Custom Search

Oct 10, 2009

เชื่อมโยง "สมอง" มาสู่ "หัวใจ" สังคมไทยไม่ไร้ "คุณธรรม"











ปร
ะเด็น: ท่าน ว.วชิรเมธี และนายกฯ อภิสิทธิ์เสนอมุมมองต่อคุณธรรม
จริยธรรมในหัวข้อต่างๆ อาทิ เช่น ความมีน้ำใจ ความเสียสละ
ความซื่อสัตย์ และความสามัคคี เป็นต้น โดยการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมนั้น มีความสัมพันธ์กับค่านิยม
การศึกษา และสถาบันครอบครัว และทั้งนี้ต้องเกิดจาก
การขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนในสังคม

ผู้ ดำเนินรายการ : "ท่านนายกฯ ครับ สาเหตุหลัก ๆ
ที่ท่านนายกฯ วิเคราะห์แล้วว่าพบว่าเหตุที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็ก ๆ
เยาวชนของเรา หรือว่าคนในสังคมละเลยเรื่องคุณธรรม
จริยธรรม หรือว่าทำให้เรื่องคุณธรรม
จริยธรรมนั้นไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชีวิต จิตใจ นั้นคืออะไรครับ"

นายกฯ อภิสิทธิ์ : "ผมคิดว่าเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกและสังคมเปลี่ยนแปลง
และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทีนี้สิ่งที่อยู่ในตัวเราทุกคน
ก็คือเราอยากมีความสุขในลักษณะของการมีความ สะดวก สบาย
โดยเฉพาะเวลาการพัฒนา ก็เป็นการพัฒนาในเรื่องของวัตถุ
เรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวก ปัญหามีอยู่ว่าแล้วจิตใจเรา
สามารถที่จะพัฒนารับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้หรือไม่
เพราะฉะนั้น มันก็ไปเป็นเรื่องของค่านิยม ค่า นิยมบางช่วงบางยุค
เราอาจจะมีความรู้สึกว่าเราอยากได้ เราอยากประสบความสำเร็จเร็ว ๆ
และเราก็เริ่มลืมไปว่าวิธีการที่จะได้ความสำเร็จ ควรจะเป็นอย่างไร
และเราก็ลืมไปว่าการได้ความสำเร็จมาโดยการเบียดเบียนผู้อื่น
ในที่สุดถ้าทุกคนเบียดเบียนกันเอง ทุกคนก็แย่ลง
อันนี้คือปัญหา และผมคิดว่าพอในยุคนี้มีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามามากมาย
บางครั้งสิ่งที่เป็นเรื่องดีงามที่ควรจะอยู่ในสังคมของเรา
ก็ถูกมองข้าม เพราะฉะนั้น รัฐบาลเองก็มองว่า
การจะแก้ปัญหาเรื่องนี้คงจะต้องทำหลายส่วนพร้อมกันไป
และเป็นเรื่องของการ ทั้งสร้างค่านิยม และสร้างสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้อ
อย่างรัฐบาลมีนโยบายบอกว่า คนไทยต้องไม่โกง
อันนี้จะไปโฆษณาสปอตประชาสัมพันธ์บอกว่า อย่าโกง ๆ ๆ
แต่ว่าถ้ารัฐบาลไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง ก็ไม่มีประโยชน์
หรือไม่รักษากฎหมายในเรื่องนี้ก็ไม่ม่ประโยชน์ อย่างนี้เป็นต้น"

ผู้ดำเนิน รายการ
: "เริ่มฟังอย่างนี้แล้ว รู้สึกมีความหวัง
เพราะเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม นั้นเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติ
ไม่ใช่เรียนรู้จากหนังสือหรือตำรา ต้องลงไปปฏิบัติ
ถามพระคุณเจ้าว่า เราจะมีกระบวนการฝึกฝนหรือ
สร้างเสริมอุปนิสัยให้เป็นคนที่มีน้ำใจ เสียสละ
ซึ่งคนไทยมีอยู่แล้วให้ฟื้นกลับเข้ามาเป็นค่านิยมที่ถูกต้อง
และสร้างสรรค์ได้อย่างไร"

