Custom Search

Apr 25, 2009

บทสัมภาษณ์ ธเนศ วงศ์ยานนาวา : GURU POSTMODERN



คอลัมน์ Weekly interview

นิตยสาร A day weekly

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๗ ๑๐-๑๖ กันยายน ๒๕๔๗
(เรื่อง: พนิดา วสุธาพิทักษ์, อังศุมาลิน บุรุษ ภาพ: อนุชิต นิ่มตลุง)
สำรวจ teen มนุษย์ไร้จุดยืน

ด้วยบุคลิกที่ไม่ได้บ่งบอกถึงสถานะผู้ทรงภูมิความรู้อันใด
ธเนศ วงศ์ยานนาวา มีตำแหน่งเป็น
อาจารย์ประจำภาควิชาการเมืองการปกครอง
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์คนหนึ่ง
ที่ถูกจัดประเภทให้รวมหมวดหมู่อยู่ในฐานะผู้ทรงภูมิความรู้ในเรื่อง ‘ล้ำๆ’ ของยุคสมัย

เขาเสพสมชีวิตด้วยการกิน ท่องเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง และอ่าน-เขียน-สอนหนังสือ
โดยไร้สังกัดทางชนชั้น บางครั้งก็มีความขี้เกียจเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิต
ทั้งยังปฏิบัติตัวเป็นนักสังคมบริโภคอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

เคยพำนักพักแรมตั้งแต่โรงแรมหะหรูหะราระดับ ๕ ดาวไปจนถึงริมฟุตบาทข้างถนน
ท่องเที่ยวในดินแดนไกลโพ้นด้วยพาหนะทุกรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถบัส เรือ ร่อนเร่
เอาเป้สะพายหลังในหลายประเทศทั่วโลก
และหลายจังหวัดในประเทศไทย
กระทั่งเข้าไปแฝงตัวอยู่ในหมู่ลูกทัวร์ผู้น่ารักของบริษัททัวร์ก็เคยมาแล้ว

“ผมเป็นคนไม่มีหลักการ และไม่มีจิตสำนึกทางการเมือง
ชายผู้มีจุดยืนอยู่ที่ตีนตัวเองกล่าวไว้เยี่ยงนั้น

บท สะท้อนในงานเขียนที่ชื่อ
‘ภาพตัวแทนของตูด’ ซึ่งตีแผ่ถึงกิเลสตัณหา
ของมนุษย์ผ่านรูทวารที่น่ารังเกียจ
(แต่เราก็ใช้มันขับถ่ายทุกวัน)
ย่อมบ่งบอกถึงมุมมองความคิดและ
การใช้ชีวิตแบบกลับหัวหลับหางกับปุถุชนคนอื่น
ในวิถีของธเนศได้เป็นอย่างดี
A day weekly ชวนเขาคุย (สบายๆ)
ถึงเรื่องราวชีวิตในรอยทาง อาหาร เสียงดนตรี
แผ่นฟิลม์และ
ตัวหนังสือ เพื่อมองผ่านเข้าไปสำรวจตรวจสอบถึงการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของ
‘สำนึกร่วมทางสังคม’ ในฐานะที่เขาประกาศตัวตั้งแต่ต้นว่าเป็นคนไร้สำนึก
ว่าเอาเข้าจริงแล้วคนใน
ยุคปัจจุบันกำลังว่ายวนอยู่ในกระแสการมีชีวิตอย่าง
ไร้ราก ไร้ประวัติศาสตร์ ไม่ยอมร้อยเรียงเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับอะไรทั้งสิ้นเลยล่ะหรือ

ในขณะที่มนุษย์โพสต์โมเดิร์นก็ (คงจะ) ยกฝ่าเท้าขึ้นเบา ๆ
แล้วตอบคุณด้วยหน้าตาย ๆ ว่า ถ้าอย่างนั้นมีรากอันใดอยู่ใต้ teen ฉันงั้นรึ...
คนนะ ไม่ใช่ต้นไม้
หรือ นี่อาจเป็นปฏิบัติการทางสังคมในรูปแบบหนึ่ง
เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านความพยายามของรัฐประชาชาติที่ต้องการจะเชื่อมโยง
อุดมการณ์ความเป็นชาติ ตอกตรึง หลอมรวมให้ทุกคนกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน

เรียบเรียงจาก คอ
ลัมน์ Weekly interview
-รวินทร์-
จิ๊กซอว์ชีวิต การเดินทาง-ละตินอเมริกา-โลกาภิวัตน์
“ผม เดินทางโดยใช้ทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นนั่งรถ ลงเรือหรือขึ้นเครื่องบิน
คือผมไม่มีข้อจำกัดว่าจะใช้พาหนะอะไร
และไม่ได้มีเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงอะไรมาก อย่างเช่น
ถ้ามันดึกมากแล้ว นอนโรงแรมไม่คุ้ม ผมนอนข้างถนนก็ได้
เวลาเดินทางผมอาจจะมีความจำเป็นอย่างเดียวคือต้องกิน”

นอกจากจะเดินทางได้ทุกวิธีและไร้เงื่อนไข
ธเนศยังท่องเที่ยวได้ทุกรูปแบบตั้งแต่โบกรถจนถึงเป็นลูกทั
วร์
“... ผมไมได้โบกรถนานมาก...ครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีมาแล้วสมัยยังเป็นวัยรุ่น
แต่เดี๋ยวนี้เมื่อทำงานแล้วผมมีเวลาที่จำกัด
ทำให้ผมไม่สามารถที่จะคอยโบกรถได้
และนี่แหละผมถึงเข้าใจ คือจะให้ผมไปเที่ยวกับบริษัททัวร์ก็ได้ ผมไปได้หมด”

ความสนุกสนานของผู้คน ความอันตรายในประเทศแถบละตินอเมริกา
ได้สร้างแรงดึงดูดและท้าทายให้ธเนศพา teen ไปเหยียบเยือนอยู่บ่อยๆ
เช่นตอนปิดเทอมภาคฤดูร้อน (ปี ๒๕๔๗) ที่เขากลับไปเที่ยวเปรูอีกเป็นครั้งที่ ๒

“ผม คิดว่ามันมีความตื่นเต้น เพราะทุกขณะที่คุณเดินหรือทำอะไรก็แล้ว
แต่ในประเทศเหล่านี้ คุณต้องคอยระวังตัวและมีสติอยู่เสมอ
ทุกวินาทีที่คุณเผลอ คุณมีโอกาสถูกขโมยของหรือถูกจี้ได้...
และเรื่องของหายเป็นเรื่องปกติมาก
ถ้าขอ
งไม่หายสิถือว่าคุณมีบุญหรืออย่างใครบอกว่าขโมยอิตาลีน่ากลัว
โอ๊ย...กระจอก เด็ก ๆ
จะด้วยความเป็น ‘ไทย’ หน้าตาผิดระเบียบ
หรืออะไรที่ไม่มีใครรู้ เบื้องหลังการเดินทางของธเนศจึงไม่ราบรื่น
เรียบร้อยอย่างนักเดินทางทั่วไป
แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขา ‘หยุด’ พัก
ขา
“ประเทศที่ผมอยากไปตอนนี้ (ปี ๒๕๔๗) ผมอยากไปหมู่เกาะคุกที่อยู่
ในมหาสมุทรแปซิฟิก...ตาฮิติ ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่อยากไป...สถานที่ทัวริสต์ทั้งนั้น
ผมไม่ได้เป็นคนประเภทที่ต้องไปในดินแดนที่ไม่มีทัวริสต์อยู่เลยนะ
จะไปหรือไม่ไปที่ไหนมันก็แล้วแต่อารมณ์ของผม ผมไปได้หมดทุกที่

แล้ว ที่กัวเตมาลา นี่อยากไปมาหลายปีแล้วแต่ไม่เคยได้วีซ่า
กระทั่งเดินเข้าไปขอและลองพยายามข้ามแดนไปเหยียบแผ่นดินเขามาแล้ว
ก็ถูกกรมตำรวจกรมเข้าเมืองเด้งกลับมา ก็ไม่ทราบว่าทำไม
ผมคิดว่าหนังสือเดินทางของไทยมันมีปัญหาทุกที่นะ
แม้แต่ในปัจจุบันผมก็ยังคิดว่าการเดินทางด้วยหนังสือเดินทางจากเมืองไทยนี่
ยากและค่อนข้างลำบาก คือผมไม่เคยเดินทางด้วยพาสปอร์ตข้าราชการ
หรือด้วยการใช้เส้นสาย ผมไปยืนเข้าคิวที่กรมตรวจคนเข้าเมืองทุกที

