มีคู่แข่งการดำเนินธุรกิจจึงดูสงบราบเรียบ
และทำอะไรก็ดูดีไปหมด แต่ในปัจจุบันคู่แข่งของไนท์สปอตมีมากขึ้น
เช่น มีเดียพลัสหรือโน้ตโปรโมชั่นซึ่งล้วนช่วงชิงเวลา
ตามสถานีวิทยุต่าง ๆ ไปจนเกือบจะหมดสิ้น
จึงต้องถึงเวลาที่ไนท์สปอตจะหันมาพิจารณาตัวเองให้ถ่องแท้เสียที

ว่ากันว่าจุดชี้ขาดที่ทำให้ขวัญชัยในฐานะกรรมการผู้จัดการไนท์สปอต
ต้องตัดสินใจปรับปรุงบริษัทครั้งใหญ่นั้นก็คือ
ปัญหาการเงินที่กระหน่ำด้วยมรสุมดอกเบี้ยจากเงินที่กู้มา
เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทกับปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างภายในองค์กรที่รุนแรงมากขึ้นจนมีผลกระทบ
ต่อการกระบวนการทำงานทั้งบริษัท

คนที่ขวัญชัยเปิดประตูอ้าแขนรับเข้ามานั้นก็คือ
บริษัทซีเอสเอ็น แอนด์ แอสโซซิเอท
ซีเอสเอ็น แอนด์ แอสโซซิเอทเป็นบริษัทรับทำวิจัยและที่ปรึกษาทางธุรกิจ
มีชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ เป็นนักวิจัยและ
นักบริการอาชีพที่มีประสบการณ์มานานกว่า 20 ปี
เคยเป็นกรรมการผู้อำนวยการอินเตอร์ไลฟ์
ชัยณรงค์ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารในซีเอสเอ็น
และสุกิจ ตันสกุลเป็นกรรมการผู้จัดการ

ซีเอสเอ็นมีผลงานรับทำวิจัยให้กับบริษัทเอกชนมากมาย เช่น
ลีเวอร์บราเธอร์ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่
นอกจากนั้นซีเอสเอ็นยังเคยเข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางด้านการบริหาร
การเงินและการตลาดในบริษัทที่มีปัญหาหรือ
มีความต้องการเฉพาะเรื่องอีกหลายแห่ง
เช่นการไปวางระบบบัญชีให้กับเบนไลน์บริษัทเดินเรือระหว่างประเทศ
และโรงแรมอิมพิเรียล เป็นต้น รวมไปถึงการเป็นตัวกลางในการร่วมลงทุนระหว่างบริษัทต่าง ๆ
แหล่งข่าวกล่าวว่าขวัญชัยนั้น เป็นเพื่อนกับสุกิจ กรรมการผู้จัดการของซีเอสเอ็น
ก่อนหน้านี้ได้เคยมีการติดต่อให้ซีเอสเอ็นเข้าไปทำวิจัยหรือวางระบบให้กับไนท์สปอตมาแล้ว
แต่ก็ยังไม่เคยมีการดำเนินงานจริงจัง มาจนกระทั่งวันนี้

ซีเอสเอ็นส่งอังกูร เทพวัลย์ ที่ปรึกษาอาวุโสของบริษัท
เข้ามาเป็นกรรมการและที่ปรึกษาประจำไนท์สปอต
โดยรับผิดชอบในเรื่องให้คำปรึกษาในด้านการบริหารภายใน
การผลิตและการตลาด โดยมีปัญญา ฉัททันต์รัศมี
เป็นที่ปรึกษาอีกคนหนึ่งที่มาดูแลเรื่องระบบการเงินและการบัญชี
ดูเหมือนว่าไนท์สปอตจะไม่พ้นคนในแวดวงเรื่องไฟฟ้า
เพราะนอกเหนือจากขวัญชัยที่เคยขายอุปกรณ์ไฟฟ้า
และอิทธิวัฒน์ที่จบวิศวะสาขาไฟฟ้ามาแล้ว