ว.วชิรเมธี : "พระอาจารย์ว่าเครื่องมือของเราคือการศึกษามีอยู่แล้ว
สิ่งที่เราจะต้องเติมก็เหมือนที่ท่านนายกฯ บอก เติมเนื้อหาเข้าไป
อะไรคือเนื้อหา พระอาจารย์คิดว่าทุกวันนี้การศึกษาไทย
เราเน้นหัวสมองมากไป เราน่าจะเชื่อมโยงหัวสมองมาสู่หัวใจ
ถ้าเราเชื่อมโยงหัวสมองมาสู่หัวใจได้ เด็กของเราดื้อ ๆ
เรียนหลักวิชาที่เรียกว่าวิชาการด้วย
อันนี้พระอาจารย์เรียกว่าเป็นวิชาการ
แต่เราจะต้องเติมไปอีก ๒ วิชา วิชาชีพ
เขาต้องมีวิชาชีพสำหรับทำมาหากินเป็นด้วย
โดยสุจริต … และวิชาสำคัญที่สุดคือวิชาชีวิต
ท่านนายกฯ คงได้ข่าวว่าช่วงนี้เด็กของเรา
ใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางเสียหายใช่ไหม เทคโนโลยีนี่ขั้นสูง
แต่คนนี่คุณธรรมอยู่ขั้นต่ำ เพราะฉะนั้น พอไปใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
เอามารองรับอะไร เรื่องการทำมาค้าขาย ของที่ไม่ดีทั้งหลาย
และก็เกิดเป็นเรื่องเป็นเรื่องขึ้นมา
ฉะนั้นการศึกษาไทยจะต้องเติมใน ๓ เรื่องนี้
๑. วิชาการ เด็กจะต้องได้เรียนอย่างดีที่สุด
อยากเรียนต้องได้เรียน อาตมาเชื่อมั่นอย่างนั้นว่า
ยุคสมัยของการด้อยโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย
ควรจะจบสิ้นลงไป อยากเรียนต้องได้เรียน
วิชาการต้องแน่นเปรี๊ยะ
๒.วิชาชีพ เขาต้องมีศักยภาพในการทำมาหากินเป็น
เพราะอะไร ถ้าเราไม่เตรียมวิชาชีพให้เขา
คอร์รัปชั่นจะมา ช่องว่างของคอร์รัปชั่นคืออะไร
คนนี่ไม่สามารถทำมาหากินโดยสุจริตได้
ทำไมไม่สามารถทำมาหากินโดยสุจริต
เพราะว่าเราไม่ได้เตรียมตรงนี้
เราเตรียมแต่การสอบแข่งขัน
๓. วิชาชีวิตจะ ทำให้เขารู้ว่าอะไรถูกควรทำ
อะไรผิดควรเว้น อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าจิตสำนึกสาธารณะ
อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าการรู้กาลเทศะ อะไรคือความควรไม่ควร
อะไรคือสิ่งที่เรียกว่าตัวเองจะต้องให้แก่สังคม
อะไรคือสิ่งที่สังคมจะให้แก่ตัวเอง วิชาเหล่านี้ ๓ วิชานี้
อาตมาต้องฝากท่านนายกฯ วิชาการ
เด็กไทยต้องได้เรียนอย่างดีที่สุด
วิชาชีพเรื่องสัมมาอาชีวะจะต้องเติมลงไป
และวิชาชีวิตนี่คือคุณธรรม จริยธรรม …"

ผู้ดำเนินรายการ : "มีคำถามถึงท่านนายกฯ โดยตรงเลยครับ
ท่านเลี้ยงลูกอย่างไรให้ปลอดจากอบายมุข
ซึ่งท่านเองก็เป็นคนที่เสียสละ
ทุ่มเทเรื่องการบ้านการเมืองมาตลอดชีวิตของท่านที่ผ่านมา
และยังมีลูกอยู่ในวัยรุ่นด้วย"

นายกฯ อภิสิทธิ์ : "ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญคือความใกล้ชิด
ความเอาใจใส่ ผมจะสังเกตดู
ลูกผมตอนนี้ก็โตแล้ว ๑๘ คนหนึ่ง ๑๕ คนหนึ่ง
เป็นวัยรุ่นแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือเราก็ดูว่าเขาชอบอะไร
เขาทำอะไร ผมก็เห็นเขาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันหนึ่ง
อาจจะพอมากหน่อย เราก็บอกขอสัก ๒ ชั่วโมงได้ไหม
ถาม ๆ คุย ๆ กับเขาบ้างว่าเขาดูอะไร เขาทำอะไร
เผื่อที่ว่าเราจะได้แนะนำเขาว่าทำไมไม่ใช้อย่างนี้
ให้เป็นประโยชน์อย่างนั้น อย่างนี้ ก็ต้องหาความพอดี
ในความพอดีก็คือว่าไม่ใช่ปล่อยเขาไปเลย
ไม่รู้เลยว่าเขาทำอะไร ก็มีช่องว่าง
ขณะเดียวกันไปยุ่งกับเขามาก เขาไม่ชอบหรอก
เพราะเขาโตแล้ว ต้องอาศัยความพอดีตรงนี้"

