Custom Search

Jan 13, 2010

นิ้วกลมทั้งห้า สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์


ศศิขวัญ ศรีกระจ่าง
Positioning Magazine

เมษายน 2552
...ว่ากันว่า “สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์” หรือ “นิ้วกลม”
เป็นนักคิด-นักเขียนที่เฟี้ยวคนหนึ่งในวงการ
เขาประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุเพียง 26 ปี

กับผลงานสร้างชื่ออย่าง “โตเกียวไม่มีขา”
ด้วยการถ่ายทอดที่ครบถ้วนทั้ง
ความคิดสร้างสรรค์ ปรัชญา และอารมณ์ขัน

นิ้วกลมจึงได้รับการยอมรับจากบรรดา
“HIP Generation”

ว่าเป็นหนึ่งใน “แรงดลใจ”
ลำดับต้นๆ ของพวกเขาเลยทีเดียว
…มารู้จักชีวิตของของเขา ครีเอทีฟ โฆษณา งานเขียน

ผ่านนิ้วกลมทั้งห้า ล้วนแต่มีเรื่องราวน่าคิด
และจดจำ คำเตือน งานเขียนของนิ้วกลมล้วนจัดอยู่
ในประเภท “ฉูดฉาด” อาจมีอักษรที่ได้รับการดัดแปลง “พันธุคำ”
/ ไวยากรณ์นิ้วกลมประยุกต์ /
และโวหารพิลึกเกินจินตนาการ

โปรดใช้ “สัญชาติญาณ” ในการคิด + ขำตามอัธยาศัย
“...นิ้วไหนที่ว่ากลม?” “ทุกนิ้วเลยครับ...”
เขายื่น “ปลายนิ้วทรงกลม (อารมณ์ดี)”

ที่เหมือน “Smiley Emoticon” ให้เราดู
เส้นทางย่นย่อของการชีวิต จินตนาการ
และความฝันล้วนได้รับการบันทึกอยู่บนรายทาง
ระหว่างนิ้วกลมกลมทั้งห้านี่เอง

นิ้วโป้งกลมกลมของสราวุธดูเปลี่ยนไป
จากหัวแม่โป้งของเด็ก ม.ปลาย
ที่ยังหาตัวเองไม่เจอ
เมื่อเขาเห็นภาพวาดมอเตอร์ไซค์
ใน Portfolio ของครูฝึกสอนชั่วโมงศิลปะ

“เป็นวิชาเดียวที่เรียนสนุกทั้งที่ผมไม่ได้ชอบวิชาศิลปะ
ครั้งนึงผมวาดสนามบาสโดยเปลี่ยนสีทุกอย่างเป็นสี
ตามจินตนาการและลองใช้สี
โปสเตอร์สะท้อนแสงดู มันธรรมดานะครับ
แต่ที่พิเศษคือคำชมจากครูที่ทำให้เรารู้สึกว่า
การคิดออกจากความจริงนี่ช่างท้าทายและน่าสนุก”
นิ้วชี้กลมกลม จรด “วงสวิง” กับนิ้วโป้งเป็นสัญลักษณ์ ”OK!!”

...โดยไม่ลังเล เขาเลือกเอนทรานซ์เข้าคณะสถาปัตยกรรม
ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
ตามครูฝึกสอนผู้เป็นแรงบันดาลใจตั้งต้น 5 ปีผ่านไป
นิ้วกลางกลมกลม ได้รับการหล่อหลอมวิธีคิดอย่างมี
“กระบวน” โดยไม่รู้ตัว ...”ต้องช่างสังเกต

เพราะงานออกแบบมาจากการตั้งโจทย์และการแก้ปัญหา”
นับแต่นั้นมานิ้วกลางฯจึงกลายเป็น
ตัวเชื่อมระหว่างโลกของวิทยาศาสตร์และโลก ของศิลปะ

“เราไม่ได้ถูกสอนมาให้สื่อสารสิ่งที่เราจินตนาการเพียงอย่างเดียว
แต่ทุกอย่างที่ออกแบบต้องสามารถใช้งานได้จริง”
ปีสุดท้ายนิ้วชี้ฯเลือกเรียนสาขา” Graphic Design”
จึงมีโอกาสได้รู้จักกับ “วิชาโฆษณา”
ที่เขาตกหลุมรักตั้งแต่แรกเรียน
“อู้หูว์...เหมือนเจอแฟนเลยครับ สนุกมาก
วันแรกอาจารย์ให้ลองเล่าถึงความร้อน

