http://teetwo.blogspot.com/2008/04/blog-post_7425.html
"แม่ถ้วน" มารดาอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย
เสียชีวิตอย่างสงบ ด้วยวัย 99 ปี
ชาวตรังร่วมแสดงความเสียใจต่อการจากไป
ส.ส.ตรังยกย่องเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนพรรคประชาธิปัตย์
วัฒนธรรมจังหวัดตรังเตรียมจัดงานศพยิ่งใหญ่
ทำหนังสือประสานขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
พร้อมจัดพิธีรดน้ำศพ 3 มี.ค. เวลา 14.00 น.
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางถ้วน หลีกภัย
มารดาของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
เสียชีวิตด้วยโรคชราในวัย 99 ปี นายชวนให้สัมภาษณ์ที่รัฐสภาว่า
แม่ถ้วนเสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านพักน้องสาว
ในหมู่บ้านนวธานี ย่านนวมินทร์ และญาติๆ
จะนำศพกลับไปบ้านเกิดที่ จ.ตรัง ในช่วงบ่าย
ส่วนบรรยากาศที่บ้านพักวิเศษกุล เลขที่ 183 ถนนวิเศษกุล
ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง มีหัวหน้าส่วนราชการ
นักการเมืองท้องถิ่น และประชาชนจำนวนมาก
ที่ทราบข่าวนางถ้วนเสียชีวิต
ทยอยเดินทางมาแสดงความเสียใจต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ
โดยมีนายกิจ หลีกภัย นายก อบจ.ตรัง ลูกชายคนโต
พร้อมด้วยนางยงลักษณ์ หลีกภัย ภรรยา
และนายระลึก หลีกภัย น้องชาย ร่วมต้อนรับ
บรรยากาศเป็นไปด้วยความเศร้าสลด
นายกิจเปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.
วันที่ 2 มีนาคม น้องสาวโทรศัพท์มาบอกว่า
ช่วงเช้าได้เข้าไปปลุกแม่ถ้วนเพื่อจะอาบน้ำให้ตามปกติ
แต่พบว่าแม่เสียชีวิตแล้ว หลังทราบข่าวก็รู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก
ซึ่งแม่นอนหลับและนิ่งไปเฉยๆ เป็นการจากไปอย่างสงบ
โดยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่งขึ้นไปเยี่ยมแม่ที่บ้านของน้องสาว
แม่ก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงและสดชื่น
แต่มีอาการแพ้ยาเล็กน้อย
และมีกำหนดจะเดินทางกลับบ้านที่ จ.ตรัง
ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี
เพื่อร่วมฉลองเทศกาลสงกรานต์กับลูกๆ
และชาว จ.ตรัง แต่มาเสียชีวิตก่อน
ก่อนหน้านี้แม่ถ้วนป่วยด้วยโรคหัวใจ
ญาติจึงพาไปรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
และให้พักฟื้นอยู่กับนางจงจิตต์ หลีกภัย
ลูกสาวคนที่ 6 ซึ่งเป็นอาจารย์สอนบัญชีอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่บ้านพักใน กทม. โดยวันที่ 9 เมษายน 2554
ก็จะครบ 4 ปี ช่วงที่พักฟื้นอยู่ที่ กทม.
