Custom Search

Dec 10, 2006

นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ


พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ”*
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ


“นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ”
เป็นพระราชนิพนธ์แปล จากหนังสือชื่อ
“A Man called Intrepid”

ของ
เซอร์วิลเลียม สตีเฟนสัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงใช้
เวลาว่างส่วนพระองค์วันละเล็กละน้อย
ทรงแปลหน้าแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐
จนถึงหน้าสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
รวมเวลา ๓ ปีตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย
พระองค์ทรงรักษาระดับภาษา
ในการแปล
ได้อย่างสม่ำเสมอ
ด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะขององค์พระ
พสกนิกรชาวไทยจึงได้รู้จัก “นายอินทร์” หรือ
“Intrepid”
และเนื่องจาก
“A Man Called Intrepid ”

เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาที่
สลับซับซ้อน
และอิงประวัติศาสตร์
การอ่านจากต้นฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ
หรือภาษาอื่นใด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเห็นว่า
เรื่องนี้มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างยิ่ง
พระองค์ทรงใช้เวลาและพระราชวิริยะอุตสาหะ
แปลถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษ (ต้นฉบับ)
มาเป็นภาษาไทย เพื่อให้คนไทยได้สัมผัสกับ
“นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ”
อย่างใกล้ชิด
“นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ”

มีความยาว 600 กว่าหน้า
ผู้อ่านต้องใช้เวลาอ่านนาน
แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความเบื่อ
เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกสรรกลวิธี
ในการถ่ายทอดการแปลได้อย่างยอดเยี่ยม
“นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ”

เป็นเรื่องจริงเกี่ยวกับสงครามลับระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๓๙ – ๑๙๔๕
(พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๒๔๘๘)
ซึ่งไม่เคยได้รับการเปิดเผยมาก่อน
แต่เซอร์วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน
ได้รับความไว้วางใจให้นำเรื่อง
ความลับบางอย่างมาเผยแพร่เพื่อ
เป็นการสดุดีเกียรติคุณของผู้เสียสละ
หลายด้านที่ทำงานลับเพื่อประเทศชาติ
ทั้งยังเป็นเอกสารที่จะค้นคว้าได้
หากมีความจำเป็นต้อง
ปฏิบัติงานลับแบบนี้อีกในอนาคต
และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ
เป็นการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องให้คนทั่วไป
ทราบ
เพื่อมิให้ฝ่ายตรงข้ามนำ
ความลับไปใช้บิดเบือนประวัติศาสตร์
อันอาจทำให้สหรัฐอเมริกากับ
แคนาดาบาดหมางใจกับอังกฤษอีกด้วย
ผลงานของ “นายอินทร์” และ
ผู้ร่วมงานของเขานั้นมีคุณค่าต่อโลกยิ่งนัก
หากไม่มีพวก “นายอินทร์”
ฮิตเลอร์อาจจะชนะสงคราม และเมื่อเป็นเช่นนั้น
โลกคงไม่เป็นเช่นทุกวันนี้
เรื่องย่อ
นายอินทร์หรือ
เซอร์วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน( Sir William Stephenson)

ซึ่งต่อมาไปเป็นหัวหน้าฝ่ายจารกรรม
ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ เจ้าของรหัสลับ