...นั่นสิไม่เคยคิดมาก่อน ร้อนแบบพ่อพระอาทิตย์มาเอง
/ ร้อนแบบเหงื่อหมดร่าง /...
คือมันมีภาพมีคำมากมายมาสื่อสาร
แค่เรารู้จักนำมาเล่นกับความคิด
เลยจับทางได้ว่าตัวเองคงชอบการหาสัญลักษณ์มาสื่อสาร”
“Leo Burnett” กลายเป็นโรงเรียนที่ทำให้สราวุธมั่นใจว่า

“เขาทำโฆษณาเป็น” เขาฝึกงานที่นี่
และเมื่อเรียบจบได้พยายามครีเอตชิ้นงานใหม่ๆ
มาเติม Portfolio อยู่เสมอ
“ผมเชื่อว่าคนขยันสุดท้ายจะเก่ง
แต่ถ้าเก่งแล้วไม่ขยันสุดท้ายก็จบ”
กระทั่งได้รั้งตำแหน่ง Creative Copywriter
ในที่สุด “มันเป็นชีวิตที่สนุก คิดทุกวันจนกล้ามขึ้นสมอง

เพราะธรรมชาติของโฆษณาคือ สั้น ง่าย เร็ว”
เขาตระหนักว่าแท้จริงโครงร่างของงานโฆษณา
มักถูกแบ่งออกเป็น “What to say?”
และ “How to say?” ทว่างานโฆษณาที่ดีในแง่ของการสื่อสารนั้น

“What to say?จะต้องใหม่”
จึงจะได้รับการสนใจ (แม้ยังไม่ได้คิดวิธีสื่อสาร) เช่น
ช็อกโกแลตที่กินแล้วจีบสาวติด
“ที่ Burnett พอได้โจทย์
เราจะเริ่มจากการคิดมุมในการสื่อสารก่อน เช่น

คำว่า รถเร็ว เราไม่ได้เริมคิดว่าอ้อรถมันวิ่งเร็ว
แต่เราจะคิดว่ารถเร็วทำให้มีเวลาอยู่กับภรรยาที่บ้านมากขึ้น
เร็วจนแซงได้ก็ต่อเมื่อคุณจอด
หรือเร็วจนเสือชีตาร์มากราบ”
“ผมกลายเป็นคนชัดเจนกับคอนเซ็ปต์มาก

จนต่อยอดไปถึงวิธีดำเนินชีวิต”
เช่นกัน...หนังสือแต่ละเล่มของเขาจึงมีแก่นที่ชัดเจน
เขาว่าคนเราควรมี “แก่น” กัน (เลื่อน) ลอย
โดยเฉพาะเมื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์

“ฟุ้งได้แต่ต้องจบชัด” การพรีเซนต์ไอเดียเป็นอีกสิ่ง
“อภิมหาสำคัญ” ...
ครีเอทีพต้องสามารถแสดงเบื้องหลังของไอเดีย
ซึ่งกำลังจะถูกลูกค้าตัดสิน ภายใน 5 นาที (เสมอ) ให้ได้

“ผมมีโอกาสได้ไปเวิร์คช็อปกับครีเอทีฟย่านๆ
เอเชียหลายครั้ง เค้าชื่นชมงานคนไทยมาก
และทุกครั้ง สองประเทศที่สนุกสุดๆ คือ
“ไทยกับญี่ปุ่น” พวกเราชอบทำอะไรมันส์ๆ
ของญี่ปุ่นบางทีพรีเซนต์เสร็จแล้วงงก็มี
แต่เออ...จำได้แฮะส่วนสิงคโปร์กับอินเดีย

ก็จะเป็นเหมือนเด็กเรียนเลย” นิ้วนางกลมกลม
เห็นว่านิ้วกลางฯ เหนื่อยทว่าสนุกมาตลอด
จึงฉวยจังหวะก่อนเริ่มงานใหม่ที่ JWT
ออกเดินทางตามฝันให้ตัวเองเสียที
ดังวลีในเรื่อง “Dead Poet Society”
ที่บอกว่า “Seize the day (จงฉวยวันเวลานี้ไว้)”

“...มันตอกย้ำผมมาเสมอ ไม่รู้สิ...
ผมอ่อนไหวและศรัทธากับเรื่องความฝันมากๆ”
เขาจึงเริ่มจากการ Backpackไปญี่ปุ่น
“คือผมรู้สึกว่าชีวิตหลังเลิกงานมันหายไป

เราน่าจะมีวัตถุดิบใหม่มาเพิ่มเติมบ้าง”
ตอนนั้น โตเกียวบอกผมว่า
“ถ้าตั้งใจ มันจะเป็นไปได้”
นิ้วโป้งฯ เล่าว่าตอนอยู่ปี 5 a day
เล่มแรกวางแผง และกลายเป็นแรงบัลดาลใจของวัยรุ่นในยุคนั้นรวมถึงเขา

“ผมกับเพื่อนเลยทำหนังสือทำมือไปเสนอ”
กระทั่งได้เขียนคอลัมน์ E=iq2 และงานเขียนต่างๆ
ที่เป็นลักษณะของสนามทดลองสมมติฐาน เช่น
การเขียนกลับหลัง การเขียนด้วยตัวพยัญชนะและรูปแบบที่ไม่คุ้นชิน
“งานเขียนมีอะไรให้ทดลองอีกเยอะ

ผมว่าความพิการของภาษาบางครั้งมันก็น่ารักดี
ผมชอบให้มีรอยด่างพร้อย แล้วค่อยให้คนมาช่วยกันอุดรู
สำคัญคือเราต้องกล้าที่จะโยนหินก้อนแรกซึ่งสำคัญที่สุด”
เฉกเช่นสราวุธที่ในอดีตเค้าเองก็เป็นคนหนึ่ง

ที่เข้าร่วมการทดลองตามรายทาง
สมมติฐานของ “วินทร์ เลียววารินทร์”
ผู้สร้างแรงบัลดาลใจในการเขียนเชิงทดลองแก่เขา
“นวนิยายไม่มีมือ” เป็นตัวอย่างหนึ่งการทดลอง

เสน่ห์อยู่ที่เส้นเบลอๆ ระหว่างความจริงกับจินตนาการ
จึงเรียกว่า “นวนิยายจริงตนาการ”...
แม้แต่ “ปราบดา หยุ่น” ก็จนปัญญาที่จะฟันธงว่า

มันคืองานเขียนประเภทไหน
ถ้าเปรียบเป็นงานโฆษณาก็เรียกได้ว่างานของนิ้วกลมเข้าเป้าทั้ง
Creative & Sale นิ้วกลมสนุกกับการตั้งชื่อหนังสือ
ที่มีชื่ออวัยวะตั้งแต่โตเกียวไม่มีขา

กัมพูชาพริบตาเดียว
เนปาลประมาณสะดือ
สมองไหวในฮ่องกง
“ตอนแรกไม่ตั้งใจ
แต่ต่อมาคิดว่ามันเป็นการ Branding ที่ดีเหมือนกัน”
ถ้าโลกนี้ไม่มีหนังสือเป็นรูปเล่มอีกต่อไป?
“ผมว่ามันจะสนุก น่าจะเป็นลักษณะของ Mixed Media มากขึ้น

คนอาจจะสมาธิสั้นลง หรือคิดอะไรได้เยอะขึ้นก็ได้
ผมยังอยากเกิดทันวันนั้นเลย”

นิ้วกลางบาลานซ์ตารางชีวิตใหม่
จนสราวุธมีเวลาอ่าน (ทุกวัน) + เขียน (เกือบทุกวัน)
“โอ้โหมันเป็นชีวิตที่สมดุลมาก
กลางวันเขียนในสิ่งที่ถูกจ้างให้คิด
กลางคืนเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดเพื่อรับใช้ตัวเอง”
นิ้วก้อยกลมกลมเองก็ได้มีโอกาสสร้าง+สานปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
เรื่องราวระหว่างการเดินทางทำให้ทุกคนโตขึ้น...
การไต่ระดับความสูง ทำให้นึกถึงครอบครัวและคนที่อยู่ข้างๆ

ความเหงาทำให้ได้เข้าใจว่าคนที่คุยด้วยทุกวัน
ในระหว่างทางชีวิตนั้นสำคัญ เพียงใด
ดังนั้นสิ่งที่เขาไม่ยอมพลาดจึงไม่ใช่ พิพิธภัณฑ์ โบสถ์ ตลาด
หากแต่คือ “โอกาสที่จะได้พูดคุยกับผู้คน”
นิ้วก้อยฯ ของเพื่อนชาวสิงคโปร์เป็นคนชวนสราวุธไปรับงาน
Adidas แคมเปญ Olympicsที่เซี่ยงไฮ้
เป็นงานหนักที่ท้าทายด้วยงบ
Media 2,500 ล้านบาท งบ TVC 240 ล้านบาท