ก็จะมีนายถาวร นางจงจิตต์ นางจงใจ
และนางจำเนียร ลูกๆ สลับกันมาดูแล รวมทั้งลูกคนอื่นๆ ด้วย
ส่วนการเตรียมจัดงานศพที่บ้านพักใน จ.ตรัง นั้น
ได้เตรียมสถานที่บริเวณรอบบ้าน
ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เป็นสถานที่จัดงานบำเพ็ญกุศลศพ
ส่วนจะจัดงานกี่วัน และการขอพระราชทานเพลิงศพ
ยังไม่ได้พูดคุยกันในพี่น้อง
คงต้องรอหารือกันอีกครั้ง
นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์
กล่าวว่า แม่ถ้วนถือเป็นขวัญกำลังใจและจุดรวมจิตใจของพรรคประชาธิปัตย์
ทั้ง ส.ส. หัวคะแนน และผู้สนับสนุนใน จ.ตรัง
โดยเฉพาะในยุคแรกๆ ของการเลือกตั้ง
จะใช้บ้านพักบนถนนวิเศษกุลเป็นศูนย์บัญชาการ
ซึ่งแม่ถ้วนถือว่ามีบทบาทอย่างมากในการหาเสียงทางอ้อม
โดยเฉพาะการดูแลความเรียบร้อยต่างๆ และทำอาหารมาเลี้ยง
"บางครั้งถึงขั้นช่วยขึ้นเวทีปราศรัย
และเดินหาเสียงไปตามพื้นที่ต่างๆ ด้วย
นับเป็นกองหนุนสำคัญให้แก่นายชวนเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
รวมทั้งช่วยสอนหรือแนะนำผู้สมัคร ส.ส.แต่ละคน
แม้กระทั่งผมเอง เมื่อครั้งลงสมัคร ส.ส.ตรังสมัยแรก
เมื่อปี 2529 จนมีส่วนให้พรรคประชาธิปัตย์
ประสบความสำเร็จยาวนานมาถึงวันนี้"
ส.ส.ตรัง เขต 1 กล่าว
นพ.สุกิจ กล่าวอีกว่า ในยุคปี 2512
สมัยที่นายชวนลงสมัคร ส.ส.ครั้งแรก ตรงกับยุคที่จอมพลถนอม กิตติขจร
เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งใครๆ ก็รู้ดีว่าสถานการณ์บ้านเมืองขณะนั้นเป็นอย่างไร
และโอกาสที่ลงเล่นการเมืองแล้วประสบความสำเร็จทำได้ยากมาก
แต่แม่ถ้วนกลับมองเห็นถึงความสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
และมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป
ด้วยการสนับสนุนให้ลูกชายคนที่ 3 ของครอบครัวลงสมัคร ส.ส.
ในขณะที่แม่คนอื่นๆ จะสนับสนุนให้ลูกที่เรียนจบกฎหมาย
ไปเป็นผู้พิพากษามากกว่า ถึงขั้นที่แม่ถ้วน
ช่วยลูกชายหาเสียงด้วยตนเองอย่างเต็มที่
กระทั่งสามารถผลักดันให้นายชวนประสบความสำเร็จอย่างมาก
สามารถก้าวขึ้นไปเป็นนายกรัฐมนตรีได้ถึง 2 สมัย
นพ.สุกิจ กล่าวด้วยว่า ต้องยอมรับความจริงว่า
แม่ถ้วนเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้
นายชวนเติบโตทางการเมืองสูงสุดในระดับชาติ
และทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลหลายสมัย
จนกระทั่งในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา
หลังจากสถานการณ์การเมืองดีขึ้น
และตรงกับยุคที่นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรี
แม่ถ้วนจึงค่อยๆ ลดบทบาททางการเมืองลง
ไม่ถึงขั้นออกไปขึ้นเวทีปราศรัย
หรือเดินหาเสียงเหมือนก่อน
แต่จะใช้วิธีการอยู่ที่บ้านพัก เพื่อคอยต้อนรับแขก
"ทั้งนี้ใครๆ ก็ตามที่เดินทางมายังบ้านพักของท่านชวน
จะต้องเห็นภาพคุณแม่ถ้วนนั่งอยู่ที่เก้าอี้ตัวโปรดประจำตำแหน่ง
บริเวณข้างบ้าน เพื่อคอยต้อนรับและทักทายผู้คนที่เข้าไปเยือน
พร้อมเชื้อเชิญให้ไปทานโน่นทานนี่
หรือนั่งพักผ่อนตามจุดต่างๆ ในบ้านพัก
ถือเป็นภาพชินตาที่อยู่กับชาวตรังมาเป็นเวลายาวนาน
กระทั่งในช่วง 3 ปีหลังมานี้ คุณแม่ถ้วนเริ่มมีอาการป่วย
และมีอาการหลงๆ ลืมๆ บรรดาลูกๆ
จึงหารือกันและเห็นควรนำคุณแม่ขึ้นไปดูแลที่กรุงเทพฯ
เพื่อจะได้ความสะดวกในการไปพบหมอที่โรงพยาบาลศิริราช
หลังจากนั้นคุณแม่ถ้วนก็มีโอกาสกลับมายัง จ.ตรัง
แค่เพียงไม่กี่ครั้ง ต่อมาไปอยู่กับลูกสาวที่กรุงเทพฯ
นับแต่นั้นมาชาวตรังจึงไม่ได้เห็นภาพคุณแม่ถ้วน
ภายในบ้านพักอย่างที่เคยเป็น"
ส.ส.ตรัง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า
แม้วันนี้จะต้องสูญเสียแม่ถ้วนไป
แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังคงอยู่ต่อไปตราบนานเท่านาน
เพราะด้วยบารมีของนายชวน และบรรดา ส.ส.