ผู้ดำเนินรายการ
: "ถามพระอาจารย์เรื่องความสามัคคีของคนในชาติ
วัตถุนิยมมีส่วน เพราะว่าเดิมทีเราเป็นบุญนิยม
ตอนหลังเราเป็นทุนนิยม เราเป็นธรรมะนิยม
ตอนนี้เป็นทุนนิยมมากขึ้น คือคนเห็นแก่ตัว
เห็นแก่ผลประโยชน์มากขึ้น ธรรมะบางคนบอกเป็นเรื่องอุดมคติเกินไป
เวลาปฏิบัติเรื่องการเห็นแก่ตัวผลประโยชน์มันใช้ไม่ได้
ปรากฏว่าผลที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ใช้ธรรมะ
ก็เสียหายต่อประเทศชาติ พระอาจารย์มีข้อคิด
ในการที่จะเตือนคนที่ประพฤติมิชอบ หรือทุจริตคอร์รัปชั่น อย่างไร"

ว.วชิรเมธี
: " ตรงนี้พระอาจารย์อยากเล่านิทานปรัชญาสั้น ๆ
คือที่อินเดียมีครอบครัวหนึ่ง พ่อเขาสอนลูกให้พูดความจริง
ลูกเดินออกจากบ้านไป ๆ ที่โรงเรียนถามเพื่อนว่าเคยโกหกไหม
เพื่อนบอกเคย ถามครู ๆ เคยโกหกไหม ครูบอกเคย
เย็นกลับบ้านถามแม่ค้า ๆ เคยโกหกไหม เคย
ก่อนกลับบ้านถามหลวงพ่อ ๆ เคยโกหกไหม
หลวงพ่อบอกเคย แต่กลับเข้ามาบ้านไปกราบพ่อนะ
พ่อครับโลกนี้คนที่ไม่โกหกเห็นจะมีแต่พ่อล่ะครับ
แม่ลุกขึ้นยืนเลยบอกว่ากฤษณะ พ่อแกนี่ตัวดี
นี่คือสิ่งที่พระอาจารย์อยากจะบอกว่า
การถ่ายทอดคุณธรรม จริยธรรม
ทำไม่สำเร็จด้วยการเทศน์เพียงอย่างเดียว
ฉะนั้น
ที่นายกฯเริ่มไว้ตอนแรกว่าทุกภาคส่วน
ทุกองคาพยพของสังคม เราจะต้องเคลื่อนไหวไปด้วยกัน
สิ่งสำคัญที่สุดในเมืองไทยตอนนี้คือ
๑. คุณภาพคน ทำไมเราเข้าสู่วิกฤตบ่อยครั้ง
ในรอบ ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ใช่ไหม ปี
๒๕๓๕
เราก็พฤษภาทมิฬ ปี ๒๕๔๐ วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี ๒๕๔๘, ๒๕๔๙ ,๒๕๕๐
ไม่ต้องพูดถึงวิกฤตกันจนกลายเป็นคนป่วยของเอเชีย
อันนี้คือคุณภาพคน
๒. เรื่องคอร์รัปชั่น ทำไมคอร์รัปชั่น
กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของประเทศ
อันนี้จะต้องช่วยกันถอดรื้อให้ได้ เด็ก
แม้แต่ทุกช่วงวัยยังเห็นว่าคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดา
พูดถึงคอร์รัปชั่นเขาจะใช้คำ ๆ หนึ่งว่า ใคร ๆ เขาก็ทำกัน
ทำอย่างไรเราจะให้เด็กพวกนั้นคอร์รัปชั่นเหรอ
โอ้โฮนี่มันกาจฉกรรจ์แล้วนี่
ใครทำนี่เป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬารมาก
น่ารังเกียจสุด ๆ นี่คือเรื่องคอร์รัปชั่นจะต้องถอดถอน และ
๓. ค่านิยม สังคมไทยนี้เป็นสังคมที่มีเอกภาพมาแต่เดิม
อาตมาไม่อยากเห็นว่ามีไทยเหลือง ไทยแดง
หรือไทยเหนือไทยอะไร เมื่อพูดถึงคำว่าไทย
อาตมาอยากให้เรานึกถึงคำว่า “ไทยแลนด์” ไทยหนึ่งเดียว
เหมือนที่บารัค โอบามา บอกว่าเมื่อพูดถึงอเมริกา
ขอได้ไหมว่าอย่ามีอเมริกาเดโมแครต อย่ามีอเมริการีพับบริค
ขอว่าอเมริกาที่เป็นหนึ่งเดียว อันนี้อาตมาขอฝากท่านนายกฯ
ว่าถ้าทำได้เมืองไทยก็เจริญแน่นอน"