ผม ยังเคยถูกจับเลย ตอนนั้นผมนั่งรถจากโบลิเวียจะเข้าไปชิลี
ระหว่างเส้นทางบนภูเขาแอนดิส รถก็ถูกเรียกให้หยุดและเรียกผมไปคุยคนเดียว
ทำให้เสียเวลาไปเป็นชั่วโมงและคนอื่น ๆบนรถต้องนั่งคอย
ส่วนที่เวเนซูเอลาก็เคยถูกเรียก แต่คราวนั้นผมไปกับเพื่อน
เพื่อนถูกเรียกแล้วผมก็ติดร่างแหไปด้วย ผมเจอเหตุการณ์อย่างนี้บ่อย
คงเป็นรูปร่างหน้าตาด้วยที่ดูไม่เรียบร้อย หน้าตาผิดระเบียบหรืออะไรก็ไม่รู้”


ด้วยประสบการณ์ทำให้ธเนศมองว่าการก้าวสู่ยุคโลกาภิวัตน์
กลับยิ่งทำให้การเดินทางยากขึ้น และโลกไร้พรมแดนเป็นเพียงภาพลวงเท่านั้น

“ยิ่ง เป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้นการเดินทางจะยิ่งยาก
ถ้าไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจก็ยิ่งมีข้อกำหนดข้อบังคับมากขึ้น
เช่นในประเทศเล็ก ๆ จะมีข้อเรียกร้องและต้องใช้เอกสารต่าง ๆ มากมาย
อย่างคุณจะขอวีซ่า เช็งเกน (Visa Schenghen) นั้น
การขอวีซ่าไปยุโรปจะสะดวกกว่า

โดย เฉพาะหลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔ ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
แต่ปัญหาที่ผมเจอนั่นไม่ใช่ผลของ ๑๑ กันยา แต่เพียงอย่างเดียว
เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่บอกว่าโลกาภิวัตน์มันไร้พรมแดน
คือคนที่เดินทางโดยมีคนไปทำวีซ่าให้ ไม่เคยรับรู้ว่าการขอวีซ่ามันยุ่งยากน่าเบื่อแค่ไหน…

จริง ๆ แล้วหากคุณไปสำรวจดูจะพบว่ายิ่งมีพรมแดนมากขึ้น
ยิ่งเข้มงวดมากขึ้น พรมแดนมันไม่ได้ลดลง แต่มันจะลดลงให้เฉพาะคนบางประเภทเท่านั้น
ถึงอย่างไรโลกมันก็ยังมีลำดับชั้นสูงต่ำอยู่เหมือนเดิม
ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของชนชั้น ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาไป
ขอวีซ่าข้ามประเทศมันง่ายซะที่ไหน ผมถามว่านักการเมืองระดับใหญ่ของประเทศนี้
เคยไปยื่นขอวีซ่าของสหรัฐอเมริกามั้ย...ผมว่าเขาไม่ต้องไปทำเองหรอก
(หลังจากวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ถ้าจะเข้าอเมริกาต้องพิมพ์ลายนิ้วมือกับถ่ายภาพตาม
มาตรการคุมเข้มความปลอดภัย-กองบก. A day weekly)
และอเมริกาเป็นประเทศที่หากไม่จำเป็นผมไม่อยากไปที่สุด ปวดกบาล”


จาก บทบาทบรรณาธิการวารสารรัฐศาสตร์สาร การเขียนบทความทางวิชาการ
และคอลัมน์นิสต์ จึงมีหลายคนชักชวนให้ธเนศถ่ายทอด
เรื่องราวการเดินทางออกมาเป็นหนังสือ
แต่การท่องเที่ยวถือเป็นสิ่งเดียวในชีวิตที่เขายังไม่ได้ทำให้เป็นงานและไม่
อยากทำถ้าไม่จำเป็น เนื่องจากมีงานเขียนที่รับผิดชอบอยู่ค่อนข้างมาก
และยอมรับว่าตนเองไม่มีความ สามารถในเรื่องของการเขียน
เพราะติดทั้งรูปแบบสำนวนการขยายความมาจากการสอนและการอ่านหนังสือทฤษฎี
ปรัชญาต่าง ๆ