Intrepid
เป็นชาวแคนาดา
ที่ต้องต่อสู้ด้วยตนเองมาตั้งแต่เด็ก
เขาเป็นคนชอบอ่านหนังสือ
สนใจ
เกี่ยวกับการส่งรหัสสัญญาณของ มอร์ส (Morse )
เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า เครื่องไอน้ำ ว่าว
และเครื่องบินเล่นมาตั้งแต่เด็ก
ในสงครามโลกครั้งที่ ๑
เขาเป็นทหารอาสาสมัครไปแนวหน้า
พร้อมกับกรมทหารช่างของคานาดา
ได้รับภัยจากแก๊สพิษในสงครามจนเกือบทุพพลภาพ
แต่ด้วยเลือดนักสู้ เขาพยายามจน
ได้กลับไปเป็นทหารนักบินอีกครั้งหนึ่ง
จนถูกจับเป็นเชลยศึกของเยอรมันด้วย
ความกล้าหาญ ช่างสังเกต จดจำและช่างคิด
เขาหลบหนีออกมาได้และเขียนรายงาน
เกี่ยวกับค่ายกักกันของฝ่ายข้าศึก เป็นเหตุให้
นายพลเรือเอก บลิว เทออร์ ฮอลล์
ซึ่งคอยติดตามความเป็นไปของหนุ่มกลุ่มหนึ่ง
เพื่อนำมาใช้ในงานราชการลับแผนใหม่
เขาเกิดสนใจนายอินทร์แต่ยังติดขัดอยู่ว่า
นายอินทร์เป็นคนที่มีผู้รู้จักมากเกินไป
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑
สงบลง
นายอินทร์มีโอกาสได้ศึกษาต่อ
และสอนวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยแมนิโตบา
เขาใช้เวลาว่างศึกษาเรื่องวิทยุสื่อสาร
ทดลองวิทยุกระจายเสียง
สิ่งเหล่านี้
ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ
และงานด้านสงครามลับในสมัยต่อมา
ในเวลานั้นวงการราชการลับถูกลดกำลังลงไป
แต่นายพลฮอลล์ยังเชื่อว่า
การสืบราชการลับยุคใหม่
ต้องการการตัดเส้นทางการสื่อสารของศัตรู
ซึ่งจะทำได้ด้วยการถอดรหัสลับ
นายพลฮอลล์จึงพยายามรวบรวม
คนหนุ่มที่มีความสามารถด้านนี้
รวมทั้งเรียกนายอินทร์กลับลอนดอน
ทำให้เขามีโอกาสพบนักวิทยาศาสตร์
นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ ๆ หลายคน
และได้แนวความคิดหลายประการ
คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มทำงานด้านราชการลับสมัครเล่น
นอกเหนือจากกรมสืบราชการลับของอังกฤษ
ซึ่งทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
เพราะเจ้าหน้าที่ได้รับเงินเดือนน้อย
มีงานล้นมือและไม่ใคร่ได้รับ
ความเชื่อถือรับรองใด ๆ
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑
ทั้งรัฐบาลอังกฤษและอเมริกา
มีทีท่าไม่สนใจ
และไม่คาดคิดว่าจะเกิดสงครามขึ้นอีก
และไม่สนใจกิจการสงครามลับ
เพราะใครก็ตามที่เตือนให้คิดระวังภัยสงคราม
จะถูกตราหน้าว่าเป็นผู้กระหายสงคราม
อย่างไรก็ตามนายพลฮอลล์แห่งอังกฤษ
และบิล โดโนแวน แห่งอเมริกา
ได้ดำเนินการด้านราชการลับต่อ
และเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของพวกนาซีเยอรมัน
ในขณะนั้นอะดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เป็นซึ่งผู้นำนาซีถูกจำคุกอยู่ที่ป้อมปราการลันด์สแบร์ก
และกำลังเขียนหนังสือ ไมน์คัมฟ์
( Mein Kampf )“การต่อสู้ของข้าพเจ้า”
ซึ่งต่อมากลายเป็นแผนหลักเพื่อ
ทำการทำลายล้างสังคมที่มีอยู่และการขึ้นครองโลก
หลังจากนั้นเขาได้รับการปลดปล่อย
และดำเนินงานที่จะเป็นผู้ครองโลกอย่างเงียบ ๆ
แต่มีประสิทธิภาพ เขาได้ค้นคิด “มหามุสา” (The Big Lie)
ซึ่งหมายความว่าความเท็จจะกลาย
เป็นความจริงถ้าย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก
มหามุสาจะแผ่กระจายฟุ้งออกเหมือน
แก๊สที่เป็นพิษแก่จิตใจของผู้สังเกตการณ์
ชาวต่างประเทศ และชาวเยอรมันที่
พร้อมจะเชื่อฟังบุคคลหนึ่งที่อ้างตัวว่าพูดถูก
และทำถูก
ในทุกกรณี หากประเทศต่าง ๆ ไม่รู้ทัน
เยอรมันจะใช้ยุทธวิธีนี้เพื่อได้ชัยชนะ
โดยไม่เสียเลือดแม้แต่หยดเดียว
ระหว่างนั้น นายอินทร์ได้ทำธุรกิจหลายด้าน
และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
เขาได้แต่งงานกับ แมรี่เฟร็นซ์ ซิมมอนส์
(Mary French Simmons)
ซึ่งเป็นสตรีชาวอเมริกา
การเป็นนักธุรกิจของเขามิได้ขัด
กับงานสงครามลับ นายอินทร์และพรรคพวก
ยังคงติดตามพฤติกรรมของฮิตเลอร์ต่อไป
พวกเขาพยายามศึกษาเกี่ยวกับ
รหัสลับที่เยอรมัน
ใช้ผ่านเครื่อง เอนิกมา
เพื่อจะได้ตีความข่าวสารที่ดักฟัง
ได้อย่างถูกต้องกลุ่มที่ทำงานสงครามลับ
พยายามสืบค้นข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการสะสมอาวุธของเยอรมัน
เพื่อจะได้เตรียมการป้องกัน
ประเทศของตนได้ทันท่วงที
ขณะนั้นรัฐบาลอังกฤษมุ่งที่
จะประนีประนอมกับฮิตเลอร์
กลุ่มของนายอินทร์จึงไม่สามารถ
เปิดเผยให้รัฐบาลทราบได้และ
ถึงบอกก็คงไม่มีใครเชื่อ
นายอินทร์
จึงมีความเห็นว่าควรขอความร่วมมือ
จากสหรัฐอเมริกาซึ่ง แฟรงกลิน ดิลาโน รูสเวลท์
(Franklin Delano Roosevelt)

