Custom Search

Apr 26, 2012

พลเอก สุจินดา คราประยูร




















ประวัติ
พลเอก สุจินดา คราประยูร

เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2476
เวลาประมาณ 03.35 น.
ณ จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนสุดท้อง
ของนายจวงกับนางสมพงษ์ คราประยูร
มีพี่สาวสองคน สมรสกับคุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)
มีบุตรชาย 2 คน

การศึกษา
พลเอก สุจินดา คราประยูร
เข้ารับการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนปิยะวิทยา
แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเษก
หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมปีที่ 4 – 5
ที่จังหวัดหนองคาย เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
จึงต้องย้ายไปอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่จังหวัดหนองคาย
ต่อมาได้กลับเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร
จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6
จากโรงเรียนวัดราชบพิธแล้วได้เข้าศึกษาต่อ
ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8
สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียนได้เพียงปีเดียวก็ไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร
และเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
หลักสูตรเวสท์ปอยต์ รุ่นที่ 5 ตามลำดับ
ต่อมาได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่
จากฟอร์ทซิลส์ (Fort Sill’s) รัฐโอคลาโฮม่า (Oklahoma)
ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1
สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
จากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth)
การรับราชการ
พลเอก สุจินดา คราประยูร
เข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496
ได้รับพระราชทานยศ
ว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501
ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21
ในปี พ.ศ. 2513
พลเอก สุจินดา คราประยูร
เดินทางไปราชการสงครามที่เวียดนาม
ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายยุทธการ
กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานยศพันโท
และเข้าดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นายอานันท์ ปันยารชุน
ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา
พลเอก สุจินดา คราประยูร
ก้าวหน้าในหน้าที่ราชการตามลำดับ
ในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
เจ้ากรมยุทธการทหารบก
ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ
รองเสนาธิการทหารบก
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
รองผู้บัญชาการทหารบก
และในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2533
ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแทน
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งลาออกจากราชการ
และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534
ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
อีกตำแหน่งหนึ่งแทนพลเอก สุนทร คงสมพงษ์
ซึ่งเกษียณอายุราชการ
ยศทางทหาร
พลเอก สุจินดา คราประยูร
ได้รับยศร้อยเอก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505
ยศพันตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510
ยศพันเอก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518
ยศพลตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524
และยศพลเอกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราต่าง ๆ
พลเอก สุจินดา คราประยูร
ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราต่าง ๆ
เป็นจำนวนมาก เช่น
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก,
เหรียญลูกเสือสดุดี, เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
ประถมาภรณ์ช้างเผือก,
ปรมาภรณ์มงกุฎไทย,
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2,
เหรียญชัยสมรภูมิ (เวียดนาม) ฯลฯ


ประวัติ พลเอก สุจินดา คราประยูร 
ผู้เรียบเรียง รติกร เจือกโว้น 
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


วิทยานิพนธ์เรื่อง บันทึกคำให้การ พล.อ.สุจินดา คราประยูร กำเนิดและอวสาน รสช. 

วาสนา นาน่วม

กว่าสองทศวรรษที่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ยังอยู่ในความทรงจำของพวกเราทุกคนด้วยถือเป็นเรื่องเลวร้ายของประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตกลางถนนราช ดำเนิน
เพียงเพราะต้องการได้มาซึ่งนามธรรมที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย”
แต่อีกคนที่เจ็บปวดเหมือนกันในฐานะที่ตกเป็น “จำเลยสังคม”
นั่นคือนายทหารคนหนึ่งที่อยู่ในทีมรัฐประหารเมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ก่อนตกจะเป็นเป้าทางการเมืองหลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใต้เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕
เขาคือ “พล.อ.สุจินดา คราประยูร” บุรุษผู้เคยปริปากว่าจะไม่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากแต่กลับต้อง “เสียสัตย์เพื่อชาติ”
“วาสนา นาน่วม” นักเขียน-นักข่าวสายทหารชื่อดัง ผู้มีความสนใจในตัวพลเอกสุจินดามานับแต่นายทหารคนนี้มีชื่อเสียงจึงร่ายวิทยานิพนธ์ในความหนาพอประมาณ ก่อนจะกลั่นกรองมาเป็นหนังสือ บันทึกคำให้การ สุจินดา คราประยูร กำเนิดและอวสาร รสช. (พิมพ์ครั้งที่ ๕) หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือการเมืองเล่มแรกๆ ของ “วาสนา นาน่วม”และเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ตอบทุกคำถามว่า บุรุษผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬคนนี้แท้แล้วเขาเป็นคนอย่างไร กระหายในอำนาจหรือไม่ ในช่วงเวลานั้นจะมีการรัฐประหารซ้อนหรือเปล่าเหตุใดเขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารประเทศ แทนที่จะหยัดฝืนอยู่ต่อเหมือนทหารในปัจจุบัน ไม่เพียงเท่านั้น...ฉบับการ พิมพ์ครั้งนี้ยังมี “บทแถมท้าย”เพื่อเปรียบเทียบถึงเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ ’๓๕”และ “พฤษภาทมิฬ ’๕๓” อีกด้วย