Custom Search

May 29, 2020

Happy Hormones





Body and Mind EP.2 Happy Hormones Part1
หายไปนานเพราะมีงานเขียนวิชาการที่ต้องใช้สมาธิอย่างมาก
เลยไม่ได้เข้ามาเขียนต่อ บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้วววว!!
มาเริ่มกันต่อเลย

ครั้งที่แล้วเกริ่นว่าจะพูดถึงเรื่องสุขภาพใจกับสารสื่อสมอง
อันนี้ก็ไปเรียนรู้เพิ่มเติมมาจากการฝึกสติในรูปแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์มากๆ และค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติม
ว่าเราสามารถสร้างสารสื่อประสาทที่สร้างความสุขได้
ในชีวิตประจำวัน ซึ่งวิทยาศาสตร์ก็อธิบายไว้ชัดเจน
มีหลักฐานเชิงประจักษ์มากมาย
ซึ่ง นพ.มนตรี แสงภัทราชัย พูดถึงสารสื่อสมองสร้างสุข เรียกสั้นๆ
ว่า D.O.S.E วันนี้จะพูดสองตัวแรกก่อน คือ
D = Dopamine หรือคุณหมอเรียกว่าน้อง Joy”
มีหน้าที่ช่วยให้กระบวนการทำงานของสมองและ
การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ
ช่วยควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
ช่วยในเรื่องของการรับรู้ ส่งเสริมระบบความจำ
และการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
โดยทางการแพทย์ยังได้วิจัยแล้วพบว่าสารนี้
ยังมีหน้าที่ในการสร้างบุคลิกของผู้คนให้กลาย
เป็นคนที่มองโลกในแง่ดีได้
เนื่องจากร่างกายของคนเราหากมีสารโดพามีนอย่างเพียงพอ
จะทำให้สมองตัดเรื่องแง่ลบหรือแง่ร้ายออกไปได้อย่างอัตโนมัติ
รวมไปถึงในช่วงเวลาที่คุณเกิดปัญหานั้น
จะช่วยทำให้มีสมาธิในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ง่ายและ
รวดเร็วยิ่งขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
วิธีการสร้างโดพามีนอย่างง่ายๆ คือ การยิ้ม, หัวเราะ,
การให้ทานแก่ผู้อื่น, การให้ความรู้สึกดีๆกับผู้อื่น
เช่น คำชม หรือการกินผักสลัดใบเขียว
ก็ช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนนี้ได้เช่นกัน
ยังมีประโยชน์ช่วยให้คุณกลายเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดีมาก
ยิ่งขึ้น เพราะเมื่อสารนี้เข้ามากระตุ้นการทำงานของสมอง
จะทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ดีและรู้สึกดีได้ง่ายๆ ต่อสิ่งรอบตัว
โดยจะช่วยทำให้เป็นคนจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
ระบบการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อจะทำได้
อย่างมีประสิทธิภาพ มีความกระฉับกระเฉง
มีความตื่นตัวอยู่เสมอ
และหากร่างกายขาดสารโดพามีนมากจนเกินไป
จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด เช่น
โรคพาร์กินสัน แต่ในทางตรงกันข้าม
ถ้าร่างกายที่หลั่งสารโดพามีนมากจนเกินไป
จะทำให้กลายเป็นคนที่ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ร้อน
หรือหากมีจำนวนมากผิดปกติอาจจะ
ทำให้เกิดอาการป่วยทางจิตได้
แหม่ แค่ตัวแรกก็เยอะแล้ว มาดูตัวต่อไป
O = Oxytocin หรือคุณหมอเรียกว่าน้อง Love”
เป็นฮอร์โมนแห่งความเชื่อใจ (trustworthiness)’
หรือฮอร์โมนแห่งการกอด’ (hug hormone หรือ cuddling
hormone)

เมื่อได้รับสัมผัสอันอบอุ่นจากคนที่เรารัก
สารนี้จะหลั่งออกมาทำให้รู้สึกปลอดภัย
ซึ่งพบได้ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ
โดยแรกเริ่มฮอร์โมนนี้เป็นรู้จักกันว่าช่วยเตรียม
พร้อมความเป็นแม่ให้กับสัตว์ ช่วยให้เกิดนํ้านม
ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วยการกอด” “การสัมผัสอย่างอ่อนโยน
หรือการแผ่เมตตาทั้งหมดทำให้เกิดฮอร์โมนนี้ได้
และช่วยให้เราอารมณ์ดี ทำให้เราเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น
แต่มีงานวิจัยโดย Carsten de Dreu จาก University of
Amsterdam ในปี 2011 พบว่าแม้ Oxytocin
จะทำให้เกิดความใจดี แต่ในการทดลอง
Prisoner’s Dilemma หากผู้เล่นถูกแบ่งเป็น 2 ทีมแล้ว

Oxytocin จะทำให้ผู้เล่นแทงข้างหลังผู้เล่นจากทีมอื่นรุนแรง
ขึ้นกว่าเดิม เนื่องจาก Oxytocin ทำให้เรามีความรักและเชื่อใจ
เกิดความเมตตาเอื้ออาทรกับคนที่เป็นพวกเดียวกับเรา
เท่านั้น และปฏิบัติรุนแรงกับคนที่รู้สึกว่าเป็นภัย
หรือไม่ใช่พวกของเรา

ในอีกงานศึกษาโดย Carsten ยังพบอีกว่า Oxytocin
ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีอคติที่รุนแรงขึ้นกับคนนอกกลุ่ม
(ในการทดลองคือ คนเยอรมันและคนจากตะวันออกกลาง) Oxytocin อาจเป็นฮอร์โมนแห่งการโอบกอด ทำให้อุ่นใจ
ปลอดภัยกับเพื่อนและพวกพ้องของเรา
แต่การตัดสินคนที่ไม่ใช่พวกตัวเองอย่างรุนแรงไม่ใช่
ความเอื้ออาทรแต่คือการเหยียดเชื้อชาติ และเป็น ethnocentrism
(ทัศนคติที่เชื่อว่าวัฒนธรรมของตัวเองเป็นใหญ่)
ฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความรักและมองโลกในแง่ดี
กลับทำให้เรามีอคติรุนแรงและเกลียดคนที่ต่างจากเรา
หรืออยู่นอกกลุ่มของเรา (out-group)
เพราะเมื่อตัดสินว่าไม่อยู่ในพวกพ้องเผ่าเรา เราจะไม่ไว้ใจ
ความรู้สึกเหม็นหน้าคนที่เราไม่ไว้ใจจึง
เป็นคำเรียกที่เหมาะสมมาก

เอ๊ะๆๆ.. ทำไมรู้สึกคุ้นๆ กับสิ่งเหล่านี้ล่ะ
แค่ 2 ตัวก็เห็นทั้งประโยชน์และโทษอย่างมหาศาลแล้ว
แต่การสร้างให้เกิดความสุขด้วยตัวเองจากฮอร์โมนทั้งสองนี้
ก็นับว่ามีคุณประโยชน์กับตัวเรามากแล้ว
แต่ก็ต้องลือกใช้ให้เหมาะสมและไม่มากจนเกินไป

พอแค่นี้ก่อนดีกว่า เดี๋ยวมาต่ออีก 2 ตัวในคราวหน้า
ขอให้สร้างฮอร์โมนความสุขแต่พอดีกันทุกท่านทุกคนนะจ๊ะ