Custom Search

Nov 25, 2011

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ปาฐกถา ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ “ความท้าทายในการมุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน”

Nov 23, 2011

Nov 21, 2011

ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล




ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล (4 กันยายน พ.ศ. 2494 - )

เป็นนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง เจ้าของผลงานอัลบั้ม ไปทะเล

เมื่อ พ.ศ. 2527 เป็นผลงานที่ได้รับการยอมรับถึงคุณภาพ
และสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการเพลงไทยในขณะนั้น

ปานศักดิ์มีความสามารถในการเล่นกีตาร์ เคยร่วมวงดนตรีชื่อ Soul & Blues
ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันดนตรีชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2512
ประเภทวงดนตรีนักเรียน
ปีเดียวกับที่วงดิอิมพอสซิเบิ้ลได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทวงดนตรีอาชีพ
และได้รับรางวัลชนะเลิศแชมป์กีต้าร์แห่งประเทศไทย
จัดโดยสยามกลการ เมื่อ พ.ศ. 2521 [1]

ได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการแสดงกีตาร์ Southeast Asian Guitar Festival'78 ร่วมแสดงกีตาร์กับตัวแทนจากประเทศเอเชีย 7 ประเทศ
พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณของชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม
"เพลงแม่เจ้าพระยา"

ในการร่วมรณรงค์เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดีต่อประเทศไทยในปี 2529




Nov 15, 2011

ในหลวง (ร.9) เสด็จฯทอดพระเนตร แม่น้ำเจ้าพระยาพระพักตร์ แจ่มใสพสกนิกรปลาบปลื้ม


ในหลวงเสด็จฯทอดพระเนตร
แม่น้ำเจ้าพระยาพระพักตร์
แจ่มใสพสกนิกรปลาบปลื้ม

ในหลวงเสด็จฯ
ทอดพระเนตรแม่น้ำเจ้าพระยา
พระพักตร์แจ่มใส
พสกนิกรเฝ้ารับเสด็จ
ปลาบปลื้มเปล่งทรงพระเจริญ
สมเด็จพระเทพฯเสด็จเข้าเฝ้า
และทอดพระเนตรน้ำด้วย

เมื่อเวลา 15.58 น.
วันที่ 14 พ.ย.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9)
เสด็จพระราชดำเนินจาก
ที่ประทับชั้น 16
อาคารเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลศิริราช
โดยรถเข็นพระที่นั่ง
พระหัตถ์ทรงจูงคุณทองแดง
สุนัขทรงเลี้ยง

ในการนี้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯให้
รศ.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีนิน
หัวหน้าสำนักงานศูนย์โรคหัวใจ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เป็นผู้ถวายการเข็นรถพระที่นั่ง พร้อม
ศ.คลีนิค นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
คณบดีแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
และคณะแพทย์พยาบาล
โดยเสด็จพระราชดำเนิน
ผ่านตึกอานันทราช
ไปยังท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำ
สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช
ในพระบรมราชูปถัมภ์

ขณะเสด็จฯ พระราชดำเนิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9)
ทรงมีพระพักตร์ที่สดใส
แย้มพระสรวลให้แก่พสกนิกร
ซึ่งต่างกู่ร้อง
ทรงพระเจริญดังกึกก้องทั่ว
ทั้งโรงพยาบาลศิริราช
ประชาชนที่ต่างพร้อมใจกัน
เพื่อมารอ
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จฯ
อยู่ตามสองฟากฝั่งถนนทั้งในและ
นอกของโรงพยาบาลศิริราช
อย่างเนืองแน่น


Nov 13, 2011

ยอดเกี้ยวของจีน ปักหลักให้ความอร่อยที่ กทม. เหลียว หนิง











น้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้ผมเห็นหลายสิ่งหลายอย่าง เหตุของความขัดแย้งของประเทศไทยนั้น มาจากผลประโยชน์และผลประโยชน์เท่านั้น การเล่นแง่เล่นมุมของพรรคการเมือง ทำให้รู้เช่นเห็นชาติ ของสองพรรคฯ ชั่งเลวร้ายมาก เอากรุงเทพเป็นตัวประกัน ทั้งๆ ที่เห็นอยู่แล้วว่า น้ำมาจากนครสวรรค์ สู่อยุธยาและบ่าลงกรุงเทพ ซึ่งเห็นก่อนตั้ง 2 เดือน แต่ไม่ทำอะไรเลย แล้วปล่อยให้เมืองกรุงจมน้ำต่อหน้าต่อตา...






วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้าเมืองเพื่อหาของกินเสียหน่อย สำหรับคนกรุงที่ยังไม่จมน้ำคงยังใช้ชีวิตอย่างปรกติ มีการเตรียมตัวบ้่าง คิดแล้วปวดหัวผมว่ามากินกันดีกว่า ร้านนี้ผมเคยมากินตั้งแต่สมัยเกือบ 10 ปีที่แล้ว ร้านเกี้ยว เหลียว หนิง คำว่าเหลียว หนิง เป็นชื่อมนฑลหนึ่งของจีน อยู่เหนือปักกิ่งหน่อย ร้านนี้จะมีรสชาติจืดเป็นหลัก แต่พอมาร้านในแถวสีลมนี้รสชาติมีการปรับปรุงให้ถูกปากคนไทยมากขึ้น รสจัดขึ้น และมันน้อยลง (สมัยก่อนมันจัด จืดมาก) นับว่าเป็นอีกครั้งที่จะได้กลับมากินอีกครั้ง




มาสั่งกันเลยดีกว่า ร้านก็บอกว่าชื่อร้านเกี้ยว ต้องสั่งเกี้ยวอยู่แล้ว เกี้ยวซ่า ซาน ซี จานนี้เป็นจากเด็ดของทืี่ร้าน เป็นแบบทอดคล้ายกับเกี้ยวซ่า ส่วนน้ำจิ้มเขามีให้เราผสมเอง เครื่องปรุงที่จะมาทำน้ำจิ้มคือ พริกผัดน้ำมัน จิ๊กโฉ่ว ซีอิ๊ว ผสมกัน ส่วนผมชอบหวานนิดก็ขอน้ำตาลทรายเสียหน่อย เกี้ยวน้ำหมู ฟังแล้วอย่าเพิ่งคิดว่าจะมีน้ำซุปมาน่ะครับ แต่จะมาเป็นแบบ เสี่ยว หลง เปา ครับ ระวังปากกระจายน้ำครับ อีกจานหนึ่งก็เกี้ยวผักนึ่ง สำหรับเกี้ยวอร่อยมากครับ ส่วนใครที่ชอบผัดเปรี้ยวหวานก็ให้สั่งกุ้งผัดเปรี้ยวหวาน เด็ดอีกจาน มาพวกเส้นหน่อยผมสั่งหมี่ผัดเซี่ยงไฮ้ รสชาติจัดจ้านมาก เหมาะสมกับมณฑลเซี่ยงไฮ้ ขอรับรองได้ว่าอยากกินเกี้ยว ร้านนี้ไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน




ไปมาอย่างไร ผมว่าไม่ยากครับ ร้านนี้อยู่ในซอยข้างภัตตาคาร เชียง กา รี ล่า (สีลม) ตรงข้ามตึกเอ็มไพร์ โทรไปก่อนถ้าไปไม่ถูก 0-2635-6536


Rating : ที่สุดในแผ่นดิน
Latitude : 13.72675
Longitude : 100.52727
เรื่องและภาพโดย
ธนา ทุมมานนท์ (เบย์พาเลส)
www.facebook.com/baypalace

Nov 11, 2011

Nov 8, 2011

การฟื้นฟูหลังน้ำท่วม


วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

มติชน
November 3, 2011




น้ำท่วมจะหนักหนาสาหัสกว่าที่ได้เกิดขึ้นแล้วหรือไม่

ไม่มีใครรู้เพราะเชื่อว่าไม่มีใครรู้จริงในเรื่องน้ำในครั้งนี้
อย่างไรก็ดี สิ่งที่แน่นอนก็คือความเสียหายเหลือคณานับ
บ้างก็ว่าถึง 7-8 แสนล้านบาท
ซึ่งก็ไม่มีใครรู้อีกเช่นกันว่าใกล้เคียงความจริงแค่ไหน