รวมทั้งหัวคะแนน และผู้สนับสนุน
จะยังคงทำให้พรรคแข็งแกร่งต่อไป
การจากไปของแม่ถ้วนย่อมมีผลทางด้านจิตใจต่อบรรดา ส.ส. แกนนำ
หัวคะแนน หรือผู้สนับสนุนอยู่ไม่น้อย
โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับแม่ถ้วน
และมีความผูกพันทางการเมืองมาตั้งแต่สมัยยุคแรกๆ
แต่สุดท้ายแล้วทุกคนก็ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน
เพื่อสร้างพรรคประชาธิปัตย์ให้อยู่คู่กับ จ.ตรังต่อไป
ต่อมาเวลา 15.30 น. นายสุรพล วิชัยดิษฐ
และนายสุวิทย์ สุบงกฎ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
ได้เข้าพบนายกิจ หลีกภัย ที่บ้านพัก
เพื่อหารือถึงการเตรียมจัดงานศพแม่ถ้วน
นายสุรพล กล่าวว่า ขณะนี้จังหวัดได้
เตรียมการจัดงานศพแม่ถ้วนอย่างยิ่งใหญ่ให้สมเกียรติ
โดยสั่งการให้นายเนติวิทย์ ขาวดี
ผู้บังคับการกองร้อยอาสารักษาดินแดน จ.ตรัง ที่ 1
นำกำลังเจ้าหน้าที่ อส.เข้ามาอำนวยความสะดวก
ในการจัดเตรียมสถานที่ ขณะเดียวกันให้นายอำเภอ
ทุกอำเภอประสานไปยังเจ้าภาพ
ส่วนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตรัง
ทำหนังสือประสานขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
จากสำนักพระราชวัง
ซึ่งจะมีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 3 มีนาคม เวลา 14.00 น.
นอกจากนี้ทางจังหวัดยังแบ่งงานออกเป็น 5 ฝ่าย คือ
1.ฝ่ายต้อนรับ ซึ่งจังหวัดได้จัดเตรียมรถตู้ 3 คัน
เพื่อใช้สำหรับต้อนรับแขกผู้ใหญ่
2.ฝ่ายจองโรงแรม ซึ่งจะใช้โรงแรม 4 แห่งใน จ.ตรัง
ได้แก่ รร.ธรรมรินทร์ธนา รร.ธรรมรินทร์ รร.วัฒนาพาร์ค
และรร.เรือรัษฎา ไว้สำหรับแขกผู้ใหญ่ที่เดินทางมาร่วมงานศพ
3.ฝ่ายจัดทำพวงหรีด
4.ฝ่ายต้อนรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ
5.ฝ่ายบันทึกข้อมูล-ประชาสัมพันธ์
ซึ่งวันที่ 7 มีนาคม จังหวัดจะเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม
ประวัตินางถ้วน เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน
เกิดที่ จ.ตรัง เมื่อ พ.ศ.2455 ตอนเด็กๆ ไม่ได้เรียนหนังสือ
ช่วยพ่อแม่ทำมาหากินตลอด เช่น ทำกระเบื้องปูหลังคา
สวนยาง ค้าขายต่างๆ กระทั่งแต่งงานกับครูหนุ่มในหมู่บ้านคือ
ครูนิยม หลีกภัย มีลูก 9 คน เป็นชาย 6 หญิง 3
ได้แก่ 1.นายกิจ หลีกภัย 2.นายสวัสดิ์ หลีกภัย
3.นายชวน หลีกภัย 4.นายถาวร หลีกภัย
