Custom Search

Apr 2, 2010

วันอนุรักษ์มรดกไทย

ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกที่บรรพบุรุษ
ได้ฝากไว้บนผืนแผ่นดิน
คุณค่าความงดงามของมรดกเหล่านั้น
ควรค่าอย่างยิ่งในการรักษาไว้สืบต่อไป
เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ที่บ่งบอก
ความเป็นชาติไทย
ศิลปวัฒนธรรมอันโดดเด่น
ที่มีมาอย่างยาวนานของไทย
คือ
เอกลักษณ์ที่บ่งบอก
ความเป็นชาติไทยอย่างชัดเจน
และแน่นอนว่ากาลเวลาย่อมนำพา
กระแสของวัฒนธรรมจากแหล่งต่างๆ
ที่รายล้อมให้ เข้ามามีอิทธิพล
ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดั่งเดิม



การแปรเปลี่ยนทางสังคมบางอย่างได้ส่งผล
ในแง่ลบต่อมรดกทางวัฒนธรรมของไทย
ภาครับและหลายฝ่ายที่หวงใย
จึงได้ร่วมกันออกมาปกป้อง
มรดกวัฒนธรรมของชาติ
ทั้งการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยตรง
และประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อการรักษาไว้

ซึ่งมรดก วัฒนธรรมของชาติไว้ วันอนุรักษ์มรดกของชาติ
ราบกันดีว่าวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี
ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพ

ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
องค์เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย
ที่ได้มีพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญ
พระราชภารกิจในการอุปถัมภ์บำรุง
และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยในสาขาต่าง ๆ เช่น
ดนตรีไทย นาฏศิลป์ การช่างไทย
และวิถีชีวิตไทยในด้านอื่นๆตลอดมา
เพื่อให้เป็นสมบัติของชาติอย่างยั่งยืน

เพื่อรณรงค์ ให้คนไทยให้ตระหนักถึง

คุณค่าของมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินตลอดไป
และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในฐาน
ะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง
ในงานด้านศิลปวัฒ
นธรรมของชาติ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2528 เป็นต้นมา
คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528
ประกาศให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์มรดกของชาติ”

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ
และเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ

2. เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทาง
ศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่าง
ถูกวิธี
3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชน
ได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็น เจ้าของโบราณสถาน
โบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแล
ทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น

4. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5. เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลาย
ของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง

6. เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ
ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไป


ลักษณะกิจกรรม
วันอนุรักษ์มรดกไทย
ในแต่ละปีที่ผ่านมานั้นแบ่งออกได้
เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. คัดเลือกบุคคล องค์กร โครงการ
และจังหวัดฯ ที่สนับสนุน
การวันอนุรักษ์มรดกไทยประจำปี

2. การจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทย
ในส่ว
นกลางและส่วนภูมิภาค เช่น
การจัดนิทรรศการและมหกรรมการแสดงต่าง ๆ
โดยการโอนงบประมาณวันอนุรักษ์มรดกไทย

ที่รัฐบาลจัดสรรให้ประจำปีให้
แต่ละจังหวัดดำเนินการ

3. กรมศิลปากรจัดทำโครงการพิเศษ
เรื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย และกราบบังคมทูลเชิญ
สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดถาวรวัตถุ

สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ กับงานอนุรักษ์มรดกไทย
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ศิลปินแห่งชาติได้เขียนในคำนำหนังสือ

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีกับการอนุรักษ์มรดกไทย”
ตอนหนึ่งว่า

“….หน้าที่ในการรักษาและส่งเสริมศิลป
วัฒนธรรมของชาตินี้ เป็นภาระอันหนัก
หากขาดความกล้าหาญและ
การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวแล้ว
ก็ไม่มีผู้ใดจะรับได้ นอกจากนั้นก็ยัง
ต้องการความเสียสละในเกือบจะทุกทาง
ต้
องการเวลา ต้องการความอดทน
และที่สำคัญที่สุดก็คือจะละเว้นการศึกษาเสียมิได้ ต้องอยู่ในสิกขาตลอดไป

ทั้งหมดเหล่านี้เป็นพระคุณลักษณะของ
ทูลกระหม่อม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เพราะฉะนั้นผู้ใดที่ได้ทราบและ
สำนึกในพระบารมีของทูลกระหม่อมแล้ว
ความมั่นใจก็จะเกิด
ขึ้นว่าสมบัติของชาตินั้น
คงจะไม่สูญไปโดยง่าย
พร้อมกับความภูมิใจที่จะต้องเกิดขึ้นว่า
ตัวเรานั้นก็เป็นคนไทย
เป็นเจ้าของสมบัติอันล้ำค่าที่ทูลกระหม่อมทรงรักษาไว้นี้ด้วยอีกผู้หนึ่ง……”

พระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านศิลปวัฒนธรรม ในสาขาต่างๆ เช่น
พุทธศาสนา ภาษาไทย วรรณกรรม ประวัติศาสตร์

โบราณคดี งานช่าง สถาปัตยกรรมและดนตรีไทย
พระองค์
ได้รับการ ทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญา
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า
“ เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ”
และเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
วันศิลปินแห่งชาติ

คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ
ก็ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญา

“ วิศิษฏศิลปิน ” ซึ่งมีความหมายว่าทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา
ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์
ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
และยังทรงเป็นเมธีทางด้านวัฒนธรรม
คือทรงเป็นปราชญ์ที่ มีความรอบรู้ในวัฒนธรรมด้านต่างๆ


