Custom Search

Apr 11, 2008

อานันท์ ปันยารชุน : ANANDP.IN.TH


http://www.anandp.in.th/

"คุณอานันท์ ปัณยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นบุคคลต้นแบบในการทำงาน เพราะ คุณอานันท์ ปัณยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ซื่อตรง คิด พูดตรงๆ เพื่อให้การดำเนินงานในเรื่องบางอย่างสามารถจบลงได้"
นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คนของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) และ คุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร)

นายอานันท์สมรสกับหม่อมราชวงศ์สดศรี จักรพันธุ์ มีธิดา 2 คนคือ นางนันดา ไกรฤกษ์ และนางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์นายอานันท์ ปันยารชุน เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมที่กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายที่ดัลลิช คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ปริญญาตรี(เกียรตินิยม) สาขากฎหมาย
หลังจบการศึกษา นายอานันท์เข้ารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศแคนาดา ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ

ในปี พ.ศ. 2518 นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เดินทางไปเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2519 นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนจะถูกสั่งพักราชการในปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากถูกกล่าวหาโดยรัฐบาลขวาจัดของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ว่ามีแนวคิดฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ จากนั้นถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก่อนจะลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2522
นายอานันท์ หันมาทำงานด้านธุรกิจ ร่วมงานกับกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จนกระทั่งเป็นประธานกรรมกลุ่มบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2534 และดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


ในวันที่ 2 มีนาคม 2534 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยลำดับที่ 18 รัฐบาลซึ่งมี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างผลงานที่สำคัญไว้หลายประการ
คือ การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การปรับปรุงประสิทธิภาพ
ระบบข้าราชการ การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การส่งเสริมตลาดทุน
การส่งเสริมการแข่งขันโดย เสรีในอุตสาหกรรมนโยบายการค้าเสรีภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า การปรับปรุง
การสรรพสามิตให้สอดคล้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น
การเป็นเจ้าภาพการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก
และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้ง 46 ประจำปี 2534
การพัฒนาชนบท การพัฒนาการเกษตรและการปฏิรูปที่ดิน
การเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม
การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 การดำเนินการขยายโอกาสทางการศึกษา
การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว
การแยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
การสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535
โดยได้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น

นายอานันท์ ปันยารชุน พันจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 และต่อจากนั้นได้รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจวบจนกระทั่งพลเอก สุจินดา คราประยูร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เริ่มปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2535

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศ จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองและบริหารราชการมาจนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศในวันที่ 13 กันยายน 2535 และพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2535 เนื่องจากมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 23 กันยายน 2535

หลังจากนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้หวนกลับคืนสู่ภาคธุรกิจอีกครั้ง ในด้านการปฏิรูปการเมืองนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการรณรงค์ส่งเสริมประชาธิปไตยและการปราบปรามการคอร์รัปชั่นมาอย่างต่อเนื่องทำให้ท่านได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขารัฐบริการ จากมูลนิธิรางวัลรามอนแม็กไซไซ และยังได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปี ประจำปี 2540" อีกด้วย



คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง
1.http://www.youtube.com/watch?v=a5eUmS0DAPQ&feature=related
2. http://www.youtube.com/watch?v=g7dvNmyBt4g&feature=related
3. http://www.youtube.com/watch?v=TbRUP7Sk2ns&NR=1
4. http://www.youtube.com/watch?v=rAtB4b5kiH8&feature=related
5. http://www.youtube.com/watch?v=fspIb0jlqSM&feature=related
6. http://www.youtube.com/watch?v=1eY1lpH5eZY&NR=1





  • http://teetwo.blogspot.com/2012/04/blog-post_3799.html