5.นายภิญโญ หลีกภัย (เสียชีวิตแล้ว)
6.น.ส.จงจิตต์ หลีกภัย 7.นายระลึก หลีกภัย
8.นางจงใจ พุทธสุวรรณ และ
9.นางจำเนียร ดุริยะประณีต
ไทยรัฐ
แม่ถ้วน หลีกภัย...ในความทรงจำของผู้มาเยี่ยมคารวะที่บ้านไม้
สองชั้นเลขที่ 183 ริมถนนวิเศษกุล จังหวัดตรัง
น่าจะคุ้นกับอัธยาศัยไมตรีที่ออกมาจากหัวใจ
แม่ถ้วนไม่เคยมีอาการ เบื่อหน่าย รำคาญใจ แต่ยังบอกว่าดีใจ
เพราะการเยี่ยมเยือนของทุกคน หมายถึงว่า
"ลูกชาย...ชวน หลีกภัย ไม่ได้เป็นคนชั่ว
เพราะถ้าชั่วคงไม่มีใครมาเยี่ยม
เขารู้จักนายชวน เขาถึงรู้จักแม่ด้วย"
ด้วยความผูกพันของแม่ลูกคู่นี้ แม่ถ้วนบอกว่า
เป็นธรรมดาที่แม่ต้องเป็นห่วงลูก ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดก็ติดตามข่าวทีวี
ยาม ที่ลูกชายมาเยี่ยมได้ใกล้ชิดกัน มาถึงก็จะมากอดแม่
บางครั้งก็ทักแม่ว่า เนื้อนิ่มไปแล้วนะ...แม้จะมีภาระมาก
แต่ถ้าได้ใกล้อกแม่แบบนี้
ลูกชายคนนี้มักจะอยู่ทานข้าวกับแม่
"นายชวนชอบทานทุกอย่างที่แม่ทำ
อาทิ แกงไตปลา น้ำพริกผักจิ้ม ลูกเนียงอ่อน...แกงส้ม"
นายชวน หลีกภัย ลูกชายคนนี้...เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี
คนจำนวนไม่น้อยคงอยากจะรู้ว่า แม่ถ้วน เลี้ยงลูกให้เป็นนายกฯได้อย่างไร?
"เลี้ยง ลูกไม่เหมือนคนอื่น" แม่ถ้วน ว่า "แต่จะใช้วิธีแซวลูก
ถ้าทำผิดอะไร เช่น นายชวนกลับบ้านช้าไม่ตรงเวลา
จะแซวว่า...ผู้พิพากษาไปทำอะไรอยู่ถึงเพิ่งกลับ"
แม่ถ้วนมองลูกๆเป็นเหมือนเพื่อน มีแล้วไม่เหงา
ส่วนการมีลูกเป็นนายกฯ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าดีใจ
เพราะนายกฯเป็นลูกของประชาชน
ฉะนั้น ถ้าประชาชนรักนายชวนก็เลือกกันเอง
แม่มีเพียงเสียงเดียวเท่านั้น...สำหรับแม่
แม่ถ้วนบอกว่า "ลูกจะเป็นอะไรก็ได้
เพียงแต่ขอให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์บริสุทธิ์ แม่ก็ภูมิใจแล้ว"
แม่ถ้วนย้ำอยู่เสมอ ว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น
จะต้องเป็นนายกรัฐมนตรีของคนทั้งประเทศ
ไม่ใช่เป็นเฉพาะนายกรัฐมนตรีของคนใต้เท่านั้น
แต่ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งของคนใต้
คนอีสาน คนเหนือ และคนทั่วประเทศ
"จะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ต่างๆทั่วทั้งประเทศ
จะมามุ่ง พัฒนาแต่ภาคใต้เพียงอย่างเดียวไม่ได้..."
