Custom Search

May 10, 2008

ศิลปะกับการศึกษาเรียนรู้



ดร.อุทัย ดุลยเกษม
กันยายน ๒๕๕๐


แม้ผมเคยทำงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมาหลายปี
แต่ผมก็ไม่รู้เรื่องทางด้านศิลปะ
พูดไปก็น่าอายชนิดใกล้เกลือกินด่างที่โบราณว่าไว้
ทั้งๆที่มีเพื่อนฝูงทำงานอยู่ที่
คณะจิตรกรรมและประติมากรรม
และคณะมัณฑนศิลป์อยู่บ้าง
ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม
แม้ผมไม่มีความรู้เรื่องศิลปะ
แต่ผมก็โชคดีกว่าคนอีกไม่น้อยเพราะว่าผมมีโอกาสได้เข้าชมศิลปะ
ในสถานที่ต่างๆหลายแห่งทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ
สถานที่แสดงภาพเขียนและแสดงประติมากรรมชิ้นสำคัญๆของโลก
ไม่ว่าที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเยอรมัน
ประเทศอเมริกา ประเทศกัมพูชา
ประเทศพม่า หรือในประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน
ประเทศออสเตรเลีย ประเทศเวียดนาม
ประเทศอินโดนีเซีย ฯลฯ

ผมมีโอกาสได้เข้าชมมาแล้ว เรียกว่าเมื่อมีโอกาสไปประเทศต่างๆ

ผมก็มักหาโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์บ้าง อาร์ตแกลเลอรี่บ้าง

ในบางประเทศมีโอกาสได้ดูหลายเมืองและในหลายเมืองที่ได้ดูหลายครั้ง

อย่างเช่นที่กรุงปารีสผมคิดว่าผมได้ดูมากกว่าห้าครั้ง

แม้กระนั้น ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจอะไรมากนักนอกจากความเพลิดเพลิน

ในการดูและชื่นชมในความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์

และจินตนาการของผู้สร้างงานศิลปะเหล่านั้นและ

นึกว่าตัวเองนี้ช่างเป็นคนที่หยาบกระด้างอะไรเช่นนี้

ที่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องศิลปะเอาเสียเลย


ตอนเป็นนักเรียนนักศึกษาก็มีโอกาสตามไปดูภาพเขียน

ตามฝาผนังของวัดต่างๆในประเทศไทยทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

และได้ตามไปดูการเขียนภาพฝาผนังที่ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์

เขียนทั้งที่วัดแถวบางละมุงและ ที่โรงพยาบาลสระบุรี ฯลฯ

ที่ไม่ได้ไปดูก็ที่วัดโคมคำจังหวัดพะเยาเท่านั้น


เมื่อทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสนามจันทร์

เคยขอภาพเขียนและประติมากรรมจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม

มาติดไว้ที่สำนักงานที่ผมทำงานอยู่หลายชิ้น

พรรคพวกเขาช่วยคัดเลือกภาพเขียนและประติมากรรมชิ้นสวยๆให้

ผมไม่ทราบว่าบัดนี้ภาพเขียนและประติมากรรมเหล่านั้น

ยังติดตั้งอยู่ในสถานที่เดิมหรือไม่

เพราะผมออกจากมหาวิทยาลัยศิลปากรมานานแล้ว


แม้ผมจะออกจากมหาวิทยาลัยสอนศิลปะแห่งสำคัญ

ของประเทศไทยมานานแล้ว

แต่ ความสนใจด้านศิลปะของผมก็ยังไม่มอดสนิทเสียทีเดียว

เพราะเมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญไปประเทศอเมริกา

ก็ได้แวะไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งที่รวบรวม

และจัดแสดงภาพเขียนของจิตรกรนามอุโฆษหลายคน

ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่าน

หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษ

โดย คุณอนิตรา พวงสุวรรณ-โมเซอร์

แต่ผู้เขียนเป็นชาวอินเดีย

ชื่อ
นายเทวี ประสาท

นายเทวีนี้จบการศึกษาจากวิทยาลัยศานตินิเกตันของท่านรพินทรนาถ

และเป็นครูสอนศิลปะเด็ก ที่อาศรมเสวาคราม

อันเป็นสถาบันการศึกษาของท่านมหาตมคานธีอยู่สิบห้าปี

และหลังจากนั้นก็ได้ทำงานด้าน

การต่อต้านสงครามแต่ก็ไม่เคยละทิ้งเรื่องศิลปะ

ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้เข้าใจชัดขึ้นมากว่า

เรื่องศิลปะนั้นมิใช่สิ่งที่แยกออกจากชีวิตประจำวัน

แต่โชคร้ายที่ในโลกทุกวันนี้

ศิลปะกลายเป็นวัตถุแห่งความหรูหราฟุ่มเฟือย

สำหรับคนรวยและพวกบ้าเสพจนลืมตัวหรือไม่งานศิลปะ

ก็กลายเป็นสินค้าที่คนบางคนเก็บรวบรวมไว้เพื่อค้ากำไร

จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากเห็นว่า

งานศิลปะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับชีวิต


นักการศึกษาบางคนอาจให้ที่ทางกับ

ศิลปศึกษาในระบบการศึกษาของตน

ไม่ใช่เพราะเขาเหล่านั้นคิดว่าศิลปะ

เป็นบ่อเกิดสำคัญของความเบิกบาน

และความอิ่มเอิบในชีวิต

หากแต่เห็นว่ามันเป็นกิจกรรมในเวลาว่างอย่างหนึ่ง

ถือว่าเป็นงานอดิเรก

บางคนเหล่านี้คิดว่ามนุษย์แต่ละคน

ควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

เพราะฉะนั้นงานศิลปะจึงมักถูกละเลยเพราะมองไม่เห็นประโยชน์

การที่คิดว่าศิลปะและศิลปศึกษาเป็น

เรื่องของกิจกรรมยามว่างทำให้ศิลปะ

กลายเป็นของที่มีไว้สำหรับรับใช้คนมีเงิน

และนำไปสู่การเกิดช่องว่างระหว่าง

ชีวิตของคนธรรมดาทั่วไปกับคนมีเงินมีทอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ศิลปะก็ไม่ถูกมองว่า

เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพ

และเป็นพลังทางสังคม

เป็นเรื่องสุนทรียภาพและเป็นเรื่องจิตวิญญาณ

นักปรัชญาชาวอังกฤษที่ชื่อเฮอร์เบิร์ต รีด เคยกล่าวว่า


“เราต้องทำให้ศิลปะเข้มอยู่ในการดำเนินชีวิตของเรา

หากเราหวังที่จะได้รับผลจากศิลปะ

เราต้องลงมือเขียนภาพเองมากกว่าไปชมภาพเขียน

เราต้องเล่นดนตรีเองมากกว่าไปฟังคอนเสิร์ต

เราต้องร้องรำทำเพลงและเล่นละครเองมากกว่าการไปดูละคร

เราต้องให้ประสาทสัมผัสของเราทั้งหมดเข้าไปร่วมอยู่ใน

พิธีกรรมและการรังสรรค์ศิลปะ

เมื่อนั้นอาจมีบางอย่างเกิดขึ้นกับเรา

เพื่อที่จะเกื้อกูลกับร่างกายและวิญญาณของเรา”


แท้ที่จริงมนุษย์เริ่มมีประสบการณ์กับ
ความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่วัยเยาว์ของชีวิต
แต่น่าเสียดายที่ความคิด เชิงสร้างสรรค์ที่
มีอยู่มากตั้งแต่วัยเด็กนั้นค่อยหดหายไปเมื่อเราโตขึ้น
ถ้าเรามาพินิจพิเคราะห์ดูก็จะพบว่า
ระบบการศึกษาสมัยใหม่ละเลยบทบาทของศิลปะ
ในการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเกือบจะสิ้นเชิง
ด้วยเหตุดังนั้นความคิดสร้างสรรค์ตามธรรมชาติของเด็กไทย
จึงมักสิ้นสุดลง
เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น
เฮอร์เบิร์ต รีด
ได้กล่าวอีกว่า

“งานศิลปะเด็กเป็นหนังสือเดินทางไปสู่อิสรภาพ
ไปสู่ผลสำเร็จอันบริบูรณ์ของพรสวรรค์และความสามารถทั้งหมดที่มี