โลกของเราในปัจจุบันมันซับซ้อน ลึกล้ำ มืดดำ
เกินกว่าที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บอกว่าบ้านท่านสูงกว่าน้ำกี่เมตร
น้ำจะมีโอกาสท่วมหรือไม่ก็ไม่มีความหมายมากนัก
ความสูงจากระดับน้ำทะเลอย่างเดียวมิได้เป็นตัวแปร
ที่จะบอกว่าน้ำมีโอกาสท่วม บ้านหรือไม่
ระยะทางใกล้ห่างแหล่งน้ำที่มีประตูระบายน้ำที่สามารถควบคุมน้ำได้
การป้องกันน้ำท่วมของตนเองและบริเวณใกล้เคียง
การเมืองระดับชาติและท้องถิ่นเกี่ยวกับการปล่อยน้ำ ฯลฯ

น้ำท่วมบ้านไม่ว่ามากน้อยเพียงใดอาจเป็นสิ่งที่กำลังจะเป็นอดีตของหลายคน
และอาจเป็นอดีตหรืออนาคตของประเทศก็ได้
ผู้คนได้พูดถึงน้ำท่วมกันมามากแล้ว
ผู้เขียนขอพูดถึงอนาคตหลังน้ำท่วมบ้าง

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้สร้างความปวดหัวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างมาก
แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมแล้ว
ปัญหาแรกจะเปรียบได้กับสิวเม็ดเล็กกับฝีทีเดียว

ใน การฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ภาครัฐต้องคำนึงถึงอย่างน้อย 4 ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ
(1) การฟื้นฟูทางกายภาพ
(2) การสร้างงานและสร้างรายได้
(3) การฟื้นฟูความเชื่อมั่นในประเทศไทย
(4) การฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของคนไทย

ในประเด็นแรก น้ำท่วมทำลายถนน กัดเซาะสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย ทำลายความงดงาม
สร้างความสกปรก สร้างปัญหาสาธารณสุข ฯลฯ
สภาพเหล่านี้ต้องถูกแก้ไขเพื่อให้สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วที่สุด

