Custom Search

Sep 25, 2008

ขงเบ้ง “จิ๋ว ลงจากหลังเสือ


Business Thai
[12-12-2003]
http://www.businessthai.co.th/content.php?data=406708_VIP%20Varieties

บรรดานายทหารที่ผันตัวเองมาเล่นการเมือง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “บิ๊กจิ๋ว”
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
เจ้าของฉายา “ขงเบ้ง”
เป็นนายทหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
บนเวทีการเมืองยุค ปัจจุบัน
พล.อ.ชวลิต
เป็นนักเรียนนายร้อยที่เรียนดี
ด้วยความเป็นคงแก่เรียน
จึงถูกบรรจุอยู่ในเหล่าสื่อสาร
ไม่ใช่นายทหารที่คุมกำลังที่มักจะก้าวถึงจุดสูงสุด

ของการเป็นข้าราชการทหาร
แต่ พล.อ.ชวลิต เป็นคนที่สนใจการเมือง
ศึกษาปรัชญาการเมืองทุกสำนักอย่างลึกซึ้ง
เป็นจุดพลิกผันให้เขาก้าวเข้ามาสู่แวดวงการเมือง
ชื่อ “ชวลิต” เป็นที่รู้จักของสาธารณชน
เมื่อครั้ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ก้าวจากผู้บัญชาการทหารบก มาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนโยบาย 66/23
ให้โอกาสสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

เข้ามาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย เป็น
การยุติสงครามกลางเมืองที่สู้รบมาตั้งแต่ ปี 2507
อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ผลงานดังกล่าว ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต
ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการทหารบกในที่สุด
และเมื่อพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก เกษียณ อายุราชการ
พล.อ.ชวลิต
จึงนั่งในตำแหน่งรักษาการ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง
8 ปี ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพล.อ.เปรม
จะเรียกว่า พล.อ.ชวลิตเป็นขุนพลผู้ค้ำบัลลังค์ก็ไม่ผิด
โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาลของพล.อ.เปรม
จะมีเงาร่างของ พล.อ.ชวลิต เป็นผู้ล็อบบี้พรรคการเมืองต่างๆ

และประสบความสำเร็จทุกครั้งจนได้รับการขนานนามว่า เป็น “ขงเบ้ง”
หมดยุคพล.อ.เปรม ถึงยุคพล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ชวลิต
ถูกวางตัวให้เป็นทายาททางการเมือง
หากพล.อ.ชาติชาย ก้าวลงจากการเมือง
พล.อ.ชวลิต
ได้ลาออกราชการด้วยวัยเพียง 55 ปี
เพื่อเข้าสู่เวทีการเมือง
โดยรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ในรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย
แต่ถูกกลเกมในพรรคชาติไทย เล่นงาน
จนเจ้าตัวต้องลาออกไปตั้งพรรคความหวังใหม่
มุ่งมั่นเป็นนายกรัฐมนตรีกลายเป็นตำนานการเดินทาง 200,000 ไมล์

ในเวลาต่อมาพล.อ.ชวลิต ลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2535 ที่จ.นนทบุรี
ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแบบต้องลุ้นจนนาทีสุดท้าย
ต่อมาจึงย้ายไปลงสมัครที่จังหวัดนครพนมพื้นที่ของบิดาในอดีต
จนกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญนำพรรคความหวังใหม่
ประสบความสำเร็จในการยึดครองพื้นที่ภาคอีสานได้สำเร็จ
แม้ว่า จะไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ตาม
พล.อ.ชวลิต
ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งถึง 4 ครั้ง พรรคความหวังใหม่
จึงมีเสียงข้างมาก ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้สำเร็จ

เป็นนายทหารคนแรกที่ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายบริหาร
โดยผ่านการเลือกตั้ง
การก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี กลายเป็น บาดแผลสำคัญที่ติดตัว
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
มาตลอด เพราะเป็นคนเปิดลอยตัวค่าเงินบาท
จนคนไทยจำนวนมากที่กู้เงินมาจากต่างประเทศ มีหนี้สินเพิ่มอีกเท่าตัว

ต้องล้มละลายครึ่งค่อนประเทศ
ที่คนส่วนใหญ่เจ็บใจ เพราะ พล.อ.ชวลิต
ออกโทรทัศน์ยืนยันหนักแน่นว่า
ไม่ลดค่าเงินบาท แต่ไม่ถึง 2 วัน
ก็ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จนตั้งตัวกันไม่ได้
การลดค่าเงินบาทเป็นมาจากการธนาคารแห่งประเทศไทย
นำทุนสำรองไปปกป้องค่าเงินบาท จนหมดหน้าตัก
จำเป็นที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ต้องนำประเทศ เข้าสู่
โปรแกรมของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
เป็นวิกฤติการทางเศรษฐกิจที่รุนแรง
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาวิกฤติการดังกล่าว