และไปสู่ความสุขที่แท้และมั่นคงในชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ศิลปะจะช่วยดึง เด็กๆออกมาจากตัวของพวกเขา

อาจเริ่มจากกิจกรรมของปัจเจกผู้เดียวดาย

จากลายเส้นขยุกขยุยบนเศษกระดาษ

ของเด็กเล็กที่หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง

ทว่าก็เป็นลายเส้นขยุกขยุยของเด็ก

ที่ต้องการจะ สื่อสารถึงโลกภายในของพวกเขา

กับผู้ดูที่เข้าใจ ซึ่งอาจเป็นพ่อแม่หรือ

บุคคลที่ใกล้ชิดที่พวกเขาคาดหวัง

การตอบสนองด้วยความเข้าใจนั้น เอง”

บ่อเกิดของ ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในธรรมชาติ
และ มีอยู่ในตัวเด็กทุกคน

เด็กไทยเองก็มีความคิดสร้างสรรค์ไม่ด้อยไปกว่าเด็กเผ่าพันธุ์อื่น

ดังที่เรา เห็นได้ว่าในอดีตนั้นเด็กไทยเล่นกับของเล่น ที่พวกเขาสร้าง

หรือ ประดิษฐ์ขึ้นเอง

ไม่ว่าจะ เป็นม้าก้านกล้วยหรือ การตีวงล้อ หรือกิจกรรมอื่นๆก็ดี

เด็กๆค้นพบสิ่งเหล่านี้ด้วยการเป็นผู้สร้าง ด้วยตัวของเขาเอง

ผู้ใหญ่เป็นเพียงผู้เปิดโอกาสให้กับ

พวกเขาได้มีโอกาสแสดงออกเท่านั้น

และผู้ใหญ่ ควรทำความเข้าใจกับสิ่ง ที่พวกเขาสร้างขึ้น


ท่าน รพินทรนาถ
ได้ แยกแยะความแตกต่างระหว่าง
“การเรียนรู้จากภายนอก” กับ “กระบวนการเรียนรู้จากภายใน”
และ เห็นว่า วัยเด็กควรได้รับความชุ่มชื่นของชีวิตอย่างเต็มเปี่ยม
เพราะเป็นวัยที่มี ความกระหายอันไม่สิ้นสุด
จิตใจของคนหนุ่มสาวควรเอิบอิ่มไปด้วยความคิดที่ ว่า
พวกเขาได้เกิดมาในโลกมนุษย์ที่
กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับโลกรอบตัวเขา
นายเทวี ประสาท พบว่าในประสบการณ์ของเขา
ศิลปศึกษาสามารถ ทำให้วัตถุประสงค์สามประการ
สัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์ในเวลาเดียวกัน
ประการ แรกและสำคัญที่สุด คือ เรื่องความคิดสร้างสรรค์
ประการที่สองคือด้านการ ปฏิบัติที่เป็นเรื่องของ
พลังที่ เป็นตัวกำกับการพัฒนาทักษะ
เช่นทักษะใน การเห็น ในการวัด หรือการวางแผน
และประการ ที่สามซึ่งเป็นด้านที่สำคัญและ
มีประโยชน์เท่าเทียมกันของศิลปศึกษา
คือ ศักยภาพทางด้านการวิเคราะห์
บุคลิกภาพและความป่วยไข้ทางจิต

นายเทวี ประสาทยังกล่าวอีกว่า ปรัชญาและ
ประเพณีทางการศึกษาของอินเดียที่บันทึกไว้
โดย นักปราชญ์ราชบัณฑิตและ
ที่ปรากฏอยู่ในตำนาน พื้นบ้านในอินเดีย
ชี้ให้เห็น อย่างชัดเจนว่าไม่มีการแบ่งแยกศิลปะ ออกจากชีวิต
เพราะจุด ประสงค์หลักของการศึกษาคือการแสวงหาความรู้
และการแสวงหาความรู้มิได้ หมายจำกัดแค่เพียงการค้นหา
และการเก็บรวบรวมข้อมูลเท่านั้น
แต่ยังรวม ถึงตัวปัญญา
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างแยบคาย
การรู้จักควบคุม อัตตาตัวตน
ความอ่อนน้อมถ่อมตัว สัจจะ ศักดิ์ศรีในตัวเอง
การรับใช้ สังคม
ตลอดจนทักษะในการสร้างสรรค์
ครูมิได้สอนเฉพาะความรู้ทางวิชาการ ทั่วๆไป
แต่ ต้องสอนให้เด็กรู้จักกับทักษะ
ในทางปฏิบัติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่ดีงาม
อย่าง ไรก็ตามเป็นเรื่องโชคร้าย
ที่การจัดการศึกษาในยุคอาณานิคมประเพณี
การ จัดการศึกษาในอินเดียได้ก่อให้
เกิดความสับสนอลหม่าน ในอินเดียเกือบทุกๆด้าน
โดย เฉพาะ อย่างยิ่งในระบบ คุณค่าทางสังคม
ระบบ การศึกษาที่เจ้าอาณานิคมจัดให้นั้น
หย่า ขาดจากวิถีชีวิตประจำวันของชาวอินเดียอย่างสิ้นเชิง
และแม้ในปัจจุบัน เจ้าอาณานิคมจะกับบ้านหมดแล้ว
แต่การศึกษาของอินเดียก็ยังยึดแนวของ อาณานิคม เป็นหลัก
ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม จึงไม่อาจแก้ไขได้อย่างเด็ดขาด
เพราะ เป็นการศึกษาที่แยกส่วนเป็นส่วนเป็นเสี้ยว
ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วไม่ มีข้อสงสัยเลยว่า
เพราะเหตุใดการศึกษาในประเทศไทย
จึงเป็นอย่างที่ เป็นอยู่
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
ก็ยืนยันว่าการศึกษาไทย ยังมีปัญหามากมาย
ยิ่งมองดูคุณภาพของคนก็ยิ่งน่าใจหาย
ปัญหาในสังคม ไทยมีมากมายและแก้ไขยากขึ้นทุกที
เพราะระบบการศึกษาของเราไม่ค่อยให้ความ สำคัญ
กับความคิดเชิงสร้างสรรค์และจินตนาการ
เรามุ่งผลิตนักเทคนิค สาขาต่างๆมากมาย
โดยหวังว่า จะแก้ปัญหาต่างๆได้
แต่ก็ดัง ที่เราเห็นกันอยู่ว่า

แม้เราจะผลิตแพทย์มากขึ้น
แต่สุขภาวะ ของคนไทยโดยรวมกลับเลวลงอย่างมาก
เรา ผลิตนักเศรษฐศาสตร์มากขึ้น
แต่เศรษฐกิจของเรายิ่งแย่กว่าเดิม
เราผลิตบัณฑิตด้านการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติมาก ขึ้น
แต่ ทรัพยาการธรรมชาติในประเทศเราถูกทำลายย่อยยับมากขึ้น
เราผลิตนักกฎหมาย และนักรัฐศาสตร์มากขึ้น แต่ ปัญหาการเมือง
ปัญหาความ ไม่เป็นธรรมมีมากขึ้น เป็นต้น
แล้ว เรายังมองไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาคนของเรา
ในมิติความเป็นมนุษย์มาก ขึ้นอีกหรือ

ผมคิดว่าลางทีศิลปศึกษาอาจเป็นทางออก
ที่เราน่า จะพิจารณากันอย่างจริงจังกันกระมัง
เพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้จาก ภายใน
ผมคิดว่าดีไม่ดีอาจจะช่วยแก้ปัญหาหลักๆ
ให้กับ สังคมไทยได้มากกว่า
การบรรจุพุทธศาสนาเป็น
ศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญกระมัง





ชื่อผลงาน : จินตนาการวัยเด็ก
ชื่อทีม : PPP
สมาชิก :

1. นางสาวพัสสา ทวยหาญรักษา

2. นางสาวปัณฑารีย์ แสนคำ

3. นางสาวเพิร์ล โกสีหเดช

สถาบัน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
จังหวัด : กรุงเทพฯ
:-) http://www.youtube.com/watch?v=gJzblo8WgJ0&feature=related