ปัจเจก ปรัชญา การศึกษา ในรส (บริโภค) นิยม

-หนังสือ-

“ผม เกลียดการเรียนหนังสือเป็นอย่างยิ่ง” ธเนศกล่าวประโยคโดนใจวัย teen
นี้มากกว่าหนึ่งครั้งในการให้สัมภาษณ์กับA day weekly แล้วอะไรล่ะ?
ที่ทำให้เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ ๒

“ผม ชอบอ่านหนังสือ แต่เกลียดการเรียนหนังสือ...เวลาไปเที่ยว
ผมคิดว่าของที่น่าจะมีน้ำหนักมากที่สุดคือหนังสือ...จะ ๒-๓ เล่มก็แล้วแต่
ซึ่งผมจะอ่านนิยายเมื่อมีเวลาว่างจริง ๆ เพราะผมเป็นคนมีปัญหามากเวลาอ่านนิยาย
กว่าจะอินเข้าไปมันต้องใช้เวลา เพราะมันไม่เหมือนการอ่านหนังสือวิชาการ
ที่มีโครงสร้างรูปแบบการเขียนแน่นอน ตายตัว
สมมุติคุณเคยอ่านงานวิชาการของคนคนนี้มาแล้ว
คุณก็พอจะเดาได้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่เพราะมันมีโครงสร้างที่ค่อนข้างเป็น
รูปแบบพอสมควร และเนื่องจากผมเป็นคนไม่ค่อยพูด...
ยกตัวอย่างเวลาไปเที่ยว ผมสามารถจะอยู่ได้เป็นอาทิตย์ ๆ โดยไม่พูดกับใคร...
เพราะไม่รู้จะพูดคุยกับใคร ผมไม่ชอบคุยและจะไม่เป็นคนเริ่มต้นชวนใครคุยก่อน

ฉะนั้น ในแง่นี้ หนังสือก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณไม่ต้องยุ่งกับใคร
ในโลกแห่งหนังสือเป็นโลกแห่งความเป็นปัจเจกชน...
วัฒนธรรมในการอ่านหนังสือ จึงเป็นวัฒนธรรมในการสร้างความเป็นบุคคลคนเดียวมาก

การ ดำรงตนอย่างสันโดษ ชอบอ่านหนังสือ ‘ผมทำอย่างอื่นไม่เป็น’
และ ‘พูดกันตรง ๆ ว่าผมไม่รู้จะทำอะไร’ เป็นเหตุที่มีผลให้เขาสนใจเรียนปรัชญา
วิชาที่เด็กรุ่นใหม่ส่ายหน้าหนี

“เด็ก รุ่นไหนก็ไม่สนใจเรียนทั้งนั้นแหล่ะคุณ...เป็นสิ่งที่คุณต้องเข้าใจว่าเวลา
เราพูดถึงโลกวิชาการ โลกแห่งการแสวงหาความรู้
ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าคุณไปดูมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

และอ่านประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย
ในช่วง ศตวรรษที่ ๑๙ ตอนต้น การไปเรียนมหาวิทยาลัย
เป็นการไปเรียนเพราะว่าคนในตระกูลของคุณไปเรียนกัน
หรือไปก็เพราะเพื่อนไป คุณไม่ได้ไปเรียนเพื่อแสวงหาความรู้อะไรทั้งสิ้น
ที่อังกฤษก็แบบเดียวกัน นี่เป็นเรื่องของชนชั้น