ด้านพระพุทธศาสนา
เห็นได้ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเข้าศึกษาต่อใน
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯทรงมีพระราชนิพนธ์
ลงพิมพ์ในวารสารคณะ เช่น

เรื่องศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ทรรศนะธรรมศาสนากับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
และพระพุทธศาสนสุภาษิต คำโคลงเป็นต้น
นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์เรื่อง
“ทศบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท”
ที่นับเป็นการค้นคว้าตำรา
ในเรื่องของบารมีมากที่สุดเท่าที่เคยมีผู้ทำมา

ด้านภาษาไทยและวรรณกรรม

ถือว่าเป็นอีกอัจฉริยภาพ
ที่พระองค์ทรงพระปรีชายิ่ง
ทรงสร้างสรรค์งานวรรณกรรม

ที่ทรงคุณค่ามากมาย ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
ด้วยภาษาที่ได้รับการยอมรับมีเอกลักษณ์โดดเด่น
และมีพระอารมณ์ขัน

ด้านประวัติ
ศาสตร์
ครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทาน
คำอธิบายในคำนำหนังสือชื่อ

“สะพาน : รวมบทความทางประวัติศาสตร์” ไว้ว่า
“…….ประโยชน์อย่างหนึ่งของวิชาประวัติ ศาสตร์คือ
ช่วยให้ผู้ศึกษาได้รู้จักใช้ความคิด
รู้จักหาเหตุผลจากข้อมูลต่างๆที่มีอยู่
เป็นการลับสมองและทำให้ได้รับความรู้
อันเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต
และปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม
ในแง่นี้ ประวัติศาสตร์มิได้ขึ้นอยู่
กับข้อมูลที่รวบรวมไว้เพียงอย่างเดียว

แต่ขึ้นอยู่กับการตีความ
ประเมินคุณค่าของข้อมูลในแง่มุมใหม่ๆ
(ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้อยู่เสมอ)
รวมทั้งยังเป็นการคาดคะเนแนวโน้มในอนาคตด้วย…….”

ในพ.ศ.๒๕๒๓ ได้ทรงรับราชการเป็น
อาจารย์รับผิดชอบวิชาประวัติศาสตร์ไทย
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๙
ทรงเป็นหัวหน้ากองวิชาประวัติศาสตร์
ควบคู่ไปกับการบรรยายในชั้นเรียน
และยังได้ทรงวางโครงร่างหลักสูตร
“พื้นฐานอารยธรรมไทย” อันเป็นวิชาพื้นฐานบังคับ
สำหรับนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๒ ด้วยพระองค์เอง

ด้านงานช่างไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

ยังได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่างทั้งการวาดรูป ปั้นรูป และ
งานประดิษฐ์ ทรงเป็นประธานอำนวยการซ่อมบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง เพื่อสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ปี รวมทั้งยังทรงเป็นที่ปรึกษาการจัดสร้างพระเมรุมาศเพื่อถวายพระเพลิงสมเด็จ พระนางเจ้ารำ
ไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ นอกจากนั้นยังทรงจัดตั้ง
โรงเรียนผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ (วิทยาลัยในวัง) ขึ้น
เพื่อสอนวิชาชีพ ๓ แขนงวิชาคือ วิชาช่างดอกไม้สด
วิชาช่างปักสะดึงและวิชาอาหารและขนม
ซึ่งเป็นการอนุรักษ์งานช่างประณีตศิลป์ต่างๆของชาววัง

ด้านดนตรีไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีความรู้เรื่องเครื่องดนตรีลึกซึ้ง
ชำนาญทั้งการทรงซอและระนาดเอก
เมื่อทรงศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์
ก็ทรงดนตรีกับชมรมดนตรีไทยฯ สมัยนั้นทรงเครื่องสายเป็นพื้น
และทรงขับร้องบ้าง
อาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติได้กล่าวไว้ว่า
“ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้วเพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่”


“พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย”


รัฐบาลไทยโดย กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร
ได้น้อมเกล้าน้อม กระหม่อมถวายพระราชสมัญญา
“พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย”
(The supreme Patron of Thai cultural Heritage)
แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อ
วันที่ 2 เมษายน 2550
โดยจะจัดทำแผ่นทองคำจารึกพระราชสมัญญา
“พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย”
ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
จะนำคณะกรรมการอนุรักษ์มรดกไทยทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำ

นอกจากนี้กรมศิลปากรกำลังดำเนินการสร้างหอจดหมายเหตุรัชกาลที่ 9
คลอง 5 จ.ปทุมธานี ให้แล้วเสร็จ
เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชประวัติ
พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระองค์ ให้ประชาชนได้ค้นคว้าศึกษา
จะให้แล้วเสร็จทันวัน 5 ธันวาคม 2550
อันเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ
และพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ด้วยว่าทรงเป็นผู้นำและต้นแบบในการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน
และเผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย
ทรงสนพระราชหฤทัยสร้างสรรค์
และอุปถัมภ์บำรุงงานศิลปะสาขาต่างๆ
รวมทั้ง พระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัยในการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและสืบทอดศิลปวัฒนธรรม
หลายแขนง
ด้วยพระอุตสาหะ วิริยะ
และพระปรีชาสามารถอันล้ำเลิศ
ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ทรงสนพระทัยและทรงสนับสนุน
ในแนวพระราชดำริการอนุรักษ์มรดกไทยมาโดยตลอด
ที่มา วิชาการ.คอม