Custom Search

Aug 19, 2010

กุญแจดอกสำคัญที่ชื่อ บรรหาร ศิลปอาชา

ภาพประกอบ: Nation Group : http://www.nationgroup.com

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/92480.html

78 ปี 'บรรหาร ศิลปอาชา'
นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พร้อมลูกพรรคประชาธิปัตย์และประชาชนทั่วไป

เข้าร่วมอวยพร
วัดเกิดครบรอบ 78 ปี นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่บ้านพรรคจรัญสนิทวงศ์

19 สิงหาคม พ.ศ. 2553




นายบรรหาร ศิลปอาชา
เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475

ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน

ของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊


สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร-ธิดารวม 3 คน

เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา

(สมรสกับ เก๋-สุวรรณา ไรวินท์

ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง)

และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา


นายบรรหารจบ การศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี

เข้ากรุงเทพมาเรียนหนังสือชั้นมัธยม ที่ โรงเรียนวัฒนะศิลป์วิทยาลัย

แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง

หันไปทำงานกับพี่ชาย

และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง

เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีน ให้กับ

การประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย


ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว

จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน


กุญแจดอกสำคัญที่ชื่อบรรหาร ศิลปอาชา

ไพศาล มังกรไชยา

[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] 18 พฤศจิกายน 2551
คุณบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย
ในฐานะที่อยู่แวดวงการเมืองมาช้านาน

จึงมีฉายานามมากมายเช่น “หลงจู๊”
ก็เป็นฉายาหนึ่งของคุณบรรหาร

เข้าใจว่าจะเรียกขานตั้งแต่
สมัยที่คุณบรรหารเป็นเลขาธิการพรรคชาติไทย

ทำหน้าที่บริหารจัดการแทนเจ้าของ
ซึ่งได้แก่กลุ่มราชครู
(จากยุค พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร
จนถึงยุค พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ)
เพราะตำแหน่ง”หลงจู๊”เทียบได้กับ
ตำแหน่งผู้จัดการหรือ CEO อะไรเทือกๆนั้น

เมื่อคุณบรรหารขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค
และดูว่าจะมีความเป็นเจ้าของพรรคชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

ฉายา”หลงจู๊”ก็ไม่ค่อยจะถูกเรียกขานอีก

แต่กระนั้นก็ไม่ปรากฏว่าจะมีใครเรียก
คุณบรรหารเป็น”เถ้าแก่”เช่นกัน

สะท้อนว่าฉายา”หลงจู๊”ของคุณบรรหาร
บ่งบอกความหมายที่เป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัวของคุณบรรหารแท้ๆ

การหยิบเรื่องคุณบรรหารมากล่าวถึงก็เพราะ
ในห้วงเวลาแห่งความอ่อนไหว
ทางการเมืองเฉกเช่นเ
วลานี้
คุณบรรหารต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ
เป็น การจับตามองในฐานะผู้ที่อาจจะนำพา
ความเปลี่ยนแปลงมาสู่
รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้อย่างเหนือคาด

กลายเป็นการปลดล็อคทางการเมือง
ที่กำลังกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

พูดง่ายๆว่า มีคนมาชุมนุมไล่รัฐบาล แต่รัฐบาลยังอยู่ได้
หรือทหารออกมาไล่รัฐบาลผ่านจอโทรทัศน์
รัฐบา
ลก็ไม่กลัว
อีกทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลก็ยังเชื่อมั่นว่า
การรัฐประหารจะเกิดขึ้นยากในปัจจุบัน

เนื่องจากประเทศไทยไม่พร้อม
ที่จะบอบช้ำไปมากกว่านี้ได้

การรัฐประหารแม้ไม่ใช่เรื่องยาก
แต่จะหนักหนาสาหัสระหว่าง
การดำรงอำนาจของฝ่ายที่ทำรัฐประหาร

ทั้งการไม่ยอมรับของประชาคมโลกและ
การต่อต้านของมวลชนที่ปฏิเสธการรัฐประหาร

แต่รัฐบาลอาจจะจบเห่
ด้วยการตัดสินใจของคุณบรรหาร ศิลปอาชา

กระแสการเมืองที่เคยพุ่งเป้าไปที่คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์

นับจากนี้ไปเขาบอกให้จับตาดูกระแส
ที่จะเพิ่มความกดดันมาที่คุณบรรหาร
อีกท่านหนึ่งด้วย

