Custom Search

May 7, 2012

จากการอ่านหนังสือกระดาษสู่คอมพิวเตอร์

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 
มติชนออนไลน์


http://teetwo.blogspot.com/2009/04/guru-postmodern.html

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม นายธเนศ วงศ์ยานนาวา 

อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้บรรยายหัวข้อ
"จากการอ่านหนังสือกระดาษสู่คอมพิวเตอร์"

สำหรับ Bangkok Writing Workshop
ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตาราง
การอบรมค่ายงานเขียนสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร
จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

และ Bookmoby
นายธเนศ กล่าวตอนหนึ่งว่า

รูปแบบการอ่านกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
เช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
ซึ่งมนุษย์อยู่กับเทคโนโลยีมาเป็นพันๆ ปีแล้ว

เช่น ล้อรถยนต์ ก็คือ เทคโนโลยี
ขณะที่คนส่วนใหญ่มักจะลืมไปแล้วว่า

มันเป็นเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน
กระดาษ ก็เป็นเทคโนโลยี

ซึ่งเรากำลังเปลี่ยนจากเทคโนโลยีกระดาษ
มาเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
อาจารย์ผู้นี้กล่าวด้วยว่าในโลกดิจิตอล

ความสุขที่ได้เชื่อมโยงกับคนอื่นๆ
ที่กลายเป็นเพื่อนกันในโลกของ
 "ความจริงลวงที่เสมือนจริง" (virtual reality)
แบบใน "เฟซบุ๊ก" ก็ทำให้การสร้างสายสัมพันธ์ฉันเพื่อน

ทำเงินให้กับใครบางคน
จนเป็นมหาเศรษฐีระดับโลก

ความบันเทิงจากการอ่านข้อความและ
การนำเสนอของอีกหลายๆ คน
จึงทำให้คนอีกหลายๆ คน มีความสุข

จากเงินที่ได้มาจากความบันเทิงของคนอีกหลายต่อหลายคน
แต่การสร้างสายสัมพันธ์ผ่านโลกดิจิตอล ก็ใช่จะมีแต่การสร้างมิตรภาพเท่านั้น
การทำลายมิตรและสร้างศัตรู

ก็พร้อมจะเกิดขึ้นตลอดเวลา เช่นเดียวกัน
การเป็นมิตรและศัตรู แสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัด

และมีความเป็นสาธารณะ ดังราวกับว่า
สายสัมพันธ์ฉันเพื่อนและศัตรู

จะต้องกระทำแบบรัฐ ที่ต้องประกาศและลงนามความสัมพันธ์
หรือไม่ก็ประกาศสงครามต่อกัน

เส้นทางของสายสัมพันธ์ในโลกการสื่อสารดิจิตอล
จึงดำเนินไปสู่เส้นทางแบบ  "กึ่งกฎหมายหรือกึ่งเป็นทางการ"
 นายธเนศ กล่าวตอนหนึ่งว่า

รูปแบบการอ่านกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกับ
ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

ซึ่งมนุษย์อยู่กับเทคโนโลยีมาเป็นพันๆ ปีแล้ว เช่น
ล้อรถยนต์ ก็คือ เทคโนโลยี

ขณะที่คนส่วนใหญ่มักจะลืมไปแล้วว่ามันเป็นเทคโนโลยี
ขณะเดียวกัน กระดาษ ก็เป็นเทคโนโลยี

ซึ่งเรากำลังเปลี่ยนจากเทคโนโลยีกระดาษมาเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์