เป็นประธานาธิบดีอยู่ในขณะนั้น
แม้อเมริกาจะมีนโยบายวางตนเป็นกลาง
แต่สายลับของ รูสเวลท์ คือ บิลล์ โดโนแวน
ได้รายงานความเคลื่อนไหวของฮิตเลอร์ให้ทราบตลอด
ดังนั้นด้วยการประสานงานของนายอินทร์
อังกฤษและอเมริกาจึงร่วมมือกันอย่างลับ ๆ
ในการเตรียมตัวรับสงครามอันจะเกิดขึ้นในไม่ช้า
โดยอเมริกาพยายามหาความลับของเครื่องเอนิกมาแบบญี่ปุ่น
อังกฤษก็หาข้อมูลของเอนิกมา
แบบต่าง ๆ ของนาซีเยอรมัน
ในขณะที่ฮิตเลอร์แสร้งดำเนินนโยบาย
ประนีประนอมกับฝ่ายสัมพันธมิตร
แต่ก็ลอบผลิตอาวุธต่าง ๆ มากมาย
โดยใช้โรงงานผลิตเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก
เป็นแหล่งผลิต การกระทำนี้แม้จะตบตา
คณะกรรมมาธิการฝ่ายพันธมิตรได้
แต่ไม่รอดพ้นการล่วงรู้ของ
นายอินทร์และพรรคพวกไปได้
เขาทราบว่าสงครามที่เยอรมันมุ่งจะทำคือ
บลิ๊ตซคริก
หรือ สงครามสายฟ้าแลบ
ซึ่งจะเป็นการเคลื่อนไหวอย่างฉันพลัน
โดยไม่ให้ใครรู้ตัว และใช้อาวุธที่มี
พลังยึดครองส่วนใดส่วนหนึ่งหรือ
ส่วนใหญ่ของฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งจะเป็นผลให้ครอบครองประเทศนั้นได้
ทั้งนี้ต้องอาศัยการสื่อสารด้วยรหัสที่ศัตรไม่รู้เรื่อง
ดังนั้นกลุ่มของนายอินทร์
จึงระดมกำลังถอดรหัสของเอนิกมา
เพื่อจะได้ดักฟังและแปลสัญญาณลับของเยอรมัน
อันจะเป็นหนทางป้องกันภัยจากบลิ๊ตซคริก
ดังนั้นในขณะที่ประเทศต่าง ๆ
ในยุโรปและอเมริกายังมิได้มองเยอรมันในแง่ร้าย
ฮิตเลอร์ได้เตรียมการเพื่อจะ
สร้างจักรวรรดิเยอรมัน เพื่อให้โลกต้องอยู่ภายใต้
การปกครองของนาซีที่เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ
เป้าหมายอันดับต้น ๆ คือ ประเทศในยุโรป
รวมทั้งอังกฤษและอันดับสุดท้ายคือ
อเมริกา
อย่างไรก็ตาม รายงานของฮิตเลอร์
มาถึงมือของเชอร์ชิลและรูสเวลท์
แต่ทั้งสองคนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น
ทว่าดำเนินการเพื่อเตรียมต่อสู้อย่างลับ ๆ
ด้วยการวางตัวบุคคลที่จะใช้ในงานสงครามลับที่สำคัญ ๆ
และพยายามหาทางถอดรหัสแปลคำสั่ง
ที่ส่งผ่านเครื่องเอนิกมาให้ได้
ครั้นเยอรมันประกาศสงครามกับอังกฤษ
ในขณะที่อเมริกายังไม่ร่วมสงครามด้วยนั้น
นายอินทร์
และพรรคพวกได้ติดต่อกับ
ประธานาธิบดีรูสเวลท์ตลอดเวลา
และประสานงานระหว่าง FBI ของอเมริกา
BSC ของอังกฤษซึ่งบางครั้งก็มิได้มี
ความสัมพันธ์ที่ราบรื่นต่อกันนัก
การประสานงานของนายอินทร์และพรรคพวกนี้
ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี
และทำให้อังกฤษได้รับ
ความช่วยเหลืออย่างไม่เป็นทางการ
จากอเมริกาหลายประการ
แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้อเมริกา
รู้ท่าทีของเยอรมันและเตรียมกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