ดังนั้นก็จะขอนำบุคคลผู้หนึ่ง
มาเปรียบเทียบกับคุณบรรหารให้ดูฉีก
แนวการเมืองสักหน่อย
บุคคลผู้นี้ก็คือคุณไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ
เจ้าของสวนสยาม....สวนน้ำกรุงเทพฯ

ทั้ง คุณบรรหารและคุณไชยวัฒน์
มีความเหมือนกันอย่า
งหนึ่ง
คือวันร้ายคืนร้ายต้องตกที่นั่ง
ถูกประชาชนจำนวนมากด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย
ตัวคุณบรรหารถูกด่า เพราะไปร่วมสังฆกรรม
กับฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ขณะที่คุณไชยวัฒน์ ก็เคยถูกด่า
เพราะเครื่องเล่นในสวนสยามชำรุด

มีประชาชนผู้ใช้บริการได้รับบาดเจ็บ
กระทั่งเคยถึงขั้นเสียชีวิตกันมาแล้ว

1 เถ้าแก่กับอีก 1 หลงจู๊นี้
สรุปว่า คนหนึ่งเคยถูกวิจารณ์ในเรื่อง
จริยธรรมการประกอบธุรกิจกิจที่ขาดความรับผิดชอบ

อีกคนหนึ่งถูกค่อนขอดในเรื่องจุดยืนทางการเมืองที่ไหลลื่น
สมชื่อฉายานาม”ปลาไหล”ที่เรียกขานกัน
แต่แตกต่างกันในการมีปฏิกริยาต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว

คุณบรรหาร ศิลปอาชากับคุณไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศนั้น
นับอยู่ในวัยใกล้ๆกัน เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเหมือนๆกั

และเริ่มต้นอย่างคนสู้ชีวิตแทบ
จะไม่แตกต่างกันแต่ประการใด

กล่าวคือ คุณบรรหาร
เริ่มต้นด้วยการเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ที่จังหวัดสุพ
รรณบุรี
ภรรยาก็ค้าขายเล็กๆน้อยๆ ต่อมาได้ค้าขายกับราชการ
จนมีฐานะร่ำรวย จึงหันเหเข้าสู่แวดวงการเมือง
ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุพรรณบุรีชนิดผูกขาด
ได้เข้าร่วมรัฐบาลหลายสมัยและ
เคยก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21มาแล้ว
ส่วนคุณไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ
เป็นลูกชายพ่อค้าขายของชำย่านตลาดบางเขน

เรียกจบเพียงป. 4
เมื่อเด็กๆเป็นกระเป๋ารถเมล์ต่างจังหวัด
ขึ้นล่องกรุงเทพฯกับภาคอีสาน

เข้าวัยหนุ่มก็หันมาซื้อปลาทูส่งไป
ขายหลายๆจังหวัดทางภาคอีสาน
คุณไชยวัฒน์เริ่มมาร่ำรวยก็เมื่อมาทำธุรกิจบ้านจัดสรร
และเป็นผู้ประกอบการรุ่นบุกเบิกของวงการบ้านจัดสรร
และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จน
ต่อมาลูกน้องแยกย้ายกันไปเป็นเถ้าแก่หลายสิบคน
คุณบรรหารกับคุณไชยวัฒน์
ถ้าจะว่าไปแล้วก็ยังมีความเหมือนกันอย่างน่าสนใจคื

ต้องการสร้างอนุสาวรีย์ให้กับตัวเอง
เป็นอนุสาวรีย์ที่ผู้คนจะต้องจดจำกันไปชั่วลูกชั่วหลาน
อนุสาวรีย์ ของคุณไชยวัฒน์ก็คือสวนสนุกที่เรียกว่าสวนสยาม
ซึ่งรักมากจนยอมตัดขายทรัพย์สิน
ที่มีทุกชิ้นเพื่อรักษาสวนสยามเอาไว้สุดชีวิต

ยอมแลกแม้กับที่ดินผืนงามๆให้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย

เพื่อรักษาสวนสนุกที่ไม่เคยออกไข่เป็นทองคำ
ขณะ ที่อนุสาวรีย์ของคุณบรรหารก็คือจังหวัดสุพรรณบุรี
ซึ่งดูๆไปก็ทำท่าจะคล้ายๆสวนสนุกของคุณไชยวัฒน์
เพียงแต่อาณาเขตใหญ่โตกว่าเนื้อที่ 300 ไร่
ของสวนสยามอย่างเทียบกันไม่ได้เท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม
การสร้างอนุสาวรีย์ของทั้ง 2 ท่านนี้
นับว่าแตกต่างกันอย่างน่าศึกษา