กดดันให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เพื่อเปิดโอกาสให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาในเวลานั้น
เป็นนายกรัฐมนตรี แต่สุดท้ายถูกเกมของพรรคประชาธิปัตย์
ดึงส.ส.จากแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเดิม
มาจัดตั้งรัฐบาลแทน นายชวน หลีกภัย
ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นคำรบสอง ว่ากันว่า พล.อ.ชวลิต

เหมาะที่จะนั่งเป็นที่ปรึกษามากกว่ามานั่งเป็นผู้บัญชาการเกมเสียเอง
การตัดสินใจของพล.อ.ชวลิต ส่งผลให้ พรรความหวังใหม่
ตกอยู่ในภาวะระส่ำระสายอย่างหนัก แกนนำคนสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายเสนาะ เทียนทอง
ได้นำพาส.ส.ไปอยู่ กับพรรคไทยรักไทย
ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ที่กำลังก่อตั้ง
ใขณะที่พล.อ.ชวลิต นำพรรคความหวังใหม่
ลงสู่สนามการเลือกตั้งเป็น ครั้งสุดท้าย
มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นขุนพลคู่ใจ
หลังการเลือกตั้ง พล.อ.ชวลิต
ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ยอมลดตัวจากที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
มาเป็นรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ต่อมาก็ได้ยุบพรรคความหวังใหม่
รวบกับพรรคไทยรักไทยในที่สุด
เป็นการปิดฉากพรรคความหวังใหม่ที่ตั้งมากับมือ
เพื่อหาทางลงการเมืองด้วยความสง่างาม
ต่อมาพล.อ.ชวลิต ถูกปรับออกจาก
ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เหลือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1
เพียงตำแหน่งเดียว
ถูกมอบหมายงานสำคัญคือ ปราบปราม ยาเสพติด
และปราบปรามผู้มีอิทธิพล

เป็นจนประสบความสำเร็จ
เมื่อไม่กี่วันก่อน พล.อ.ชวลิต
ประกาศลาจากการเมืองอย่างเด็ดขาด
ภายหลังสิ้นสุดรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้นปี 2548
แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พยายามดึงให้อยู่ ช่วยงานต่อไป

เพราะเห็นว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ
พล.อ.ชวลิต
วางแผนไว้ว่าหลังจากที่ตัวเองปลดระวางจากการเมือง
จะผลักดันให้คุณหญิงพันธ์เครือ ยงใจยุทธ
ภริยาที่เพิ่งจบปริญญาตรี
รัฐศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย รามคำแหง
และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ลงสมัครเป็น ส.ว.นครพนม

แม้หลายคนไม่ชมชอบ แต่หลายคนก็ชมชอบพล.อ.ชวลิต
โดยเฉพาะความเป็นสุภาพบุรุษ จะเห็นได้ว่า
ตลอดระยะเวลาการเล่นการเมือง พล.อ.ชวลิต ไม่เคยฟ้องร้องใคร
ไม่เคยให้ร้ายใคร แม้ว่า ตัวเองจะถูกถล่มอย่างหนักก็ตาม
ที่น่ายกย่องมากที่สุด คือ สปิริตของนักประชาธิปไตย แม้ว่า
ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ พล.อ.ชวลิต

ก็ยอมก้าวเดินตามวิถีทางประชาธิปไตยที่หนักและเหนื่อย
ไม่ยอมเดิน
ทางลัดด้วยการใช้กำลั
แม้ว่าจะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ก็ตาม
หลายคนชมชอบ พล.อ.ชวลิต
ที่รับฟังความเห็นของบุคคลอื่น
และยอมเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ เมื่อถูกคัดค้าน
แต่ข้อดีนี้ อีกฝ่ายกลับมองว่า เป็นข้อเสียเหมือนคนโลเล
พล.อ.ชวลิต
ยังมีฉายาว่า จิ๋วหวานเจี๊ยบ เพราะปากหวาน

และรับปากกับคนทั่วไปหมดด้วยความเกรงใจ

แต่สุดท้าย ก็ไม่ได้ตามที่รับปาก

บทบาทสุดท้ายของ พล.อ.ชวลิต
คือ การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล

หากทำสำเร็จ
พล.อ.ชวลิต ก็จะก้าวลงจากหลังเสือ
ด้วยความสง่างามที่น้อยคนจะทำได้

2 ตุลาคม 2552
พล.ท.พิรัช สวามิวัศดุ์ นายทหารคนสนิท
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ เผยว่า
ในเวลา 09.00น. วันที่ 2 ต.ค. พล.อ.ชวลิต
กำหนดเดินทางไปพรรคเพื่อไทย ตามคำเชิญ
เพื่อรับตำแหน่งประธานพรรคเพื่อไทย
ช่วยบริหารพรรค รวมทั้งแก้ปัญหาวิกฤติบ้านเมือง
โดยตั้งใจขออุทิศตัวเองในการรับใช้ชาติบ้านเมืองป็นครั้งสุดท้าย

ชื่อ -สกุล : พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

ชื่อเล่น - นามแฝง/ฉายา : ตึ๋ง/บิ๊กจิ๋ว

วันเกิด : 15 พฤษภาคม 2475

ครอบครัว : เป็นบุตร ของ ร.อ.ชั้น และ
นางสุรีย์ศรี (เดิมชื่อ ละมุน ) ยงใจยุทธ
มีพี่สาวร่วมมารดาเดียวกัน 1 คน ชื่อ สุมน สมสาร
และน้องชายต่างมารดา 1 คน ชื่อ ธรรมนูญ ยงใจยุทธ
สมรส กับ คุณหญิงพันธุ์เครือ นามสกุลเดิมของคู่สมรส ลิมปิภมร
มีบุตร 3 คน คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ (ต้อย)
นางอรพินท์ นววงศ์ (ติ๋ม)
และนางสาวศรีสุภางค์ ยงใจยุทธ (แต๋ม)

การศึกษา :

28 ตุลาคม 2532 ประกาศเกียรติคุณ
และปริญญาเอก นิติศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

4 พฤศจิกายน 2531 ประกาศเกียรติคุณและปริญญาเอก วิทยาศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์
จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

23 กรกฎาคม 2530 ประกาศเกียรติคุณและปริญญาเอก ศิลปศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

27 มีนาคม 2530 ประกาศเกียรติคุณและปริญญาเอก นิติศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย เปปเปอร์ไดน์ สหรัฐอเมริกา

ปี 2515 หลักสูตรชั้น NOVICE ได้รับเครื่องหมาย
แสดงความสามารถในการกระโดดร่ม จาก กองทัพบก สหรัฐอเมริกา

ปี 2512 หลักสูตรกระโดดร่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ รุ่นที่ 2 จากกองทัพบกไทย

ปี 2507 หลักสูตรเสนาธิการกิจ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศไทย
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่ฟอร์ด ลีเวินเวิทร์ สหรัฐฯ

ปี 2505 หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนการสื่อสาร ประเทศไทย

ปี 2504 หลักสูตรฝึกงานการประกอบและซ่อมเครื่องมือสื่อสาร
กองทัพน้อยที่ 9 เกาะริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น

ปี 2502 หลักสูตรการซ่อมเครื่องไมโครเวฟ
โรงเรียนสื่อสารกองทัพบก ฟอร์ตบอนมัธ สหรัฐอเมริกา

ปี 2496 ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประเทศไทย

ปี 2492 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
(จปร.1/นตน.08 : หมายเลขประจำตัว 5565)

ปี 2492 มัธยมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ปี 2492 มัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์

ปี 2491 มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นลมหวล

การทำงาน/ตำแหน่งหน้าที่ :

ตำแหน่งทางทหาร :

1 ตุลาคม 2530 รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
คนที่ 12 (รักษาราชการ) (1 ต.ค.2530-28 มี.ค.2533)

27 พฤษภาคม 2529 ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 24
( 27 พ.ค.2529-29 มี.ค.2533 )

1 ตุลาคม 2528 เสนาธิการทหารบก

1 ตุลาคม 2526 รองเสนาธิการทหารบก

1 ตุลาคม 2525 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ

2524 เจ้ากรมยุทธการทหารบก และหัวหน้าฝ่ายยุทธการ
กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบแห่งชาติ
1 ตุลาคม 2523 เจ้ากรมยุทธการทหารบก

1 ตุลาคม 2522 เสนาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

4 ตุลาคม 2522 นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) และประจำกองบัญชาการทหารบก

9 กรกฎาคม 2514 หัวหน้ากอง กรมยุทธการทหารบก

2511 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม กรมยุทธการทหารบก

2510 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึกกรมทหารอาสาสมัคร

2503 ผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสารเขตหลัง กรมการทหารสื่อสาร

- อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

25 มกราคม 2497 ว่าที่ร้อยตรี ประจำกองกลาง กรมทหารสื่อสาร

ตำแหน่งทางการเมือง :

24 กันยายน 2551 รองนายกรัฐมนตรี (ลาออก 7 ต.ค.2551)