มหาวิทยาลัย ในโลกตะวันตกโดยเฉพาะในอเมริกาก็ได้รับอิทธิพลจากเยอรมัน
ในช่วงปลายศตวรรษ ที่ ๑๙ ซึ่งมีส่วนให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป
ที่นี้เมื่อมหาวิทยาลัยได้ตอบสนองความต้องการความรู้ออกสู่ภายนอกหรือไปสู่
ความต้องการของตลาดนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีความสัมพันธ์กับที่ระบบเศรษฐกิจ
ที่แปรเปลี่ยนไป และความสัมพันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น
มีความชัดเจนมากในศตวรรษที่ ๒๐ เพราะฉะนั้นคนจำนวนมากก็ไม่จำเป็น
ที่จะต้องเรียนให้ได้เกียรตินิยมอันดับ หนึ่ง แต่ก็เข้าไปเรียนอย่างนั้นน่ะ
แล้วผมคิดว่านี่คือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ”

ส่วนการแสวงหาความรู้ทางวิชาการได้รับความใส่ใจเพียงในวงแคบนั้น
เขาตอบแสกกลางใจว่าเพราะคนส่วนใหญ่ชอบอะไรสบาย ๆ และไม่ปวดกบาล!!!

“คน ที่จะเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อขวนขวายแสวงหาความรู้ มันก็มีอยู่
แต่ละปีมันก็มีอยู่ไม่กี่คนแล้วก็ได้แค่นั้น และผมก็ไม่คิดว่าเด็กฝรั่งขยัน
คือถ้ามันอ่านหนังสือไม่ทัน มันก็ไม่อ่าน ผมว่ามันไม่ได้แตกต่างกัน
เพียงแต่สิ่งที่เห็นก็คืออาจารย์จำนวนมากกำลังพยายามเอามาตรฐานของนักศึกษา
ปริญญาเอกมาพูดถึงนักศึกษาปริญญาตรี

เวลา ที่คุณเป็นนักวิชาการ คุณก็อยากให้เด็กขยัน อยากให้เด็กอ่านหนังสือ
ซึ่งผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการแสวงหาความรู้อย่างนั้นนะ
ตัวอย่างง่าย ๆ เวลาคุณดูหนัง...คนส่วนใหญ่ไปดูหนังเรื่องสัตว์ประหลาดหรือเปล่า
คนส่วนใหญ่ก็นิยมที่จะไปดูสไปเดอร์แมนหรือหนังของสตีเวน สปีลเบอร์ก
หนังดูง่าย ๆ คลายเครียดอะไรพวกนี้ ไม่มีใครเขาอยากดูหนังเข้าใจยากหรอกครับ
ชีวิตคนทุกคนก็ต้องการอะไรสบาย ๆ ไม่ปวดกบาล”

“ในศตวรรษที่ ๑๙...คาร์ล มาร์กบอกว่าศาสนาคือยาฝิ่น สมัยนั้นคนเสพยาฝิ่น...
เพราะว่ามันสบาย”

เป็นคำตอบต่อประเด็นที่ว่าคนส่วนใหญ่ชอบเสพความบันเทิงไร้สาระ ไม่มีคุณภาพ
ซึ่งถูกป้อนมาจากผู้ผลิตที่ต้องการเอาใจตลาด

“คุณ ลองนึกดูว่า ทำไมเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีกว่าปีที่แล้วโสคราติสหรือปราชญ์โบราณ
ถึงบอกว่าประชาธิปไตยมันไม่ดี คือถ้าคิดแบบชนชั้นนำ สิ่งที่คุณพูดมามันก็ใช่
ทีนี้ต้องมาถามว่าคุณจะ ใช้มาตรฐานอะไรในการตัดสิน
จะดูที่จำนวนหรือดูสิ่งที่เรียกว่าคุณภาพ ก็ต้องถามด้วยว่าเป็นคุณภาพของใคร
ของชนชั้นไหน แต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ

กรณี หนังเรื่องสัตว์ประหลาดของอภิชาตพงศ์
ผมคิดว่ามันเป็นภาพสะท้อนที่ดีมากของประเทศไทย
ทั้งที่มีคนพูดกันอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นหนังคุณภาพ...
ได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ แต่ทำไมคนไทยถึงไม่ดู
ผมถือว่าในแง่หนึ่งจะได้พูดกันสักทีหนึ่งว่าเวลาคุณพูดถึงหนังคุณภาพ มันคืออะไร
(เน้นเสียง) คุณคิดว่าคนเยอรมันทุกคนจะดูหนังของ Hans-Jurjen Syberberg เหรอ
ผมว่าคนจำนวนมากก็ชอบดูละครน้ำเน่ากันทั้งนั้น...มันเป็นกันทั่วโลก
เพราะดูแล้วมันสบาย ฉะนั้นมันมีคนแค่กระหยิบมือเดียวเท่านั้นที่จะเสพงานแบบนี้...
และผมว่ามันก็ เป็นเรื่องธรรมดา