อังกูรก็จบมาทางด้านวิศวะ สาขาไฟฟ้าจากสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
เมื่อกลับมาเมืองไทย เขามาทำงานที่ฟิลิป
และบริษัทสายการบิน2-3 แห่ง
ก่อนมาทำบริษัทโฆษณาอีก 2-3 แห่งเช่นกัน
จนที่สุดก็มาทำงาที่ซีเอสเอ็น
อาศัยที่ว่าอังกูรเป็นคนที่ติดตามเรื่องราวในวงการเพลงมาพอสมควร
ชอบฟังเพลงและเที่ยวตามดิสโก้เธอบ้าง
ประกอบกับประสบการณ์ทางด้านการบริหารที่ได้รับจากซีเอสเอ็น
เขาจึงเข้าทำหน้าที่ที่ปรึกษาให้กับไนท์สปอต
แต่ทั้งนี้ สถานะของอังกูรนั้นเป็นตัวแทนจากซีเอสเอ็น
ซึ่งโดยตัวซีเอสเอ็นก็มีสถานะเป็นผู้รับจ้างบริหาร
และเป็นตัวแทนของผู้ลงทุนรายใหม่เท่านั้น
"ซีเอสเอ็นจะดูแลการบริหารในช่วงนี้และเมื่อไนท์สปอตฟื้นตัว
แล้วเราจะดูแลต่อไปในฐานะตัวแทนของผู้ลงทุน" อังกูรกล่าว
แผนการขั้นแรกของซีเอสเอ็นในการฟื้นฟูไนท์สปอตคือการเพิ่มทุน
แต่เดิมไนท์สปอตมีทุนจดทะเบียนเพียง 5 ล้านบาทแต่มีหนี้สินถึง 57 ล้านบาท
ในจำนวนนี้เป็นหนี้ที่กู้ธนาคารและจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่ถึง 40 ล้านบาท
ซึ่งไนท์สปอตจะเพิ่มทุนอีก 20 ล้านบาทรวมเป็น 25 ล้านบาท
เพื่อให้สัดส่วนระหว่างหนี้วกับทุนดีขึ้น
ซึ่งนั่นก็คือหน้าที่ของผู้ลงทุนรายใหม่ที่จะต้องลงเงินเพิ่มกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต่อไป
แต่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดปฏิเสธที่จะเอ่ยชื่อของผู้ลงทุนผู้นั้น
"เขาเป็นคนโลว์โปรไฟล์ แต่เขาเชือมั่นในอนาคตของไนท์สปอต" อังกูณกล่าว
แผนที่สองคือ การปรับปรุงโครงสร้างโยกย้ายพนักงาน
ซึ่งอังกูรกล่าวว่าทำให้การสื่อสารภายในง่ายขึ้นเท่านั้น
และทำให้พนักงานระดับกลางมีโอกาสขึ้นมาบริหาร
หน่วยงานที่สร้างขึ้นคือ ฝ่ายผลิตรายการวิทยุ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายการตลาด
ฝ่ายส่งเสริมการขายและโปรโมชั่น และ WEA รวม 5 ฝ่าย
ส่วนฝ่ายสตูดิโอ ฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์และฝ่ายโครงการพิเศษ (จัดคอนเสิร์ท) นั้น
อังกูร กล่าวว่าเป็นเพียงส่วนเสริมที่อาจจะยังไม่มีบทบาท
เพราะตามแผนแล้วไนท์สปอตจะกลับมาลุยด้านรายการวิทยุเพียงด้านเดียว
ภายหลังการปรับโครงสร้าง สิ่งที่ตามมาคือการโยกย้าย
พนักงานที่มีเหลืออยู่ประมาณ 60 คน ซึ่งแน่นอนที่คนรุ่นใหม่
จะต้องขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นและคนเก่าก็จะต้องถูกโยกออกไป
ไชยยงค์ นนทสุต กรรมการรองผู้จัดการตัดสินใจลาออก
