ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ
มติชนสุดสัปดาห์
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
"ดูผู้ประกาศข่าวคนนั้นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง" "พี่จิก" ประภาส ชลศรานนท์ ชี้ให้ดูผู้ประกาศข่าวสาวคนหนึ่ง
ในจอโทรทัศน์ระหว่างการนั่งรอออกรายการ
"มุมใหม่ไทยแลนด์" ทางช่อง 11
"สวยดีครับ"
ผมตอบตามความรู้สึกแท้จริง
"มีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า" พี่จิกถามซ้ำ
ผมนั่งดูต่ออีกนิดนึงก็ไม่เห็นสิ่งประหลาดอะไรอยู่ในหน้าจอ
ยิ่งดูนานยิ่งยอมรับว่าเธอสวย
ฟันก็เป็นระเบียบดี
ไม่เห็นมีเศษอาหารติดไรฟันเลย "ฟันสวย" ผมเติมรายละเอียด
"พี่จิก" ส่ายหน้าแบบเบื่อหน่ายในสัจธรรม
"ความสวยทำให้คนตาบอด"
"น้องคนนี้แก้วเสียงไม่ดี" เขาเฉลย
จากวินาทีนั้น ผมรู้เลยว่า "ของจริง" วงการโทรทัศน์นั้นเป็นอย่างไร
"พี่จิก" บอกว่าคนที่เป็นผู้ประกาศข่าวนั้นจำเป็นที่ "แก้วเสียง" ต้องดี
เพราะหน้าที่ของเธอแตกต่างจากผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ทั่วไป
พิธีกรรายการอื่นๆ กล้องจะจับภาพพิธีกรพร้อมเสียง
คนดูจะเห็นหน้าเห็นปากและได้ยินเสียงของพิธีกร
คนที่แก้วเสียงไม่ดีนักจึงไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์
หลังจากที่เธออ่านหัวข่าวที่คนดูได้ยินเสียงแบบเห็นหน้าเห็นปากแล้ว
ภาพบนจอโทรทัศน์ก็จะตัดไปที่ภาพข่าว
เหลือแต่เสียงผู้ประกาศข่าวเท่านั้นที่ยังคงอยู่
"เสียง" จึงมีความสำคัญมาก
เพราะถ้า "แก้วเสียง" ไม่ดี ความน่าสนใจของข่าวก็จะลดลง
ผมเคยอ่านหนังสือของ "ลาร์รี่ คิง"
บอกเหมือนกันว่าคนทำรายการโทรทัศน์
เรื่องการใช้ "เสียง" สำคัญมาก
"ลาร์รี่ คิง" บอกว่าเขาโชคดีที่ทำรายการวิทยุมาก่อน
จึงไม่มีปัญหาเรื่องการใช้ "เสียง"
แต่ผมนึกไม่ถึงว่าระดับความสำคัญของการใช้ "เสียง" นั้น
ยังแตกต่างกันอีกระหว่าง "พิธีกร" ทั่วไปกับ "ผู้ประกาศข่าว"
ลึกล้ำ-ลึกล้ำ งานนี้เจอ "ของจริง" แล้วครับ
อาชีพนักข่าวมีข้อดีอยู่ประการหนึ่งก็คือ
เรามีโอกาสได้คุยกับคนระดับ "ของจริง"
ในแต่ละแขนงวิชาบ่อยๆ ทุกครั้งที่เจอ "ของจริง"