คุณลองนึกภาพเวลาที่คาร์ลมาร์กบอกว่าศาสนาคือยาฝิ่น ในศตวรรษที่ ๑๙
คุณอย่าคิดว่ายาฝิ่นเป็น
ยา เสพติดนะ เพราะยังไม่มีคอนเซ็ปต์เรื่องยาเสพติด
รู้ใช่มั้ยว่าคนเสพยาฝิ่นเพื่ออะไร...ก็เพราะว่ามันสบาย (เน้นเสียง)
แต่คนปัจจุบันเวลาคุณเสพยาฝิ่นแล้วไปคิดว่าเป็นยาเสพติด
ทั้งที่คนในสมัยนั้นเขาก็สูบยาฝิ่น ซิกมัน ฟรอยด์ก็ติดยาเพราะมันสบาย
การดูละครน้ำเน่าพวกนี้มันก็สบายเหมือนกัน พวกฝ่ายซ้ายสมัยก่อนถึงบอกว่านี่คือสิ่งมอมเมา”
-ภาพยนตร์-
นักวิจารณ์ภาพยนตร์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์เป็นอีกบทบาทของธเนศ
และภาพยนตร์คือหนึ่งในกิเลสตัณหาที่เขาเสพสมอย่างมีความสุข

“หนัง ส่วนใหญ่ที่ผมเขียนวิจารณ์ในคอลัมน์จะดูที่ต่างประเทศครับและดูจากในโรงหนัง
แค่ครั้งเดียว ชื่อหรือบทบาทในตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่องก็พอจะจำได้
เมื่อดูไปสักพักหนึ่งก็เริ่มเขียนเก็บ ๆ ตุนไว้ ถ้าไม่จำเป็นจะไม่ดูวีดิโอ ดีวีดี หรือวีซีดี
ยกเว้นก็แต่หนังที่จะต้องเอามาสอนหรือมีคนชักชวนให้ดู ผมถึงจะดู
และนี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผมขาดการดูหนังจำนวนมากไป
ช่วงไปเที่ยวต่างประเทศเป็นเวลาที่ผมได้อ่านนิยาย ได้ดูหนัง
ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ ผมไม่มีเวลาว่างขนาดนั้น

สำหรับ ผมมันคือรสนิยมส่วนตัว ผมไม่ได้บอกว่าใครดี ใครไม่ดี
ผมดูหมด อย่างเรื่องเทอร์มิเนเตอร์ที่อาร์โนลฯเล่นน่ะ
ผมชอบมากเลยเพราะสำหรับผมถ้าดูหนังฮอลลีวู้ด ผมก็คิดแบบฮอลลีวู้ดก็เท่านั้นเอง”

-ดนตรี-
“ผม ไม่ค่อยได้ฟังเพลงไทยสมัยใหม่ ส่วนใหญ่ถ้าฟังก็ฟังตามวิทยุ
หากถามว่าเพลงไทยในยุคนี้ที่ผมชอบ ผมชอบเพลงลูกทุ่งมากกว่า
ผมคิดว่าเพลงลูกทุ่งมันมีพลวัตมากกว่าและมันมีอะไรน่าสนใจ”

-อาหาร-
“เรื่อง กับข้าว เวลาอยู่ต่างประเทศหรือมีคนชวนผมถึงจะทำ เพราะผมเป็นคนขี้เกียจ
ส่วนรสชาติ..ก็มีคำชมตามมารยาทบ้าง เพราะบางครั้งมันก็อร่อย
บางครั้งก็ไม่อร่อยเท่าไหร่ มีอยู่ครั้งนึงเมื่อสองปีที่แล้วผมทำไก่อบใบชา
แต่มันไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจ เพราะผมดันไปซื้อไก่ตัวเล็กแล้วมันก็เละ....