(= ได้ TVC ไทย 240 เรื่อง) กับวัฒนธรรมการอ่าน
คนไทยอ่านและบันทึกข้อมูลน้อยมาก

ต่างจากญี่ปุ่น อังกฤษ และฝรั่งเศส
สราวุธเห็นว่า... “ฉลาด” อาจไม่ใช่สิ่งที่เด็กอยากได้
เราควรรู้จักตามใจสิ่งที่พวกเขาต้องการ เช่น
อ่านแล้วจีบหญิงติด เพื่อนำไปสู่การเริ่มต้นการอ่าน
แล้วหนังสือเล่มแรกนี้จะพาเค้าไปหาหนังสือเล่มอื่นๆ เอง
ในอนาคตเขาอยากทำหนัง...

1.หนังที่เน้นวิธีการนำเสนอ
เนื้อหาไม่เข้มข้นแต่ต้องจดจำไปอีกนาน
2.หนังโรแมนติก
3.หนังที่สร้างแรงบันดาลใจเหมือนสารคดีท่องเที่ยวของเขา
ส่วนงานเพลง หลังห้านิ้วชิมลางกับบรรทัดห้าเส้นของแสตมป์-7th scene
ในเพลง “ทฤษฎีสีชมพู” แล้ว
นิ้วนางช่างฝันได้บอกเราว่ามันกลายเป็นอีกหนึ่งงาน

ที่เขามีความสุขที่จะทำไป เสียแล้ว
สรุปผลการทดลอง ในฟังก์ชันแห่งการเดินทางด้วยมัดกล้ามเนื้อ
นิ้วกลมกลมทั้งห้ามีหน้าที่ช่วยพยุงตัวเมื่อสองขาเริ่มล้า
และประคองมิตรภาพที่เกิดขึ้นไม่ให้หลุดมือ ...
ทว่าในฟังก์ชันแห่งการเดินทางด้วยความคิดและจินตนาการ
หลังจากได้รับ-เรียน-รู้ นิ้วกลมกลมทั้งห้ามีหน้าที่

เข้ารหัสผ่านปุ่มบนแป้นพิมพ์
ทั้งเพื่อถ่ายทอดและทดเรื่องราวแห่งความทรงจำไว้ในใจผู้อ่านให้ยาวนานที่สุด
- จบการทดลอง -
(ไม่สิ...อันที่จริงนิ้วกลมไม่สนับสนุนการ
“ทิ้งทวนแบบจืดๆ”............................................)

Profile Name : สราวุธ เฮงสวัสดิ์
Age : 30 ปี
Education : รร.เซนต์จอห์น, รร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี),

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
Career Highlights : Leo Burnett , JWT , DayPoets
Current Interest: หนังสือเกี่ยวกับความสุขและวิวัฒนาการมนุษย์
เช่น “The Conquest of Happiness” และสารคดีชีวิตสัตว์


......
นิ้วโป้งกลมกลมของสราวุธดูเปลี่ยนไปจากหัวแม่โป้งของเด็ก ม.ปลาย
ที่ยังหาตัวเองไม่เจอ เมื่อเขาเห็นภาพวาดมอเตอร์ไซค์
ใน Portfolio ของครูฝึกสอนชั่วโมงศิลปะ
“เป็นวิชาเดียวที่เรียนสนุกทั้งที่ผมไม่ได้ชอบวิชาศิลปะ
ครั้งนึงผมวาดสนามบาสโดยเปลี่ยนสีทุกอย่าง
เป็นสีตามจินตนาการและลองใช้สี
โปสเตอร์สะท้อนแสงดู มันธรรมดานะครับ
แต่ที่พิเศษคือคำชมจากครูที่ทำให้เรารู้สึกว่า

การคิดออกจากความจริงนี่ช่างท้าทายและน่าสนุก”

นิ้วชี้กลมกลม จรด “วงสวิง”

กับนิ้วโป้งเป็นสัญลักษณ์ ”OK!!”...โดยไม่ลังเล
เขาเลือกเอนทรานซ์เข้าคณะสถาปัตยกรรม
ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรมตามครูฝึก
สอนผู้เป็นแรงบันดาลใจตั้งต้น


5 ปีผ่านไป นิ้วกลางกลมกลม
ได้รับการหล่อหลอมวิธีคิดอย่างมี “กระบวน” โดยไม่รู้ตัว ...”
ต้องช่างสังเกต เพราะงานออกแบบมาจากการตั้งโจทย์และการแก้ปัญหา”
นับแต่นั้นมานิ้วกลางฯจึงกลายเป็นตัวเชื่อมระหว่าง
โลกของวิทยาศาสตร์และโลก ของศิลปะ

