Custom Search

Dec 9, 2007

"เครื่องเคียงอาหารสมอง" ของวรากรณ์ สามโกเศศ : Dr. Varakorn Samakoses



หลายท่านคงได้อ่านคอลัมน์ "อาหารสมอง"
ของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ
ทางมติชนสุดสัปดาห์และเห็นว่าเป็นคอลัมน์ที่ได้ความรู้
แง่คิดดีมากในคอลัมน์ดังกล่าว แบ่งเป็นสามส่วน
"อาหารสมอง" เป็นเนื้อหาใหญ่
"น้ำจิ้มอาหารสมอง" เป็นคำคมจากแหล่งต่างๆ
"เครื่องเคียงอาหารสมอง" เป็นเกร็ด ความรู้ เรื่องสั้นๆที่มีความน่าสนใจ
แต่มีความยาวของเนื้อหาเล็กน้อย
อาจารย์จึงได้แทรกไว้ในมุมหนึ่งมุมใดของหน้า
เมื่อเนื้อหามากขึ้นๆเรื่อย สนพ.มติชนจึงได้รวบรวมมารวมเล่ม
อ่านแล้วสนุกได้แง่คิด ได้สาระมาก
ตัวอย่างเนื้อหาในแต่ละบท

4 - ผมจะต้องการเงินไปทำไม
เนื้อหาเสียดสีคนในเมืองกับคนชนบท
คนในเมืองดูถูกคนในชนบทว่า
ไม่รู้จักพัฒนา หากพัฒนาแล้วจะมีเงิน
มีเงินก็จะได้ไม่ต้องทำงานหนัก
พูดเสร็จก็โดนคนชนบทตอกหงายหลังว่า
"ตอนนี้ผมก็ไม่ต้องทำงานนี่นา"