อาจารย์ผู้นี้กล่าวด้วยว่าในโลกดิจิตอล ความสุขที่ได้เชื่อมโยงกับคนอื่นๆ
ที่กลายเป็นเพื่อนกันในโลกของ "ความจริงลวงที่เสมือนจริง" (virtual reality)
แบบใน "เฟซบุ๊ก" ก็ทำให้การสร้างสายสัมพันธ์ฉันเพื่อน ทำเงินให้กับใครบางคน
จนเป็นมหาเศรษฐีระดับโลก ความบันเทิงจากการอ่านข้อความและการนำเสนอของอีกหลายๆ คน
จึงทำให้คนอีกหลายๆ คน มีความสุข จากเงินที่ได้มาจากความบันเทิงของคนอีกหลายต่อหลายคน
แต่การสร้างสายสัมพันธ์ผ่านโลกดิจิตอล ก็ใช่จะมีแต่การสร้างมิตรภาพเท่านั้น
การทำลายมิตรและสร้างศัตรู ก็พร้อมจะเกิดขึ้นตลอดเวลา เช่นเดียวกัน
การเป็นมิตรและศัตรู แสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัดและมีความเป็นสาธารณะ
ดังราวกับว่า สายสัมพันธ์ฉันเพื่อนและศัตรู จะต้องกระทำแบบรัฐ
ที่ต้องประกาศและลงนามความสัมพันธ์ หรือไม่ก็ประกาศสงครามต่อกัน
เส้นทางของสายสัมพันธ์ในโลกการสื่อสารดิจิตอล
จึงดำเนินไปสู่เส้นทางแบบ  "กึ่งกฎหมายหรือกึ่งเป็นทางการ"
 
สายสัมพันธ์ผ่านโลกดิจิตอล ไม่ได้มีแต่มิตรภาพเท่านั้น
เพราะการทำลายมิตรและสร้างศัตรูก็เกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาเดียวกัน เช่น
คุณ อันเฟรนด์ (ลบเพื่อน) ในเฟซบุ๊ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมือง
ก็ทะเลาะกันทางเฟซบุ๊ก
 
นายธเนศ กล่าวด้วยว่า ในโลกของไฮเปอร์เทกซ์

(การคลิ๊ก link ไปยังข้อความต่างๆ)
ไม่สามารถที่จะทำให้ "ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย"
ได้อีกต่อไป มันไม่สามารถที่จะทำให้เรามีโฟกัสร่วมกันอีกได้
ทุกอย่างคุณกำหนดไม่ได้ว่าคนอ่านจะอ่านอะไร เพราะถึงแม้กูเกิ้ลจะขึ้นให้ 10 ลิงค์
ที่แต่มันก็สามารถจะพาคุณไปไหนต่อไหน

"เพราะฉะนั้น ถ้าพูดแบบง่ายๆ นัยยะทางการเมือง ในฐานะที่ผมสอนรัฐศาสตร์
คุณเลิกคิดได้แล้วว่าทุกคนจะคิดในแบบเดิม โดยไม่ต้องพูดถึง content
หรือ เนื้อหา คุณจะบอกว่ารักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อะไรต่างๆ แบบที่
คุณประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.) พูด ก็อ่านใน text นี้
 แต่มันอาจจะพาคุณไปไหนก็ไม่รู้ คุณอาจจะไปลงท้ายกับสังคมนิยม
คอมมิวนิสต์หรืออะไรก็ไม่รู้ ไม่การันตี คุณคุมมันไม่ได้ มันไม่เหมือน
เขียนหนังสือที่ฟอร์มของหนังสือมันตายตัว" นายธเนศกล่าว

สำหรับกรณีการปิดเวบไซต์ไซต์โดยกระทรวงไอซีที

นายธเนศ กล่าวว่า
ฟอร์มหรือรูปแบบของไฮเปอร์เทกซ์

ไม่ได้ทำให้คนโฟกัสอะไรร่วมกันเหมือน
อย่างฟอร์มหรือรูปแบบของหนังสือ

ฉะนั้น กระทรวงไอซีที จะทำให้คนคิดเหมือนกัน
หรือโฟกัสจุดเดียวกันไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไทย

คิดแต่เรื่องเนื้อหา (content)
ว่าใครพูดอะไรหรือไม่พูดอะไร

และต้องการให้ทุกคนคิดเหมือนกัน
แต่ส่วนตนเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องเนื้อหา (content)
อีกแล้ว แต่คือรูปแบบหรือฟอร์มของไฮเปอร์เทกซ์
และโลกอินเตอร์เนตที่ทำให้คนไม่ได้โฟกัสในที่เดียวกันอีกต่อไป