ไทยรัฐ
วีรพจน์ อินทรพันธ์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้ามีโอกาสไปร่วมฟังปาฐกถาที่ทำเนียบรัฐบาล
โดยอดีตประธานาธิบดี "บิลล์ คลินตัน" แห่งสหรัฐฯ
จะเก็บไว้ ก็คงอกแตกตาย...เลยต้องนำมาเล่าให้ฟัง
เพราะมันเป็นเรื่องที่ทุกคนหนีไม่พ้น ต้องเผชิญอย่างแน่นอน
ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งก็คือปัญหา "ภาวะโลกร้อน" อันน่าสะพรึงกลัว
น่า กลัวเช่นไร...อธิบายได้ง่ายๆ
อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
สุดท้ายระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้น เมืองต่างๆริมชายฝั่ง
หรือแม้กระทั่ง "ประเทศ" ก็อาจจมอยู่ "ใต้บาดาล"
ซึ่งกรณีนี้ท่านคลินตันมีความเข้า ใจถึงปัญหา เป็นอย่างดี
เพราะระหว่างการบรรยายได้มีการเน้นย้ำอยู่เสมอว่า
"การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น จริงๆ"
อย่างไรก็ตาม นับเป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะสิ่งที่บั่นทอนการรับมือปัญหาโลกร้อน
กลับกลายเป็นสิ่งที่คนยุคปัจจุบันไขว่คว้ามากที่สุดนั่นคือ
"ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ"
สาเหตุที่เหล่าผู้นำประเทศไม่สามารถ
บรรลุข้อตกลงได้ในการประชุมสุดยอดรับมือโลกร้อน
ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปีที่ผ่านมา
ก็เพราะพวกเขาสนใจแต่เรื่องของเศรษฐกิจ
"ซึ่งความเป็นจริงแล้วการแก้ปัญหาโลกร้อน
กลับก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจเสีย ด้วยซ้ำ
เพราะถ้าหากรัฐหันมาจับด้านเทคโนโลยีสีเขียวอย่างพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานลม รวมถึงไปถึงการพัฒนาระบบของอุตสาหกรรมรีไซเคิลนั้น
ก็จะก่อให้เกิดการลงทุน พร้อมทั้งเป็นการสร้างงานแก่ประชาชนไปในตัว"
มี ประเทศที่เกือบทำสำเร็จในเรื่องนี้ ได้แก่ เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน และอังกฤษ
แต่ก็ไปไม่ถึง ฝั่งฝันเพราะถูกปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2551
เล่นงานเสียก่อน แม้ขณะนี้ยังไม่อาจตอบได้ว่าจะป้องกันภาวะโลกร้อนได้หรือไม่
เพราะถึงจะรณรงค์มานานแต่ผู้คนอย่างในประเทศ "สหรัฐฯ"
ของตนเองก็มิได้ รู้สึกวิตกกังวล เนื่องจากมองว่าเป็นปัญหาไกลตัว
"อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยผมเชื่อว่ามีศักยภาพมากพอ
ที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริง สิ่งสำคัญคือต้องไม่ยึดติดต่อผลประโยชน์
แม้จะต้องสูญเสียอะไรบางอย่าง แต่มันก็คุ้มค่าที่จะช่วยโลกใบนี้ให้คงอยู่
ตราบนานชั่วลูกชั่วหลาน" ท่านคลินตันกล่าว
นับเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเต็มไปด้วยความห่วงใย
ต้องขอขอบคุณกระทรวงพลังงานที่จัดงานดีๆเช่นนี้ให้เป็นจริง.