ผมจะถามด้วยความกระหายใคร่รู้ ถาม-ถาม-ถาม
เจอกับ "พี่จิก" ครั้งนี้ก็เช่นกัน
ผมตักตวงความรู้เรื่องวงการโทรทัศน์ได้มากทีเดียว
ศาสตร์แต่ละแขนงล้วนมีความซับซ้อนและลึกซึ้งแตกต่างกันไป ภาพที่ปรากฏบนจอทีวีนั้นผ่านการตัดต่ออย่างละเอียดยิบ
หั่นแล้วหั่นอีกเพื่อให้กระชับน่าติดตาม
รายการ "แฟนพันธุ์แท้" ที่มาแรงในวันนี้
"รู้ไหมว่าทำไมคนที่ตอบถูกบางคนจึงร้องไห้"
แน่นอน สำหรับ "ปราชญ์" อย่างผม คำตอบก็คือ "ส่ายหน้า"
"พี่จิก" บอกว่าในการแข่งขันจริง
คนนั้นใช้เวลาคิดนานกว่า 10 นาที
คิดแล้วคิดอีก พอเฉลยว่าถูกต้องจึงดีใจมากจนร้องไห้
"แต่ภาพที่ออกโทรทัศน์มันเพียงแค่นาทีเดียว"
หรือ "ชิงร้อยชิงล้าน" ที่เราเห็นตลก 3 ช่า
"หม่ำ-เท่ง-โหน่ง" ออกมาทีไร "ฮากลิ้ง" ทุกที
เคล็ดลับของทีมนี้ก็คือจะใส่มุขกันเต็มที่แบบไม่มียั้ง
เริ่มตั้งแต่มุข "คาเฟ่" เล่นเรื่องใต้สะดือและตีหัว
ที่ต้องเริ่มจากมุข "คาเฟ่" ก่อน
ก็เพราะเป็นมุขที่คุ้นเคย นำมาใช้เพื่อ "เผาหัว" ให้เครื่องร้อน
พออารมณ์ขำเริ่มมาจึงค่อยเข้ามุขจริง
เขาเล่นกันเต็มที่ยาวเหยียด
เพราะรู้ว่าเดี๋ยวจะมีทีมตัดต่อจัดการให้
หรืออย่างเรื่อง "มุมกล้อง" รายการ "เกมทศกัณฐ์-แฟนพันธุ์แท้"
จะใช้กล้องพิเศษตัวหนึ่งซูมใบหน้าผู้แข่งขันแบบใกล้ชิด
เพื่อให้ได้อารมณ์ของการแข่งขัน
มิน่า "เวิร์คพ้อยท์" จึงได้รับชื่อว่าเจ้าพ่อเกมโชว์
รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ชนิดที่ไม่สังเกตหรือไม่มีใครบอกก็ไม่รู้
ทีมงานของ "เวิร์คพ้อยท์" คิดค้นและใส่เข้าไปในรายการ
จึงก่อให้เกิด "ความแตกต่าง" ขึ้นมา
คงเหมือนกับการจัดหน้าหนังสือ
หรือการเลือกรูปแบบตัวอักษรที่มีผลต่อความรู้สึกของคนอ่าน
ถ้าคนไม่อยู่ในแวดวงหนังสือ
ก็จะไม่รู้ว่ามันมีผลต่อความรู้สึกของคนอ่านอย่างไร
หรืออย่างเรื่อง "เสียง"
โดยเฉพาะเรื่องเสียงเพลง ความได้เปรียบของ "เวิร์คพ้อยท์"
ประการหนึ่งอยู่ที่ "พี่จิก" เป็น "เซียน" ด้านเพลง
รูปแบบและจังหวะของการปล่อยเสียงเพลง
ในรายการก็มีผลต่ออารมณ์คนดูเช่นกัน
แฮ่ม...รวมถึงรูปร่างและหน้าตาของคนร้องด้วยครับ
เรื่องการใช้ "เสียง" สำคัญมาก
"ลาร์รี่ คิง" บอกว่าเขาโชคดีที่ทำรายการวิทยุมาก่อน
จึงไม่มีปัญหาเรื่องการใช้ "เสียง"
แต่ผมนึกไม่ถึงว่าระดับความสำคัญของการใช้ "เสียง" นั้น
ยังแตกต่างกันอีกระหว่าง "พิธีกร" ทั่วไปกับ "ผู้ประกาศข่าว"
ลึกล้ำ-ลึกล้ำ งานนี้เจอ "ของจริง" แล้วครับ
อาชีพนักข่าวมีข้อดีอยู่ประการหนึ่งก็คือ
เรามีโอกาสได้คุยกับคนระดับ "ของจริง"
ในแต่ละแขนงวิชาบ่อยๆ ทุกครั้งที่เจอ "ของจริง"
ผมจะถามด้วยความกระหายใคร่รู้ ถาม-ถาม-ถาม
เจอกับ "พี่จิก" ครั้งนี้ก็เช่นกัน
ผมตักตวงความรู้เรื่องวงการโทรทัศน์ได้มากทีเดียว
ศาสตร์แต่ละแขนงล้วนมีความซับซ้อนและลึกซึ้งแตกต่างกันไป ภาพที่ปรากฏบนจอทีวีนั้นผ่านการตัดต่ออย่างละเอียดยิบ
หั่นแล้วหั่นอีกเพื่อให้กระชับน่าติดตาม
รายการ "แฟนพันธุ์แท้" ที่มาแรงในวันนี้
"รู้ไหมว่าทำไมคนที่ตอบถูกบางคนจึงร้องไห้"
แน่นอน สำหรับ "ปราชญ์" อย่างผม คำตอบก็คือ "ส่ายหน้า"
"พี่จิก" บอกว่าในการแข่งขันจริง
คนนั้นใช้เวลาคิดนานกว่า 10 นาที
คิดแล้วคิดอีก พอเฉลยว่าถูกต้องจึงดีใจมากจนร้องไห้
"แต่ภาพที่ออกโทรทัศน์มันเพียงแค่นาทีเดียว"
หรือ "ชิงร้อยชิงล้าน" ที่เราเห็นตลก 3 ช่า
"หม่ำ-เท่ง-โหน่ง" ออกมาทีไร "ฮากลิ้ง" ทุกที
เคล็ดลับของทีมนี้ก็คือจะใส่มุขกันเต็มที่แบบไม่มียั้ง
เริ่มตั้งแต่มุข "คาเฟ่" เล่นเรื่องใต้สะดือและตีหัว
ที่ต้องเริ่มจากมุข "คาเฟ่" ก่อน
ก็เพราะเป็นมุขที่คุ้นเคย นำมาใช้เพื่อ "เผาหัว" ให้เครื่องร้อน
พออารมณ์ขำเริ่มมาจึงค่อยเข้ามุขจริง
เขาเล่นกันเต็มที่ยาวเหยียด
เพราะรู้ว่าเดี๋ยวจะมีทีมตัดต่อจัดการให้
หรืออย่างเรื่อง "มุมกล้อง" รายการ "เกมทศกัณฐ์-แฟนพันธุ์แท้"
จะใช้กล้องพิเศษตัวหนึ่งซูมใบหน้าผู้แข่งขันแบบใกล้ชิด
เพื่อให้ได้อารมณ์ของการแข่งขัน
มิน่า "เวิร์คพ้อยท์" จึงได้รับชื่อว่าเจ้าพ่อเกมโชว์
รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ชนิดที่ไม่สังเกตหรือไม่มีใครบอกก็ไม่รู้
ทีมงานของ "เวิร์คพ้อยท์" คิดค้นและใส่เข้าไปในรายการ
จึงก่อให้เกิด "ความแตกต่าง" ขึ้นมา
คงเหมือนกับการจัดหน้าหนังสือ
หรือการเลือกรูปแบบตัวอักษรที่มีผลต่อความรู้สึกของคนอ่าน
ถ้าคนไม่อยู่ในแวดวงหนังสือ
ก็จะไม่รู้ว่ามันมีผลต่อความรู้สึกของคนอ่านอย่างไร
หรืออย่างเรื่อง "เสียง"
โดยเฉพาะเรื่องเสียงเพลง ความได้เปรียบของ "เวิร์คพ้อยท์"
ประการหนึ่งอยู่ที่ "พี่จิก" เป็น "เซียน" ด้านเพลง
รูปแบบและจังหวะของการปล่อยเสียงเพลง
ในรายการก็มีผลต่ออารมณ์คนดูเช่นกัน
แฮ่ม...รวมถึงรูปร่างและหน้าตาของคนร้องด้วยครับ
เฉพาะรายการ "ชิงร้อยชิงล้าน"
มันมีผลต่อคนดูอย่าง... ...อมร...มากเลย
"แล้วรายการสัมภาษณ์หรือรายการทอล์ก
เราจะใช้เพลงหรือเสียงต่างๆ เข้ามาช่วยได้หรือเปล่า" ผมถาม
"ได้" พี่จิกบอก
แต่เสียงหรือเพลงนั้นจะไม่เด่น
แต่มีหน้าที่จะช่วยขับให้การสัมภาษณ์เด่นขึ้น" น่าสนใจทีเดียวครับ
ผมนึกถึงเพลงประกอบในภาพยนตร์ที่บางครั้ง
เราดูไปแล้วแทบจะไม่รู้สึกเลยว่ามีเพลงประกอบ
แต่ถ้าตัดเพลงประกอบออกไป
หนังเรื่องนั้นจะไม่น่าดูเลย แต่ "เพลง"
ที่มาใช้ในรายการสัมภาษณ์จะเป็นแบบไหน
ผมนึกไม่ออก แต่อยากเห็น
"พี่จิก" เป็นคนที่ชอบอยู่เบื้องหลัง
ไม่ยอมโผล่หน้าให้เห็นในจอโทรทัศน์
ทั้งที่เขาเป็นหนึ่งในสองผู้ถือหุ้นใหญ่
ค่ายเวิร์คพ้อยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ
"ปัญญา นิรันดร์กุล"
ตอนทำวงเฉลียง เขาก็อยู่เบื้องหลัง
ทำหนังสือ "ไปยาลใหญ่" ก็อยู่เบื้องหลัง
"เสน่ห์ของการอยู่เบื้องหลังอยู่ที่ไหน" ผมถาม
"พี่จิก" ตอบว่าตอนทำละครหรือคอนเสิร์ต
เขาชอบอยู่หลังเวที
ในจุดที่มองออกไปเห็นทั้งนักดนตรีหรือนักแสดง
และเห็นหน้าคนดูด้วย
มันเป็นจุดยืนที่เขามีความสุขมากที่สุด
หลังอัดรายการเสร็จ "พี่จิก" ก็ชวนไปนั่งคุยกันต่อ
ที่คอฟฟี่ช็อปในโรงแรมเซ็นทรัล พลาซา
โดยที่เรายังไม่ได้ล้างเครื่องสำอาง
ที่ช่างแต่งหน้าแต่งให้ก่อนอัดรายการ
พอรถจอดหน้าโรงแรม
"พี่จิก" ก็บอกยิ้มๆ "ใครเห็น เขาคงนึกว่าเราเป็นคู่เกย์"
ผมหัวเราะลั่น ขำกลิ้ง
ผู้ชายที่แต่งหน้า 2 คนเดินเข้าโรงแรมพร้อมกัน
ใครเห็นก็คงคิดแบบที่ "พี่จิก" บอก
ดังนั้น ก่อนลงจากรถ
ผมจึงเริ่มคิดถึงหลักยุทธศาสตร์การถอย
หากเสียหาย ก็ให้เสียหายน้อยที่สุด
ฮึ่ม...ถ้าจะถูกมองว่าเป็น "เกย์" อย่างน้อยก็ขอเป็น "คิง"
"พี่จิก" คงไม่สังเกตว่าตอนที่เดินเข้าโรงแรมพร้อมกัน
ผมจะเดินช้าๆ ตามหลัง "พี่จิก" ครับ
ผมเข้าใจ "พี่จิก" แล้ว
บางครั้งการอยู่ "เบื้องหลัง" ก็ดีกว่าอยู่ "ข้างหน้า"
มันมีผลต่อคนดูอย่าง... ...อมร...มากเลย
"แล้วรายการสัมภาษณ์หรือรายการทอล์ก
เราจะใช้เพลงหรือเสียงต่างๆ เข้ามาช่วยได้หรือเปล่า" ผมถาม
"ได้" พี่จิกบอก
แต่เสียงหรือเพลงนั้นจะไม่เด่น
แต่มีหน้าที่จะช่วยขับให้การสัมภาษณ์เด่นขึ้น" น่าสนใจทีเดียวครับ
ผมนึกถึงเพลงประกอบในภาพยนตร์ที่บางครั้ง
เราดูไปแล้วแทบจะไม่รู้สึกเลยว่ามีเพลงประกอบ
แต่ถ้าตัดเพลงประกอบออกไป
หนังเรื่องนั้นจะไม่น่าดูเลย แต่ "เพลง"
ที่มาใช้ในรายการสัมภาษณ์จะเป็นแบบไหน
ผมนึกไม่ออก แต่อยากเห็น
"พี่จิก" เป็นคนที่ชอบอยู่เบื้องหลัง
ไม่ยอมโผล่หน้าให้เห็นในจอโทรทัศน์
ทั้งที่เขาเป็นหนึ่งในสองผู้ถือหุ้นใหญ่
ค่ายเวิร์คพ้อยท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ร่วมกับ
"ปัญญา นิรันดร์กุล"
ตอนทำวงเฉลียง เขาก็อยู่เบื้องหลัง
ทำหนังสือ "ไปยาลใหญ่" ก็อยู่เบื้องหลัง
"เสน่ห์ของการอยู่เบื้องหลังอยู่ที่ไหน" ผมถาม
"พี่จิก" ตอบว่าตอนทำละครหรือคอนเสิร์ต
เขาชอบอยู่หลังเวที
ในจุดที่มองออกไปเห็นทั้งนักดนตรีหรือนักแสดง
และเห็นหน้าคนดูด้วย
มันเป็นจุดยืนที่เขามีความสุขมากที่สุด
หลังอัดรายการเสร็จ "พี่จิก" ก็ชวนไปนั่งคุยกันต่อ
ที่คอฟฟี่ช็อปในโรงแรมเซ็นทรัล พลาซา
โดยที่เรายังไม่ได้ล้างเครื่องสำอาง
ที่ช่างแต่งหน้าแต่งให้ก่อนอัดรายการ
พอรถจอดหน้าโรงแรม
"พี่จิก" ก็บอกยิ้มๆ "ใครเห็น เขาคงนึกว่าเราเป็นคู่เกย์"
ผมหัวเราะลั่น ขำกลิ้ง
ผู้ชายที่แต่งหน้า 2 คนเดินเข้าโรงแรมพร้อมกัน
ใครเห็นก็คงคิดแบบที่ "พี่จิก" บอก
ดังนั้น ก่อนลงจากรถ
ผมจึงเริ่มคิดถึงหลักยุทธศาสตร์การถอย
หากเสียหาย ก็ให้เสียหายน้อยที่สุด
ฮึ่ม...ถ้าจะถูกมองว่าเป็น "เกย์" อย่างน้อยก็ขอเป็น "คิง"
"พี่จิก" คงไม่สังเกตว่าตอนที่เดินเข้าโรงแรมพร้อมกัน
ผมจะเดินช้าๆ ตามหลัง "พี่จิก" ครับ
ผมเข้าใจ "พี่จิก" แล้ว
บางครั้งการอยู่ "เบื้องหลัง" ก็ดีกว่าอยู่ "ข้างหน้า"