Custom Search

Jan 28, 2009

สนามหลวง



ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ
หนุ่มเมืองจันท์
มติชน
12 สิงหาคม 2548

ตอนงาน HAPPY BOOK DAY
ตะลอนทัวร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผมนั่งคุยกับ พี่วาณิช จรุงกิจอนันต์ พี่นิวัติ กองเพียร
และ "ก้า" อริณธรณ์ นักเขียนและหัวหน้าวงบาสเก็ตแบนด์
ที่ทำเพลง HAPPY BOOK DAY ให้กับสำนักพิมพ์มติชน
ตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีก่อน
"ก้า" เพิ่งพาทีมงานไป "สนามหลวง" ไม่ใช่ "สนามหลวง"
ที่หน้าวัดพระแก้วนะครับ แต่เป็นค่ายเพลงสนามหลวง
บริษัทใหม่ในเครือแกรมมี่ที่จับกลุ่มวงดนตรีแบบ "อินดี้"
"ก้า" พาวงบาสเก็ตแบนด์ไปที่ตึกแกรมมี่
ไปนั่งรออยู่ในห้องใหญ่ห้องหนึ่งระหว่างที่รอ
เขาก็บ่นกับเพื่อนว่าทำไมให้รอห้องใหญ่ขนาดนี้สักพักหนึ่งก็มีคนหน้าตาคุ้นๆ
เดินเข้ามา แล้วก็มานั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม "อากู๋" ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ครับ
ทั้งวงตกใจกันทั่ว มองหน้ากันงงๆ ไม่นึกว่าคนที่เขาจะมาเจรจาด้วยคือ "ไพบูลย์"
"บาสเก็ตแบนด์" เป็นวงอินดี้ที่มีเทปออกมาแล้ว 2 ชุด
ในแวดวงกลุ่มแฟ็ตเรดิโอ หรือกลุ่มเพลงอินดี้จะรู้จักเขาดี
แต่ด้วยความดังหรือด้วยปริมาณเทปที่ขายได้ "ไพบูลย์"
ไม่น่าจะเสียเวลามาเจรจากับ "บาสเก็ตแบนด์"
อึกอักไม่รู้จะคุยอะไรอยู่พักใหญ่
ก่อนจะเริ่มสนทนากันเรื่องระบบธุรกิจ เป็นระบบธุรกิจแบบใหม่
ไม่ต้องเซ็นสัญญาอยู่ในสังกัดให้อึดอัดทำเดโมเทปเพลงเอง
อยากแต่งอยากร้องอย่างไร...ทำ "แกรมมี่"
จะรับผิดชอบด้านการผลิต การโฆษณาประชาสัมพันธ์
และการวางจำหน่ายระบบแบ่งผลประโยชน์ก็ค่อนข้างจูงใจ
"เพลงชุดที่ผ่านมาขายได้กี่แผ่น" ไพบูลย์ถาม
"ประมาณ 5,000 ครับ"ก้าตอบ
"อากู๋" หัวเราะ ตบไหล่ "ก้า"
"ดีแล้ว คราวนี้จะได้รู้จักว่าหลักหมื่นเป็นอย่างไร"