3 ตุลาคม 2545 รองนายกรัฐมนตรี

14 กรกฎาคม 2545 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
(ลาออก 1 มี.ค.2548)

17 กุมภาพันธ์ 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(พ้น 3 ต.ค.2545)

17 กุมภาพันธ์ 2544 รองนายกรัฐมนตรี

6 มกราคม 2544 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคความหวังใหม่
(สมัยที่ 5)

16 พฤษภาคม 2543 หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุพรรค 28 มี.ค.2545)

12 พฤษภาคม 2542 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(ลาออก 30 เม.ย.2543)

2 กันยายน 2541 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(ลาออก 27 เม.ย.2542)

2 กันยายน 2541 หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
(ลาออก 19 เม.ย.2542)

26 พฤศจิกายน 2540 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(ลาออก 2 มิ.ย.2541)

25 พฤศจิกายน 2539 นายกรัฐมนตรี คนที่ 22
(ลาออก 6 พ.ย.2540)

29 พฤศจิกายน 2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

17 พฤศจิกายน 2539 ส.ส. นครพนม
เขต 1 พรรคความหวังใหม่ (สมัยที่ 4)

18 กรกฎาคม 2538 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(ยุบสภา 27 ก.ย.2539)

18 กรกฎาคม 2538 รองนายกรัฐมนตรี
(ยุบสภา 27 ก.ย.2539)

2 กรกฎาคม 2538 ส.ส. นครพนม เขต 1
พรรคความหวังใหม่ (สมัยที่ 3) (ยุบสภา 27 ก.ย.2539)

14 กรกฎาคม 2537 รองนายกรัฐมนตรี
(ลาออก 25 ต.ค.2537)

23 กันยายน 2536 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
คนที่ 1 (23 ก.ย.2536-7 ม.ค.2537)

20 พฤศจิกายน 2535 ประธานกรรมการพิสูจน์
และสืบหาบุคคลที่สูญหายจากเหตุชุมนุมประท้วง

29 กันยายน 2535 ประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ

29 กันยายน 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ลาออก 11 ธ.ค. 2537)

13 กันยายน 2535 ส.ส. นนทบุรี เขต 1
พรรคความหวังใหม่ (สมัยที่ 2) (ยุบสภา 19 พ.ค. 2538)

23 พฤษภาคม 2535 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

22 มีนาคม 2535 ส.ส. นนทบุรี เขต 1
พรรคความหวังใหม่ (สมัยแรก)

4 เมษายน 2534 หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
(ลาออก 2 มิ.ย. 2541)

30 มีนาคม 2533 รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ลาออก)

22 เมษายน 2530 สมาชิกวุฒิสภา (ลาออก 31 ส.ค. 2533)

2526 สมาชิกวุฒิสภา

24 เมษายน 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

22 เมษายน 2524 สมาชิกวุฒิสภา

ราชการพิเศษ :

มกราคม 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์
โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษา ทหารเรือ ,
ประจำกองบัญชาการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ นาวิกโยธิน ,
ประจำกรม นักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
และประจำกองพันอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์ กรมอากาศโยธิน

ธันวาคม 2530 นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน

เมษายน 2529 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์,
ประจำกรมทหารราบ ที่ 11 รักษาพระองค์ ,
ประจำกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

มกราคม 2529 ตุลาการศาลทหารสูงสุด

ตุลาคม 2526 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1
มหาดเล็กรักษาพระองค์ และประจำกรมทหารม้า ที่ 4 รักษาพระองค์

กันยายน 2526 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์

เมษายน 2526 ราชองครักษ์เวรพิเศษ

มีนาคม 2526 ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธการกองทัพบก
และหัวหน้าฝ่ายยุทธการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

2524 ประธานกรรมการ คณะกรรมการศึกษา
เรื่องพลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พฤษภาคม

2524 ราชองครักษ์เวร

2512-2515 ราชการพิเศษปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

2510 ราชการสงครามเวียดนาม

2508-2509 ราชการพิเศษ
ในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์

2494 ราชการพิเศษกรณีปราบจราจล

ตำแหน่งอื่นๆ :

27 มิถุนายน 2549 ประธานที่ปรึกษา
ศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ

15 มีนาคม 2549 นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม

27 ธันวาคม 2548 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวย
การต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ

27 ธันวาคม 2548 ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ด้านนโยบายขจัดความยากจน

17 กุมภาพันธ์ 2544 ประธานกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

- ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ

17 กุมภาพันธ์ 2544 ประธานกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) (ลาออก 19 มี.ค.2545)

9 มกราคม 2540 ประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)