21 - Gurkha Guard
เนื้อหาเกี่ยวกับวันที่ละรึกถึงผู้เสียสละชีวิต
เพื่อปกป้องประเทศของตนในสงครามโลกทั้งสองครั้ง
ที่ซึ้งมากคือคำพูดบนหลุมฝังศพที่ Kohima
"When you go home, Tell them of us and say:
For your Tomorrow, We gave our Today"
"เมื่อคุณกลับบ้าน จงบอกเขาเหล่านั้นเกี่ยวกับเราด้วยว่า
สำหรับวันพรุ่งนี้ของเขา เราได้ให้วันนี้ของเราแล้ว"
Data 7 - สูตรไปสู่ความสำเร็จ
"สูตรไปสู่ความสำเร็จนี้" อาจารย์วรากรณ์ จำไม่ได้ว่าจดมาจากไหน
แต่เห็นว่าดีจึงนำมาแนะนำ
๑ - ทำงานอยู่เสมอ
๒ - อย่าเอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย
๓ - อย่าเป็นทุกข์ล่วงหน้า
๔ - ต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้นด้วยความสงบ
๕ - อย่ายอมเป็นทาสของอดีต
๖ - หัดวิเคราะห์ทุกข์
๗ - ค้นหาสาเหตุของทุกข์แล้วกำจัดต้นเหตุ
๘ - ทำจิตให้อิสระ ไม่ตกเป็นทาสของมายาธรรม
๙ - ตระหนักแน่ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุแห่งปัจจัย
๑๐ - ความมีเหตุผล
๑๑ - การเล็งเห็นคุณและโทษของสิ่งที่เราไปเกี่ยวข้อง
๑๒ - พยายามมองบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆในแง่ดีตามสมควร
๑๓ - การทำสมาธิ
เรื่องขำๆ ของ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
เรื่องแรกมีอยู่ว่าคืนหนึ่งประธานาธิบดีบุชนอนไม่หลับ
กระสับกระส่ายอยู่บนเตียงในทำเนียบขาว
ก็เห็น จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกมาปรากฏกาย
จึงถามว่า
"จอร์จจะให้ผมทำอะไรที่ดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือประเทศ"
ก็ได้ยินเสียงตอบว่า
"จงเป็นคนซื่อสัตย์และมีเกียรติศักดิ์ศรีเหมือนที่ฉันได้เคยทำ"
พูดจบก็หายไปคืนต่อมาก็เจออีก
คราวนี้เป็นผีของประธานาธิบดี โทมัส เจฟเฟอร์สัน
บุชถามคำถามเดียวกัน ก็ได้คำตอบว่า
"จงเคารพรัฐธรรมนูญเหมือนที่ฉันเคยทำสิ" ยังไม่ทันที่บุชจะถาม
ภาพก็เลือนหายไปคืนรุ่งขึ้นผีของประธานาธิบดี แฟรงกลิน รูสเวลด์
ก็ปรากฏตัวอีก หลังจากคำถามเดิมของบุช คำตอบก็คือ
"ช่วยประชาชนจริงๆ อย่างที่ฉันเคยทำสิ"
พูดจบก็หายไปอีกเมื่อถึงคืนรุ่งขึ้น
บุชก็เตรียมรับมือเพื่อขอความเห็นจากผีอดีตประธานาธิบดีอย่างเต็มที่
และคืนนั้นเขาก็ไม่ผิดหวังผีประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น
ปรากฏตัว เขาไม่รอช้ารีบถามทันที
จะให้ผมทำอะไรที่ดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือประเทศ
ก็ได้คำตอบจากลินคอล์นว่า
"ไปดูละครสิ"
คำตอบของประธานาธิบดีลินคอล์นถือเป็นตลกร้าย
เพราะใครๆ ก็รู้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองของอเมริกันนั้นบันทึกไว้ว่า
ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ถูกมือปืนชื่อ จอห์น บูธ
ลอบสังหารเมื่อปีค.ศ.1865 หรือพ.ศ.2408
เหตุเกิดขณะลินคอล์นไปดูละคร!
อีกเรื่องมีเรื่องไม่จริงแต่เล่ากันสนุกๆ ว่า ประธานาธิบดีบุชไปหาหมอเอกซเรย์สมอง
เพราะคร่ำเคร่งกับสงครามอิรักมาหลายวันเมื่อหมอตรวจสมองดูแล้วก็บอกว่า
"On your right side, there is nothing left; and on your left,
there is nothing right."
แปลไทยได้ว่า สมองด้านขวานั้นไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย
ส่วนซีกซ้ายก็ไม่มีอะไรที่เป็นเนื้อสมองดี (หรือถูกต้อง) อยู่เลยเช่นกัน!


