Custom Search

Jul 23, 2022

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี (1922-2022)



หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี สิ้นชีพิตักษัยแล้วเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 03.00 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริชันษา 100 ปี ทรงเป็นพระอนุวงศ์อาวุโสที่เป็นที่เคารพยิ่งในราชสำนักไทยมาเป็นเวลานาน จากที่เคยถวายงานสนองพระเดชพระคุณมาแต่รัชกาลก่อนๆ ท่านภีฯ ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายหน้าของไทยที่ทรงเจริญชันษาขึ้นหลักร้อยพระองค์แรกในรอบทศวรรษ และยังเป็นพระอนุวงศ์สายบวรราชสกุลพระองค์สุดท้าย

หม่อมเจ้าภีศเดช (ประสูติ 20 มกราคม 2465) ทรงเป็นพระโอรสในพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ โดยทรงเป็นพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) พระองค์สุดท้ายแห่งสยาม พระมารดาคือหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ วรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ท่านภีฯ จึงทรงเป็นพระราชปนัดดาในทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเชษฐภคินีร่วมครรภ์โภทรคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และวชิราวุธวิทยาลัยในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนเสด็จไปศึกษาที่ดัลลิช คอลเลจ กรุงลอนดอน และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ช่วงเจริญพระชนม์นั้น ท่านภีฯได้พบพานเหตุการณ์ต่างๆที่ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงพระองค์เองเพื่อความอยู่รอด ทั้งเรื่องการประทับอยู่ต่างแดน และการปรับพระองค์ในช่วงสงคราม ทรงรับบทมาหลากหลายรูปแบบ ทั้งทหาร ชาวบ้าน และสายลับให้กองทัพอังกฤษ

เมื่อช่วงที่ไทยต้องเข้าร่วมกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้สถานะพลเรือนและเจ้านายไทยในต่างแดน โดยเฉพาะชาวไทยที่อาศัยอยู่ทั้งในสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับญี่ปุ่น ประสบปัญหาในการดำรงชีวิตอยู่ กระทั่งช่วงเวลาหนึ่งที่ชาวไทยจำนวนหนึ่งรวมตัวกันเข้าร่วมกับกองทัพอังกฤษ เพื่อร่วมแสดงจุดยืนการเป็นปฏิปักษ์กับกองทัพฝ่ายอักษะ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการไทยเสรี (หรือที่เรียกกันต่อมาว่า “เสรีไทย”) ท่านภีฯ ก็ทรงร่วมกับกลุ่มขบวนการเพื่อเข้ากับกองทัพอังกฤษ ทรงผ่านการฝึกจนช่ำชองและได้โอกาสคืนถิ่นสู่ดินแดนไทยครั้งแรก หากแต่ในฐานะ “นายมั่น” ชาวบ้านธรรมดา

นายมั่นและพรรคพวกร่วมสอดแนมและส่งข้อมูลของการดำเนินการทางทหารของกองกำลังญี่ปุ่นให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างดี กระทั่งสงครามโลกสิ้นสุดเนื่องจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามจากการถูกทิ้งระเบิดปรมาณูโดยสหรัฐอเมริกา ขบวนการเสรีไทย มีอำนาจต่อรองว่าไทยเองไม่เคยเป็นศัตรูเฉกเช่นญี่ปุ่น ทำให้ไทยรอดพ้นชะตากรรมแบบผู้แพ้สงครามอย่างญี่ปุ่นมาได้

หลังสงคราม ทรงศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ก่อนเปลี่ยนไปศึกษาต่อด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ที่วิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กระทั่งสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติประเทศไทย ทรงทำงานในบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย ในแผนกขายต่างจังหวัด ก่อนดำรงตำแหน่งผู้จัดการด้านโฆษณา ในปี 2491 ท่านภีฯ เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา วรวรรณ (ธิดาในหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ กับหม่อมแก้ว เอี่ยมจำนงค์ และเป็นพระนัดดาในเสด็จในกรมนราธิปประพันธ์พงศ์เช่นกัน) มีธิดา 2 คน และโอรส 1 คน

ท่านภีฯ ทรงมีความสนิทสนมกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งประทับอยู่ต่างประเทศ ซึ่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และเข้าเฝ้าบ่อยครั้ง กระทั่งเมื่อสมเด็จฯเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ท่านภีฯ จึงทรงเป็นอีกพระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญกับการขับเคลื่อนพระราชกรณียกิจ รวมไปถึงพระชนม์ชีพส่วนพระองค์ด้วย

ในด้านการสนับสนุนพระราชกรณียกิจ และพระบรมราโชบายในการดำเนินโครงการในพระราชดำริเพื่อพัฒนาประเทศในยุคนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ท่านภีฯ จึงก้าวเข้าสู่บทบาทการเป็นประธานโครงการหลวง และคอยถวายงานและตามเสด็จตามพื้นที่ท้องถิ่นตลอดหลายสิบปีในภัทรมหาราชาสมัย

นอกจากนี้ ด้วยประสูติในครอบครัวนักเขียน ทรงเจริญรอยตามพระบิดา พระมารดา และพระเชษฐภคินี ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานหนังสือนิพนธ์ โดยทรงใช้นามปากกาว่า ภ.ณ ประมวญมารค ตามอย่างพระเชษฐภคินีที่ทรงใช้นามปากกา "ว. ณ ประมาญมารค"

หม่อมเจ้าภีศเดช ได้รับการถวายรางวัล ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย ปี 2554 จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากที่ทรงมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ และมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย โดยส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง ทดแทนการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งส่งผลให้ลดการทำลายธรรมชาติลง และเป็นการรักษาผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ได้


Prince Bhisadej Rajani of Thailand has died on 23 July 2022 , at 03.00 hrs at Siriraj Hospital in Bangkok. He was 100 years. He was one of the most respected royal figures among the royal court, for his long-serving duties since the previous reign. Bhisadej was the first male member who reached centenary in decades. He was the last surviving member from the Viceroy line.

Prince Bhisadej (born 20 January 1922) was the son of Prince Rajani Chamcharas, The Prince Bidyalongkorn. He was the grandson of the last Viceroy of Siam (so-called The Front Palace) Prince Bovorn Vichaicharn. He mother was Princess Barabimalabarna Varavarn (daughter of Prince Voravarnakorn, The Prince Naradhip Prabanbongse). He was the great-grandson of both King Mongkut (Rama IV) and his brother Vice-King Pinklao. He has an elder sister Princess Vibhavadi Rangsit.

During his childhood, he enrolled Debsirin School and Vajiravudh College before moving to Dulwich College, the independent school in London. Throughout his early life, he adapted his life abroad, particularly the wartime. He changed himself into soldier, villager, and spy for the British army.

When his home country joined Japan in the Axis’ alliance during the World War II, Thai citizens met such difficulties, especially for those who lived in the Allied countries like in the UK, or USA. There was a number of Thais who lived in the UK became pro-Allied resistance and joined the British Army. The Free Thai Movement was then organised to resist the Axis powers in Thailand. Bhisadej as a member, recruited himself with others to be a part of the British Army.

Bhisadej was one of the members of the underground resistance movement who arrived Thailand as villagers. They were an important source of military intelligence for the Allies in the region. After Japan surrendered after the atomic bombing in 1945, the Free Thai Movement had an important role to help Thailand to be recognised as neutrality.

After the war, Bhisadej continued his studies in Law, and then History and Economics at the Trinity College, University of Cambridge. He returned to Thailand and worked as sale assistant and advertising manager of the Shell Company. In 1948, he married with Mom Rajawongse Datchari Ratchana Voravarn (daughter of Prince Nityakorn Voravarn and Kaew Iamchamnonga. She was also the granddaughter of the Prince Naradhip Prabanbongse). The couple have 2 daughters and 1 son.

Prince Bhisadej had a close relationship with King Ananda Mahidol (Rama VIII) and then Prince Bhumibol Adulyadej for their meeting several times abroad. When Bhumibol ascended the throne as King Rama IX. Bhisadej became one of the most prominent members who helped the King in public duties and personal affairs.

The Prince also supported the King’s public duties for developing local communities at the time. As Bhumibol wished to support temperate planting industry replacing planting opium among villagers in the mountains. Bhisadej became the King’s assistance as the President of the Royal Project. The Prince escorted the King visiting the local areas for decades during his reign.

The Prince was active in sporting activities including driving to the mountainous spots even he reached his nineties of age. Prince Bhisadej has still been widely remembered for his serving public duties receiving great contribution by the Royal Family and the royal court.

Born in a family of writer, Bhisadej followed the footsteps of his parents and his elder sister to become a writer as well, under his pseudonym "Bh. of Pramualmark", similarly to his sister Vibhavadi's "V. of Pramulmark" (Pramulmark means "The Road of Pramual" which locates their residence Pramual Palace)

Prince Bhisadej received Agricultural Philosopher Awards 2011 from his longstanding contributions in Thai agricultural duties which is widely recognised domestically and internationally. The Prince supported growing winter corps in rural areas replacing growing opiums and shifting cultivation, resulting natural and soil conservation and environment.