ต้นทุนด้านโลจิสติกส์โยงใยกับการเดินทางและการขนส่งเป็นอย่างมาก
การซ่อมแซมถนนและหนทางการคมนาคมไม่ว่าด้วยรถไฟหรือเรือเป็นสิ่งที่ต้องรีบดำเนินการ
ความ สะอาดเรียบร้อยเป็นระเบียบ ความงดงามของถนนหนทาง บ้านเรือนจะกลับคืนมาได้
เพื่อสื่อความเป็นปกติสุขก็ด้วยการทุ่มเทแรงงาน
และทรัพยากรอย่างมากมายของภาครัฐ งานในส่วนนี้ต้องใช้เงินอย่างสร้างสรรค์ และโปร่งใสอีกนับแสนล้านบาท
ประเด็นที่สอง การสร้างงานและรายได้โยงใยกับการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ภาครัฐจำเป็นต้องทุ่มเทเงินอีกนับแสนๆ ล้านบาท ตลอดจนการยกเว้นภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ
และสนับสนุนการฟื้นคืนตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่โดนน้ำท่วมในหลายนิคม อุตสาหกรรม
SME′s และธุรกิจนอกระบบ (non-formal sector เช่น ขายลูกชิ้นปิ้ง ไก่ย่าง ขายของท้ายรถ รถกระบะขายกับข้าว ฯลฯ)
คือหัวใจของการฟื้นฟูชีวิตของคนชั้นกลางที่มีจำนวนนับล้านคน เลือดฝอยของเศรษฐกิจเหล่านี้
ต้องได้รับการฟื้นฟูหลังจากได้สูญเสียเครื่อง มือทำมาหากิน
และรายได้ระหว่างน้ำท่วม การให้โอกาสลุกขึ้นยืนอีกครั้งของธุรกิจเล็กๆ เหล่านี้
เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งยวดของสังคมไทย
ประเด็นที่สาม การฟื้นฟูความเชื่อมั่นในประเทศไทย
เราคงต้องยอมรับกันว่าคนไทยและคนต่างชาติได้เห็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ขาด ประสิทธิภาพทั้งของภาครัฐ
และ ศปภ.ได้เห็นความขบขันที่นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้ลงมาตัดสินปัญหาการเปิด ประตูระบายน้ำ
ได้เห็นการขาดความประสานงานอันเนื่องมาจากปัญหาการขาดการนำของภาครัฐ
ได้เห็นการเยียวยาในระยะต้นของผู้ถูกกระทบอย่างกระท่อนกระแท่น
และเหนือสิ่งอื่นใดประชาชนไม่เชื่อถือข้อมูลที่รัฐให้ (ถ้ามี) ฯลฯ
สิ่ง เหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟูแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างเฉียบพลันเพื่อ
ให้คนเหล่านี้เกิดความเชื่อมั่นในประเทศไทยอีกครั้ง
ถ้าผู้คนขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของภาครัฐและของคนไทยด้วยกันเอง
ในการ แก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาอื่นๆ จะตามมาอีกมากมาย
ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจหรือสังคม หรือการเมือง
ประเด็นที่สี่ การฟื้นฟูจิตใจของคนไทย ภาพผู้คนลำบากแสนสาหัส
(ซ่อนอยู่ภายใต้รอยยิ้มและความอดทน) ของผู้ประสบอุทกภัย
เห็นกันโดยทั่วไปในโทรทัศน์ คนไม่ต่ำกว่า 5-6 ล้านคน ถูกระทบโดยอุทกภัยครั้งนี้
ปัญหา ด้านจิตใจที่เกิดขึ้นนั้นมิได้เกิดเฉพาะกับผู้ประสบอุทกภัย
แต่เกิดขึ้นกับผู้ที่ได้เห็นหรือมีประสบการณ์เกี่ยวพันด้วยโดยตรงและโดยอ้อม
ประสบการณ์เหล่านี้บ่อนเซาะความหวัง สร้างความหวาดหวั่นไม่มั่นใจและไม่มั่นคงในชีวิต
ผลในด้านจิตวิทยาเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อผลิตภาพ (productivity)
หรือ ความสามารถในการผลิตของแรงงานแต่ละหน่วย
งานวิจัยสนับสนุนเรื่องนี้มีมากมายและชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพซึ่งเป็นหัวใจ สำคัญ
ของความกินดีอยู่ดีของแต่ละสังคม ต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมซึ่งได้แก่ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต
ทั้ง 4 ประเด็นข้างต้นเป็นการบ้านสำคัญของสังคมไทย
รัฐบาลต้องเป็นผู้นำและประสานให้เกิดคำตอบ และมีการนำคำตอบไปปฏิบัติอย่างจริงจังและอย่างเห็นผล
คำตอบไม่ใช่เงินจำนวนมหาศาลที่ใช้ใน การแก้ไขปัญหา เงินเป็นเพียงเงื่อนไขจำเป็น (necessary condition)
แต่มิใช่เงื่อนไขที่เพียงพอ (sufficient condition) ในการฟื้นฟู 4 ประเด็นข้างต้น
การ ร่วมแรงร่วมใจของคนไทยทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนในการฟื้นฟูประเทศไทย
หลัง อุทกภัยมีบทบาทสำคัญยิ่ง คำถามก็คือภาครัฐที่เป็นผู้นำจะทำอย่างไร
ให้ทุกภาคส่วนเกิดการร่วมแรงร่วมใจ ไม่รู้สึกว่ามีเขามีเราไม่มีความระแวงว่าจะเป็น “กับดัก”
เพื่อสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองให้แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
โครงการ ประชานิยมสุดขั้วทั้งหลายต้องถูกทบทวน
เพราะค่าใช้จ่ายของมันบวกค่าใช้จ่ายใน การฟื้นฟูของภาครัฐหลังน้ำท่วม
อาจสูงเกินกว่าความสามารถของสังคมเรา หากดื้อดึงก็จะเป็นผลเสียในระยะยาวต่อไปอีกหลายชั่วคน















Nov 4, 2011

TheIDOL คุณชาตรี คงสุวรรณ







ต้องกล้า ทนายเกิดผล




ต้องกล้า


ต้องกล้า "ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค" ในบท ทศกัณฐ์ ตอน ทศกัณฑ์เกี้ยวนางสีดา



ต้องกล้า CD11_1 >> https://www.youtube.com/watch?v=ixmpbhi01ec









ต้องกล้า ภารกิจของพี่ โอม ชาตรี คงสุวรรณ