“เราไม่ได้ถูกสอนมาให้สื่อสารสิ่งที่เราจินตนาการเพียงอย่างเดียว
แต่ทุกอย่างที่ออกแบบต้องสามารถใช้งานได้จริง”

ปี สุดท้ายนิ้วชี้ฯเลือกเรียนสาขา” Graphic Design”

จึงมีโอกาสได้รู้จักกับ “วิชาโฆษณา”
ที่เขาตกหลุมรักตั้งแต่แรกเรียน
“อู้หูว์...เหมือนเจอแฟนเลยครับ สนุกมาก
วันแรกอาจารย์ให้ลองเล่าถึงความร้อน...

นั่นสิไม่เคยคิดมาก่อน ร้อนแบบพ่อพระอาทิตย์มาเอง / ร้อนแบบเหงื่อหมดร่าง /...
คือมันมีภาพมีคำมากมายมาสื่อสาร
แค่เรารู้จักนำมาเล่นกับความคิด
เลยจับทางได้ว่าตัวเองคงชอบการหาสัญลักษณ์มาสื่อสาร”


“Leo Burnett” กลายเป็นโรงเรียนที่ทำให้สราวุธมั่นใจว่า
“เขาทำโฆษณาเป็น”
เขาฝึกงานที่นี่และเมื่อเรียบจบได้พยายามครีเอตชิ้นงานใหม่ๆ

มาเติม Portfolio อยู่เสมอ
“ผมเชื่อว่าคนขยันสุดท้ายจะเก่ง
แต่ถ้าเก่งแล้วไม่ขยันสุดท้ายก็จบ”
กระทั่งได้รั้งตำแหน่ง Creative Copywriter
ในที่สุด “มันเป็นชีวิตที่สนุก คิดทุกวันจนกล้ามขึ้นสมอง
เพราะธรรมชาติของโฆษณาคือ สั้น ง่าย เร็ว”

เขาตระหนักว่าแท้จริงโครงร่างของ
งานโฆษณามักถูกแบ่งออกเป็น “What to say?” และ “How to say?”

ทว่างานโฆษณาที่ดีในแง่ของการสื่อสารนั้น
“What to say?จะต้องใหม่”
จึงจะได้รับการสนใจ (แม้ยังไม่ได้คิดวิธีสื่อสาร) เช่น
ช็อกโกแลตที่กินแล้วจีบสาวติด

“ที่ Burnett พอได้โจทย์
เราจะเริ่มจากการคิดมุมในการสื่อสารก่อน เช่น
คำว่า รถเร็ว เราไม่ได้เริมคิดว่าอ้อรถมันวิ่งเร็ว
แต่เราจะคิดว่ารถเร็วทำให้มีเวลาอยู่กับภรรยาที่บ้านมากขึ้น
เร็วจนแซงได้ก็ต่อเมื่อคุณจอด หรือเร็วจนเสือชีตาร์มากราบ”

“ผมกลายเป็นคนชัดเจนกับคอนเซ็ปต์มาก
จนต่อยอดไปถึงวิธีดำเนินชีวิต” เช่นกัน...
หนังสือแต่ละเล่มของเขาจึงมีแก่นที่ชัดเจน
เขาว่าคนเราควรมี “แก่น” กัน (เลื่อน) ลอย
โดยเฉพาะเมื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์
“ฟุ้งได้แต่ต้องจบชัด”

การ พรีเซนต์ไอเดียเป็นอีกสิ่ง “อภิมหาสำคัญ”

...ครีเอทีพต้องสามารถแสดงเบื้องหลังของไอเดีย
ซึ่งกำลังจะถูกลูกค้าตัดสิน ภายใน 5 นาที (เสมอ) ให้ได้


“ผมมีโอกาสได้ไปเวิร์คช็อปกับ ครีเอทีฟย่านๆ เอเชียหลายครั้ง

เค้าชื่นชมงานคนไทยมาก และทุกครั้ง
สองประเทศที่สนุกสุดๆ คือ “ไทยกับญี่ปุ่น”
พวกเราชอบทำอะไรมันส์ๆ ของญี่ปุ่นบางทีพรีเซนต์เสร็จแล้วงงก็มี
แต่เออ...จำได้แฮะส่วนสิงคโปร์กับอินเดีย
ก็จะเป็นเหมือนเด็กเรียนเลย”