เส้น ทางการเมืองนายชวน หลีกภัย แม้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
แต่แม่ถ้วนหลีกภัย คนนี้ ก็พยายามเป็นผู้เก็บกวาดขวากหนาม
จนทำให้ลูกชายได้เดินทางบนเส้นทางการเมืองอย่างมั่นคง
วัน วาน...วันที่แม่ถ้วน เป็นหัวคะแนนช่วยหาเสียง
มีผู้วิเคราะห์เอาไว้ว่า ด้วยความที่ท่านเป็นคนช่างเจรจา
มีอัธยาศัยดีกับทุกคน
คุณสมบัติสองข้อนี้เป็นพื้นฐานสำคัญให้สร้างฐานเสียงได้เป็นอย่างดี
แม่ ถ้วนมีพื้นฐานจากอาชีพแม่ค้าเร่ตระเวนขายของตามตลาดนัด
ซึ่งจะหมุนเวียนไปตามที่ต่างๆที่จัดนัดขึ้นเป็นประจำครั้งละ 2-3 วัน
...เมื่อรู้ว่าลูกค้าหรือคู่สนทนาที่พบคนใดมีบุตรชายวัยไล่เลี่ยกับ
นาย ชวน หรือเป็นนักเรียนร่วมโรงเรียนเดียวกัน
แม่ถ้วนก็จะเจรจา ขอให้เป็นเกลอกับลูกชาย...เกลอตลอดจนครอบครัว
"เวลาหาเสียงเกลอก็ช่วยหาเสียง รวมทั้งพวกแม่ๆและแฟนเกลอด้วย" แม่ถ้วน ว่า
ภาพ บรรยากาศบวกประโยคกินใจที่น่าจะยังฝังลึกในหัวใจชาวตรัง
"แม่ถ้วนขายของพลาง หาเสียงพลาง
ใครจะซื้อของแกจะบอกว่า ใส่เสียงมั่งนะลูกนะ...
มีตลาดนัดที่ไหนก็จะไปทุกนัด และจะขอเสียงทุกครั้ง
เวลาขายของ...ก็จะเอาใบปลิวมาบอกว่า ช่วยเลือกลูกชายสักเบอร์กัน"
สิ่ง พิมพ์ที่ใช้มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งโปสเตอร์แผ่นใหญ่
ปฏิทินบัตรใบเล็กๆ แม่ถ้วนเผยเคล็ดลับเอาไว้ว่า
"สมัยที่นายชวนสมัครได้เบอร์ 10 ก็พิมพ์
บัตรแล้วขึ้นรถไฟไปแจกให้คนเขาแล้วบอกว่าใส่ใครก็ได้
แต่ถ้าเบอร์เหลือให้ใส่เบอร์ 10 ก็แล้วกัน...
แล้วบอกว่า ลองพิจารณาดูว่าจะเลือกลูกคนค้าไม้เถื่อน
หรือลูกแม่ค้าขายพุงปลา"
ที่ นั่งขายของที่ตลาดนัด เขาให้แขวนป้ายได้...
แต่หน้าหาเสียงแม่ถ้วนปิดเบอร์ 10 เต็มไปหมด
เข่งก็ติด...แล้วก็กองใบปลิวเอาไว้ข้างๆ
คนมาถึงดูๆ แม่ถ้วนก็บอกว่า... เบอร์ 10
ใครจะเอาเขาก็หยิบเอาไป
เทคนิคการหา เสียงแบบพิชิตใจชาวบ้านของแม่ถ้วน
ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะในยุคนั้น แม่ถ้วนยังแจก...
แถมพุงปลาที่ขึ้นชื่อลือชาควบคู่กันไปด้วย
"เวลาใคร มาซื้อพุงปลา จะตักให้เขาแล้วยกถุงให้ดูว่า...
