Custom Search

Feb 25, 2008

รักอย่างไร ไม่ให้ใจเป็นทุกข์

พระยุทธพล ชิตงฺกโร วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน กรุงเทพฯ
มติชน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551


เมื่อมนุษย์เติบโตและพัฒนาการจนย่าง

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เป็นวัยรุ่นวัยหนุ่มสาว
ความจริงประการหนึ่งซึ่งปรากฏให้เห็นได้
ก็คือความต้องการทางด้านคู่ครอง
หรือความสนใจต่อเพศตรงข้ามก็จะเริ่มปรากฏขึ้น
อันจะนำไปสู่พฤติกรรมในการแสดงออก
เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม
ตามที่หัวใจผู้เป็นเจ้าของเรียกร้องและปรารถนา
ซึ่งในการนี้บรรดาท่านผู้ปกครองของเด็ก
ที่เริ่มเข้าสู่วัยนี้ก็มักจะเริ่มกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรม
บุตรหลานของตนเองที่เริ่มเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
ด้วยเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อ
การศึกษาเล่าเรียนของบุตรหลานของตนเอง
ที่เริ่มมีพฤติกรรมดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันแน่ชัดแล้วว่า


หากภายในครอบครัวผู้ปกครองตลอดจนญาติ
ผู้อยู่ใกล้ชิดให้ความรักความเอาใจใส่ดูแล
อย่างเพียงพอและทั่วถึง ก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นไปในทางที่ดีได้ไม่ยากนักกล่าวคือ
ถ้าเด็กในวัยนี้ได้รับความรักและความอบอุ่น
จากบุคคลภายในครอบครัวอย่างเพียงพอ
ก็อาจเป็นการยากที่เด็กจะไปเสาะแสวงหา
ความรักความอบอุ่นจากเพื่อนจนนำไปสู่ความรัก
เพราะความใกล้ชิดกับเพื่อนต่างเพศได้
ในที่สุดเพราะหากสังเกตดูเราจะพบได้ว่า
มีน้อยคู่ทีเดียวที่คู่ครองในวันแต่งงานจะ
เป็นคนคนเดียวกันกับคู่รักที่ประสบขึ้นครั้งแรกในวัยเด็ก
หรือที่เรียกว่า (Puppy Love)
การยกตัวอย่างความรักที่ถูกต้องดีงาม
ตามครรลองคลองธรรม การเข้าตามตรอกออกตามประตู
และการรู้จักยับยั้งชั่งใจ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่
พึงจะต้องบอกกล่าวหรือแนะนำให้เด็กวัยรุ่นนั้น
เข้าใจและเคารพในกติกาดังกล่าวมากกว่า
การห้ามปรามและกีดกัน เพื่อเป็นการสร้างแนว
ปราการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากความรัก
โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กวัยนี้ได้อย่างดีทีเดียว


ในขณะเดียวกันความรักของกลุ่มบุคคลผู้ก้าวพ้น
การศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัยและกำลังเข้าสู่วัยทำงาน
ตลอดจนถึงพวกที่ทำงานกันมานมนานแล้วนั้นก็ตาม
ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในด้านความรักกันทุกคนไป
บางครั้งบางคราวความรักของผู้ใหญ่
ก็อาจสร้างความเสียหายและขยายวงกว้างแห่งปัญหา
ได้มากกว่ากรณีความรักในวัยรุ่นเสียด้วยซ้ำ
ซึ่งหลายคู่อาจสามารถตกล่องปล่องชิ้นกันได้อย่างสุขสมหวัง
ในขณะที่อีกหลายๆ คู่ต้องเจ็บปวดจากความรักในรูปแบบต่างๆ
จนทำให้ต้องแคล้วคลาดกันไปบางคู่หรือบางคี่ (กรณีรักสามเส้า)
ถึงกับมีจุดจบแห่งความรักด้วยโศกนาฏกรรมอย่าง
เป็นที่น่าเวทนาไปเลยก็มี
ซึ่งปรากฏให้เราเห็นได้ตามสื่อต่างๆ
เช่นหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ
มีเรื่องที่น่าสังเกตอยู่เรื่องหนึ่งของบุคคลใดก็ตาม
ที่มีความรักหรือกำลังตกหลุม (พราง) รักนั้นว่า
เขาหรือเธอผู้นั้นมักจะมีความรู้สึกว่าในโลกใบนี้
หากแม้นว่าไม่มีใครอยู่เลย
มีเพียงเธอและเขาอยู่อยู่ด้วยกันเพียงสองคน


ทั้งคู่ก็อาจจะไม่มีความรู้สึกว่าเหงาหรือ

อ้างว้างโดดเดี่ยวเลยก็ได้นั่นเป็นเพราะว่า
ความรักที่ทั้งคู่มีต่อกันได้เติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป
จากคนรอบข้างได้ทั้งหมดในทางกลับกัน
ถ้าหากว่าคนรักทั้งคู่จำต้องพลัดพราก
จากกันไปแม้เพียงชั่วคราวหรือชั่วนิจนิรันดร์


ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม โลกทั้งใบที่

ดูเหมือนว่ามีผู้คนอยู่ล้นหลามและเนืองแน่นอยู่กัน
ในขณะนี้ก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรขึ้นมาเลย
สำหรับเธอและเขาผู้พรากจากกันแล้วนั้น
จนบางครั้งอาจทำให้เกิดความรู้สึกเหงาอ้างว้าง
และเปล่าเปลี่ยวขึ้นมาจับใจได้เลยทีเดียวหลายท่าน
ที่ผ่านพ้นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักมาบ้างแล้ว
อาจรู้สึกซาบซึ้งกันได้เป็นอย่างดี
นี่ยังไม่รวมไปถึงความหวาดระแวงซึ่ง
อาจจะนำไปสู่การระหองระแหงซึ่งกันและกัน
ในระหว่างที่กำลังรอคอยกันอยู่ด้วยซ้ำไป
ความรักชนิดนี้จึงเป็นความรักที่มีของแถมมาด้วย
ความชอกช้ำและคราบน้ำตาอยู่เสมอมา
ในประวัติศาสตร์ความรักของมวลมนุษยชาติ
แต่มีความรักอยู่อีกประเภทหนึ่ง
ซึ่งหลายๆ คนอาจมองข้ามและ
ไม่ค่อยให้ความสำคัญกันสักเท่าไหร่
นั่นก็คือความรักกันในฐานะเพื่อนร่วมโลก
เพื่อนร่วมสังคม เพื่อนร่วมงาน
เพื่อนร่วมอุดมการณ์ ฯลฯซึ่งถ้าจะกล่าวโดยที่สุดแล้ว
ก็คงหนีไปไม่พ้นในเรื่องของการเป็นเพื่อนร่วมทุกข์
เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันนั่นเองซึ่ง
ในจำนวนผู้คนเหล่านั้นอาจจะมีอยู่จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่ขาดทั้งความรัก ความเมตตา
และการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ใกล้ชิดตลอด
จนญาติมิตรและสังคมรอบข้างอย่างต่อเนื่อง
ตลอดมากอปรกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ
ที่เป็นตัวบีบบังคับให้ผู้คนต่างพากันมุ่งแสวงหา
ทรัพย์สินเงินตรา เพื่อนำมาตอบสนองความต้องการ
ในปัจเจกบุคคลหรือปัจเจกครอบครัวกันมากกว่าความรัก
ความเมตตา จึงดูเหมือนว่าจะมีค่าน้อยยิ่งนัก
เมื่อเทียบกับความรักในทางชู้สาว
ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะเป็นของที่น่าลิ้มลอง
และจับต้องได้ง่ายกว่าจนอาจทำให้ใคร

หลายๆ
คนลืมตระหนักถึงความผิดหวังและความทุกข์
ซึ่งก็เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าเช่นเดียวกัน
หากใครก็ตามที่ไปยึดมั่นถือมั่นว่าความรักนั้น
จะต้องออกแบบได้และเป็นไปตามอย่างที่คาด
ด้วยเหตุนี้บุคคลที่ไม่ต้องการจะเป็นทุกข์จากความรัก
จึงควรเอาชนะธรรมชาติที่แฝงเร้น
อยู่ภายในจิตใจในส่วนนี้ให้ได้
โดยการยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้นกว่า
ความรักที่มีอยู่แต่เฉพาะในทางชู้สาวให้
เป็นความรักที่สูงส่งขึ้นโดยใช้ความเมตตา
และความปรารถนาดีต่อกันเข้ามาแทนที่
ความรักในทางชู้สาวดังกล่าวเหมือนที่ครั้งหนึ่ง
แม่ชีเทเรซ่า นางฟ้าผู้อารีในคริสตจักรเคยกล่าวไว้ว่า

"หากเรารู้สึกว่าเจ็บปวดจากความรัก
ก็จงรักให้มากยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก"


ความรักที่เพิ่มขึ้นมานั้น นั่นก็คงหนีไม่พ้นไป
จากเรื่องของความรักและความปรารถนาดีต่อกันนั่นเอง
ซึ่งในแต่ละศาสนาต่างๆ
ที่มีผู้คนส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ทั่วโลกนั้น
ก็มักจะพร่ำสอนให้ศาสนิกทั้งหลาย
จงมีความรัก ความเมตตาต่อกัน
ในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันจะดีกว่า
ที่จะมุ่งเน้นไปที่ความรักกันในเชิงชู้สาว
ซึ่งมีโอกาสผิดหวังและขมขื่นได้ง่ายเพราะขึ้นชื่อว่า
น้ำตาจากความผิดหวังในความรักแล้ว
ก็ล้วนมีรสเค็มประดุจเดียวกันทั้งนั้น


ไม่ว่า คนคริสต์ คนพุทธ หรือคนมุสลิม ฯลฯ

เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าความรักนั้น
เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์
แต่ความเมตตาเป็นบ่อเกิดแห่งความพ้นทุกข์
พระโยคาวจรเจ้าผู้ตระหนักแล้วถึงพิษภัย
ในอันที่จะนำมาเนื่องจากความรัก
จึงพยายามไม่ไปสร้าง
ความความผูกพันกับสิ่งใดๆ
เลยแม้กระทั่งตนเอง!


นพัฒนาไปถึงความรักอันบริสุทธิ์
ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลยซึ่งเมื่อความรักที่ไม่ได้เจือปน
ด้วยความหวัง (โลภะ) แล้ว ก็คงจะไม่มีพิษสงอะไรมากนัก
ในอันที่จะมาทำอันตรายกับจิตใจผู้เป็นเจ้าของนั้นได้อีกต่อไป