นาทีนี้คงไม่มีนักอ่านคนใดไม่รู้จัก “นิ้วกลม”
รายงานโดย : อินทรชัย พาณิชกุล
วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552
นามปากกาของชายหนุ่มชื่อ
เอ๋-สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์นักคิด-นักเขียนอารมณ์ดีผู้มองโลกด้วยสายตาอันรื่นเริง
เจ้าของผลงานพ็อกเกตบุ๊กขายดีกว่า 15 เล่ม
ที่วางกระจัดกระจายอยู่บนชั้นในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
ซึ่งเขาใช้นิ้วกลมๆ ทั้งสิบนิ้วสรรค์สร้างมันขึ้น
ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 6 ปีเท่านั้น


เหตุผลที่ทำให้ใครสักคนลงมือเขียนหนังสือออกมาได้มากถึงขนาดนั้น
ภายในช่วงเวลาสั้นๆ เขาบอกว่าคงเป็นเรื่องของความรักเท่านั้น
เป็นความรักสุดจิตสุดใจที่มีต่อการอ่านและการเขียน

“กว่าจะมาเป็นนักเขียนได้ในวันนี้ แรงบันดาลใจจริงๆ
ผมว่ามันมาจาก 2 ส่วน หนึ่ง การอ่าน
ผมบ้าอ่านหนังสือ เริ่มจริงๆ จังๆ ก็สมัยเรียนมหาวิทยาลัย
จำได้ว่าเริ่มจากเรื่องจินตนาการไม่รู้จบ
นวนิยายแฟนตาซีของ มิชาเอล เอนเด้
อ่านจบแล้วรู้สึกชอบมาก ต่อมาลามไปอ่านงานวรรณกรรมเยาวชน เรื่องสั้น
จนได้มาเข้าห้องสมุดก็อ่านหลายประเภท
อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จนกลายมาเป็นหนอนหนังสือเต็มตัว”

เขายิ้มกว้างทั้งใบหน้าขณะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียน

“พออ่านเยอะก็เริ่มเรียบเรียงความคิดของตัวเองเป็น
โดยหยิบยกความคิดของคนอื่นมาผสมผสาน
จนเกิดอาการคันไม้คันมือ เลยลงมือเขียนมันออกมา
เขียนมาเรื่อยจนกลายเป็นความเคยชินเหมือน
เราแปรงฟันก่อนนอนทุกคืนอะไรแบบนั้น
หรือไม่ก็เหมือนการขี้ คือมันมวนๆ อยู่ใน
ท้อง
ถ้าไม่ระบายออกมาแล้วอึดอัด (หัวเราะลั่น)
ก็เลยติดนิสัยขี้ความคิดออกมาทุกคืน”


นิ้วกลม ย้อนเล่ากลับไปในช่วงประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว ว่า
การเขียนหนังสือของเขาเริ่มต้นพร้อมๆ
กับช่วงที่วงการหนังสือคึกคักมาก
ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นมาของนิตยสารคนรุ่นใหม่อย่างอะเดย์ โอเพ่น
หรือแม้แต่การได้รับรางวัลซีไรต์และความนิยมอย่างสูง
ในตัวของนักเขียนหนุ่มรุ่นใหม่นาม ปราบดา หยุ่น


“ตอนนั้นหนังสือพี่คุ่นแกดังมาก” เขาหยุดนิดนึง
เปลี่ยนอิริยาบถมาเป็นนั่งไขว่ห้างสบายๆ
“แต่ก่อนเราเคยรู้สึกว่านักเขียนต้องเป็นผู้ใหญ่จ๋าๆ
มีความคิดลึกซึ้ง แต่พอมาเห็นนักเขียนรุ่นหนุ่มๆ
ทำผลงานออกมาได้ดี มีชีวิตชีวา
ก็เหมือนเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนหนังสือ
รู้สึกว่าการเขียนหนังสือมันไม่ไกลตัวเรา
ทำให้เราสนใจการอ่าน
และทำให้รู้สึกว่าการเขียนเป็นเรื่องสนุก”


“นักเขียนที่มีอิทธิพลต่อเรามากๆ เลยคือ
วินทร์ เลียววาริณ
เขาเป็นคนที่เปิดกรอบการเขียนออกไปว่าเราสามารถดีไซน์การเขียนได้
อีกคนคือ
อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ผมชอบอ่านหนังสือเขามาก ทุกวันนี้ยังชอบและไม่เคยผิดหวัง
ชอบความลึกซึ้งของวิธีการมองสิ่งต่างๆ ของเขา
มีปรัชญาข้อคิดสอดแทรกตลอด
สำนวนภาษาก็แสดงความเป็นลูกผู้ชายและสละสลวยไปพร้อมๆ กัน
คนต่อมาคือ พี่จิก-ประภาส ชลศรานนท์
ที่ให้แรงบันดาลใจเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์

