Custom Search

May 31, 2009

ตะลึงคนไทยใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยวันละ 1,800 ตัน




คมชัดลึก : ตะลึงคนไทยใช้ถุงพลาสติก
เฉลี่ยวันละ 1,800 ตัน ทส.เพิ่งตื่นรณรงค์ 45 วัน
ตั้งเป้าลดได้ 10% พร้อมงัดมาตรการทางภาษี

และกฎหมายช่วยหากไม่ได้ผล นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รมว.ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
พร้อมด้วยนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดทส.
และผู้แทนจากภาคเอกชน 14 แห่ง

นำโดยนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว
รองนายก
สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย
เข้าร่วมโครงการ“45 วันรวมพลังลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน
โดยโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 5 มิถุนายน 52
ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
รมว.ทส.
กล่าวว่าจากการสำรวจปริมาณขยะทั่วประเทศ
มีมากกว่า 40,000 ตันต่อวัน
เฉพาะในกทม.มีขยะที่เก็บได้ 8,500 ตันต่อวัน
เป็นขยะจากถุงพลาสติก 1,800 ตันต่อวัน
ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บขนถึง 1.78 ล้านบาทต่อวัน
ซึ่งหากสามารถลดการใช้ถุงพลาสติก
จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บขน 650 ล้านบาทต่อ
ปี
และลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จึงเลือกรณรงค์การลดขยะจากถุงพลาสติกเป็นอันดับแรก
เนื่องจากเป็นขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้เพราะไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ
อีกทั้งสามารถดำเนินการได้ทันที

ส่วนการใช้มาตรการทางกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกนั้น
นายสุวิทย์กล่าวว่า คงต้องรอดูว่าภายในระยะเวลา 45 วัน
คนไทยจะมีส่วนร่วมในการลดใช้ถุงพลาสติกได้มากน้อยแค่ไหน

ทส.ตั้งเป้าว่าควรจะลดได้ราว 10% หรือประมาณ 15 ตันต่อวัน
จากปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งออกมา
แต่ในอนาคตอาจจะใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาดำเนินการ
เพราะในช่วงปี 2551 หลายประเทศทั่วโลกมีมาตรการ
จำกัดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจังแล้ว
บางประเทศถึงขั้นห้ามใช้ถุงพลาสติก

“ห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อจะมีการปรับวิธีการใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลง
เช่น เดิมซื้อสินค้า 10 ชิ้นอาจต้องใส่ถุงพลาสติก 10 ถุง

แต่นับแต่วันที่ 22 เมษายน อาจใส่ถุงให้แค่ 2-3 ใบ
บางแห่งเริ่มใช้ถุงผ้าที่มีหมายเลขสมาชิกของผู้ซื้ออยู่แล้ว
เมื่อนำไปใส่ของก็จะลดราคาสินค้า”
นายสุวิทย์ กล่าว

นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่ากำลังทดลองใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ
ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แม้ว่าขณะนี้จะยังมีราคาแพงกว่า
ในอนาคตอาจจะใช้มาตรการทางภาษีมาช่วยเหลือ

เพื่อให้ถุงพลาสติกชีวภาพมีราคาถูกลง
หรืออาจจะรีไซเคิลถุงกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่

สำหรับ 14 ภาคีที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวประกอบด้วย 22 ศูนย์การค้า
ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ
อาทิ ฟู้ดแลนด์ซูเปอร์มาร์เก็ต วิลล่ามาร์เก็ต เดอะมอลล์ จัสโก้ สยามแมคโคร
สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ คาร์ฟูร์ เซเว่น อีเลฟเว่น
โรบินสัน บิ๊กซี เป็นต้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลาสติกและอุตสาหกรรมบดย่อย

พลาสติก

 :