ไปทำธุรกิจส่วนตัวเกี่ยวกับที่ดิน และจิราพรรณ ลิ่มไทย
หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการวิทยุก็กลายเป็นอดีตไปแล้ว
สำหรับไนท์สปอตสิ่งที่ไนท์สปอตจะทำต่อไปนั้น
อังกูรอธิบายว่า ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มันดีขึ้นกว่าเดิม
กล่าวคือไนท์สปอตจะจัดรายการวิทยุเท่าที่เวลายังคงเหลืออยู่ให้มีคุณภาพมากขึ้น
เพื่อรายได้จากโฆษณาจะได้มากขึ้นเป็นรายได้หลักของบริษัท
โดยมีการจำหน่ายเทปของ WEA เป็นรายได้อีกทางหนึ่ง
เพราะในปัจจุบันการกำจัดเทปปลอมได้ผลดีขึ้นมา
แต่เรื่องรายการโทรทัศน์ สตูดิโอการจัดคอนเสิร์ท ธุรกิจขายเสื้อยืด
ไนท์สปอตฮอลิเดย์ คอมพิวเตอร์อตาริ อังกูรกล่าวเพียงว่า
ที่ดำเนินอยู่แล้วก็ให้ดำเนินต่อไป อะไรที่ยังไม่ทำก็ยังงดไว้ก่อน
โดยเฉพาะการผลิตรายการโทรทัศน์นั้น
อังกูรคิดว่ายังไม่ถึงเวลาลงไปทำเพราะการลงทุนสูง
และต้องเตรียมในเรื่องคุณภาพเป็นอย่างมาก
"ช่วงนี้เราจะทำของที่มีอยู่ให้มันมีคุณภาพจริง ๆ
เพื่อที่เราจะบอกว่าไนท์สปอตยังเป็นไนท์สปอตอยู่อย่างเดิม
และเราจะค่อย ๆ เพิ่มช่วงเวลามากขึ้น
ประมาณเดือนหน้าคงมองเห็นอะไรชัดขึ้น
ในแง่สปอตโฆษณาและการโปรโมชั่นจะร่วม สมัยมากขึ้น
เป็นของคนรุ่นใหม่
เหมือนกับไนท์สปอตในรุ่นก่อนที่ MASS ของเราจะพอใจ" อังกูรเปิดเผย
ในระยะยาวนั้น อังกูรกล่าวว่าทั้งซีเอสเอ็นและผู้ลงทุนรายใหม่ต่าง
ก็เห็นพ้องกันว่าไนท์สปอตนั้นเป็นธุรกิจที่มีอนาคต
"ไนท์สปอตก็ยังเป็นไนท์สปอตเนื่องจากประสบการณ์ที่มันสะสมมาเยอะ
ประสบการณ์มากพอที่จะไม่ต้องมาพูดกันว่า เราจะไปทำอะไร
เราไม่ต้องทดลองทำอะไรใหม่ ๆ มันเป็นเพียงเรื่องของ THEME
เป็นเรื่องของ CONCEPT เท่านั้น ว่าเราจะเดินไปทางไหน
แต่เนื้อหาสาระจะเป็นอย่างไรนั้นเรามั่นใจ
เราพร้อมที่จะผลิตทั้งรายการภาษาอังกฤษและไทย
โดยไม่ต้องรีรออะไรอีก" อังกูรกล่าวย้ำ
อาจจะยังเร็วเกินไปสำหรับที่พูดถึงอนาคตของไนท์สปอต
แต่บทเรียนที่ผ่านมาของไนืศปอตในอดีตก็คงจะ
ทำให้ผู้บริหารในปัจจุบันของไนท์สปอตไม่ว่าจะ
เป็นขวัญชัยหรืออังกูรตระหนักดีว่า ทิศทางในอนาคตของไนท์สปอตควรจะเป็นเช่นไร
ก็อาจถือเป็นความโชคดีอยู่บ้างทีไนท์สปอตยัง
หันหลังกลับมาดูตัวเองเสียก่อนที่จะตะลุยต่อไป
โดยไม่เหลือบขึ้นไปมองเบื้องหน้าว่ามีหุบเหวซ่อนอยู่
มิฉะนั้นไนท์สปอตก็อาจจะเหลือแต่ชื่อไปแล้ว
ณ วันนี้ก็คงเป็นเรื่องของอังกูรและซีเอสเอ็นที่
จะพิสูจน์ฝีมือการบริหารให้ไนท์สปอตกลับฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้งนั่นเอง