ที่จะรับมือเมื่อถึงคราวจำเป็น
ขอบข่ายของงานราชการลับกว้างขวางมาก
และมีผู้ร่วมงานมากมาย
งานราชการลับเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย
บุคคลที่ได้รับเลือกให้ปฏิบัติภารกิจนี้
ต้องได้รับการพิจารณา
ทดสอบและฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดี
มีหลายคนถูกสังหารไปหรือฆ่าตัวตาย
หรือถูกพวกเดียวกันฆ่าเสียก่อน
เพื่อรักษาความลับเอาไว้
แต่งานสืบราชการลับซึ่งมีนายอินทร์เป็น
แกนสำคัญผู้หนึ่งยังดำเนินต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง
วิธีทำงานของคนกลุ่มนี้นอกเหนือจากการสืบข่าวแล้ว
บางครั้งอาจจะต้องมีการปล่อยข่าวลวงศัตรู
และบางครั้งจะต้องใช้แบบ
“กลซ้อนกล”
คืออังกฤษได้เรียนรู้ที่จะใช้
สายลับของฝ่ายเยอรมันนั้นเองให้เป็นประโยชน์
แทนที่จะดักจับอังกฤษจะใช้สายลับเยอรมัน
ให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีส่งข่าว
และข้อมูลปลอมกลับไปเบอร์ลิน
โดยผ่านสายเหล่านี้ และในทางกลับกัน
ทางฝ่ายหน่วยสืบราชการลับ
(
นายอินทร์กับพวก)
ก็ยังต้องคอยระมัดระวัง
เกี่ยวกับข่าวลวงของข้าศึกที่จงใจแพร่ไว้
ซึ่งบางครั้งเกือบจะแยกไม่ออกว่า
ไหนเป็นข่าวจริง ไหนเป็นข่าวลวง
ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้การประเมิน
สถานการณ์ผิดพลาดได้
อังกฤษใช้การปฏิบัติงานของ
สายลับนกสองหัวที่ใช้นามรหัสว่า
“ไทรซิเคิล” (Tricycle) เป็นผู้ป้อนข่าว
ที่อังกฤษควบคุมแล้วแก่เยอรมัน
และด้วยสายลับนกสองหัวนี้เองฝ่ายพันธมิตร
จึงได้ทราบข่าวลับจากเยอรมัน
เรื่องญี่ปุ่นจะโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์
แต่ทางฝ่ายอเมริกันไม่ยอมเชื่อ
ยุทธวิธีของฮิตเลอร์ คือการทำลายศัตรูจากภายใน
เป้าหมายคือการชนะข้าศึก
โดยศัตรูทำลายตัวเอง ดังนั้นฮิตเลอร์
จึงมีฐานปฏิบัติการตามประเทศที่ได้ยึดครอง
และประเทศใกล้เคียงเ
พื่อปฏิบัติการจารกรรม
และส่งข่าวลับเกี่ยวกับ
ความเคลื่อนไหวของศัตรูไปยังเบอร์ลิน
BSC
จึงมีหน้าที่ที่จะต้องใช้กลอุบาย
ปลอมแปลงเอกสารให้เกิดความไม่ไว้วางใจกัน
ระหว่างผู้นำของประเทศที่ถูกยึดครองและฝ่ายนาซี
ในที่สุดก็ทำได้สำเร็จ ทางอเมริกาก่อน
ประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมันนั้น
ายลับของเยอรมันก็ได้เขามาแทรกซึม
อยู่ในสหรัฐก่อนหน้านี้แล้ว
โดยผ่านทางสาขาของบริษัทอุตสาหกรรมเยอรมัน
ที่สหรัฐ คือ บริษัท เชริง-อาเก
และบริษัท อี เอ ฟาร์เบน ซึ่ง BSC
ได้ค้นหาหลักฐานเปิดโปงเรื่องราวของบริษัท
จนกิจการค้าต้องชะงักและกระทรวงการคลังอเมิกันเข้ายึดกิจการ
จากกรณีญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์

เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑
ทำให้สหรัฐฯประกาศสงครามได้อย่างเปิดเผย
และจากการที่ฮิตเลอร์ทำพลาด
ในการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ ๑๑ ธันวาคม
ทำให้สหรัฐฯสามารถจัดการทางด้านยุโรป
ได้อย่างเต็มที่แทนที่จะต่อสู้กับฝ่ายญี่ปุ่น
เท่านั้น
ทำให้แผนปลุกยุโรปให้ลุกเป็นไฟ
เพื่อต่อต้านนาซีได้รับความสำเร็จ
ในการปฏิบัติงานลับทางด้านยุโรป BSC
ได้ใช้จารสตรีสาวให้เป็นประโยชน์
ในด้านการขโมยรหัสลับจากฝ่ายนาซีได้
ซึ่งเป็นผลให้ปฏิบัติการทอร์ซ (Torch)
ในแอฟริกาเหนือและแผน D.Day (ยกพลขึ้นบก)

ประสบความสำเร็จในภายหลัง
เพราะประมวลรหัสลับที่ได้จากจารกรรมของจารสตรีสาว
ทำให้สามารถไขรหัสลับได้ง่ายขึ้น
ในเมื่อฝ่ายเยอรมันจะดำเนินการสงครามลับครั้งใด
มีคู่มือรหัสลับใหม่โดยฉับพลัน
ฮิตเลอร์ได้อาศัยสงครามจิตวิทยาบังคับ
ใช้คำสั่ง นาคต์ อุนด์ เนเบล
Nacht und Nebel
(กลางคืนและเมฆหมอก)
ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ต่อต้านนาซี
จะต้องอันตรธานไป
โดยไม่เหลือร่องรอย
และหลักฐานเกี่ยวกับบุคคลนั้นจะถูกลบล้างหมด
ญาติพี่น้องจะไม่รู้เรื่องอะไรเลยซึ่ง
เป็นการขู่ขวัญที่น่าสพึงกลัว
เพื่อเป็นการคุ้มครองสายลับทุกคน
ทาง BSC จะบรรจุสายลับเหล่านี้
อยู่ในกองทัพบกแคนาดา
เพื่อจะได้รับความคุ้มครองหากถูกจับ
เพราะพวกเขาสามารถจะอ้างได้ว่า
เป็นนายทหารที่มีสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ
นอกจากนั้นทางหน่วยสืบราชการลับ
ยังต้องใช้วิธีทางจิตวิทยา
ในการทำสงครามลับทุกรูปแบบ
แม้เรื่องของโหราศาสตร์ก็ได้
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยโดยการพยายาม
แพร่กระจายข่าวเกี่ยวกับทางโหราศาสตร์
เพื่อให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา
หมดความเชื่อในความอยู่ยงคงกระพัน
ของฮิตเลอร์และสมุนคู่ใจ

