Custom Search

Jul 12, 2018

อิทธิฤทธิ์(คนทำ)การ์ตูน ชัยพร พานิชรุทติวงศ์

โดย วันพรรษา อภิรัฐนานนท์ 
ภาพ เสกสรร โรจนเมธากุล
https://www.posttoday.com/ent/celeb/493914





ภาพยนตร์การ์ตูนทำให้คนดูอย่างเราๆ อารมณ์ดีได้เสมอ การ์ตูนหลายเรื่องยังทำให้เราได้หลุดออกจากกรอบ ได้หลุดออกจากโลกความจริง แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ
แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับที่การ์ตูนได้หล่อหลอมเรา บันดาลใจเรา และให้อิทธิพลแก่เรา หรือจะพูดว่าได้มอบ “อิทธิฤทธิ์” ให้แก่เราก็น่าจะได้

ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ อาจารย์หัวหน้าหลักสูตรปริญญาโท คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการศูนย์อาร์เอสยู แอนิเมชั่น (RSU Animation) หลายคนรู้จักเขาดีจากแอนิเมชั่น “ยักษ์” หนึ่งในเบื้องหลังแอนิเมชั่นพันธุ์ไทยของการ์ตูนแห่งยุค อดีตกรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการ
“นั่นคือวินาทีที่ผมน้ำตาไหล เมื่อได้เห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติสมจริงอยู่ในจอ สมัยนั้นเมืองไทยยังทำแบบนั้นไม่ได้ การ์ตูนไทยยังทำเทคนิคแบบนั้นไม่ได้ การ์ตูนบ้านเรายังทำ 2D อยู่เลย ผมกลับมาลาออกจากงานเดี๋ยวนั้น รู้แค่ว่าจะต้องไปเรียนต่อเพื่อทำการ์ตูนแบบนี้ให้ได้”
ใช้ชีวิตและเรียนปริญญาโทอยู่ที่สหรัฐ 6-7 ปี ช่วงแรกพูดภาษาอังกฤษแทบไม่ได้เลย แต่เพราะความที่ต้องสื่อสารกับฝรั่ง จึงเคี่ยวเข็ญตัวเองจนพูดได้สื่อสารได้ ชัยพรได้ทุนเรียนหนังสือและได้งานเต็มเวลาเป็นคาแรกเตอร์ ดีไซน์ที่ไดนามิกซ์ (Dynamix) ส่วนหนึ่งของบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ เซียร์รา เกม (Sierra Game Company)
ถือเป็นโอกาสดีในการฝึกมือ ขณะเดียวกันก็เป็นนักล่ารางวัลตัวฉกาจ Jiggy Bug งานของเขาได้รับรางวัลที่ 1 Siggraph จากการประกวดผลงานแอนิเมชั่นประเภทนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก ไม่นับอีกมากมายหลายเวที ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันการ์ตูนนานาชาติ Urziceni 2007 จากโรมาเนีย รางวัล Mencao Honrosa จากเทศกาลการ์ตูนช่องและขำขันนานาชาติ FIHQ 2007 ประเทศบราซิล รวมทั้งอีกมากมาย ที่ล้วนแล้วแต่มาจากเวทีระดับโลกทั้งสิ้น จบปริญญาโทแล้วได้งานไดเรกเตอร์อาร์ตที่แคลิฟอร์เนีย หากชัยพรไม่ชอบงานอาร์ตด้านฝั่งตะวันตกของสหรัฐ เขาตัดสินใจขับรถคนเดียวข้ามทะเลทรายไปนิวเจอร์ซีย์ เพื่อสังเกตการณ์งานศิลปะทางด้านนั้น ขับรถรอนแรมไป 11 วันเต็ม แต่รถก็คว่ำเสียก่อน ประสบอุบัติเหตุกลางทะเลทราย 
