นายอยู่ดี
ช่างคุยกับหนุ่มเมืองจันท์
หนังสือธุรกิจและการตลาดที่ตลกที่สุด หรือเรื่องตลกเกี่ยวกับธุรกิจและการตลาด เรายังไม่รู้ว่าจะจัดงานเขียนของหนุ่มเมืองจันท์อยู่ในหมวดหมู่ไหน แต่ที่แน่ๆคอลัมน์ของเขาในมติชนสุดสัปดาห์มีผู้อ่านติดตามมากเหลือเกิน เพราะทั้งอ่านสนุกและได้ความรู้ ด้วยว่าเขาสามารถนำแง่มุมเกี่ยวกับธุรกิจหรือการตลาดที่ยากๆมาย่อยให้คนอ่านเข้าใจง่าย ใส่อารมณ์ขันและความสนุกสนานลงไป เท่านี้
หลักคิดบางอย่างใช้ได้ เพียงแต่การปรับใช้ วิธีการเป็นยังไง
คิดในเชิงลึกยังไง แล้วเรามาผสมผสานไม่มียาวิเศษที่รักษาโรคได้ทุกโรค
วิธีคิดแบบอินเทลที่ระมัดระวังตัวตลอดเวลาเหมาะกับคนประเภทหนึ่ง
ไม่เหมาะกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง หรือวิธีการนุ่มนวนแบบเทียม โชควัฒนา
ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของคนแต่ละคน
"ฟาสท์ฟู้ดธุรกิจ" ของเขาก็ขึ้นอันดับคอลัมน์ยอดนิยม
รวมเป็นหนังสือเล่มออกมาก็ติดอันดับหนังสือขายดี
หนุ่มเมืองจันท์เป็นนามปากกาของสรกล อดุลยานนท์
ผู้จัดการสำนักพิมพ์มติชน บัณฑิตคณะสังคมศาสตร์ฯ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่านนี้ทำไมถึงกลายเป็นคนเก่ง
เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจไปได้ และอีกหลายๆเรื่องเกี่ยวกับตัวเขา
เชิญหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยครับ
คุณเข้าสู่เส้นทางนักเขียนยังไง
จบจากธรรมศาสตร์ก็มาสมัครทำงานที่หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
เป็นนักข่าวที่ประชาชาติธุรกิจ
เนื่องจากที่ผ่านมาทำกิจกรรมที่ธรรมศาสตร์สนใจ
เรื่องข่าวสารการเมืองค่อนข้างเยอะ
ตอนแรกตั้งใจมาเป็นนักข่าวที่มติชนรายวัน
เพราะสนใจข่าวการเมืองอยู่แล้วตั้งแต่สมัยเรียน
แต่ตำแหน่งว่างอยู่ที่ประชาชาติธุรกิจ ก็เลยมาทำที่นี่
ทั้งๆที่สมัยเป็นนักศึกษาอ่านหนังสือพิมพ์เป็นประจำ
ผมอ่านทุกหน้าแต่มีหน้าหนึ่งที่ผมไม่อ่านคือ หน้าเศรษฐกิจ
มาเริ่มต้นเป็นนักข่าวประชาชาติธุรกิจ
ทำข่าวมาเรื่อยจนวันหนึ่ง พี่เสถียร จันทิมาธร
ชวนให้มาเป็นหนึ่งในกอง บ.ก.มติชนสุดสัปดาห์
ตอนนั้นมี สุวพงษ์ จั่นฝังเพชร บก.มติชนคนปัจจุบัน
ผมจากประชาชาติธุรกิจ วรศักดิ์ ประยูรสุข จากข่าวสด
และพี่เถียร นั่งประชุมกันทุกวันอังคาร
พี่เถียรเสนอว่าน่าจะมีประวัตินักธุรกิจ
ผมก็เสนอทักษิณ ชินวัตร
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียนหนังสืออย่างจริงจัง
เขียนเป็นตอนๆ สร้างชื่อจากจุดนี้
ไม่ได้ทำงานเขียนตั้งแต่สมัยเรียนใช่ไหม
