รายการคนดลใจ
ที่มา : http://www.thaihrhub.com/index.php/knowledge/tv-program-view/2008-kondonjai-20/
ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ถึง30 ปีก่อน เด็กไทยได้มีโอกาสชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ที่ชื่อว่า สโมสรผึ้งน้อย
รายการที่สร้างแรงบันดาลใจ ผลักดันให้เด็กๆกล้าแสดงออกอย่างมีความสุข
โดยผู้ที่อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของรายการสโมสรผึ้งน้อย
ผู้สร้างฝัน กระตุ้นให้เด็กๆในยุคนั้น กล้าคิด กล้าแสดง
ออกมาเต้น ออกร้อง ออกมาเล่นละครอยู่หน้าจอโทรทัศน์ คือ
คุณภัทรจารีย์ อัยศิริ หรือ น้านิด สโมสรผึ้งน้อย
สิ่งที่ น้านิด คิด และหวังให้เด็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
ได้ถูกถ่ายทอด ปลูกฝังผ่านรายการสโมสรผึ้งน้อย
ต่อเนื่องกันนานถึง16 ปีของการออกอากาศ น้านิด
ได้สร้างพลังใจ ให้เด็กๆ รุ่นแล้ว รุ่นเล่า
มีความกล้าคิด กล้าแสดงออกตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง
และพัฒนาตนเองให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
และมีคุณค่าของสังคม
แม้วันนี้สโมสรผึ้งน้อยจะลาจอไปนานแล้ว
แต่น้านิดก็ยังคงทุ่มเทชีวิตเพื่อผลิตรายการสำหรับเด็กๆ 30 ปี
ในวงการผลิตรายการโทรทัศน์คุณภาพ
สำหรับพัฒนาการที่ดีของเด็กๆ สิ่งที่น้านิดได้รับ
ไม่ใช่ยอดขายโฆษณาหรือ
เม็ดเงินมหาศาลเหมือนกับรายการเชิงบริโภคนิยม
ที่มีเด็กๆเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่คือความสุข
และความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง
ที่มีส่วนสำคัญ
สำหรับการเติบโตอย่างมีคุณค่าต่อสังคมของเด็กๆ
รุ่นแล้ว รุ่นเล่า ถ้าได้ร้อง ได้เต้นให้เขาแสดงออกเด็กจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
ภัทรจารีย์ อัยศิริ (น้านิด ผึ้งน้อย) (ออกอากาศเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2551 ทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11)
บทสัมภาษณ์ "น้านิด" คุณภัทรจารีย์ อัยศิริ
เรื่อง
“กองทุนสื่อสร้างสรรค์
และสื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน”
อุปสรรค์ของการผลิตรายการสำหรับเด็กหรือ
การผลิตรายการเชิงสร้างสรรค์อยู่ที่ใด
อุปสรรค์ในการผลิตรายการนั้น 1. การเขียนบทและองค์ความรู้ต่างๆ
ในเรื่องของพัฒนาการเด็กค่อนข้างยาก
และในการลงมือผลิตมันก็ไม่ใช้การขายขนม
เพราะการทำงานสำหรับเด็กจะต้อง
ทำให้ดีและละเอียดอ่อน อุปสรรค์ใหญ่ๆ
เลยก็เป็นเงินทุนในการผลิต
และการทำรายการเด็กเพื่อที่จะไปพัฒนาเด็กและเยาวชนนั้น
จะต้องใช้เวลาไม่ใช้แค่ทำเพียงตอนหรือสองตอนก็จบ
2. เรื่องของทีม เนื่อง จากบุคลากรที่ทำงานเพื่อเด็กจริงๆ มีน้อย
เพราะส่วนใหญ่ที่ทำเป็นภาวะจำยอมเนื่องจาก
ต้องทำตามความต้องการของสปอนเซอร์
รายการก็เลยไม่ตอบสนองความต้องการของเด็ก
3. ช่องทางในการนำเสนอของรายการเด็ก
วิธีการหรือกลไกใดที่ทำให้เกิด
การพัฒนาสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนมีอะไรบ้าง
การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาเฉพาะในเรื่องของ
การพัฒนาสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน
เพราะ ถ้าปล่อยเด็กเลยตามเลย ทีวีก็จะกลายเป็นพี่เลี้ยงเด็ก
ทำให้รายการนำเสนออะไร เด็กๆ ก็จะเชื่อ
แต่ถ้าเรามีการพัฒนารายการที่ดีเรายังสามารถทำรายการดีๆ
เพื่อที่จะดึงเด็กออกมาได้ และสถาบันนี้ยังต้องเป็นที่
รวมบุคคลที่มีความรู้และเป็นแหล่งที่ให้ข้อมูล
ถ้าเวลาเกิดปัญหาทางสถาบันจะต้องเข้ามาแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที
เพราะปัญหาเด็กในวันนี้มีมากกว่า 4 ปีที่แล้ว
และอย่าบอกว่าการลงทุนเพื่อเด็กเป็นเรื่องเล็กน้อย
คิดว่ากองทุนมีกลไกในการตอบโจทย์มากน้อยแค่ไหน
ทุน เป็นปัจจัยหลักในการทำงานและ
จำเป็นมากโดยที่ไม่ต้องรอให้มีมากถึง
ยี่สิบหรือสามสิบล้านบาท เพียงแค่ทุกฝ่ายทุกคนช่วยกันลงขัน
เพราะเด็กก็คือความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน
คิดว่ากองทุนควรมีหน้าที่หลักๆ อะไรบ้าง
จะต้องส่งเสริมและให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน
ไม่ใช้เพียงแค่ให้เงินทุนเพียงอย่างเดียว
กองทุนต้องทำทุกรูปแบบต้องให้ความรู้แก่เด็ก
ตั้งแต่เกิดจนถึงเป็นผู้ใหญ่ และทางกองทุนก็จะไม่ใช่
ให้ทุนและให้ข้อมูลเพียงอย่างเดียวจะต้องมีรายการเองด้วย
คาดหวังว่ากองทุนจะมาสนับสนุนเรื่องใดบ้าง
1. ทุนในการทำงาน
2. ให้เนื้อหาและองค์ความรู้
เพราะในมหาวิทยาลัยในการสอนนักศึกษา
ไม่ได้สอนการสร้างเนื้อหา
เพราะส่วนมากจะเน้นการสอนไปในทางการผลิตเสียมากกว่า
3. ผู้เชียวชาญคอยดูแล และต้องทำงานร่วมกัน
ในเชิงกัลยาณมิตรไม่ใช่การจับผิด
สุดท้ายอยากจะฝากอะไรกับหน่วยงาน
ที่มีหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนเรื่องใดบ้าง
เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนเพื่อช่วยเด็กๆ
อย่าคิดว่าเรื่องของเด็กไม่สำคัญ เราทุกคนจะต้องทำ
เพราะเด็กๆ เหล่านั้นช่วยตัวเองไม่ได้
และจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีไม่ได้ถ้าไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
และต้องช่วยกันทำทันทีเพราะเด็กและเยาวชน
เติบโตขึ้นทุกวินาทีไม่ต้องรอกฎหมาย
เราต้องให้สิ่งที่ดีสำหรับเด็กก่อนเสมอ
คุณคิดว่าคุณจะได้รับประโยชน์อะไรจากการก่อตั้งกองทุนนี้
หัวสมองทุกอย่างเราก็จะได้ทุ่มเทให้กับการคิดเนื้อหาดีๆ เพลงดีๆ
ดนตรีสนุก ให้กับเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่
เพราะไม่ต้องไปห่วงเรื่องของทุนในการผลิต
ไม่ต้องเศร้าซึมมองดูทีมงานที่จะต้องเผชิญชะตากรรมกับ
ภาวะรายการเด็กอยู่ได้หรือไม่เพราะได้ขึ้นอยู่กับโฆษณา "น้านิด" คุณภัทรจารีย์ อัยศิริ สัมภาษณ์โดย ปริญญา จันทร์ทองรักษ์ (TV4Kids)
เพลง : แอบเจ็บ
ศิลปิน : เอ็กซ์ วาย แซด
คำร้อง : ประชา พงศ์สุพัฒน์;นายตี่
ทำนอง : นายตี่
เรียบเรียง : นายตี่
Copyright © G"MM' GRAMMY
(เพื่อการศึกษา)
เพลง : มันแปลกดีนะ
ศิลปิน : เอ็กซ์ วาย แซด
- http://teetwo.blogspot.com/2007/03/blog-post_07.html