และพี่คุ่น-ปราบดา หยุ่น ก็ได้รับอิทธิพลมาในเรื่องของการเล่นของภาษา”
แม้เราเดินตามคนที่เป็นต้นแบบเราได้
แต่วันหนึ่งเราก็ต้องมีรอยเท้าของตัวเอง...

ด้วยความเอาจริงเอาจังวันหนึ่งหนังสือทำมือที่สราวุธทำร่วมกับเพื่อนๆ ในชื่อ DIM (Do It Myself) ตกไปถึงมือของ

วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้ก่อตั้งนิตยสารอะเดย์
ซึ่งสนอกสนใจในลีลาและอารมณ์ขันของเขา
ก่อนในที่สุดจะมีผลงานเป็นพ็อกเกตบุ๊กออกมา
โดยใช้ชื่อคนเขียนว่า “นิ้วกลม”

อาทิ “โตเกียวไม่มีขา” “กัมพูชาพริบตาเดียว”

“เนปาลประมาณสะดือ” “สมองไหวในฮ่องกง” “นั่งรถไฟไปตู้เย็น” ฯลฯ
ที่มีคนติดตามอ่านไม่น้อยโดยที่ยังทำงานประจำเป็นผู้กำกับโฆษณาอยู่
กลางวันคิดงานให้คนอื่น ตกกลางคืนค่อยคิดงานของตัวเอง
---เขาบอกไว้อย่างนั้น


ความคิดสร้างสรรค์ ความอารมณ์ดี การมองโลกในแง่บวก
สิ่งเหล่านี้เองที่ถือเป็นจุดเด่นสำคัญอีกอย่างของตัวนักเขียนคนนี้
นอกเหนือไปจากอารมณ์ขันซึ่งเป็นเสน่ห์อันน่าหลงใหล
ยามที่คนอ่านได้สัมผัสจากผลงานของนิ้วกลม


“เพิ่งอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง มีประโยคนึงคมมาก
เมื่อใดที่คุณเริ่มคิดบวก นั่นหมายถึงคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์ลบ
คือคนปกติไม่ได้คิดบวกตลอด แต่พอคนเราเริ่มเจอเรื่องลบๆ
เราก็จะคิดแล้วว่าจะทำยังไงให้บวกได้ เหตุที่ผมเป็นคนคิดบวก
อาจเป็นเพราะว่าผมผ่านสถานการณ์ที่เป็นลบที่สุดในชีวิตมาแล้ว
พูดแล้วตลก มันเป็นเรื่องของการอกหัก (หัวเราะ)
หลังจากนั้นเราก็อยากอ่านหนังสือที่ทำให้เราเข้าใจในความสุข
นั่นก็คือหนังสือของท่านพุทธทาส ซึ่งการอ่านหนังสือของท่านในจังหวะนั้น
ในช่วงทุกข์มากๆ มันเปลี่ยนชีวิตเราไปเลย
ทำให้เราพยายามมองโลกด้วยความเข้าใจมากขึ้น
ไม่ใช่เฉพาะงานเขียน แต่รวมถึงการดำเนินชีวิตด้วย
ก็พยายามมองทุกอย่างด้วยความเข้าใจ
สิ่งที่เราเข้าใจมันไม่ได้ก็ยอมรับมันไป
เพราะการที่เราคิดแบบนี้ มันจะทำให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างสงบสุข


สำหรับวิธีการเขียน ผมเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบค่อนข้างมาก
คิดเยอะเรื่องกลวิธีการนำเสนอ เพราะคิดว่าเนื้อหา
โดยแก่นหลักแท้จริงแล้วมันไม่เปลี่ยนไปกว่ากันเท่าไหร่
ยกเว้นเรื่องข้อมูล เพราะข้อมูลของโลกใหม่ตลอดเวลา
ทีนี้ถ้าเราเลือกเล่าเรื่องเดิมๆ ด้วยวิธีเดิมๆ
มันก็ง่ายมากที่คนจะเบื่อ ไม่อยากอ่าน
อีกอย่างตัวคนเขียนเองมันก็ได้สนุกกับการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ ด้วย
แทนที่จะคิดแต่เรื่องเนื้อหา”


