Custom Search

Nov 18, 2020

พลิกพาณิชย์ศิลป์แบบ “เต๋อ เรวัต” มันสมอง-ผู้ร่วมตั้ง “แกรมมี่” ปฏิวัติเพลงไทยยุคใหม่ (version 2)

ที่มา https://www.silpa-mag.com/culture/article_32893

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2562

ภาพจาก






ชื่อ “เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์” ยังอยู่ในความทรงจำของคนดนตรีและประชาชนชาวไทยเสมอ

ในฐานะผู้ผลิตงานศิลปะด้านเสียงดนตรี

เต๋อ เรวัต เป็นชื่อของบุคคลที่สร้างปรากฏการณ์พลิกอุตสาหกรรมเพลง

และการรับรู้เกี่ยวกับโลกพาณิชย์ศิลป์เมื่อช่วงต้นยุค 2530

ซึ่งก่อนหน้านั้นต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมเพลงและ

โครงสร้างของเพลง “ร่วมสมัย” ยุคนั้นยังมีไม่กี่แนวและ

เป็นสูตรสำเร็จ

นามสกุลพุทธินันทน์ สร้างชื่อในช่วงปลายยุค 2520

จนถึงช่วง 2530 จากผลงานของ “พี่ชายใจดี”

ในวงการเพลงนามว่า เต๋อ เรวัต เจ้าของสัญลักษณ์หนวดงามแห่งวงการดนตรีร่วมสมัยไทย

กำเนิดในกรุงเทพฯ จบการศึกษาที่เซ็นคาเบรียล

ศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เริ่มต้นคณะบัญชี แต่ย้ายไปคณะเศรษฐศาสตร์

(โดยเอกสารประชาสัมพันธ์เมื่อครั้ง ออกอัลบั้ม เต๋อ-3 ระบุว่า

“เพราะไม่ต้องเข้าเรียนทุกชั่วโมง”)

ในช่วงที่เรียนหนังสือ เต๋อ เรวัต สนใจและมีความสามารถด้านดนตรีมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เมื่อเรียนจบก็ตั้งใจจะเลิกเล่นและหันไปทำงานธนาคาร

แต่ชีวิตหักเหเมื่อได้รับจดหมายชวนจากวง The Impossibles

ให้ไปเล่นดนตรีที่ฮาวาย ซึ่งเต๋อ เรวัต ตกลงใจด้วย

ที่นั่นเองเป็นช่วงที่ใช้เวลาว่างจากการเล่นดนตรีศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเป็นจุดตั้งต้นที่ทำให้ไทยได้มี

ผู้ผลิตงานเพลงชั้นยอดอีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมดนตรีไทย

หลังจากวง The Impossibles ประสบความสำเร็จแล้วก็ร่วมเล่นกับวง Oriental Funk ในระยะหนึ่ง

หลังจากนั้นจึงเริ่มทำงานโปรดิวเซอร์ ทำทั้งเพลงไทยสากล

เพลงโฆษณา และเพลงประกอบภาพยนตร์

ซึ่งผลงานภายใต้การทำงานของเต๋อ เรวัต

นี่เองเป็นช่วงที่งานเพลงสร้างสรรค์ออกมาแปลกใหม่

(จากผลงานในไทยในช่วงเวลานั้น)

เต๋อ เรวัต ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่สร้างงานปั้นศิลปินนักร้องให้ประสบความสำเร็จมากมาย

ตั้งแต่ นันทิดา แก้วบัวสาย, แหวน ฐิติมา สุตสุนทร

และนักร้องในตำนานซึ่งแจ้งเกิดตั้งแต่ช่วงปลาย 2520

เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อย่างเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์

ไม่เพียงแค่สร้างผลงานให้กับศิลปินอื่นๆ

ในบริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์

ผลงานเพลงของตัวเองยังสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการเพลงด้วย

เช่นกัน ตั้งแต่ เต๋อ-1 เมื่อพ.ศ. 2527 เต๋อ-2 เมื่อพ.ศ. 2528

จนถึง เต๋อ-3 ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2529


แกรมมี่ในช่วงต้นสมัย 2530 บริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์

ถูกจับตาอย่างมากในฐานะบริษัทหน้าใหม่ซึ่งมีอายุเฉียด 10 ปี

แต่ประสบความสำเร็จในงานด้านอุตสาหกรรมบันเทิงสายดนตรี

เรียกได้ว่าเป็นยุคแรกที่งานศิลปะผสมผสานกับแนวคิด

ด้านการตลาดในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในไท

จากเดิมที่ประชาชนคุ้นกับแนวเพลงของสุเทพ วงศ์คำแหง,

สวลี ผกาพันธ์ และธานินทร์ อินทรเทพ

แม้ว่านักฟังเพลงจะได้สัมผัสกับผลงานแนวใหม่ที่แตกต่างไป

จากกลุ่มข้างต้นบ้าง

แต่ต้องยอมรับว่า ในเชิงพาณิชย์ งานเพลงแนวใหม่

ไม่ค่อยประสบความสำเร็จจนมามีบริษัทแกรมมี่

ก่อนหน้าที่จะมีบริษัทชื่อดังที่พลิกอุตสาหกรรม

พิชัย ศิริจันทนันท์

แสดงความคิดเห็นในช่วงต้นบทความชื่อ “Grammy

‘แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์’ ศิลปะการวางกลยุทธ์ของศิลปิน”

ว่าช่วงก่อนนั้น อุตสาหกรรมดนตรีตกอยู่ในอำนาจของพ่อค้า

ซึ่งมักไม่ค่อยเจนจัดในความรู้ด้านดนตรี

กระทั่งมีไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม

นักการตลาดจากบริษัทพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้ง เทรดดิ้ง คัมปะนี

ค่ายโอสถสภาเต็กเฮงหยู

(ผลงานที่ลือลั่นคือ พลิกโฉมน้ำส้มสายชู อสร.

ที่เคยขาดทุนให้กำไรได้ในเวลาปีกว่า)

นอกจากนี้ ลักษณะเฉพาะตัวของคุณไพบูลย์ คือ

การเป็นนักเขียน นักกวี ซึ่งพอจะทำให้เห็นว่า

เขาเข้าใจเรื่องศิลป์อยู่ด้วย

ในบทสัมภาษณ์ที่เผยแพร่ใน “คู่แข่ง” เมื่อพ.ศ. 2532

เต๋อ เรวัต เล่าจุดเริ่มต้นของบริษัทแกรมมี่ว่า

เป็นความคิดของตัวเองและคุณไพบูลย์

ในช่วงเริ่มต้น แนวคิดการทำงานเพลงของเต๋อ เรวัต

เริ่มต้นขึ้นจากการดูงานที่ฝรั่งเศส

กระทั่งโอกาสมาถึงในช่วงที่บุษบา ดาวเรืองคนสนิท

ของคุณไพบูลย์มือครีเอทีฟโปรดักชั่นสายโปรโมชั่น

แจ้งว่าอยากพบพี่เต๋อ เมื่อได้พบกันและตกลงกันเรียบร้อย

จึงกลายเป็นก้าวแรกของผู้พลิกอุตสาหกรรมดนตรีในช่วง 2530

ช่วงหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ เต๋อ เรวัต

เล่าแนวคิดการทำงานที่นำมาสู่ปรากฏการณ์

แห่งอุตสาหกรรมบันเทิงไทย

ข้อความตอนหนึ่งมีว่า

“เมื่อ 6 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2526)

วงการเพลงไม่มีเรื่องการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง

โครงสร้างธุรกิจก็คงจะเป็นเพียงธุรกิจครอบครัวเล็กๆ…

เมื่อการตลาดไม่มีผู้ฟังก็พลอยตีบตันไปด้วย

เพราะไม่มีแรงผลักดันไปหาตัว ‘แมส’

ประกอบกับเงื่อนไขทางธุรกิจในขณะนั้น

มีลักษณะที่สุกงอมพอที่จะ Organized (จัดวางระบบ)

ระบบธุรกิจขึ้นมาได้

เพราะพัฒนาการในการฟังเพลงของคนไทยเราพร้อมที่

จะรับอะไรใหม่ๆ ได้แล้วในขณะนั้น…”

“พี่เอาความคิดที่ว่าคนไทยจำนวนมหาศาลที่ยังรอรับของใหม่

อยู่มาจากการปรากฏตัวสู่โลกดนตรีของ

เดอะ บีทเทิล…เดอะ บีทเทิล

(สะกดตามข้อความต้นฉบับ)คือสิ่งที่คนทั้งโลกรอฟังอยู่

แต่ยังไม่มีใครทำ เมื่อมีคนเริ่มก็เกิดการตื่นตัวครั้งใหญ่…”

บริษัทแกรมมี่เริ่มต้นด้วยเต๋อ เรวัต, ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม,

บุษบา ดาวเรือง และยังมีกิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ

นิเทศศาสตร์บัณฑิตที่เชี่ยวชาญด้านสื่อและงานเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์

ส่วนผสมเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทแกรมมี่

ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาพลิกโฉมอุตสาหกรรมดนตรีในช่วงเวลานั้น

เต๋อ เรวัต แหย่เทปชุดแรกเข้าไปในตลาดโดยเทป

“พญ.พันทิวา” เป็นการทดลองตลาดอย่างแท้จริง

ช่วงทดลองตลาดนี้ พี่เต๋อ เล่าว่า ใช้ 2 ชุด

ก่อนที่จะตามมาด้วยการลุยตลาดกับ เต๋อ 1

เมื่อ พ.ศ. 2527 ซึ่งเป็นการลงสู่ตลาดอย่างจริงจัง




อ้างอิง:

พิชัย ศิริจันทนันท์. “Grammy ‘แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์’ ศิลปะการวางกลยุทธ์ของศิลปิน”. คู่แข่ง ปีที่ 2 ฉบับที่ 108 ต.ค. 2532

“โลกส่วนตัวของคนไม่ธรรมดา ครอบครัวไม่สบาย ของเรวัต พุทธินันทน์ เพื่อลูกทำไมต้องรอวันหยุด”. 

“พี่ชายใจดี คนนี้ ที่ชื่อ…พี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์”. เอกสารประชาสัมพันธ์ อัลบั้ม เต๋อ 3. วันที่ในเอกสาร ส.ค. 2529


00:00 เจ้าสาวที่กลัวฝน - เรวัต พุทธินันทน์ 03:26 เหมือนเป็นคนอื่น - เบิร์ด ธงไชย 06:46 ฝัน..ฝันหวาน - ผุสชา โทณะวณิก 10:18 บอกหน่อยได้ไหม - นันทิดา แก้วบัวสาย 13:56 เพียงแค่ใจเรารักกัน - วิยะดา โกมารกุล ณ นคร 17:04 เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ) - เพชร โอสถานุเคราะห์ 21:23 ทั้งรู้ก็รัก - ชรัส เฟื่องอารมย์ 25:26 กว่าจะรัก - เอ็กซ์ วาย แซด 29:56 อีกสักครั้ง - มาลีวัลย์ เจมีน่า 33:33 ป่านนี้ - นันทิดา แก้วบัวสาย 36:50 ขีดเส้นใต้ - กบ ทรงสิทธิ์ 40:02 ให้เธอ - วสันต์ โชติกุล