Custom Search

Mar 28, 2009

ร่องรอย"ความดี"



คอลัมน์ แท็งก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
มติชน
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552
ภาพ/เรื่อง มติชน



"เย็นย่ำวันที่ 18 มีนาคม สัปดาห์ก่อน" ที่บริเวณสนามหญ้าด้านหลังอาคารเก่าแก่
ซึ่งเคยเป็นที่ทำการกระทรวงพาณิชย์แต่เดี๋ยวนี้ผู้คนรู้จักกันในนามของ
"มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ"
"ที่ตรงนั้น "มติชน"ขออาศัยใช้เป็นสถานที่จัดงานเปิดตัวหนังสือ ชื่อ "รอยลูกปัด" ครับ"
หนังสือเล่มนี้
"คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช" เป็นคนเขียนคุณหมอบัญชา
นอกจากจะเป็นผู้หลงใหลในธรรมแล้ว
ยังหลงใหลในประวัติศาสตร์ชาติไทย
และโบราณคดีอีกด้วยในงานเปิดตัวหนังสือ
คุณหมอเล่าว่า
ระหว่างลงไปช่วยเพื่อนมนุษย์ที่ประสบภัย "สึนามิ" ทางภาคใต้
เมื่อปีกระโน้น
คุณหมอได้พบกับ "ลูกปัดโบราณ" กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป
ในท้องถิ่นและนับจากนั้นเป็นต้นมา
คุณหมอก็เริ่มศึกษาแกะรอย จวบจนถึงวันนี้
สิ่งที่คุณหมอค้นคว้าและศึกษา ได้ปรากฏออกมาเป็นรูปเล่มรวม
เป็นหนังสือที่ชื่อ "รอยลูกปัด" หนังสือเล่มนี้ "สำนักพิมพ์มติชน"
จัดพิมพ์ "บริษัทงานดี จำกัด" จัดจำหน่ายภายในหนังสือได้บรรจุเรื่องราวมากมาย
บอกเล่าเรื่องราวลูกปัดโบราณที่ค้นพบในประเทศไทยลูกปัดที่ว่า
มีทั้งลูกปัดที่ทำด้วยหิน ลูกปัดที่ทำด้วยแก้ว
และลูกปัดทองคำลูกปัดแต่ละลูก
มีทั้งรูปทรงกลม รูปทรงรี รูปสี่เหลี่ยม
แม้กระทั่งรูปทรงอักษรตัว "ซี" ก็ยังเรียกว่าเป็นลูกปัดนอกจากนี้ ยังพบว่า
ลูกปัดบางจำพวกสามารถพบเห็นได้ทั่วโลกบางจำพวกสามารถพบเห็นเฉพาะบางภูมิภาค
และอีกไม่กี่ชนิดที่พบเห็นได้เฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้นใครที่ได้เห็น
และได้อ่านประวัติภายในหนังสือเล่มนี้ คงจะระลึกนึกถึงค่าของลูกปัดโบราณ
เพราะนอกจากจะมีรูปโฉมที่สวยงามเหมาะแก่การนำมาเป็นเครื่องประดับแล้ว
"ลูกปัดเหล่านี้ยังบอกเล่าความเป็นมาของมนุษย์บนดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้อีกด้วยครับ"
เข้าใจว่า ก่อนหน้านี้คงมีใครหลายคนที่รู้เรื่อง
และพยายามศึกษาค้นคว้าลูกปัดโบราณของไทยมาก่อน
แต่มีไม่กี่คนบันทึกเป็นหนังสือแบบจริงๆ จังๆ
คุณหมอบัญชานี่แหละครับ
ที่ได้ค้นคว้าและถ่ายทอดสิ่งที่ศึกษาลงไว้ในเล่มนำเสนอ "ของเก่า"
ในรูปเล่มแฟชั่น"สมัยใหม่"
โก้...ไม่หยอก
"แถมข้อเขียนยังสะกิดเตือนเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ไม่เคยมองเห็นคุณค่าของลูกปัดโบราณ"
"ให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองในอดีตกาล ผ่านลูกปัดโบราณเหล่านี้"
ความจริงแล้ว ลูกปัดโบราณที่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย
เป็นวัตถุโบราณที่มีคุณค่าติดตัวมานานแล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมา
ไม่ใคร่จะมีผู้คนสนใจคุณค่าในตัวลูกปัดโบราณเหล่านั้นนักคงเหมือนกับ
โน้ตเพลงของนักประพันธ์เพลงคลาสสิค ที่อุดมด้วยคุณค่าทางดนตรี
แต่ไม่มีใครสนใจกระทั่งกาลเวลาผ่านไป จึงค่อยมีผู้พบเห็นคุณค่า
และนำผลงานชิ้นเยี่ยมของนักประพันธ์เพลงคลาสสิคคนนั้น
ออกเผยแพร่ผู้คนในโลกใบนี้จึงรู้จัก
และซึมซับคุณค่าของผลงานดังกล่าว
"ปรากฏการณ์เช่นนี้ ทำให้เรารู้ว่า คุณความดี
และคุณค่าที่เราสั่งสม กระทำกันมานั้น ไม่ได้สูญหายไปไหน"
เพียงแต่ บางครั้งการกระทำคุณความดีของเรานั้น ยังไม่มีผู้พบเห็น
หรืออาจจะเป็นเพราะยังไม่มีใครเห็นคุณค่าในการกระทำของเรา
เหมือนลูกปัดโบราณที่สั่งสมคุณค่าในตัวเองมานาน
แต่บังเอิญว่าที่ผ่านมายังไม่มีผู้ใดสนใจ
ผู้คนจึงยังไม่รับรู้คุณค่าของลูกปัดโบราณ
จนวันหนึ่งคุณหมอบัญชาไปพบเห็น
และสัมผัสได้ถึงคุณค่าของลูกปัดโบราณเหล่านั้น
คุณหมอบัญชาจึงนำเรื่องราวต่างๆ มาบอกต่อๆ กัน
ทำให้พวกเราคนไทยรับทราบถึงคุณค่าของลูกปัดโบราณดังนั้น
ใครบางคนที่กำลังรู้สึกท้อแท้
บ่นว่าทำดีไม่ได้ดีขอเถียง....เพราะความดีที่ทำนั้นไม่ได้สาบสูญหายไปไหน
"ทำดีนั้นย่อมได้ดีอยู่แล้ว" "เพียงแต่บางครั้ง
"ความดี" ที่เราทำ หรือ "คุณค่า" ที่เราสร้างสรรค์ ยังไม่มีใครรับรู้"
กระทั่งวันหนึ่ง มีคนที่มองเห็นความดีที่เราทำ มีคนที่สนใจคุณค่าที่เรามี
วันนั้นแหละครับ พวกเขาจะหยิบยกความดีและคุณค่าของเราขึ้นมาพูดเผยแพร่
ให้ผู้คนได้รับรู้ให้กว้างขวางขึ้น
"เหมือนลูกปัดโบราณที่เคยปนเปื้อน
อยู่ในดินและโคลน
มานานนับร้อยนับพันปี"
แต่คุณค่าของลูกปัดโบราณก็มิได้เสื่อมสูญ
"จนวันหนึ่งมีคนเห็นคุณค่าของมัน เฝ้าติดตามและแกะรอยความเป็นมาของมัน"
แล้วกลับมาบันทึกเป็นเรื่องเป็นราวให้ลูกหลานบนผืนแผ่นดินได้อ่าน"
อย่างหนังสือที่ชื่อ "รอยลูกปัด" นี่ไงล่ะครับ"
"สวัสดี"
หน้า 17