ผู้ ดำเนินรายการ
: "เรื่องความสามัคคีก็เป็นคุณธรรม
เพราะอยากจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคุณธรรมนอกจาก
เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล แล้ว แท้ที่จริงแล้ว
ยังเป็นนโยบายที่สามารถที่จะพลิกฟื้นคืนความน่าเชื่อถือ
ให้กับประเทศชาติด้วย ต้องมีความซื่อสัตย์
มีความเสียสละ ท่านนายกฯ มีความคิดที่จะสร้างความสามัคคีอย่างไร"

นายกฯ อภิสิทธิ์ : "เรื่องความสามัคคีต้องสร้างด้วยการให้ความเป็นธรรม
ให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าอยู่ในสังคมนี้
เราอยู่อย่างเท่าเทียมให้เกียรติซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น ผมก็ใช้แนวนี้ในการปฏิบัติกับคนทุกกลุ่ม
ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นในทางการเมืองอย่างไร
ก็หมายถึงการบังคับใช้กฎหมายโดยเสมอภาค
คดีความต่าง ๆ ว่าตรงไปตรงมา
เชิญชวนทุกฝ่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยคิดช่วยทำ
สร้างสรรค์บ้านเมืองต่อไป"

- "ลานบุญ ลานปัญญา" สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน

ประเด็น: นายกฯ อภิสิทธิ์ ชูนโยบายสำคัญในการสร้างพื้นที่ดีให้กับเยาวชน
ทั้งทางอินเตอร์เนท โทรทัศน์ หนังสือ ฯลฯ
โดยนอกจากมีการสร้างพื้นที่สีขาวที่มีเนื้อหาสอดแทรก
เรื่องของหลักธรรมคำสอน แล้ว วิธีการที่จะสื่อสาร
ก็มีความสำคัญเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับยุคสมัยใหม่
นอกจากนี้ ยังเผยแนวคิดโครงการ “ลานบุญ ลานปัญญา”
เพื่อสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน ซึ่งแนวคิดทั้งหมดดังกล่าว
สัมพันธ์กับนโยบายการปฏิรูปสื่อ ที่จะต้องมีองค์กร
กำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่
เพื่อให้เกิดประโยชน์และความเป็นธรรม

นายกฯ อภิสิทธิ์ : "… ในส่วนของเด็กและเยาวชนเอง
นโยบายสำคัญที่สุดคือเราบอกว่าสร้างพื้นที่ดี
เอาน้ำดีไล่น้ำเสีย การเอาน้ำดีไล่น้ำเสีย
ก็หมายความว่าที่เราเห็นบอก มีไฮ-ไฟว์เอาไปใช้เรื่องบริการทางเพศ
หรืออะไรต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วอินเตอร์เน็ตก็เป็นแหล่งเรียนรู้มหาศาล
มีคุณประโยชน์ แต่มีแหล่งเรียนรู้อื่น พิพิธภัณฑ์ สวนหย่อม
การเอื้อให้ครอบครัวอยู่ด้วยกัน
สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่เราจะพยายามสร้างพื้นที่ที่ดี
แต่ว่าในส่วนของศาสนาเอง ก็มีความสำคัญมาก
เพราะว่าศาสนา พูดง่ายๆ ถ้าจะพูดว่ารัฐบาล
กำลังสร้างเครื่องมือเปิดพื้นที่ต่าง ๆ แต่ตัวเนื้อหาสาระ
ถ้าพูดภาษาปนอังกฤษเขาบอก Content ที่จะใส่เข้าไป
ก็คือในเรื่องของหลักธรรมคำสอนหรือศาสนาต่าง ๆ
ที่ประชาชนเคารพนับถือ ซึ่งตรงนี้ต้องหาวิธีการ
ที่จะสื่อสารเข้าถึงกับคนสมัยใหม่ในยุคสมัยใหม่ได้
อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทาย ทั้งในเรื่องของการผลิตสื่อ
ทั้งในเรื่องการกระตุ้นให้เด็กอ่านหนังสือ
และสนใจกว้างขวางมากขึ้น ความจริงในระยะหลังก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ผมก็รู้จักคนรุ่นใหม่จำนวนมาก
ที่สนใจและใส่ใจในเรื่องของหลักธรรมคำสอน
จริยธรรม คุณธรรม มากขึ้น…
...
รัฐบาลกำลังมีการดำเนินการ ท่านรัฐมนตรีสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
กำลังเร่งรัดในเรื่องของการที่จะเราต้องมีองค์กรที่
จะมากำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่
ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าจะจัดให้ใครเท่านั้น
แต่ว่าจัดเพื่ออะไร เพราะฉะนั้นใน
เรื่องของเวลาของสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ
ที่จะต้องมีในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับสังคม
จะเป็นนโยบายสำคัญที่จะต้องผลักดันกันต่อไป
อันนี้เป็นในแง่ของการสร้างพื้นที่"