ซื้อสองบาท สามบาท ได้แค่นี้ แล้วจะแถมให้อีกช้อนหนึ่งบอกว่า...
นี่ของนายชวนนะ นายชวนเขาบอกให้แถม
แล้วก็บอกว่าอย่าลืมไปเลือกนายชวนนะ...
จะย้ำอยู่เสมอว่า อย่าลืมไปเลือกนายชวนนะ"
เคล็ดวิชาการเมืองแม่ค้าขายพุงปลายังแผ่ ขยายไปถึงการขายของประเภทอื่น
เพราะแม่ถ้วนจะบอกลูกค้าขาประจำอีกว่า
ของที่ให้ราคาที่ลดนั้นเป็นของนายชวน
เช่น ที่รับไปนั้นเป็นไม้ขีดไฟของลูกชวนนะ
และไม่เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้นที่ ต้องจดจำ
กับเด็กๆก็ยังมีของแถมให้ประทับใจ
โดยเฉพาะ ลูกอม...ผลการแจกลูกอมก็สะเทือนย้อนไปถึงผู้ใหญ่
เด็กๆจะรบเร้า... "พ่อๆใส่นายชวน"
ชั้นเชิงการเมืองหัวคะแนนแม่ถ้วนถือว่าอยู่ชั้นแนว หน้า
ไม่พลาดแน่นอนกับการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ชาวบ้านบอกว่า "งานศพ งานแต่งงาน
งานกุศลแม่ถ้วนมาทั้งนั้น นายกฯชวนไม่ไป...แกก็ไป"
ถ้าจะ เป็นตัวจริงบนเส้นทางนี้ ต้องไปดูบทพิสูจน์บนเวทีปราศรัย
ที่ถือว่าเป็นโจทย์ตัดสิน ครั้งหนึ่งแม่ถ้วนมีโอกาสขึ้นเวทีปราศรัย
วันนั้นเขาถามว่า นายชวนวันนี้นัดแล้วทำไม?ไม่มา นายชวนโกหก...
แม่ ถ้วนขึ้นเวทีปราศรัยชี้แจงแก้ข่าว บอกว่า
ยายไม่มีเบอร์...อย่าอิจฉา
ไม่มีใครรู้เรื่องนายชวนดีเท่าฉัน
"ชวนไปหาเสียงให้รุ่นน้องที่อีสาน หนนี้
ชวนเป็นหัวหน้าพรรค ถ้าได้เสียงข้างมาก
ฉันสัญญาว่าพี่น้องไม่ต้องกลัว
ถ้าชวนได้เป็นรัฐบาล...อะไรที่ไม่มีก็ต้องมี
...ชวน เป็นลูกของแม่คนนี้ พ่อนั้นชื่อนิยม
เป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดควนวิเศษ ไม่ใช่ใหญ่อะไรนักหนา
แต่ว่าพอปกครองลูกได้ ถึงจะชั่วจะดี ชวนก็เป็นลูกของครู
ฉันคิดว่า ลูกครูนี่คงไม่ชั่วนัก
เพราะพ่อเขาสอนคนอื่นได้ ก็ต้องสอนลูกได้เหมือนกัน"
พ่อแม่พี่น้อง ถ้าฉันขายพุงปลาแล้วผิด...พี่น้องก็อย่าเลือกลูกฉัน
ถ้าฉันขายพุงปลาแล้วผิดกฎหมาย เป็นคนไม่ถูกต้อง
พี่น้องอย่าใส่เสียงให้นายชวน
แล้วฉันอยากรู้ว่าคนขายพุงปลากับคนขายไม้เถื่อน...ใครผิดกว่ากัน
"ถ้าคนขายไม้เถื่อนถูกต้อง ก็ให้ใส่เสียงให้ฝ่ายโน้น ฝ่ายนี้อย่าใ่ส่"
แม่ ถ้วนเสมือนหนึ่งว่า จะเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดตรังไปกลายๆ
เพียงแต่ว่าแม่ถ้วนไม่มีเบอร์ เพราะภารกิจในพื้นที่ถือว่ามีแทบจะทุกวัน
...และวันละหลายเวลา ไม่ว่าจะคอยต้อนรับ รับรอง ไปถึงรับฟังปัญหาประชาชน
เรื่องไหนทำได้ เอง ก็ดำเนินการไป...บางเรื่องก็รับไว้แล้วส่งต่อให้ลูกชาย
ผู้แทนที่มีเบอร์...พิสูจน์ได้จากคำบอกเล่าจากชาวบ้านที่ว่า
"นายชวนเป็น ส.ส. ไม่ใช่แม่ถ้วน...แต่แกก็เป็นคนรับเรื่อง
เวลามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับสิ่งไม่ดี
จะบอกนายชวน ถ้าไม่อยู่ก็จะฝากแม่ถ้วนไว้"
แม่ถ้วนเคยพูดถึงผู้หญิงกับการเมือง ว่า...