คอลัมน์ book is capital
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ปีที่ 31 ฉบับที่ 3948
นอกจาก เราควรจะมีอาหารสมองดีๆ แล้ว
การมีเครื่องเคียงอาหารสมองที่ดีๆ ด้วย
ย่อมช่วยกระตุ้นต่อมปัญญาให้ตื่นตัวยิ่งขึ้นและยังมีแง่คิดที่น่าสนใจเช่นกัน
เช่นว่า...
เรื่องของนักเศรษฐศาสตร์ได้ถูกส่งตัวไปยังเกาะที่ผู้คนอยู่แบบสบายๆ
ในทะเลแคริบเบียน เพื่อสอนให้ชาวเกาะรู้จักไอเดียเกี่ยวกับ
ประสิทธิภาพของการจัดการที่ดี
ในตอนบ่ายวันแรกเขาก็พบชาวพื้นเมืองคนหนึ่งนั่งสบายอารมณ์อยู่บนระเบียง
พร้อมกับเบียร์ในมือ
เขาอธิบายว่า ถ้าคนเราทำงานประจำก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้น
ชายคนนั้นก็ถามว่า "ทำไม"
"เพราะคุณจะได้มีเงิน"
"ผมจะต้องการเงินไปทำไม" ชายคนนั้นถาม
"ก็ถ้าหากหาเงินได้มากแล้วก็จะเกษียณอายุ และไม่ต้องทำงาน"
ชายคนนั้นก็ตอบว่า "แต่ตอนนี้ผมก็ไม่ต้องทำงานแล้วนี่"
หรือเรื่องเกี่ยวกับ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้รับเลือกจากไทม์ แมกาซีนว่าเป็น
บุรุษที่มีอิทธิพลต่อโลกในทศวรรษที่ 21 เป็นฮีโร่ของคนจำนวนมาก
ในความปราดเปรื่องด้านฟิสิกส์
เขามีคำพูดที่ที่โดดเด่นอยู่ 2 ประโยค
1.ไม่มีอะไรในจักรภพที่น่าอัศจรรย์ไปกว่า ดอกเบี้ยทบต้น
2.จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
เมื่อไม่นานมานี้มีคนพบบันทึก 62 หน้าเขียน
โดยหญิงสาวคนสุดท้ายของไอน์สไตน์ซึ่งเป็นชาวเช็ก
ได้บันทึกชีวิตในครึ่งสุดท้ายของไอน์สไตน์อย่างน่าสนใจเธอบอกว่า
ไอน์สไตน์ติดตามข่าวการเมืองอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการเมืองโลก
เขารู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบบางส่วนของเขาที่ทำให้
มีระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นและมีแรงกดดันต่อชีวิตของเขา
เขาจะตอบจดหมายที่คนสารพัดประเภท
เขียนถึงเขาอย่างสุภาพเสมอ และเขารู้สึกอ้างว่าในฐานะนักวิทยาศาสตร์
เพราะนักฟิสิกส์บอกว่าเขาเป็นนักคณิตศาสตร์
นี่คือบางแง่มุมในหนังสือ "เครื่องเคียงอาหารสมอง"
ของ "ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ" หนึ่งในคณะรัฐบาลขิงแก่
ที่กำลังนับถอยหลังเพื่อขนของกลับบ้าน
ในขณะที่พรรคการเมืองกำลังตะลุยหาเสียงเลือกตั้งกันคึกคัก
แม้แต่ไอน์สไตน์ยังติดตามการเมืองฉะนั้นทุนมนุษย์
ก็จำเป็นที่ต้องติดตามเรื่องการเมืองเพราะเศรษฐกิจของชาติ
จะดีขึ้นหรือเลวลงก็ขึ้นกับการเมืองเช่นกัน
คั้นสดส่วนผสม "อาหารสมอง" จากคอลัมน์ยอดฮิต
ใน "มติชนสุดสัปดาห์"รายละเอียดน้ำจิ้มอาหารสมองนั้น
เป็นคำคมทั้งจากบุคคลต่างๆ และจากหนังสือหลายๆ เล่ม สั้นกระชับ
และกระทบใจ ส่วนเนื้อเรื่อง
คือส่วนหลักของคอลัมน์ที่เน้นพูดถึงเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์
แนวไม่ต้องปีนกระไดอ่านอย่างที่ผู้เขียนทำมานานจนกลายเป็นแบรนด์ไปแล้ว
และส่วนสุดท้ายคือ
เครื่องเคียงอาหารสมอง เป็นเกร็ด เคล็ดลับ ความรู้ รวมถึงเรื่องขบขัน
ที่เก็บได้ระหว่างทางอ่านศึกษาข้อมูล
สำนักพิมพ์เข้าใจถึงวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์ของมะพร้าวที่ผู้เขียนขูด คั้น
และปรุงเป็นอาหารสมองให้ผู้อ่านชิมรสมาหลายปี
จึงได้ทำหน้าที่รวบรวมและคัดสรรบรรจุใส่เพ็กเกจ
เดลิเวอรี "เครื่องเคียงอาหารสมอง" เล่มนี้เพื่อส่งให้ถึงมือผู้อ่าน
รับรองว่าอร่อยไม่แพ้กันเพราะไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของมะพร้าวก็"มัน" ด้วยกันทั้งนั้น