ว.วชิรเมธี : "ตรงนี้อาตมาเติมนิดหนึ่งได้ไหมว่า
ทางรัฐบาลมีแนวคิดทำพื้นที่ให้สื่อสีขาว
อย่างรายการธรรมะดี ๆ รายการเด็กดี ๆ ไหม"

นายกฯ อภิสิทธิ์ : " เรากำลังที่จะกำหนดเรื่องของช่วงเวลา
ในแง่ของรายการสำหรับเด็กและเยาวชน
ที่เป็นรายการที่เป็นประโยชน์ ซึ่งผสมผสานกัน
ทั้งเรื่องของความรู้ ทั้งเรื่องของพื้นที่สีขาว
แต่ว่าสิ่งที่ท้าทายมากคือ จริง ๆ แล้วเราบอกว่า
เราผลิตรายการดี คือคนผลิต ๆ ออกมาตั้งใจดี
บอกเป็นรายการดี แต่ปรากฏว่าไม่ค่อยมีคนดู
คือเดี๋ยวนี้มันมีช่องว่างระหว่างสิ่งที่เรา
อยากจะบอกกับสิ่งที่คนอยากจะฟังที่
ท้าทายตรงนี้คือว่าทำอย่างไรเวลาเรามีพื้นที่ตรงนี้แล้ว
เราสามารถทำรายการที่สามารถเจาะเข้าไปได้จริง ๆ
แต่ตรงนี้จึงเป็นเหตุผลว่ารูปแบบของสื่อที่จะออกไป
อาจจะต้องปรับให้มีความทันสมัยมากขึ้น…
...
ในส่วนของการทำพื้นที่สร้างสรรค์ ผมกำลังให้ดูอีกโครงการหนึ่ง
ยังไม่ได้ตั้งชื่อนะครับ แต่เอาคร่าว ๆ ว่า "ลานบุญ ลานปัญญา"
เพราะเรามีความคิดว่าต่อไปการกระตุ้นเศรษฐกิจ
คือการไปทำโครงการขนาดเล็ก ๆ ในชุมชนต่าง ๆ ก็
คิดว่าสถาบันศาสนา เอาล่ะถ้าพุทธศาสนาก็คือวัด
ถ้าศาสนาอื่นก็จะมีสถานที่สำคัญ เราไปปรับปรุงสถานที่
เหล่านั้นให้กลับมาเป็นศูนย์กลางในการระดมชุมชน
ทำไมเราจะต้องไป ทุกอย่างก็ไปห้องประชุม หอประชุม
เรากลับมาที่วัดได้ไหม จะปรับปรุงเป็นลาน
สำหรับใช้เวลาในเสาร์-อาทิตย์ พ่อแม่ลูกหลาน
พระคุณเจ้าหรือผู้นำทางศาสนา มาใช้จะทำกิจกรรม
และไม่จำเป็นจะต้องเป็นกิจกรรมในเรื่องของศาสนาอย่างเดียว
เราก็แทรกเรื่องอื่น ๆ เข้าไป ซึ่งทำให้ประชาชน
หันกลับเข้ามาตรงนี้มากขึ้น อันนี้ก็เป็นตัวอย่างสิ่งที่จะทำต่อไป
ได้ให้ท่านรองนายกรัฐมนตรีกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
ซึ่งดูแลในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ไปใช้อันนี้
เพราะเราคิดว่าปรับปรุงโรงเรียน สถานีอนามัย
สถานที่สำคัญทางศาสนา
ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของมาตรการทางเศรษฐกิจด้วย"

- เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ หัวใจสำคัญของการศึกษา
นายกฯ อภิสิทธิ์ :นายกฯ อภิสิทธิ์ เห็นว่า นโยบายเรียนฟรี
ต้องมาพร้อมกับคุณภาพ โดยชูนโยบายทางด้านเยาวชน
นโยบายทางด้านสังคม ที่เน้นเรื่องการเพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์
ให้เด็กและเยาวชนมีเวลามากขึ้นในการทำกิจกรรม
นอกเหนือจากการเรียนด้าน เนื้อหาวิชาการ
เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาทักษะทางชีวิต
ในเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
ในประเด็นการศึกษานี้
ท่าน ว.วชิรเมธี เสนอแนวคิดของพระพุทธเจ้าที่เห็นว่า
การ ศึกษาที่สมบูรณ์แบบจะต้องครอบคลุม
พัฒนาการของคนใน 4 เรื่อง ได้แก่ กาย สังคม จิต และปัญญา
โดยการส่งเสริมการอ่านมีอิทธิพลต่อการพัฒนาดังกล่าว
เช่นเดียวกับครูที่ท่านเห็นว่าเป็นวิศวกรของสังคม