ผมได้ยินชื่อค่ายเพลงนี้จาก "ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม" มาพักหนึ่งแล้ว
เขาเคยเล่าว่าจะทำค่ายเพลงอินดี้ชื่อ "สนามหลวง" เป็นสนามหญ้ากว้างใหญ่
ไม่มีเส้นข้างห้ามออกเหมือนสนามฟุตบอล "อินดี้" คืออิสระ
อยากทำอะไรก็ทำผมไม่รู้ว่าเหตุผลแท้จริงที่ทำ
"สนามหลวง" คืออะไรถ้าวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
ก็น่าจะมาจากเหตุผล 3 เรื่อง เรื่องแรก รูปแบบการทำงานแบบ
"อุตสาหกรรมเพลง" ของแกรมมี่มี "จุดอ่อน" เป็น "จุดอ่อน"
แบบเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรม เจอสินค้า "แฮนด์เมด"
พอเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ความกล้าทดลองก็จะน้อยลงนั่นคือ
เหตุผลที่ทำให้ "เบเกอรี่มิวสิค"
ที่ต่อมายกทีมออกแปลงกายเป็น "เลิฟ อิส" เติบโตขึ้น
เรื่องที่สอง ความสำเร็จของ "บอดี้สแลม" และ "บิ๊กแอส"
ซึ่งล้วนแต่เคยเป็นวงอินดี้มาก่อนสะท้อนให้เห็นว่า "ของจริง"
วันนี้ขายได้
เรื่องที่สาม "ไพบูลย์" รู้สึกว่า "แกรมมี่" ใหญ่จนยากจะปรับวัฒนธรรมองค์กร
"ความมั่นคง" ทำให้พลังแห่งความฮึกเหิมลดน้อยลงชนะมา 99 ครั้ง
จะชนะเพิ่มอีกครั้งก็ไม่ตื่นเต้นแล้ว
เขาอาจต้องการสร้าง "แกรมมี่ 2" ที่มีวัฒนธรรมแบบ "รุ่นใหม่"
เหมือนกับตอนที่ "แกรมมี่" เริ่มต้นใหม่ๆเป็นวัฒนธรรมแบบ "ซิลลิคอน วัลเลย์"
ของ "ไมโครซอฟท์"
ระบบงานของ "สนามหลวง" จึงอิสระ แต่ทำงานหนัก
ไม่มีระดับชั้นการบริหารมากนัก เป็นการบริหารแบบแนวราบชั้นเดียว
แฮ่ม...ไม่มีชั้น-วรรณะ "สนามหลวง" จึงเป็น "ไฟติ้งแบรนด์" ของ "แกรมมี่"
สำหรับงานเพลง "อินดี้" เป็นสนามทดลอง "ของใหม่"
และถ้าวงไหนประสบความสำเร็จและต้องการไปเล่นแบบ "สนามใหญ่"
เขาก็สามารถยกระดับเข้าสังกัดแกรมมี่แบบ "บอดี้สแลม" หรือ "บิ๊กแอส"
ได้ตามปกติ "แกรมมี่" จะทำเพลงแบบ "อุตสาหกรรม"
มีการแบ่งฝ่ายกันทำ คือ ฝ่ายแต่งเพลงก็รับหน้าที่แต่งเพลง
แต่งกันเป็นทีม สามารถปรับปรุงเนื้อร้อง-ทำนองกันได้แยกเป็นส่วนๆ
ทั้งทีมดนตรี ฝ่ายเครื่องแต่งกาย ฝ่ายออกแบบท่าเต้น ฯลฯ
ทำเป็นระบบอุตสาหกรรม แต่ "สนามหลวง" ไม่ใช่ครับ"ไพบูลย์" ใช้วิธีการใหม่
เขาให้ "แก๊ก" มุขเอก จงมั่นคง กับ "พี" รวมพร ถาวรอธิวาส
ไปหาข้อมูลเบื้องต้น "แก๊ก" เป็นลูกชายของ "บุษบา ดาวเรือง"
กรรมการผู้จัดการใหญ่แกรมมี่ และ "สันติสุข จงมั่นคง"
กรรมการบริหารของแกรมมี่ถือว่า "ลูกไม้" หล่นข้างต้นจริงๆ
"แก๊ก" จบด้านดนตรีจากต่างประเทศ ทำเพลงอินดี้อยู่พักหนึ่ง
ก่อนที่จะเข้ามาเป็น "ครีเอทีฟ กรุ๊ปเฮด" ของ "สนามหลวง
ส่วน "พี" รวมพร เป็นพีอาร์เก่าของแกรมมี่ผมเคยเจอเธอครั้งหนึ่ง
ตอนที่ทีมพีอาร์ "แกรมมี่" มาที่ "มติชน" "พี" จบมาด้านเศรษฐศาสตร์
และเป็นคนชอบฟังเพลงหลากหลายแนว
ปัจจุบันเป็นผู้บริหารคนหนึ่งของค่ายสนามหลวง
ภารกิจที่ "ไพบูลย์" มอบหมายคือไปศึกษาพวกวงอินดี้ทั้งหลาย
ว่าเขามีความต้องการอย่างไร
อยากเซ็นสัญญาเป็นศิลปินในเครือหรือเปล่าต้องการ "ความอิสระ"
เรื่องการแต่งเพลงเองเล่นเอง หรือเปล่า ฯลฯ
ตั้งโจทย์ขึ้นมาเพื่อหาแนวทางตอบสนองความต้องการ
ของพวกวงอิสระเหล่านี้
ความได้เปรียบของ "แกรมมี่"คือมีความพร้อมด้านการผลิต
การจัดจำหน่ายและการประชาสัมพันธ์แต่ที่ "อากู๋" ต้องการ
คือ รสชาติใหม่ของดนตรีให้อิสระแก่นักร้องนักดนตรี
ที่มีความสามารถแต่งเพลงเอง-ร้องเองทีมงานอาจเสนอความเห็นบ้าง
แต่สุดท้ายแล้วการตัดสินใจจะอยู่ที่ "ศิลปิน"
งานนี้กะเล่นกับ "ของจริง" "ไพบูลย์" คงอยากสัมผัสบรรยากาศแปลกๆ ใหม่
เขาจึงลงมาคุมเอง และคุยกับศิลปินเองเขาเคยเล่าว่าคุยกับวงอินดี้วงหนึ่งระหว่างคุย
ศิลปินวงนั้นก็โยกตัว ขยับขาไปมา
มือก็ตบหน้าขาเป็นจังหวะช่างเป็นศิลปินที่มีดนตรีในหัวใจจริงๆ
"ไพบูลย์"ถามว่าขายซีดีแผ่นละเท่าไร
ศิลปินวงนั้นบอกราคามา"แล้วได้ส่วนแบ่งเท่าไร" เขาก็บอกตัวเลขมา
"ไพบูลย์" ก็เล่าให้ฟังว่าถ้ามาอยู่กับ "สนามหลวง"
ทางแกรมมี่จะรับผิดชอบด้านการผลิตและการตลาดทั้งหมดเขาพยักหน้าเข้าใจ
ก่อนเสนอการแบ่งสรรผลประโยชน์แบบ "อินดี้"
"แต่ผมขอส่วนแบ่งเท่าเดิมนะครับ"
"ไพบูลย์"อึ้งไปพักใหญ่ เพราะเป็นการเจรจาธุรกิจที่เขาไม่เคยเจอมาก่อน
"เอ้อ...แล้วพี่จะได้อะไรล่ะ" เขารำพึงผมไม่รู้ว่าการเจรจาจบลงแบบไหน
แต่นึกเล่นๆ ว่าถ้าเป็น "อินดี้" ของแท้
บางทีเขาอาจจะตอบในมุมที่ "ไพบูลย์" คิดไม่ถึง"ได้แสดงน้ำใจไงครับ"
"อากู๋" บอกความหมายของ "สนามหลวง"
ในอีกมุมหนึ่งกับนักข่าว"สนามหลวง" เป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่
มีอิสระ แฮ่ม...และมีคนเล่นว่าวเยอะ
ฟังภาพสนามหลวงในมุมขำ-ขำของ "ไพบูลย์"
แล้วบางทีความหมายของค่าย "สนามหลวง"
แท้จริงอาจเป็นแบบนี้ "ความสุข" จาก "ความอิสระ"
...ที่ทำได้ด้วยมือคุณเอง