มาถึงผลงานล่าสุด “อาจารย์ในร้านคุกกี้” จากสำนักพิมพ์มติชน
หนังสือรวบรวม 39 เคล็ดวิชาแห่งความสุข
และแรงบันดาลใจที่เรียนรู้จากคน สัตว์ และสิ่งของต่างๆ
ที่มีอยู่รายรอบตัว
เป็นอีกเล่มที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้อ่านถล่มทลาย


“หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อเขียนจากคอลัมน์ ‘ขุนพลอาจารย์บาน’
ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ขณะนี้
ผมดีใจมากและรู้สึกเป็นเกียรติมากครับที่ได้รับการชักชวนมาเขียนที่นี่
ตอนแรกก็คิดหนักว่าจะเขียนอะไรดี เกร็งไปหมด
ก็เลยคิดในเรื่องที่เราสนใจมากที่สุดนั่นก็คือข้อคิดและแรงบันดาลใจ
จากนั้นมาคิดต่อว่าจะเขียนเนื้อหายังไงให้มันกว้างที่สุด
จนมาสรุปที่ข้อคิดจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ
เอาทุกอย่างเลย ทุกอย่างมันจะเป็นอาจารย์เราได้หมด


สำหรับชื่อคอลัมน์ ‘ขุนพลอาจารย์บาน’
มีที่มาจากคนเราก็เหมือนขุนพลที่ต้องออกไปรบรากับปัญหาและสิ่งต่างๆ
ที่ไม่เข้าใจมากมายในแต่ละวัน ซึ่งจะพบเจอได้เยอะมากในชีวิต
ขณะที่เรารบกับปัญหา ปัญหาเหล่านั้นมันก็เป็นครูเราได้เหมือนกัน
และสิ่งที่เราไม่เข้าใจต่างๆ เราสามารถเรียนรู้มันได้ทุกวัน
เพื่อที่จะทำความเข้าใจมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อคิดแรงบันดาลใจมันมีอยู่เยอะแยะมากมายรอบตัวเรา
อยู่ที่เราจะฟังมันหรือเปล่า เห็นมันหรือเปล่า
และคิดต่อยอดจากมันหรือเปล่าเท่านั้นเอง”


ยกตัวอย่าง “เหล่าอาจารย์” ที่นิ้วกลมได้พบเจอและเรียนรู้มา
เช่น หูฟังไอพอด เข็มกับไม้จิ้มฟัน สก๊อตช์ไบรต์
โฆษณารถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง รองเท้ากีฬา
นักว่ายน้ำเหรียญทองโอลิมปิก นักมวยผู้ไม่ยอมแพ้
แม่ของเพื่อน รวมถึงทุกคน ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกสถานที่ ฯลฯ


“ผมอยากให้คนอ่านรู้ว่าเราสามารถได้ข้อคิดจากทุกสิ่งทุกอย่างได้จริงๆ
ทุกอย่างเป็นอาจารย์เราได้หมด จะท่องจำ
หรือมีสมุดจดก็บันทึกลงไป เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปไหน
ผมก็มองหาอาจารย์ในทุกที่ (หัวเราะ)
ผมว่าอาจารย์ที่ซุกซ่อนตามสิ่งต่างๆ
บางอย่างเขาก็บอกเราตรงๆ
แต่บางอย่างเขาก็แค่สะกิดความคิด
ที่มันมีอยู่ในตัวเราแล้วให้มันฟุ้งขึ้นมา”


ตราบจนถึงวันนี้ แม้นิ้วกลมจะมีชื่อเสียงติดลมบน
มีกลุ่มแฟนๆ ติดตามผลงานอย่างเหนียวแน่น
คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ที่เขาได้รับมากที่สุดก็คือ
เคยคิดจะยึดอาชีพเขียนหนังสือเพียงอย่างเดียวไหม?


“เคยคิดครับ แต่ยังไม่ต้องการถึงขนาดนั้น
ผมมีความสุขมากทั้งเขียนหนังสือ
ทั้งงานกำกับโฆษณา มันไม่ได้ทรมานถึงขนาด
จะต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สนุกทั้งสองอย่าง
ถ้ามีงานสิบอย่างแล้วเราสนุกทุกอย่าง ก็คงต้องทำทั้งหมด”

การสนทนาจบลงด้วยประโยคนั้น พร้อมกับเสียงหัวเราะอย่างอารมณ์ดี



<