ผู้ดำเนินรายการ :"… ทุกวันนี้ในเรื่องการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ
เราพบว่าการศึกษามักจะเน้นการแข่งขัน
ทำให้คนนั้นอึดอัดคับแคบ แล้วก็เป็นทุกข์มากขึ้น
จะมีกระบวนการที่จะเปิดกว้างทางการศึกษา
ที่จะเปลี่ยนองค์ความรู้เป็นความคิด
และเป็นการพัฒนาสู่จิตใจที่ดีงาม ในทางพุทธศาสนาสอนอย่างไรครับ"

ว.วชิรเมธี : " การศึกษาเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
ต้องไม่ลืมว่าพุทธศาสนาแปลว่าศาสนาของผู้รู้
คำถามก็คือถ้าจะเป็นผู้รู้อะไรคือเครื่องมือ ก็ต้องศึกษา
และทีนี้ถ้าศึกษาพระพุทธศาสนา ออกแบบการศึกษาไว้อย่างไร
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ
จะต้องครอบคลุมพัฒนาการของคนใน ๔ เรื่อง
๑. พัฒนาการทางกาย คนต้องมีสุขภาพดี สุขภาพกายต้องแข็งแรง
๒. พัฒนาการทางสังคม ต้องอยู่ในสังคมอย่างมีสง่าราศี
นั่นหมายความว่าต้องเป็นคนดีที่อยู่ในสังคมโดยที่ไม่ต้องอายใคร
เวลาเดินบนถนนไม่อายใคร
เหมือนที่ท่านนายกฯ บอก ต้องมีเกียรติอยู่ในสังคม
๓. พัฒนาการทางจิต นั่นหมายความว่า ระบบความคิด
ระบบความเชื่อ ค่านิยม ของคนจะต้องเป็นสัมมาทิฐิ และ
๔. พัฒนาการทางปัญญา คุณจะต้องมีความรู้ทางโลก
สำหรับการทำมาหากินอย่างสุจริต
ความรู้ทางธรรมสำหรับการบริหารจัดการกิเลส
ซึ่งพระอาจารย์เรียกว่าเป็นกิเลส Management
เพิ่งเปิดคอร์สนี้ไป เพราะฉะนั้น นี่ล่ะคือการศึกษา
แนวพุทธจะต้องครอบคลุม ๔ เรื่อง
๑. กาย ต้องสุขภาพแข็งแรง ซึ่งจะโยงไปถึงเรื่องเศรษฐกิจ
๒. สังคมต้องร่มเย็นเป็นสุข คนอยู่ด้วยกันอย่างมีศักดิ์ศรี
เคารพกฎหมาย มีเกียรติ …
๓. ค่านิยมของสังคมต้องถูกต้อง ต้องเป็นสัมมาทิฐิ และ
๔. ปัญญาของคนซึ่งมีเพียงพอที่จะครองตน ครองคน
ครองงาน ถ้าเป็นคนนักการเมืองต้องพอที่จะครองประเทศได้"

ผู้ ดำเนินรายการ
: "ถามท่านนายกฯ บ้างว่ามิติของการศึกษาปัจจุบัน
เราเริ่มเห็นพัฒนาการเป็นการสร้างคุณภาพ มีทั้งการเรียนฟรี
และการส่งเสริมให้มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปมากขึ้นด้วย
ตัวท่านเองก็ศึกษาจากต่างประเทศด้วย
ท่านเห็นความแตกต่างและพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่
การศึกษาไทยในมิติของการมีที่ ยืนที่สง่างามบนเวทีโลกได้อย่างไรครับ"

นายกฯ อภิสิทธิ์ : "ส่วนของการศึกษาแน่นอนตอนนี้คนสนใจ
ก็เรื่องนโยบายเรียนฟรี ซึ่งผมทราบดีว่าเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ
เท่านั้นเองในระบบการศึกษา แต่ว่ามีความหมายมาก
สำหรับประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีรายได้น้อย
เราก็ต้องพยายามทำเรื่องนี้ให้เรียบร้อยโดยเร็วที่สุด
แต่ไม่ลืมเรื่องของคุณภาพ และนโยบายเรื่องการศึกษานี้
ต้องมองกว้างกว่าโรงเรียน เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราทำคือ
นโยบายทางด้านเยาวชน นโยบายทางด้านสังคม
ที่เน้นเรื่องการเพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ จะเป็นหัวใจสำคัญ
จะเห็นว่าทางกระทรวงวัฒนธรรมโดยท่านรัฐมนตรีธีระ
(นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม)
ในปัจจุบันก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากในการที่จะเพิ่มพูนพื้นที่ของการ
เรียนรู้ ที่เป็นพื้นที่ที่สร้างสรรค์ ในส่วนของตัวหลักสูตร
ในส่วนของการศึกษาในโรงเรียนเอง ก็กำลังมีหลายมาตรการ
โครงการคืนครูให้นักเรียน ที่ทำอย่างไรให้ครูมีเวลากับนักเรียนมากขึ้น