ไม่ได้เขียนตั้งแต่เรียนหนังสือ ผมเป็นคนเขียนหนังสือได้
รู้ตัวว่าอ่านหนังสือเยอะภาษาในตัวพอมี
ทำรายงานได้เก่ง ภาษาดูนุ่มนวน ตอนอยู่มัธยมปลาย
เขียนเรียงความได้คะแนนดี และไม่ได้จับงานเขียนอย่างจริงจังเลย
จนกระทั่งมาจับงานหนังสือพิมพ์ ซึ่งโดนบังคับให้เขียนโดยหน้าที่อยู่แล้ว
งานข่าวเริ่มจากโต๊ะอุตสาหกรรม และก็วนไปเรื่อยๆ โต๊ะสกู๊ฟ
ที่นี่ได้ฝึกปรือเรื่องการเขียนค่อนข้างเยอะ
สกู๊ฟบางทีเป็นเรื่องนอกสายอุตสาหกรรม
ตอนนั้นใช้ภาษาเยอะ ได้ฝึกปรือแล้วนำไปสู่
การเขียนประวัติชีวิตของทักษิณ ชินวัตร
ผมไม่ได้มีพื้นฐานการเขียนมาตั้งแต่มหาวิทยาลัย
แต่ผมว่าภาษาอยู่ในตัวของมัน คือเป็นคนอ่านหนังสือเยอะ
มันคงเก็บไว้โดยที่เราไม่รู้ตัว
มีต้นแบบในการทำงานไหม
ผมว่าคนทุกคนมีต้นแบบ ต้นแบบของนักข่าวก็มี
แต่สำหรับผมไม่มีคนหนึ่งคนเดียว
ผมหยิบข้อดีจากหลายๆคนมาใช้
เช่นตอนที่ผมเขียนหนังสือ
ผมหยิบต้นแบบจาก 2 คนที่ผมชอบ 1 คือพี่เสถียร จันทิมาธร
สำนวนภาษาเขาคือจุดเริ่มต้นของผมเช่นกัน
อีกคนคือสนธิ ลิ้มทองกุล ตอนนั้นเขาเขียนสกู๊ฟหลายชิ้น
ซึ่งภาษาเขาเป็นแบบชกหมัดหนัก ตูม ๆๆ ย่อหน้าบ่อยๆ
สองคนนี้ผสมผสานกัน
พี่เถียรก็จะไปในเชิงวรรณศิลป์เยอะ และมีมุมข่าวทางการเมือง
ทุกวันผมจะวิเคราะห์ข่าวในใจเทียบกับมุมของพี่เถียร
ดูว่าเราคิดตรงกับที่พี่เถียรวิเคราะห์ไหม ถ้าตรงก็แปลว่าใช้ได้
เสกสรรค์ ประเสริฐกุลก็เป็นนักเขียนในดวงใจของผม
ผมชอบการประดิษฐ์คำ ลีลา กลเม็ดในการเขียน
ผมก็เอามาใช้ในงานของผมบ้าง เลือกหยิบมุมของคนอื่นมาใช้
แต่ทำไปสักพักก็จะเป็นมุมของเราเอง เป็นธรรมดา
รู้สึกว่าชอบเรื่องธุรกิจตอนไหน
ผมเรียนรู้จากข่าวมากกว่า ทำข่าวอุตสาหกรรมก็
เจาะข่าวเรื่องเหล้า เจริญ สิริวัฒนภักดีก็มาจากตอนนี้
ผมสามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆ
สิทธิประโยชน์ที่ซับซ้อน แล้วบอกคนอื่น
พอมาเป็นหัวหน้าข่าวโต๊ะตลาด
เป็นช่วงที่ผมเรียนรู้เรื่องการตลาดมากยิ่งขึ้น
พบว่าการตลาดเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อนมาก
ไม่ยากต่อความเข้าใจ ง่ายกว่าโต๊ะอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ
ผมเข้าใจเรื่องการตลาดพอสมควรเมื่อเขียนจึงวิเคราะห์ได้
หนังสือการตลาดของต่างประเทศกำลังเป็นที่นิยมมาก
คุณคิดใช้ได้กับประเทศไทยไหม
เป็นนักข่าวอยู่นานไหมกว่าจะขึ้นมาเป็นบรรณาธิการ
เข้าทำข่าวประมาณปี 29 ปี 31 กลับจันท์ไป 1 ปี
เพราะแม่เสียชีวิต กลับไปอยู่บ้าน 1 ปี จากนั้นก็กลับมาที่ประชาชาติอีกครั้ง
จนมาเป็นผู้จัดการสำนักพิมพ์ และเริ่มมาเป็นบอกอเมื่อปี 40 เดือน ม.ค.
ผมเป็น บ.ก.บริหาร ประชาชาติธุรกิจ เดือน ต.ค. 40
ผมก็เป็น บ.ก.บริหาร ของมติชนรายวัน และประมาณปี 43
ผมก็มาทำเรื่องโฆษณา จังหวะนั้นผมทำสำนักพิมพ์ตั้งแต่ปี 37 มาโดยตลอด
ระหว่างงานเขียนกับบรรณาธิการชอบอย่างไหมมากกว่า
ณ วันนี้ชอบงานเขียนมากกว่า งาน บ.ก.ข่าว เป็นงานที่เหนื่อย
เป็นงานที่ละเอียดและต้องใช้ความละเมียดกับมัน
แต่งานเขียนคือเรา ตอนเป็นนักข่าวก็มีวัตถุดิบเยอะ
นี่เป็นเหตุผลที่แม้จะขึ้นมาทำงานบริหารแล้วก็ยังไม่ทิ้งงานเขียนใช่ไหม
เขียนตามความจำเป็นจริงๆ วันหนึ่งที่ผมเขียนสกู๊ฟ
พี่เถียรชวนเขียนฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ วันหนึ่งเมื่อเป็น บ.ก.มติชน
พี่เถียรเห็นว่าผมเจอรัฐมนตรีเยอะมาก
จึงคิดว่าน่าจะมาเขียนบทสัมภาษณ์
ตอนนั้นยังไม่วางแผนว่าจะเป็นคอลัมน์ของผม
แต่เป็นคอลัมน์ที่สลับกันระหว่างผม พี่ฐากูร บุญปาน บก.ข่าวสด
และพี่เก้ ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ บก.ประชาชาติช่วงนั้น
สลับกันเขียนคนละสัปดาห์เมื่อถึงเวลาทุกคนเบี้ยว
มีผมคนเดียวที่ยืนพื้น ก็เลยกลายเป็นคอลัมน์ประจำอีกคอลัมน์ของผม
หนังสือที่ออกมาทุกเล่มก็มาจากการรวมคอลัมน์
ยกเว้นเกิดอารมณ์คันตอนคุณตัน โออิชิเท่านั้นเอง
ที่คันแล้วอยากเขียน ก็เลยกลายเป็นภาระหน้าที่
เขียนตีพิมพ์ที่ประชาชาติธุรกิจ แล้วรวมเล่ม
งานเขียนของผมเป็นงานตามความรับผิดชอบ
เมื่อมีก็ต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ได้เป็นคนที่คิดอยากเปิดคอลัมน์ใหม่
ยกเว้นมีประวัติชีวิตใครน่าสนใจ เป็นคนชอบเรื่องประวัติชีวิตคน
ฟังหรือสัมภาษณ์มาแล้วรู้สึกคัน ก็จะระวังตัวว่าทุกครั้งที่คันเราจะเหนื่อยทุกครั้ง
พยายามจะไม่ค่อยคันเพราะงานเต็มมือ เร็วๆนี้จะมีคันเรื่องอะไร
มีคนให้คันเยอะก็จะพยายามจะรักษาตัวเองไม่ให้พยักหน้าเร็ว
การเขียนประวัติชีวิตแต่ละคนมีที่มายังไง
แล้วแต่คน บางคนก็เข้ามาหา คือรู้ว่าผมเคยเขียน
ก็ติดต่อเข้ามาเยอะ ผมก็ปฏิเสธไป เพราะไม่มีเวลา
แต่เรื่องคุณตัน เป็นอารมณ์คันของผมที่ไปสัมภาษณ์แกแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ
อย่างคุณตันผมขอเขียน เมื่อเริ่มสัมภาษณ์ไปสักพักรู้สึกว่างานเริ่มเยอะ
หายคันไปนาน จนคุณตันต้องตามว่าจะเขียนชีวิตผมทำไมไม่เขียนสักที
ถ้าวันหนึ่งต้องมีประวัติชีวิตของตนเองใครจะเป็นคนเขียน
ผมคงไม่ยอมให้ใครเขียน ถ้าผมอยากจะทำ หรือคิดว่ามีคุณค่าพอที่จะทำ
แต่วันนี้ไม่รู้สึกอย่างนั้น เพราะผมเขียนเรื่องตัวเองผ่านคอลัมน์ผมไปเยอะ
คนรู้จักมุมของผมอยู่แล้ว ผมเอาพี่น้องพ่อแม่มาขายผ่านคอลัมน์เยอะ
คนก็พอรู้อยู่แล้ว คุณผ่านงานในส่วนต่างๆมาแยอะ
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยทิ้งเลยคือสำนักพิมพ์มติชน
มีความผูกพันธ์สิ่งใดเป็นพิเศษครับ
บอกก่อนว่าผมทำงานตามหน้าที่
ผมเป็นลูกจ้างเขาให้ผมอยู่ตรงไหนก็ต้องทำ
วันหนึ่งเขาให้ผมหลุดจากผู้จัดการสำนักพิมพ์ไปอยู่ที่อื่นที่เหมาะสม
ผมก็ทำ ผมเป็นคนที่สนุกกับงานใหม่อยู่เสมอ
ถ้ามีงานใหม่ผมจะพยายามสนุกกับมัน
ยกเว้นบางจุดที่เสนอมาแล้วผมคิดว่าไม่ได้
ผมก็จะบอกว่าทำไม่ได้ จริงๆ พี่ช้าง(ขรรค์ชัย บุนปาน)ก็จะว่าผมไม่ได้
เพราะผมเป็นคนที่ไม่เกี่ยงงาน จริงๆพี่ช้างสั่งได้อยู่แล้ว
แต่ถ้าผมเอ่ยปาก ขึ้นมาพี่ช้างคงเมตตาผมอยู่บ้าง
ผมเป็นคนที่ไม่ยึดติด ผู้จัดการสำนักพิมพ์ผมก็ไม่ยึดติด
ถ้าวันหนึ่งมีคนที่เหมาะกว่า ผมก็ไปได้ หลายจังหวะที่มีการเปลี่ยนผ่าน
ผมเป็นคนเอ่ยปากก่อน ถ้าวันไหนทำแล้วไม่สนุก ก็คงไม่ทำ
ถ้าวันไหนที่ตื่นมาแล้วรู้สึกว่าเช้าอีกแล้ว
อยู่ไปวันๆเพื่อรับเงินเดือนก็คงไม่ใช่ผมอยู่แล้ว
โครงการต่อไปของสำนักพิมพ์มติชนคืออะไร
คงโฟกัสหนังสือให้ชัดขึ้น ทำระบบภายในให้กระชับ
แฮปปี้บุ๊คเดย์ยังคงเดินหน้าต่อไป และหาที่ยืนให้ชัดๆ
เช่นหนังสือวิทยาศาสตร์ หนังสือแนวบุคคล
เหมือนผู้ชายที่หลงรักตัวเลข แนวเนื้อหาสาระแบบนี้
นอกเหนือจากเรื่องอื่นๆที่เขายืนอยู่ก่อนแล้วเราก็จะไปยืนกับเขาด้วย
ศิลปวัฒนธรรมก็จะทำให้ชัด แฮปปี้บุ๊คเดย์
เป็นอันหนึ่งที่แตกต่างจาก ส.น.พ.อื่น
ส่วนหนึ่งเพราะศักยภาพของเรา ซึ่งที่อื่นทำไม่ได้
เช่นการหาสปอนเซอร์ ศักยภาพในการประสานงาน
และศักยภาพในแง่ที่ว่าหนังสือมันเยอะพอที่ไปได้
เป็นงานที่เหนื่อย สังเกตไหมว่างานที่เหนื่อย
คนทำตามยาก งานไหนที่ใช้เงินทำได้คนทำตามง่าย
วางแผนจะทำธุรกิจของตนเองบ้างไหม มีคนถามเยอะ
ผมยังไม่เคยมีและไม่เคยคิด บางคนพอรู้เรื่องเยอะเข้า
แต่รู้แบบวิชาการ วิเคราะห์เก่ง แต่พอทำเองอาจจะไม่ดีก็ได้
ตอนนี้ก็เลยยังไม่มี และผมก็ไม่ได้ทุกข์กับการเป็นลูกจ้าง
มีความสุขกับการเป็นลูกจ้าง และบังเอิญมีความคิดในเชิงการเขียน
ที่ผมมีอิสระในความคิดของผม ไม่มีใครคุมผมให้เขียนเรื่องนั้นเรื่องนี้
แต่เราก็โตและมีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าเรื่องอะไรควรหรือไม่ควรเขียน
ด้วยตัวของเราเอง
เคยคิดจะทำงานวรรณกรรมไหม
ไม่เคย ผมว่ามันคนละทาง ผมไม่สามารถเขียนเรื่องสั้นได้
ไม่มีพล็อตนิยายในใจของผมเลย แต่ผมจะมีมุมมีแก๊กกับเรื่องบางเรื่อง
ที่มีแง่มุมคิด แต่ผมไม่เคยต่อภาพให้เป็นเรื่องสั้น
ไม่เคยมีจินตนาการว่านี่เป็นพระเอกนางเอกแล้วดำเนินเรื่องต่อไปยังไง
คงไม่เหมาะ ผมไม่ใช่พี่วาณิช จรุงกิจอนันต์ที่ทำได้หลายอย่าง
มีงานอดิเรกอะไร อ่านหนังสือ ส่วนดูหนังจะน้อย ฟังเพลงไม่เยอะ
ดูทีวีบ้างประเภทกีฬา ออกกำลังด้วยการดูกีฬาเป็นประจำ
เล่นฟุตบอลเองบ้างเป็นบางครั้ง เรื่องกิน ถ้าเลือกได้ก็จะเลือกร้านอร่อย
เมนูอาหารหรือคอลัมน์ที่แนะนำร้านอาหารชอบอ่านมาก
และคิดว่าถ้าผ่านไปเมื่อไหร่ก็จะเข้าไปกินทันที
มีงานเขียนที่อยากเขียนแต่ยังไม่ได้เขียนอีกไหม
แนะนำร้านอาหารผมทำได้แน่ และเป็นการแนะนำที่สนุกด้วย
อ่านสนุก ผมจะไม่บอกวิธีทำ เพราะผมไม่รู้
ผมชอบกินแบบชาวบ้านและผมไม่ใช่ลิ้นแบบวิจิตรบรรจงมาก
อาหารฝรั่งผมไม่รู้รสความอร่อยมันมากนัก
แต่ถ้าเป็นอาหารทั่วไปแบบชาวบ้านกิน ก๋วยเตี๋ยวอร่อย
น้ำซุปอร่อย มาตรฐานผมไม่ใช่เลอเลิศว่าสุดยอด
อร่อยก็แปลว่าใช้ได้ ถนัดศรีอาจจะให้ 9-10 แต้ม
แต่ผมว่า 7 ขึ้นไปถือว่าอร่อย ใช้ได้แล้ว
เวลาสัมภาษณ์ผมจะเหนื่อยนิดนึงเพราะ
ผมไม่ค่อยมีความใฝ่ฝันในชีวิตเท่าไหร่
ว่าอยากเป็นโน่น อยากเป็นนี่ อยากเขียนเรื่องนั้นเรื่องนี้
ไม่เขียนต้องตายแน่ๆ แต่จะเป็นอารมณ์คันเป็นช่วงๆ
เช่นเรื่องนี้น่าทำ หนังเรื่องนี้ดีจัง จะเป็นอย่างนั้นมากกว่า
อย่างคอลัมน์อาหารถ้าผมมีเวลาผมต้องเขียน
ผมเขียนได้ อาจจะไม่อร่อยอย่างพี่วาณิช แต่รับรองสนุก ..