เออ... จะเรียกว่าชอบทำอาหารไหม? ก็ชอบทำนะ ปีหนึ่งผมมักจะหาอะไรแปลก ๆ ทำ
อย่างเช่นล่าสุดผมก็พยายามทำขนมสตอร์เบอรี่ซุปสูตรของโจแอลลู เบอร์ซอง
เชพชาวฝรั่งเศส ทำอยู่ ๓-๔ ครั้งรสชาติก็เริ่มโอเค แต่อย่าเรียกว่าทำเก่งเลยก็พอทำได้
เอาง่าย ๆ เลยก็คือกินแล้วไม่ตายละกัน แต่ถามว่าอร่อยไหม บางอันก็พอกินได้
แต่บางอัน...ขอโทษ โยนให้สุนัขบ้านผมมันก็อาจจะไม่กิน
เพราะการทำอาหารถ้าคุณไม่ได้ทำบ่อย ๆ มันจะไม่มีความคงที่ มือมันไม่นิ่ง
แล้วผมไม่ใช่คนประเภทที่มานั่ง ชั่ง ตวง วัด ผมก็กะ ๆ เอา ยกเว้นทำครั้งแรกจะดูตามสูตร
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ทำเพราะในที่สุดแล้วมันเสียเวลา ผมขี้เกียจขับรถไปโน่นมานี่
ยกเว้นเวลาไปอยู่เมืองนอกก็ทำได้”

ซึ่ง ธเนศได้เขียนบทความสะท้องมุมที่คนอื่นลืมมองเกี่ยวกับอาหารโดยเชื่อมโยง
เรื่องรางทางสังคม วัฒนธรรม การเมืองสอดแทรกอยู่ในแต่ละจาน
และปรุงรสไว้ให้ขบคิดไว้หลายชิ้น อาทิ
ความเป็นอนิจจังของอาหารจีนชั้นสูงในกรุงเทพฯ :
การเดินทางสู่เส้นทางของอาหารประชาธิปไตย
ศิลปวัฒนธรรม 24, ๔ (ก.พ. ๒๕๔๖) ๑๓๒-๑๔๕ และล่าสุดในหนังสือจักรวาลวิทยา

บางส่วนจากตอนสุดท้าย ตัวตน (ผล)งาน ชิมลางไปพลาง ๆ ก่อน
“ผมอยากสอนหนังสือ....ที่ผมเลือกอาชีพนี้เพราะผมเป็นคนรักสบาย”
“ผมเป็นคนไม่ชอบการเรียนหนังสือ ผมเกลียดการเรียนหนังสือเป็นอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นผมจึงไม่เคยเช็คชื่อใครเลยในชีวิต...”

“เรื่อง ที่ผมเขียน (ในเผยร่าง-พรางกาย)

เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิเลสตัณหาของมนุษย์ทั้งสิ้น
...สำหรับผมคนที่ไมมีกิเลส ไม่มีตัณหา คือคนที่ตายแล้ว”
เซ็กส์-ความตาย-ศาสนา
“สำหรับผมมี ๓ สิ่ง..ที่ถือว่าเป็นสิ่งกำหนดชีวิตมนุษย์ ...คือ เซ็กส์-ความตาย-ศาสนา”
จิต (ไร้) สำนึกทางการเมือง
“อาจารย์ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์...แกเคยบอกว่าผมเป็นคนที่เป็นปัจเจกสุด ๆ
ผมไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า พูดง่าย ๆ ก็คือ ผมไม่มีจิตสำนึกทางการเมือง”

“ผมจะ ไม่เขียนวิจารณ์การเมือง สำหรับผมการเมืองไม่ว่าที่ไหนในโลก
ก็เหมือนกันหมดทั้งสิ้น นักการเมืองก็คือนักการเมือง...ไม่มีใครดีกว่าใคร
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสร้างภาพได้เก่งกว่ากันเท่านั้น...”