โดยออกข่าวหมอดูดัง ๆ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
พยากรณ์ว่าดวงชะตาของฮิตเลอร์
ดาวเกตุอยู่ในเรือนมรณะ
เพื่อจะให้เกิดความสั่นสะเทือนแก่ศรัทธาในตัวฮิตเลอร์
นโยบายในการกลืนชาติของฮิตเลอร์นั้นมีหลัก 3 ประการ คือ
1. การทำให้ชนชาตินั้นกลายเป็นเยอรมัน
ซึ่งจะต้องเลือกเผ่าพันธุ์บริสุทธิ์
2. เนรเทศหรือกำจัดพวกที่ไม่ต้องการ รวมทั้งปัญญาชน
3. การนำผู้ที่มีเลือกเยอรมันบริสุทธิ์มาตั้งรกรากในที่ทีว่างเหล่านี้
ซึ่งนโยบายเหล่านี้สมุนคู่ใจคือไฮดริชจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติ
ฉะนั้นการลอบสังหารไฮดริชจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การลอบสังหารไฮดริชนี้ได้มีการจำลอง
สถานที่เพื่อฝึกซ้อมก่อนดำเนินการจริง
และจะต้องศึกษาการทำงานกิจวัตรประจำของผู้ถูกสังหารด้วย
นอกจากนั้นทาง BSC ได้พัฒนาวิทยาการ
ในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ที่ได้มาหลายทางต่าง ๆ กันนั้นมา
สรุปเป็นลักษณะพฤติกรรมทางจิตวิทยาของบุคคลนั้น
ซึ่งเรียกการวิเคราะห์ว่า “ปุริสลักขณบรรยาย” (Proso – Profiles)
ซึ่งจะวิจัยบุคลิกลักษณะของเขา เพื่อนของเขา
และสรุปจากข้อมูลทั้งหลายที่จะ
สามารถหาได้ ซึ่งการวิเคราะห์นี้มีรากฐาน
จากการวิจัยปฏิวัติโรมันของ
ศาสตราจารย์รอนัลด์ ไซม์ (Ronald Syme)
การส่งข่าวลับในการทำสงครามนั้น
มีหลายวิธี
ในเมื่อวิทยาการก้าวหน้ามากขึ้น
วิธีการก็พลิกแพลงได้มากขึ้น
นอกจากการใช้สื่อสารข่าวลับทางรหัสสับ
โดยสัญญาณรับ – ส่งวิทยุแล้ว
ฝ่ายเยอรมันยังมีการใช้ระบบ “จุดไมโคร”
หน้าซองจดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ธรรมดา
และการถ่ายการผลิตยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ
ใส่ในไมโครฟิล์มลักลอบส่งออกมาด้วย
การปฏิบัติ “ราชการลับเชิงรุก” ของ BSC
ได้เริ่มครั้งแรก คือ
การปฏิบัติการจูบิลี (Jubillee)
ซึ่งเป็นการปฏบัติลวงใน
การโจมตีที่มั่นข้าศึกครั้งยิ่งใหญ่
โดยไม่หวังผลที่จะได้ชัยชนะ
จุดประสงค์เพื่อจะได้ศึกษาป้องกัน
และเตรียมการสำหรับรุกจริง
การปฏิบัติการครั้งนั้นช่วยให้
การปฏิบัติการทอร์ช (Torch)
โจมตีนาซีในอาฟริกาเหนือของฝรั่งเศส
และแผน D.Day (การยกพลขึ้นบก)
ในเวลาต่อมาของฝ่ายสัมพันธมิตรประสบผลสำเร็จ
ก่อนปฏิบัติการทอร์ช เชอร์ชิลกับรูสเวลส์
ได้ปรึกษาหารือกันเรื่องทยูบแอลลอยส์
(Tube Alloys) ซึ่งเป็นนามรหัส
สำหรับงานวิจัยของอังกฤษเกี่ยวกับแยกปรมาณู
และจำเป็นต้องมีการลักพาตัวศาสตราจารย์
ที่เชี่ยวชาญทางปรมาณูมาจากเดนมาร์ก
คือศาสตราจารย์บิลโบว์ซึ่งทางเยอรมันกำลังใช้งานอยู่
เป็นการโชคดีของทางฝ่ายโลกเสรีที่การปฏิบัติงาน