ปัจจุบันเราเน้นในเรื่องของเนื้อหาสาระความรู้มาก
เพราะฉะนั้น ในที่สุดการแข่งขันคือแข่งกันเรียน
แข่งกันท่อง และใช้เวลาไปกับเรื่องเหล่านี้เกือบทั้งหมด
เวลาที่เราจะมาส่งเสริมให้เด็กเยาวชนได้ฉุกคิด
ในเรื่องของทักษะทางชีวิต ในเรื่องคุณธรรม
จริยธรรม ก็น้อยลง ตรงนี้ต้องเป็นการไปปรับตั้งแต่
ระบบการแข่งขันในทางการศึกษาทั้งหมด
ผมเคยพูดไว้ตั้งแต่ ๒-๓ ปีที่แล้วว่าผมเอง
ผมใฝ่ฝันจะเห็นว่าการศึกษา ระดับประถม มัธยม
เด็กได้ทำกิจกรรม อาทิตย์หนึ่ง
อาจจะมีเวลาครึ่งวันสัก ๒ วันด้วยซ้ำ
ที่จะไปทำกิจกรรม คือการทำกิจกรรมจะเป็นกีฬา
จะเป็นศิลปะ จะเป็นกิจกรรมเพื่อส่วนรวม หรืออะไรก็ตาม
มันจะฝึกให้เด็กใช้ชีวิตร่วมกัน และเรียนรู้ว่าการอยู่ร่วมกัน
โดยการมีคุณธรรม จริยธรรม ดีอย่างไร
การที่ไม่นึกถึงหลักเหล่านี้แล้วมันทำให้เกิดความทุกข์
ทุกข์กับตัวเอง ทุกข์กับเพื่อน ทุกข์ด้วยกันทั้งหมดอย่างไร
ซึ่งถ้าเราส่งเสริมให้เกิดตรงนี้ได้จะเป็นประโยชน์มาก