“สำหรับผมการเมืองคือเรื่องของทางเลือก คือคุณจะเลือกเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่…”
“คำ พูดที่ว่าคุณมีราก...เมื่อคุณยกตีนขึ้นมาดู คุณมีรากรึเปล่า...
คุณถูกไปเปรียบกับต้นไม้ เพราะรัฐประชาชาติต้องการตรึงกำลังคนให้อยู่กับที่...
คุณต้องกลายเป็น ทรัพยากรมนุษย์ให้กับรัฐและสามารถนำคุณไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ฉะนั้นคนทุกคนในประเทศจึงกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพื่อที่จะเข้าไปสู่การ
เป็นแรงงานและอยู่ในระบบการผลิต”

“ผม ไม่เคยไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะสำหรับผมไม่มีใครเป็นตัวแทนให้ผมได้
คนที่จะเป็นผู้แทนผมได้ นั่นหมายความว่าคนคนนั้นต้องเอาความตายของผมไปด้วย...”

“การ ที่คุณเข้าคูหาไปเลือกตั้งมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรัฐ
รัฐกับผู้นำประเทศต้องแยกออกจากกัน เพราะรัฐไม่ใช่สิ่งมีชีวิต
รัฐยังคงเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ว่าคุณจะมีรัฐธรรมนูญหรือไม่มีรัฐธรรมนูญ
คุณจะมีการปกครองระบอบไหนก็ตาม รัฐจะยังดำรงอยู่
ฉะนั้นสิ่งที่คุณกำลังข้องเกี่ยวอยู่ขณะนี้ คือคุณกำลังยุ่งอยู่กับระบอบการปกครอง
ไม่ได้ยุ่งกับรัฐ”

“... ในปัจจุบันคุณกำลังเชื่อว่าคุณกำลังมีการตัดสินใจทางการเมืองได้ด้วยตัวคุณ เอง
หรือมี self-determinationแค่วินาทีเดียวในบู้ธเลือกตั้ง ...
ขณะที่ในชีวิตประจำวันคุณไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้
(กรณีลูกศิษย์มาบอกว่าไม่อยากเข้าพิธีรับปริญญา แต่ต้องรับให้พ่อแม่)

  .. คุณจะไปต่อสู้กับรัฐที่ใหญ่กว่าไม่รู้กี่เท่า
ในขณะที่คุณยังต่อสู้กับครอบครัวของคุณที่เป็นเครือข่ายกลไกของรัฐไม่ได้เลย ...
ในแง่นี้ การเลือกตั้งของคุณมันก็เหมือนออกัสซัมทางการเมืองที่ฟึ๊บเดียวแล้วมันไป”



“ฉะนั้น ...ผมจึงคิดว่าชีวิตประจำวันมันสำคัญกว่าการเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ
คุณไม่เคยรู้เลยว่าคุณเริ่มนั่งขี้ในห้องส้วมแบบนี้เมื่อไหร่ คุณเปลี่ยนมาใช้โถส้วม
ชักโครกเมื่อไหร่ แต่คุณรู้เรื่องการเมืองสารพัดที่มันไม่เกี่ยวข้องกับในชีวิตคุณเลย...แล้ว
ผมถามคุณว่าขี้กับการเมืองอันไหนสำคัญกว่ากัน..
ขอโทษถ้าใครบอกการเมือง แม่งบ้าแล้ว เพราะว่าคุณต้องขี้
นั่นคือสิ่งที่คุณจะต้องดำรงชีวิตอยู่”

“คุณ ต้องเข้าใจว่าทำไมการเมืองไทยต้องบังคับให้คุณไปเลือกตั้ง...
อย่างที่เรา รู้สึกว่าการเมืองไม่ดี...แล้วคิดกันไปว่าเมื่อไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมาก
ขึ้นแล้วการเมืองจะดีขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาของพวกรัฐศาสตร์ พวกร่างรัฐธรรมนูญ...
แต่ผมไม่เชื่อแบบนี้และผมยืนหยัดความเชื่องมงายของผม”


ประวัติ

ร.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง) (สังคมวิทยา – มานุษยวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
M.S. (Sociology) University of Wisconsin Madison, U.S.A.
M.Phil (Social & Political Theory) Cambridge University, England.

ผลงาน
หนังสือ 


  • เช เกวารา กับความตาย 
  • ปฏิวัติบริโภค : จากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจำเป็น