คุณ ไชยวัฒน์สร้างอนุสาวรีย์ในนามของเถ้าแก่
ที่สร้างด้วยเงินของตนเองและเงินกู้

จากธนาคารและสถาบันการเงิน
ส่วนคุณบรรหารใช้เงินตนเองจำนวนไม่มาก
แต่จำนวนมากเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน

อนุสาวรีย์ของคุณไชยวัฒน์จึงมี
ความเสี่ยงที่แตกต่างจากอนุสาวรีย์ของคุณบรรหาร

แน่นอนว่า ความแตกต่างดังกล่าวสืบเนื่องจาก
คุณไชยวัฒน์ไม่ได้เข้าสู่การเมือง
ต่างจากคุณบรรหารที่อยู่ในวงการเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนาน
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลคุณบรรหาร
สามารถดึงงบประมาณไปช่วยพัฒนา

จังหวัดสุพรรณบุรีได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
เวลานี้ใครไปสุพรรณบุรีก็จะ
เห็นผลงานของคุณบรรหารอย่างชัดแจ้ง

นอกจากนี้ความแตกต่างระหว่าง
คุณบรรหารกับคุณไชยวัฒน์ก็ยังน่าสนใจ

ที่คุณบรรหารไม่ค่อยจะหวั่นไหวกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์

กระทั่งก่นด่า เสียๆหายๆ ดังเช่นที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้
ขณะที่คุณไชยวัฒน์ออกอาการรับไม่ได้ทุกครั้ง
ถึงขั้นประกาศขายสวนสยามให้รู้แล้วรู้รอด
เมื่อเกิดเหตุร้ายกับสวนสยาม

อาจจะเป็นได้ที่ความเป็นนักการเมืองของคุณบรรห
าร
ย่อมมีทั้งคนรักและคนชัง
แต่ถึงใครจะชังคุณบรรหารก็ยังมีคนสุพรรณบุรีที่
คุณบรรหารดูแลเหมือนไข่ในหิน มาตลอด
เป็นคนที่รักคุณบรรหารไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือว่าลึกๆแล้วเป็นความต่างระหว่าง
ความเป็น”เถ้าแก่”กับ”หลงจู๊”
ในแบบฉบับเฉพาะตัวของคุณบรรหาร ?

ผู้ตอบได้อาจจะมีเพียงคุณบรรหารคนเดียวกระมัง

นายบรรหาร ศิลปอาชา
วุฒิการศึกษา
-นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
-นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
-ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา

ที่อยู่ พรรคชาติไทยพัฒนา
เลขที่ 1 ถ.พิชัย เขตดุสิต กทม. 10300
โทรศัพท์ 2438070-3 โทรสาร 2438074
สถานที่ติดต่อ พรรคชาติไทยพัฒนา
เลขที่ 1 ถ.พิชัย เขตดุสิต กทม. 10300
โทรศัพท์ 2438070-3 โทรสาร 2438074

ประวัติการทำงาน

-พ.ศ.2517 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-พ.ศ.2518 เป็นสมาชิกวุฒิสภา
-พ.ศ.2519 เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรก
และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ.2519 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
-พ.ศ.2521 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-พ.ศ.2523-2524 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ. 2529 - 2531 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
-พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ. 2531-2533 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
-พ.ศ. 2533 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-พ.ศ. 2533 - 2534 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
-พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ. 2535 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
-พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ. 2537 เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
-พ.ศ. 2538 เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(รับพระบรมราชโองการ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2538)
-พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
-พ.ศ. 2540 ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-พ.ศ. 2542 ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
-พ.ศ. 2542 ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนอิ่มทุกคนทุกวัน
-พ.ศ. 2543 ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เป็นนายกสภาประจำสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา
-พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต 4
-พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต 4

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
-เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาวชิรมงกุฏไทย
-เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
-เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า
-เหรียญกาชาดชั้น 1
-เหรียญราชการชายแดน

ประวัติความเป็นมา

ผมถือกำเนิดมาจากครอบครัวชนบทในจังหวัดสุพรรณบุรี
เติบโตและเรียนหนังสือที่นั่น ในขณะเดียวกับที่ต้องทำงาน
รับผิดชอบตัวเองและครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก

ผมจำเป็นต้องโยกย้ายตัวเอง
จากสุพรรณบุรีมุ่งเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
เพื่อหาโอกาสที่ดีให้กับตัวเองตามหน้าที่รับผิดชอบ
ที่ผู้ชายคนหนึ่งพึงมี
จนกระทั่งสามารถมีครอบครัวของตัวเองที่อบอุ่นและมั่นคง
มีฐานะตามสมควรแก่อัตภาพ
ซึ่งเป็นผลจากการทำงานอย่างจริงจัง
ซึ่งผมเองก็ภูมิใจ และคิดว่าน่าจะเป็นการเพียงพอแล้ว

ผมมีความ ผูกพันและระลึกถึงบุญคุณของแผ่นดินถิ่นเกิดเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้มีคนมองกันว่า
การที่ผมทำงานปรับปรุงจังหวัดสุพรรณบุรี
ให้พัฒนามากขึ้นเท่าที่จะทำได้นั้น
เป็นการกระทำที่มากเกินไป
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วความเจริญอันมากมาย
เกิดจากผลการทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนานของผม
มิได้มาจากการทุ่มเททำในช่วงเวลาสั้น ๆ

ต่อมา เมื่อมีโอกาสที่จะทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติโดยรวม
ผมก็ไม่เคยรั้งรอที่จะกระทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ
ทั่วแผ่นดินไทยของเรานั้นยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างจริงจังอีกมากมาย
ทั้งในด้านวัตถุและด้านสังคม ผมจะไม่ยอมให้สิ่งใดมาเป็นเหตุ
ให้ผมต้องท้อถอยและละเลยการทำงานเพื่อส่วนรวม
ในขณะที่ผมมีโอกาสจะกระทำได้
และทำโดยไม่จำกัดเพียงขอบเขตของจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง
แต่ทำเพื่อแผ่นดินไทยโดยรวม

วิธีคิดวิธีทำงาน

ในการทำงานและการดำเนินชีวิตนั้น
ผมมีแนวทางที่ยึดถือตลอดมาคือความมุ่งมั่นตั้งใจ ใส่ใจในงานที่ทำ
ใฝ่เรียนรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มานะอดทน
มีความกตัญญูรู้คุณ และมีเมตตาธรรม
คำนึงถึงความคิด ความรู้สึก ความเป็นอยู่ของผู้อื่น
โดยเฉพาะผู้ที่ด้อยกว่า ไม่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบใคร
แต่ก็ไม่ยอมให้ใครมาย่ำยีอย่างไม่ถูกต้อง
ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ
ผมให้ความสำคัญกับความเป็นครอบครัวอย่างมาก
ผมถือว่าครอบครัวต้องอบอุ่นก่อน สังคมโดยรวมจึงจะดีได้

ผมมีความสุขกับการได้ทำงาน และเห็นงานที่ทำประสบความสำเร็จ
ผมเอาจริงเอาจังกับงานทุกงานที่ทำคอยติดตามความคืบหน้าอยู่เสมอ
รวมทั้งต้องคอยเร่งเมื่อเห็นงานล่าช้า โดยเฉพาะงานในระบบราชการ
ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้งานเดินได้เร็ว สาธารณชนก็จะได้ประโยชน์
อย่างไรก็ตามในหลายครั้ง ผมถูกมองว่า ชอบเข้าไปล้วงลูก
บริหารงานแบบหลงจู๊ ผมก็ไม่ว่า หากทำให้งานสำเร็จได้
เพราะถ้ายึดแต่การนั่งสั่งงานในห้อง
แล้วปล่อยผู้รับผิดชอบตามสายงานไปโดยไม่คอยติดตาม
ยากนักที่งานจะสำเร็จตามกำหนดและเป้าหมาย

มีอีกเรื่องหนึ่งที่หลาย ท่านถามผมว่า
ในการทำงานนั้นทำไมผมจึงมีความจำดี ผมตอบไปว่า
ที่จริงมิใช่ว่าผมจะหัวดี แต่อาศัยการเขียนการสั่งงานอยู่ทุกวันจึงจดจำได้
เปรียบเสมือนการขับรถยนต์โดยมีคนขับรถ กับการขับรถยนต์ด้วยตนเอง
ถ้าหากเราไม่ได้ขับรถยนต์ด้วยตนเอง
เราจะไม่สามารถจำเส้นทางได้
แต่ถ้าเราได้ขับรถยนต์ด้วยตนเองแล้วเราจะสามารถจดจำเส้นทางได้ทุกสาย

หลักการของชีวิตแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน
แต่ผมเชื่อว่า น่าจะมาจากรากฐานที่คล้ายคลึงกัน
การเป็นคนมีหลักการเท่านั้น
ที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิตของตนและครอบครัวได้

การทำงานเพื่อสังคม

คำวิพากษ์วิจารณ์และความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อตัวผมนั้น
อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าคนกลุ่มไหนจะมองและจะเลือกมอง แง่มุมใด
คนเรานั้นเมื่อไม่เคยได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงกัน ได้แต่ฟังจากข่าว
หรือ "เขาเล่าว่า" ก็อาจได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ผมเชื่อว่าถ้าใครได้มีโอกาส คุยกับผม
ได้สัมผัสการทำงานของผม
คงจะเข้าใจได้ถึงความเป็นคนทำงาน
มุ่งมั่นเอาจริงและสำนึก ของผมที่มีต่อสังคม ประเทศชาติ

ผมไม่เคย ลืมพื้นฐานความเป็นชาวบ้านของผม ไม่เคยลืมว่า
ผมอยากเรียนสูงๆแต่ไม่มีโอกาส ไม่เคยลืมว่า ผมต้องอดทน
ต่อสู้ชีวิตมาเพียงใด และที่สำคัญ ผมระลึกเสมอว่า
คนเราตายไปแล้วเอาอะไรติดตัวไปไม่ได้เลย
มือที่เคยกำเมื่อเกิดจากท้องแม่ ก็ต้องแบออก
ยามชีวิตหาไม่ มีแต่คุณความดีเท่านั้นที่จะเหลือให้ผู้คนได้พูดถึง
ดังนั้น เมื่อผมมีความพร้อม ทั้งอยู่ในฐานะ ที่ช่วยเหลือผู้อื่น
การเมืองจึงเป็นช่องทางที่ผมเลือก เพราะเป็นช่องทางหลัก
ที่ให้โอกาสผมทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติ ได้กว้างไกลที่สุด
แผ่นดินนี้ยังมีผู้ทุกข์ยากอีกมากมายนัก ที่รอคอยการช่วยเหลือ
โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกว่า เขาทั้งปวงในสังคม ที่เราจะละเลยไม่ได้เลย
และสำหรับผมแล้ว มรดกที่งดงามที่สุดอย่างหนึ่ง
ที่ผมอยากทำให้ไว้แก่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน คือ
ระบบ การศึกษาที่มีคุณภาพที่สามารถ
สร้างความสุขและสันติแก่คนในสังคมได้
ผมจะทุ่มเทอย่างเต็มความสามารถ เพื่อฝากมรดกนี้ไว้ ให้ได้ในแผ่นดิน

ปรัชญาแห่งชีวิต

ชีวิตผมเดินมาถึงจุดนี้แล้ว เวลาที่เหลือก่อนผืนดินจะกลบหน้า
ผมปรารถนาจะอยู่อย่างคนมีประโยชน์ของสังคม
ผมเชื่อในหลักของเหตุและผล
เชื่อว่าทำดีย่อมได้ผลดีทำชั่วผลชั่วย่อมตามมา
แต่การตั้งใจทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง
เพื่อรักษากฎระเบียบของกติกาประชาธิปไตยนั้น
มันก็เป็นเรื่องที่ "ชี้ขาด" ไม่ได้ว่าสิ่งที่ "ถูกต้องที่สุด"
ทั้งหมดนั้น อยู่ตรงไหน และเป็น "ที่พอใจ"
แก่ทุกฝ่ายแค่ไหน ในสังคมเรานั้นบางเรื่อง
"ความถูกต้อง" หรือ "ความชอบธรรม"
เป็นสิ่งที่จะชี้ชัดได้ยาก เพราะแต่ละฝ่ายอาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน
ผมไม่สามารถทำอะไรทั้งหมดได้ถูกต้องที่สุด
แต่ผมก็พร้อมที่จะ "ยอมรับ"
และก้าวเดินไปกับแนวทางที่ประชาชนชี้ว่า
"นี่คือความต้องการของประชาชน"

.. และมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม
.. เป็น "เป้าหมาย" ที่จะนำมา "ร่วมความคิด" กันได้
เพื่อบรรลุสู่ความสามัคคี ความมั่นคง ความรุ่งเรือง
และสันติสุข ของคนในประเทศ การทำงานเพื่อส่วนรวมให้สัมฤทธิ์ผลนั้น
ไม่มีใครสามารถจะทำได้เพียงคนเดียว
จำเป็นจะต้องมีการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีงาม
อันเป็นแก่นสารในการทำงานเพื่อสังคม
และจำเป็นจะต้องมีการรับฟังความเห็น ซึ่งกัน และกัน
ซึ่งผมพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการทำงานเท่าที่มี
และยินดีที่จะรับฟังความเห็น