ทางด้านปรมาณูได้ก้าวหน้าไปกว่าเยอรมัน
มิฉะนั้นประวัติศาสตร์โลกก็คงจะ
ต้องพลิกโฉมหน้าใหม่เมื่อฝ่ายอักษะเป็นเจ้าโลก
ฉะนั้นกิจการทางราชการลับที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ในการปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ ๒
คือศึกชิงปรมาณูลูกแรก ไว้ในควบคุมเป็นผลสำเร็จ
ได้มีการถกปัญหาสำคัญทางด้านศีลธรรมในการทำสงคราม
ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องมาจากการพัฒนาอาวุธลับต่าง ๆ อย่างรวดเร็วคือ
การใช้พลังของปฏิกิริยาปรมาณูอย่างไม่มี
การควบคุมเป็นอันตรายไม่น้อยไปกว่า
พลังระเบิดของบุคคลที่ได้รับการฝึกฝนในวิธีการใหม่ ๆ
ในการข่มขวัญโดยใช้การก่อวินาศกรรมและ
การลอบสังหาร รูสเวสท์เองก็ตั้งใจที่จะเผยให้โลก
เห็น “อันตราย” ของ
การที่นักการเมืองจะยอมรับ
ว่าเป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ก็จะต้องมี
การล้างผลาญประชาชนที่ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย
เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายของตน
ตัวอย่างคือการบุกโจมตีกองบัญชาการเกสตาโปในโคเปนเฮเกน
โดยกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งต้องเสียชีวิตพลเรือนไป
เพื่อบรรลุเป้าหมายคือ การช่วยหน่วยกองทัพลับเดนมาร์กออกมาได้
และได้ทำลายเอกสาร
ของเกสตาโป
เกี่ยวกับรายชื่อของหน่วยกองทัพลับ
ในเดนมาร์กได้ก่อนที่พวกนาซีจะได้ทราบความลับ
และการที่นักวิทยาศาสตร์จะขะมักเขม้น
ในกรรมวิธีของการวิจัยโดยไม่แยแสต่อผลร้าย
ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยนั้น
ต่อไปการทำสงครามก็จะมี ๒ ด้านที่ควบคู่กันไป คือ
การพึ่งพาอาศัยวิทยาการและผู้เชี่ยวชาญ
ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

และในอีกด้านหนึ่งก็
มีสงครามลับซึ่งต้อง
อาศัยสัญชาตญาณในการหยั่งรู้
และตัวบุคคลเป็นหลัก

สันติภาพในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการควบคุม
ผสมผสานของทั้งสองด้านนี้
เพราะฉะนั้นการทำราชการลับก็จะดำเนินต่อไป
ซึ่งการเก็บรักษาความลับอย่างเคร่งครัด
ทำให้พวกรุ่นหลังรู้เรื่องน้อยมากหรือไม่รู้อะไรเลย
ผู้ที่ทำงานราชการอันที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตก็จะต้อง
เป็นบุคคลประเภท “ปิดทองหลังพระ”
อยู่ต่อไป

* มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ .๒๕๓๙.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว :
พระราชอัจฉริยภาพทางภาษาที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์

แปล เรื่อง “ นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ”