เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
May 26, 2010
แนวทางการเยียวยาและฟื้นฟูบูรณะประเทศ
ประเวศ วะสี
มติชนออนไลน์
วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ประเทศชาติก็เหมือนชีวิตร่างกายที่อาจเจ็บป่วย
หรือวิกฤตจนเข้าไอซียูได้
ต่างกันที่ชีวิตแต่ละชีวิตอาจตายได้
แต่ประเทศชาติตายไม่ได้
เหตุมิคสัญญีกลียุคที่มีผู้บาดเจ็บล้มตาย
และการเผาผลาญบ้านเมืองก่อให้เกิด
ความสะเทือนใจอย่างใหญ่หลวง
เรารู้มานานว่าเราไม่มีพลังป้องกันมิคสัญญี
แต่เรามีพลังที่จะฟื้นฟูบูรณะ
เรื่องใหญ่ที่สุดของเราคือ การเยียวยาและฟื้นฟูบูรณะประเทศ
และใช้โอกาสแห่งการเยียวยาและ
ฟื้นฟูบูรณะประเทศขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่
อนาคตของเราร่วมกัน
สำหรับเฉพาะหน้านี้ข้อเสนอมาตรการในการเยียวยา
และฟื้นฟูบูรณะ ๕ ประการดังต่อไปนี้
๑. ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสัจจะและสมานฉันท์
( Truth and Reconciliation )
ต้องรู้ความจริงจึงสมานฉันท์ได้ ข้อมูลข่าวสารที่ออกมาจาก
ฝ่ายต่างๆจะขัดแย้งไม่ลงตัวกันและไม่ไว้ใจซึ่งกัน และกัน
จึงควรมีคณะกรรมการอิสระเพื่อแสวงหาความจริง
ต่างหากไปจากกระบวนการทางกฎหมาย
ความจริงนี้เพื่อนำไปสู่การขอโทษ ( Apology )
และการให้อภัย ( Forgiveness )
การขอโทษและการให้อภัยเป็น
พลังอันมหาศาลของมนุษย์เพื่อนำไปสู่การคืนดี
ในหนังสือชื่อ “Solving Tough Problems”
โดย Adam Kahane
ปัญหาความรุนแรงในประเทศอื่นที่ร้ายแรงยิ่งกว่าเราก็ยังแก้ได้
ในเรื่องนี้อาจต้องขอร้องให้คุณอานันท์ ปันยารชุน
ซึ่งเคยเป็นประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
ที่แต่งตั้งโดย นายกฯทักษิณ รับเป็นประธาน
๒. ทำให้ทุกชุมชนเป็นชุมชนไม่ทอดทิ้งกันทั่วประเทศภายใน ๑ เดือน
ให้ทุก อบต. และเทศบาลจัดให้มีการสำรวจทั้งชุมชนให้เสร็จภายใน ๒ สัปดาห์ว่า
ใครอยู่ในข่ายถูกทอดทิ้งบ้าง เช่น คนชรา คนจน คนพิการ เด็กกำพร้า
แล้วจัดให้มีอาสาสมัครดูแลหมดทุกคน รวมทั้งมีกองทุนสวัสดิการชุมชน
หรือกองทุนสุขภาพชุมชนที่ สปสช. อบต. (เทศบาล)
และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกสมทบ
องค์กรวิชาการต้องเข้ามาสนับสนุนอาสาสมัครให้ทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพ
ควรกำหนดให้แต่ละจังหวัดมีมหาวิทยาลัยอย่างน้อยหนึ่งแห่ง
เข้าไปสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
โดยวิธีนี้จะเกิดเป็นสังคมไม่ทอดทิ้งกันเต็มประเทศภายใน ๑ เดือน
๓. สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การไม่มีงานทำ การไม่มีรายได้
ทำให้ขาดความมั่นคงในชีวิตและเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลกด้วย
ระบบเศรษฐกิจที่เอาจีดีพีเป็นตัวตั้ง การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่
เป็นปัจจัยใหญ่ที่สุดของความร่มเย็นเป็นสุข
สัมมาชีพหมายถึงอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ คำว่าสัมมาชีพ
จึงรวมทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม ศีลธรรม และสิ่งแวดล้อม
ทิศทางและนโยบายของประเทศต้องมุ่งส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพเต็ม
พื้นที่อย่างเป็นเอกภาพ ชุมชนท้องถิ่นคือผู้ปฏิบัติหลัก
องค์กรอื่นๆทั้งสิ้นต้องสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น
ให้สามารถสร้างสัมมาชีพเต็ม พื้นที่องค์กรภาคธุรกิจ อันได้แก่
สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย
และสมาคมธนาคารไทย พร้อมทั้งเครือข่ายในทุกจังหวัด
ควรเข้ามาสนับสนุนให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่
๔. ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง – สร้างพระเจดีย์จากฐาน
ไม่มีพระเจดีย์องค์ใดสร้างได้สำเร็จจากยอด
เพราะจะพังลง ๆ เนื่องจากไม่มีฐานรองรับ
พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน
ฐานที่แข็งแรงจะรองรับพระเจดีย์ให้มั่นคงยั่งยืน
ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาเราพัฒนาทุกอย่างที่ยอด
จึงล้มเหลวและเป็นผลให้บ้านเมืองวิกฤต
ฐานพระเจดีย์ของสังคมคือชุมชนท้องถิ่น
ถ้าชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งทุกด้านก็จะ
รองรับสังคมทั้งหมดให้มั่นคงและยั่งยืน
เรามีตัวอย่างทั้งระดับหมู่บ้านและตำบลที่มีการพัฒนาอย่างบูรณาการ
ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยทำให้การพัฒนา ๘ เรื่องเชื่อมโยงกัน คือ
เศรษฐกิจ-จิตใจ-สังคม-วัฒนธรรม-สิ่งแวดล้อม-สุขภาพ-การศึกษา-ประชาธิปไตย
ชุมชนและท้องถิ่นใดที่พัฒนาอย่างบูรณาการทั้ง ๘ เรื่อง
เกิดศานติสุขประดุจสวรรค์บนดิน
การสร้างศานติสุขประดุจสวรรค์บนดินนี้
สามารถขยายตัวไปได้ทั่วทุกปริมณฑลของประเทศ
อนึ่ง ผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่เป็นคนดีๆและมีความสามารถมีจำนวนมาก
ถ้าเปิดโอกาสและส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่
ผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่เป็นคนดีๆและมีความสามารถจำนวนมากเหล่านี้จะร่วมกัน
เป็นพลังพาชาติออกจากวิกฤตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
เพราะฉะนั้นควรทำอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(๑) กระทรวงมหาดไทยที่ยังกุมอำนาจเหนือชุมชนท้องถิ่น
ควรปลดปล่อยชุมชนท้องถิ่นไปเป็นอิสระ
สามารถคิดเองทำเองให้เต็มตามศักยภาพ
กระทรวงเปลี่ยนบทบาทไปสนับสนุน
(๒) ระบบต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ
ความยุติธรรม การเมือง การปกครอง การสื่อสาร ฯลฯ
ไปเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นแบบเกื้อกูลหนุนช่วยซึ่งกันและกัน
(๓) กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีมหาวิทยาลัยอย่างน้อยหนึ่งแห่ง
เข้ามาสนับสนุนความ เข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
ถ้ามหาวิทยาลัยสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
ประเทศไทยจะเปลี่ยน การศึกษาจะเปลี่ยน
๕. สภาประชาชน - “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” - ปฏิรูปประเทศไทย
ประเทศวิกฤตเพราะขาดความเป็นธรรม
ต้องปฏิรูปใหญ่ประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมทุกด้าน
เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก ไม่มีรัฐบาลใดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
จะทำได้สำเร็จ และเมื่อไม่สำเร็จวิกฤตการณ์
ก็จะเกิดซ้ำซากและรุนแรงมากขึ้น
ต้อง “ออกแบบ” ในการทำงานที่มีพลังที่จะเขยื้อนเรื่อง
ที่จะเขยื้อนได้ยากประดุจเขยื้อน
ภูเขาแบบนี้เรียกว่า “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ซึ่งประกอบด้วย
(๑) การสร้างความรู้ที่ตรงประเด็น
(๒) การขับเคลื่อนทางสังคม
(๓) อำนาจรัฐเข้ามาบรรจบกัน
อำนาจทั้ง ๓ นี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือแม้ ๒ อย่าง
ก็เขยื้อนเรื่องยากไม่สำเร็จ ที่แล้วมามักแย่งกันมีอำนาจรัฐ
ซึ่งนอกจากทำงานไม่สำเร็จแล้วยังแตกแยกรุนแรง
คุณทักษิณเป็นตัวอย่างของผู้มีอำนาจรัฐสูงสุด
ก็ไม่สามารถพัฒนาไปได้ตลอดรอดฝั่ง
สภาประชาชนตามที่หลายฝ่ายกำลังคิด
ควรเป็นอำนาจทางสังคมและทางความรู้
อย่าคิดไปมีอำนาจรัฐจะมีไปทำไมในเมื่อคนที่มีก็ยังทำไม่สำเร็จ
แต่สภาประชาชนควรเป็นอำนาจทางสังคมและอำนาจทางความรู้
สภาประชาชนควรเป็นการรวมตัวของประชาชนอย่างอิสระ
ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น
ตามพื้นที่ หรือตามประเด็น หรือตามอาชีพ
สภาประชาชนจะมีพลังต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนทางวิชาการคือ
เรื่องข้อมูลข่าว สาร ความรู้
และการสังเคราะห์ประเด็นนโยบาย
ฉะนั้นควรมีข้อกำหนดให้องค์กรทางวิชาการ
เข้ามาสนับสนุนสภาประชาชน
ต้องมีการกำหนดให้อำนาจรัฐรับข้อเสนอ
ทางนโยบายจากสภาประชาชนไป ปฏิบัติ
ทั้งในระดับตำบล ระดับจังหวัด และระดับชาติ
ข้อเสนอใดดีและปฏิบัติได้ให้นำไปปฏิบัติทันที
ข้อเสนอใดดีแต่ยังไม่พร้อมปฏิบัติได้ให้นำไป
ทำรายละเอียดร่วมกันจนถึงขั้น
ปฏิบัติได้ ให้สภาประชาชนติดตามตรวจสอบและ
สนับสนุนให้อำนาจรัฐปฏิบัติตามนโยบายที่สภา
ประชาชนเสนอ โดยการทำงานร่วมกันใน “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”
นี้จะเป็นพลังสร้างสรรค์อย่างยิ่ง สันติอย่างยิ่ง
ไม่ต้องลงไปเป็นการเมืองบนท้องถนน
ซึ่งหลุดไปเป็นอนาธิปไตยได้ง่ายจะ
เป็นกลไกให้ทำเรื่องยากๆสำเร็จเป็นลำดับๆ
บ้านเมืองจะเป็นธรรมมากขึ้นๆ เกิดบูรภาพและ
ดุลยภาพมีความมั่นคงยั่งยืน
เป็นสังคมศรีอาริยะหรือสังคมศานติสุข
ทั้ง ๕ ประการที่เสนอมานี้อาศัยแนวคิด “มัชฌิมาปฏิปทา”
ไม่แยกข้างแยกขั้วไม่เป็นปฏิปักษ์ ไม่โค่นล้ม
เป็นสันติวิธีที่คนไทยเอาหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์เข้ามาทำงานร่วมกัน
ในเรื่องที่ยากต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
( Interactive learning through action ) จึงจะสำเร็จ
มาตรการทั้ง ๕ ประการที่เสนอนี้ล้วนอยู่บนฐาน
ของการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
ในการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัตินี้
เมื่อทำไปๆสิ่งหนึ่งจะผุดบังเกิดขึ้น คือ
ความเชื่อถือไว้วางใจกัน (Trust)
ความเชื่อถือไว้วางใจกันเป็นทุนอันยิ่งใหญ่
เพื่อความสุขและความสำเร็จที่
เงินเท่าใดๆก็ซื้อไม่ได้
แต่เกิดจากการทำงานร่วมกันด้วยใจ
เพื่อนคนไทยครับ
แนวทางการพัฒนาด้วยแนวคิด “มัชฌิมาปฏิปทา” นี้
เมื่อเข้าใจให้มากปฏิบัติให้มากก็จะขยายพื้นที่แห่งสันติ-อหิงสา
และจำกัดพื้นที่แห่งวิหิงสาไปโดยปริยาย
ประเทศไทยมีทรัพยากรต่างๆมากมาย
ถ้าเราใช้แนวคิด “มัชฌิมาปฏิปทา”
มาใช้ในการพัฒนา ไม่เป็นการยากเลยที่
คนไทยจะสร้างอนาคตที่ดีของเราร่วมกันและสร้างประเทศไทย
ให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด