ที่มา จุลสารเตรียมงานรำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล ป๋วย อึ้งภากรณ์
ชาตกาล สืบสานปณิธาน ป๋วย อึ้งภากรณ์
เดินตามรอย ป๋วย อึ้งภากรณ์
สมัยผมเด็กๆ สมัยนั้นเป็นสมัยปลายๆจอมพล ป.
เป็นสมัยที่ประชาชนมีกระแสต่อต้านคนจีน
พ่อผมรับราชการอยู่กระทรวงคลังเป็นคลังจังหวัดอยู่ภูเก็ตอยู่กรมบัญชีกลาง
ตอนเด็กๆผมชอบวาดรูปจะมีหนังสือประจําปีของวารสารกรมบัญชีกลาง
เราก็จะรู้จักชื่อของอธิบดีส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่ มียศศักดิ์เป็นเจ้าเป็นอะไรพวกนี้
ในรูปก็จะใส่เสื้อเครื่องยศเครื่องราชย์อะไรอย่างนี้
ผมก็วาดรูปเพราะรู้สึกว่าชื่นชม แต่อาจารย์ป่วยไม่ได้เป็นอธิบดีนะครับ
เห็นในรูปก็ใส่เสื้อเชิ้ตไม่มีอะไร ชื่อจีนอีก
ผมก็ไม่วาดรู้สึกว่าไม่อยู่ในความสนใจของเรา
แต่เนื่องจากกรมบัญชีกลางต้องทํางานสัมพันธ์ กับกระทรวงต่างประเทศ
ก็จะมีชื่อ ป๋วย อึ้งภากรณ์ อธิบดีเขาก็มาพักบ้านเรา
เพราะบังเอิญว่าบ้านพักคลังที่ภูเก็ตจะมีขนาดใหญ่หน่อย
เป็นบ้านพวกนายเหมืองเก่าแล้วถูกยึดมา
ที่นี้ต่างจังหวัดเมื่อก่อนพวกอธิบดีก็ต้องมาตรวจงาน ต่างจังหวัด
ก็ไม่มีโรงแรมเหมือนสมัยก่อน
ก็เลยมีขนาดใหญ่ที่จะรับรองอธิบดี
พออธิบดีมา ครอบครัวเราพ่อแม่ลูกก็ต้องมาอยู่ข้างล่าง
เราเป็นเด็กก็ต้องไปเสริฟน้ำ เสริฟอะไรก็ไม่ทักทายไม่ทําความรู้จัก
เพื่อให้อธิบดีอยู่ข้างบนคนเดียว มาพักค้างอยู่สองสามคืน
ไม่เคยพูดกับเราสักคําเลย มาอยู่แบบผู้ใหญ่คนละชนชั้นกัน
กลางคืนก็ไปนัดพวกนายเหมืองมาเล่นไพ่นกกระจอกไฟจีน
อาจารย์ป่วยตอนนั้นเป็นผู้ว่าแบงค์ชาติ พ่อผมเป็นคลังจังหวัด
ก็ถือว่าเป็นสาขาของแบงค์ชาติโดยหน้าที่
พ่อตื่นรึยัง ท่านก็ตะโกน เรียกพ่อผม
พ่อผมก็นุ่งผ้าขาวม้าออกมาก็พูดคุยกันเอง
อาจารย์ป่วยก็มาตรวจงาน
แต่ท่านก็ไม่ได้มานอนพักบ้านเรา คงจะเกรงใจ
ก็มาพักโรงแรมเล็กๆแถวๆบ้าน
เช้าๆบ้านพักมันกว้างหน่อย ตอนนั้นผมสัก ป.๔ ก็ออกมากวาด ลานบ้าน
อาจารย์ป่วยก็เดินมา เห็นเรากวาดก็มาถามไถ่เอามือลูบหัว เรียนที่ไหนอย่างไร
แล้วบอกว่าปลูกพ่อได้ไหม ฝากงานฝากการบ้าง สังคมสมัยก่อนเป็นสังคมแบบอุปถัมภ์
เราก็เลยรู้สึกว่ามันตรงกันข้ามกับที่เราคิด ไม่ถือตัวเลยถามไถ่เราละเอียด
ที่นี้ความรู้สึก ก็เปลี่ยน
จากที่ดถูกคนจีน นั้นเป็นประสบการณ์ตอนเด็กๆ
อีกครั้งหนึ่งตอนพี่สาวผมเรียนเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
ผมเด็กๆเป็นเลขาพ่อก็เป็นข้าราชการต่างจังหวัด
ก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรก็ใช้
เด็กๆ ก็มีคนมาฝากลูกฝากหลานเรียนหนังสือ
เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติ
ถ้าใช้ความสามารถตัวเองน่าจะไปสอบได้
ที่นี้พ่อผมให้ผมเขียนจดหมายถึงอาจารย์ป๋วย
พ่อก็นอนนุ่งผ้าขาวม้าสูบบุหรี่ก็บอกให้ผมเป็นคนจดตามที่พ่อบอก
เนื้อหาก็ขอให้อาจารย์ช่วยฝากงานให้พี่สาวหน่อย
สักอาทิตย์หนึ่งอาจารย์ป่วยก็ตอบกลับมาเป็นลายมืออาจารย์ป่วยเอง
ว่าวันนี้ไปประชุมที่ธนาคารกรุงไทย
เห็นติดประกาศว่าจะรับพนักงานจบใหม่ก็เลย
แนะนําให้ลองไปสมัครดู
อาจารย์ป่วยนี่เป็นแบบอย่างของคนที่เสียสละเพื่อชาติ เพื่อสังคม
และเป็นคนธรรมดาที่เป็นแบบอย่างในแง่ของการประหยัดมัธยัสถ์
เราก็รู้สึกว่าอาจารย์เขียนมาเอง เป็นการเอาใจใส่ ผมก็จะชอบมากเลย
ที่อาจารย์ให้เราแบบว่ารู้จักพึ่งตนเอง
แต่พ่อก็จะผิดหวังหน่อยๆ
สักเดือนหนึ่งอาจารย์ป่วยก็มีจดหมายมาอีกว่า
วันนี้ไปประชุมแบงค์เห็นประกาศ ดีใจด้วยที่สอบได้ ท่านเอาใจใส่มาก
ทั้งๆที่คนอย่างพ่อผมก็ไม่มีโอกาสอะไรที่จะไปตอบแทนเขา
ผมก็เลยรู้สึกว่าอาจารย์มีความเป็นมนุษย์สูง มีเมตตา มีความอดทนสูงใจเย็น
ไม่ยอมอ่อนตามสถานการณ์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
แม้กระทั่งจะต้องไปเสียชีวิตที่ต่างประเทศ ซื่อสัตย์
อุทิศชีวิตให้แก่ส่วนรวม
จริงๆ แล้วก็มีคุณปการต่อประเทศในหลายๆมิติ
ทั้งมิติสังคมและการศึกษา
ซึ่งก็นับว่าหายากในสังคมไทยนะครับ
ที่สําคัญคือว่าสังคมไทยไม่ค่อยยกย่องสามัญชน
ก็เป็นเหตุให้เราขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
ทําให้เราเป็นพลเมืองมีพลัง
อาจารย์ป่วยก็เป็นสามัญชนที่เป็นแบบอย่างที่น่ายกย่อง
อย่างที่บอกครับ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทํางานเพื่อชาติ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม
ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2556