"คนหญิงไม่รู้การเมืองใช้ ไม่ได้"...
"คนหญิงควรรู้การเมือง ยังต่อไปนายกฯหญิง"...
"ผู้หญิงสำคัญกว่าอะไรทั้งหมด
ครอบครัวทุกข์สุข ความเจ็บใจทั้งหลายอยู่ที่ผู้หญิง"
"ผู้หญิงควรยุ่งการเมือง เวลาเลือกตั้ง
ไปใส่เสียงเป็นคนหรือเป็นพรรค...
เวลานี้เขาใส่เป็นพรรคกัน ถ้ารักพรรคไหนใส่ทั้งพรรค"...
"ถ้าได้คนที่เราใส่ไปในพรรคนี้ คนดีมีประโยชน์ก็ใส่
ถ้าไม่มีประโยชน์แล้วก็อย่าใส่...เราใส่พรรคอื่น
เราต้องใส่เป็นพรรค เลือกเป็นพรรค...
จะได้เป็นรัฐบาล ถ้าใส่เป็นพรรคผู้แทนไม่ต้องเถียงกัน ลูกหลานแม่ไม่ดี"
"ผู้ หญิงต้องรับรู้หลายสิ่งในการเมือง คนพูดว่าอะไรจะได้จับผิดถูก
ต้องโต้ตอบเขามั่ง ให้เขารู้มั่ง...เราไม่รู้อะไรก็เป็นผู้หญิงงมงาย"...
"ผู้หญิงที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ตัวเราต้องบังเกิดขึ้นมาเอง
ไม่ต้องอ่านหนังสือ เราคิดไปหนังสือมาตรงกันเรา
เราคิดจริงใจเรา หลักของคนไม่คิดไม่เอาไหน...
ไม่สนใจ สนใจแล้วรู้หมด"
ในมุมความเป็น แม่...วันแม่แห่งชาติ ปี 2543
แม่ถ้วนเปิดใจเล่าถึงสมัยลูกชายเป็นเด็กตัวเล็กๆ บอกว่า...
สมัยเด็กๆจะจำวันแม่ได้ดี
กลับมาจากโรงเรียนจะวิ่งมาหาแม่ กอดแม่ หอมแม่
แล้วบอกแม่เสมอว่า วันนี้จะไม่ไปไหน
จะให้พรแม่...
การให้พร ของเด็กชายชวน หลีกภัย ก็คือเข้าไปหนุนตักแม่
ฟังแม่ร้องเพลงกล่อมขวัญเด็ก...เมื่อแม่เช็ดเหงื่อให้
กอด ลูบหัว...นายชวนมักจะหลับ
จนแม่ต้องบอกให้ลุกขึ้นไปทำการบ้าน หรือไปเล่น...
"แม่ ถ้วน หลีกภัย" แม่นายชวน หลีกภัย...
แม้วันนี้ท่านจะจากไปแล้ว ด้วยอายุ 99 ปี
แต่ความเป็นแม่...แม่ที่เป็นนักสู้...
สู้เพื่อลูกมาทั้งชีวิต
ยังคงเป็นความทรงจำที่ติดตาตรึงใจตราบนานเท่านาน.
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search