ได้รู้รสความร้อนระอุในเวลากลางวัน และได้รู้รสความหนาวยะเยือกในเวลากลางคืน “ไม่น่ามาเลย แม่ก็เตือนแล้ว (ฮา) แอบพูดกับตัวเองแบบนั้นเหมือนกัน หัวใจเต้นและนอนหนาวอยู่เพราะหนาวมากจริงๆ จับใบหูไม่มีความรู้สึก
โชคดีมีแมคโดนัลด์อยู่แถวนั้น ได้อาศัยพักรอรถลาก มีบริการซ่อมรถยนต์กลางทะเลทราย” ชัยพรเล่า มือหนึ่งของเราได้งานที่อยากได้ที่นิวเจอร์ซีย์ ชัยพรทำงานที่สหรัฐพักใหญ่ กระทั่งมารดาบ่นว่าไม่เคยกลับบ้านเลย อยากให้กลับเมืองไทยแล้ว
เรื่องกลับมาทำงานที่เมืองไทยไม่ยาก คิดหนักนิดหน่อยเรื่องเงิน เพราะค่าตอบแทนต่างกันลิบลับ อย่างไรก็ตาม เมื่อตอบตัวเองว่าสำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน ชัยพรก็ได้กลับบ้าน
ปี 2544 กลับประเทศไทย เป็นอาจารย์พิเศษ สอนแอนิเมชั่นและคาแรกเตอร์ ดีไซน์ หลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ขณะเดียวกันก็เป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์และแอนิเมชั่นที่ บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น
ทำ ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น ชุด Series 2 มิติ และ 3 มิติ การ์ตูนจากยุคมหาสนุก ขายหัวเราะ ต่อมามีโอกาสร่วมงานกับเวิร์คพอยท์ ทำ “ยักษ์” ที่คนดูการ์ตูนทุกคนรู้จัก เบื้องหลังคืองานหนักที่ยาวนานกว่า 8 ปีเต็ม
เจ้าตัวบอกว่างานกำกับการ์ตูนไม่ยากเท่าไร แต่ที่ยากและหนักหน่วงสำหรับเขาคืองานกำกับคน บริหารจัดการคน  นั่นเป็นช่วงที่เวิร์คพอยท์จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โจทย์ที่ซ้อนอยู่คือการแตกบริษัทลูกและบริษัทในเครือตามหลักเกณฑ์ของบริษัทที่อยู่ระหว่างการยื่นขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
บ้านอิทธิฤทธิ์ที่ดูแลโครงการยักษ์ก็เป็นหนึ่งในเครือของเวิร์คพอยท์ที่แตกออกมา ชัยพรรับผิดชอบเป็นกรรมการผู้จัดการ เหนื่อยและยากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต โรคหลายโรครุมเร้าในช่วงนี้ ดาหน้ามาหมดทั้งเกาต์ ความดัน ความเครียด
“วันที่ยักษ์เสร็จสมบูรณ์ ผมโกนหัวเลย บอกตัวเองว่าเหนื่อยและไม่ค่อยแคร์สังคมเท่าไรแล้วในตอนนั้น ไปญี่ปุ่นครับ นัดกันไปเที่ยวกับทีมงานยักษ์ ทุกคนตกใจกันหมดเมื่อเห็นผมที่สนามบิน” ในบทบาทของอาจารย์สอนด้านแอนิเมชั่น ชัยพรกล่าวว่า ภาพยนตร์การ์ตูนไทยไม่มีความต่อเนื่อง จะเติบโตได้ต้องมีอุตสาหกรรมที่รองรับ ถือเป็นจุดอ่อนสำคัญในการพัฒนางาน ขณะที่ตลาดไทยเองก็ยังไม่กว้าง เปรียบเทียบกับดิสนีย์ ซึ่งมีตลาดทั่วโลก ตลาดการ์ตูนญี่ปุ่นก็ทั่วโลก
หรือแม้กระทั่งการ์ตูนจีนที่เพิ่งก้าวขึ้นมา ก็มีบทบาทกว้างขวางในเวลาไม่นาน “ทั้งหมดเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่อ้างอิงอยู่ วัฒนธรรมจีนหยั่งรากอยู่ทั่วโลก เพราะฉะนั้นก็ไม่ยากที่การ์ตูนจีนจะยกระดับได้รวดเร็ว
ส่วนไทยตลาดยังแคบ คนดูคือคนไทยกับคนลาว หรือตลาดในภูมิภาคเอเชียบ้าง” ลูกศิษย์ตั้งคำถามกับผมว่า ในสังคมไทยคนทำการ์ตูนจะมีงานทำหรือไม่ จะอยู่ได้หรือไม่ ชัยพรตอบว่าอาจารย์ก็ไม่รู้นะ รู้แต่ว่าทำให้ดีที่สุด คีย์เวิร์ดอาจจะอยู่ที่คำว่า “ดีที่สุด” ก่อนหน้าจะมาถึงจุดนี้ ชัยพรสมัยทำปังปอนด์ก็คิดกับตัวเองว่าต้องทำให้ดีที่สุด ถึงตอนทำยักษ์ก็คิดว่าต้องทำให้ดีที่สุด ส่วนปัญหาในระดับนโยบายการผลักดันอุตสาหกรรมการ์ตูนจะต้องออกแรงมากกว่านี้หรือไม่ อัตราภาษีที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเหมาะสมแล้วหรือไม่ เขาเชื่อว่าจะมีคนตอบเองในที่สุด ปัจจุบันของชัยพรคือการผลักดัน RSU Animation แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ในรูปบริษัทจำกัด เพื่อการศึกษาและการผลิตการ์ตูนที่ดีที่สุด ศูนย์ฯ ดำเนินโครงการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นในรูปแบบของบริษัท ที่ถ่ายทำและนำไปฉายจริงๆ กระบวนการผลิตในทุกขั้นตอนใช้มืออาชีพทั้งหมด คัดเลือกจากอาจารย์และนักศึกษาที่มีคุณสมบัติ ล่าสุดอยู่ระหว่างผลิตแอนิเมชั่น 3 มิติเรื่องแรก มหายุทธอโยธยา เขียนบทโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ส่วนชัยพรเป็นผู้กำกับ “เป้าหมายของผมตอนนี้คือ การผลักดันอาร์เอสยูให้ได้ทำแอนิเมชั่น 3D ที่ดีที่สุด” ชัยพรเล่า มุ่งมั่นและทุ่มเทให้กับอาร์เอสยู ขณะเดียวกันก็สนุกกับงานสอน รวมทั้งการควานหาเวลาว่างเท่าที่หาได้เพื่อทำในสิ่งที่ชอบอีกหลายอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตง่ายๆ อยู่กับบ้าน การเพนต์รูป การทำงานโฆษณา งานเขียนบทความและการออกแบบภาพประกอบ ล่าสุดคือการเขียนนิทานเด็ก ซึ่งชัยพรลงมือเขียนเองทั้งรูปและเรื่อง พิมพ์โดยนานมีบุ๊คส์ ทั้งหมดนี้คือความสุขของนักสร้างการ์ตูนมือหนึ่ง งานในแพลตฟอร์มอื่นน่าสนใจไม่แพ้การ์ตูนบนจอภาพยนตร์ อยากรู้จักชัยพรให้มากขึ้น ลองศึกษาจากงานของเขา แล้วก็อย่าลืมตามไปดูภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดยาว (Animation Feature Film) เรื่องแรกของอาร์เอสยู มหายุทธอโยธยา เสร็จเมื่อไรอย่าลืมบอกกัน เดิมพันคือความมุ่งมั่นทุ่มเทผลักดันแอนิเมชั่นไทยให้พลิกเปลี่ยน ก้าวไปข้างหน้าด้วยพลังลูกใหม่ๆ ถ้าเดินทางข้ามกาลเวลาแบบในการ์ตูนได้ เชื่อว่าชัยพรก็คงแปลกใจตัวเองไม่น้อยที่พบว่า อนาคตของเขาเดินทางมาไกลเพียงไหน มีความสุขเพียงไหน และมีอิทธิฤทธิ์บันดาลได้เพียงไหน มีความสุขเพียงไหน และมีอิทธิฤทธิ์บันดาลได้เพียงไหน