แม้แต่วัน ก่อนผมเป็นประธานประชุมเรื่องของผู้สูงอายุ
ก็มีข้าราชการรายงานว่า ทำอย่างไรเด็กเรามีความสนใจ
ใส่ใจผู้สูงอายุบ้าง ผมก็บอกว่าเอาง่าย ๆ
ว่าสมมติกิจกรรมในโรงเรียนสัก ๒ ชั่วโมงก็ดี
อาทิตย์หนึ่ง ๑ หรือ ๒ ชั่วโมง ให้เด็กไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน
ไปนั่งคุยไม่มีอะไรเลยครับ ไปคุยกับคุณตา คุณยาย คนในชุมชน
แล้วเราจะเห็นครับ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือว่า ผู้สูงอายุ
จริง ๆ ท่านก็เหงาอยู่แล้ว ท่านก็จะพูดคุยกับเด็กด้วยเมตตา
ด้วยความเอ็นดู เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้ว่าผู้สูงอายุจะเริ่มมีปัญหา
ลุกไปไหนมาไหนไม่สะดวก จะเกิดความช่วยเหลือ
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน คือคนต่างวัยมีความเข้าใจกันดีขึ้น
ผมก็เสนอว่าของอย่างนี้น่าทำ แต่ถ้าเรายังไม่สามารถไป
ลดหลักสูตรได้ ผมกลัวว่าเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง
โรงเรียน ไม่อยากทำ และกลัวลูกหลานสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้
เพราะฉะนั้น ก็ต้องค่อยๆ ปรับ ปรับด้วยกัน
แต่ผมคิดว่าเป้าหมายน่าจะเป็นอย่างนี้
และสอดคล้องกับแนวนโยบายทางด้านอื่น ๆ"
ผู้ ดำเนินรายการ : "เมื่อสักครู่พระคุณเจ้าพูดถึงเรื่องการอ่าน
การอ่านมีผลอย่างไรต่อการพัฒนาความคิด ทั้งเรื่องกาย เรื่องสังคม
เรื่องจิตและเรื่องปัญญาครับ"
ว.วชิรเมธี : " ตรงนี้พระอาจารย์ขอเล่านิดหนึ่ง
เมื่อคืนนี้อาตมภาพกลับมาจากไต้หวันก่อนท่านนายกฯ
สัก ชั่วโมงหนึ่งได้ ก็ไปร่วมงานสัปดาห์หนังสือโลกที่ประเทศไต้หวัน
และน่าชื่นชมมากที่ว่างานสัปดาห์หนังสือของเขา
เป็นงานที่ต้องซื้อบัตรเข้าไป ชม
แต่เชื่อไหมว่าคนต่อคิวกันยาวเหยียด …
ที่น่าทึ่งที่สุดคืออะไร ท่านประธานาธิบดีของเขาเป็นหนอนหนังสือ
ท่านมาเปิดงานไม่พอ ท่านไปเยี่ยมชมที่บู้ธไทย
และซื้อหนังสือไทยหลายเล่ม
พระอาจารย์ได้มอบหนังสือให้ท่านเล่มหนึ่ง
ซึ่งเป็นหนังสือธรรมะภาคภาษาจีนของพระอาจารย์
แต่ที่ทึ่งยิ่งกว่านั้นคือ เท่าที่ได้คุยกันท่านเล่าว่า
ที่ไต้หวันท่านมีร้านหนังสือ ๒๔ ชั่วโมง
พระอาจารย์ก็ไปที่ศูนย์ตอนสามทุ่มแล้วท่านนายกฯ
อาตมาอยากรู้ว่าราคาคุยหรือเปล่า ก็ไปดู
ปรากฏว่าสามทุ่มที่อาตมาไป คนประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คน
อยู่เต็มร้านหนังสือและเต็มอย่างนี้ตลอด
ร้านหนังสือ ๒๔ ชั่วโมงที่นี่มี ๔๓ สาขาทั่วประเทศ
สิ่งที่อาตมาตั้งข้อสังเกตคือว่าถ้าคนเขามีพลังการอ่านน้อย
ร้าน ๒๔ ชั่วโมงเกิดขึ้นไม่ได้
อันนี้เป็นสิ่งที่อาตมาอยากเห็นในเมืองไทย
นั่นคือจะทำอย่างไรให้สังคมไทยเป็นสังคมที่รักการเรียน
รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักการอ่านเราจะสามารถคิดได้
ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ส่วนรักการอ่านเราจะกลายเป็น
นักจดบันทึกฐานข้อมูลต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบ
มีระเบียบ คนรุ่นหลังมาศึกษาหาความรู้
ตามรากเหง้าของตัวเองได้เจอทั้งหมด
และก็รักการเรียนรู้ ถ้าสังคมไทยเป็นสังคมฐานความรู้ได้เมื่อไร
เครื่องรางของขลังจะลดลง ใช่ไหม เพราะฉะนั้น
เราจะต้องเปลี่ยนสังคมฐานความเชื่อไปเป็นสังคมฐานความรู้
อาตมาอยากเห็นท่านนายกฯ
เข้ามาช่วยในเรื่องการส่งเสริมการรักการอ่าน"
ผู้ ดำเนินรายการ : "สุดท้ายครับ พร้อมกับฝากทิ้งท้ายด้วย
เรื่องของการพัฒนาการศึกษา การพัฒนาครู
หัวใจสำคัญของความเป็นครูนั้นอยู่ที่ไหนครับ"

ว.วชิรเมธี : "อาตมาว่าอยู่ที่เอายอดคนมาเป็นยอดครู
เพราะอะไร ครูคือวิศวกรของสังคม ถ้าเราปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นครู
คำถามก็คือแล้วคนรุ่นใหม่ของเราอยู่กับใคร ฉะนั้น
ต้องเอายอดคนมาเป็นยอดครู เราไปดูคนอย่าง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เห็นไหม เนลสัน ก็ดี ระพินทร์ นาถฐากูร ก็ดี
แม้แต่คนดัง ๆ ทั้งหลายที่มีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์โลก
เขาเลือกอาชีพครู แต่ในเมืองไทยของเรา
ถ้าเรายังให้ความสำคัญกับครูน้อยอยู่
เด็กของเราจะมีชะตากรรมที่ไม่น่าชื่นชมเท่าไร
เพราะฉะนั้น สาระสำคัญที่สุดไปเชิญยอดคนมาเป็นยอดครู่ก่อน
แล้วหลังจากนั้นคนเก่ง ๆ ทั้งหลายจะอยากเป็นครู และเด็ก ๆ
ก็ได้เรียนกับยอดคนทั้งนั้น พอได้เรียนกับยอดคน
เราก็ไม่ห่วงแล้วว่าคนรุ่นใหม่ของเราจะมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน
อันนี้เป็นเรื่องที่อาตมาห่วงมาก"