Custom Search

Aug 25, 2007

มองโลกขำ-ขำ

"หนุ่มเมืองจันท์"
ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549


ตอนไปเมืองจันท์ช่วงปีใหม่
ขณะที่นั่งรถขึ้นเนินตรงอำเภอโป่งน้ำร้อน

มีรถบัสโดยสารจากเมืองจันท์ไปโป่งน้ำร้อนวิ่งนำหน้าอยู่

รถแบบนี้คนต่างจังหวัดเรียกว่า
"รถส้ม" ตามสีของรถ
"รถส้ม"
เป็นรถโดยสารธรรมดา ไม่ปรับอากาศ
ที่ทำให้ผมยิ้ม คือ

ป้ายด้านหลังรถ

ตามปกติถ้าเป็นรถทัวร์หรือรถแอร์

เขาจะเขียนป้ายด้านหลังว่า
"รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง"
แต่
"รถส้ม"คันข้างหน้าแม้จะเป็นรถธรรมดา
แต่ก็เขียนป้ายเลียนแบบ "รถทัวร์"
เขาเขียนว่าอะไรรู้ไหมครับ...

"รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง"


ยกระดับสินค้า แต่ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงถ้าเป็น "สินค้า"

ก็ต้องบอกว่าพยายามหา "จุดขาย" ที่แตกต่างเหมือน
สมัยก่อนที่ถนนประชานิเวศน์ 1

หน้า "มติชน" มีร้านอาหารร้านหนึ่งเปิดขาย "หมูย่างเกาหลี"
ร้านขายข้าวต้มที่อยู่ตรงข้ามก็แขวนป้ายสินค้าใหม่ขึ้นมาสู้ทันที
"หมูย่างเกาหลีเหนือ"คล้ายๆ แต่ไม่เหมือน
ที่สำคัญเป็นการประกาศความเป็น "คู่แข่ง"
อย่างเปิดเผยโดยมีเกาะกลางถนนเป็นเส้นขนานที่ 38
"รถส้ม" คันนี้ก็เหมือนกัน เมื่อรถทัวร์เป็นรถปรับอากาศชั้นหนึ่ง

ปรับอากาศร้อนให้เป็นอากาศเย็นแต่เปิดหน้าต่างระบายอากาศไม่ได้


"รถส้ม" ก็เสนอ "จุดขาย" ที่แตกต่างเมื่อปรับอากาศให้เย็นขึ้นไม่ได้
แต่ก็ระบายอากาศได้ดีกว่าเป็นที่มาของคำว่า "รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง"
ถือเป็นกลยุทธ์การล้อเลียนที่เรียกอารมณ์ขัน
จากคนที่ขับรถตามหลังได้เป็นอย่างดีช่างคิดจริงๆอีกคันหนึ่ง

ผมเจอตรงไฟแดงสี่แยกทางเข้า
"มติชน"
เคยเห็นรถของทางราชการที่ใช้สีพ่น หรือ

ติดสติ๊กเกอร์ประโยคนี้ไว้ที่ตัวถังรถไหมครับ


"ใช้ในราชการเท่านั้น"คงเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ข้าราชการ
นำรถไปใช้ส่วนตัวเขาคงคิดแบบเดียวกับการติดป้าย
"ข้ามถนนตรงทางม้าลาย" หรือ "ห้ามทิ้งขยะ"ติดป้ายแล้ว
ทุกคนจะทำตามแต่เขาลืมไปว่าแม้จะพ่นสี
"ใช้ในราชการเท่านั้น"ที่ตัวถัวรถแล้ว
แต่ใครจะไปรู้ได้ว่าคนขับรถคันนี้กำลัง "ใช้ในราชการ" หรือเปล่า


เอ๊ะ หรือเขาคิดว่าคนขับรถเห็นประโยคนี้แล้วจะกลัวคงคิดคล้ายๆ
คนที่เขียนตรงหน้าแรกของหนังสือว่า "หนังสือเล่มนี้เป็นสมบัติของ..."
แล้วเติมชื่อตัวเองต่อท้ายเป็นการเขียนเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นขโมยไป
เพราะถ้ามีใครเปิดอ่านก็จะพบชื่อเจ้าของตัวจริง

เฮ้อ...แต่เขาลืมไปว่า

แค่ใช้คัตเตอร์กรีดหน้าแรกออกสิทธิการเป็นเจ้าของก็หายไป
ทันที
รถคันที่ผมเจอไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์ "ใช้ในราชการเท่านั้น"
แต่เป็น "ใช้หนีราชการเท่านั้น"
คือ ถ้าเป็นงานในหน้าที่จะไม่มีทางใช้รถคันนี้
รถคันนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อเป็นงานนอกหน้าที่


แฮ่ม...แต่ต้องอยู่ในเวลาราชการไม่เช่นนั้นจะผิดวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้
ใช้ "หนีราชการ" เท่านั้น
อีกคันหนึ่งครับ เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่
ผมเจอตรงทางแยกเข้าลำลูกกา
คาดว่าคนขับคงจะผิดหวังกับการซื้อลอตเตอรี่เป็นประจำ
และค้นพบสัจธรรมของการซื้อหวย
ป้ายด้านหลังรถของเขาเขียนชัด
"อโรคยา ปรมา ลาภาคนไม่มีลาภ ซื้อหวยอย่างไรก็ไม่ถูก"
อ่านปั๊บหัวเราะก๊ากเลย
จริงยิ่งกว่าจริงเสียอีกเรื่องการซื้อลอตเตอรี่เป็นเรื่องของโชคล้วนๆ
ไม่มีอื่นปนครั้งหนึ่งผมไปนั่งกินข้าว
เจอคนซื้อหวยที่แผงยืนถกกันอย่างจริงจัง
คนแรกบอกว่าพระอาจารย์ที่วัดให้เลขเด็ดมา
แล้วทำท่ากระซิบ"54 ห้ามกลับ ห้ามลบ ห้ามบวก"
แม้จะทำท่ากระซิบ แต่ผมที่นั่งอยู่ห่างประมาณ 10 เมตร

ได้ยินชัดเจนเลยครับคนที่ล้อมรอบตัวเจ้าของเสียงทำท่าตื่นเต้น


"ให้เลขชัดขนาดนั้นเลยเหรอ"คนที่บอกเลขเด็ดพยักหน้ามั่นใจ
แล้วบรรยายสรรพคุณความแม่นของพระอาจารย์
จากนั้นก็ถึงตอนแลกเปลี่ยนกันดูเหมือนว่า
ทุกคนจะเชื่อว่าการซื้อหวยเป็นเรื่องไสยศาสตร์
ต้องมีคนรู้ล่วงหน้าว่าเลขท้ายที่ออกเป็นเลขอะไร
ไม่มีใครคิดอีกมุมหนึ่งเลยว่าเลขท้ายที่ออกมานั้น
เกิดจากกลไกของระบบของการออกรางวัล
ที่กองสลากฯ พยายามประชาสัมพันธ์ให้มั่นใจว่าไม่มีใครล็อค
ได้
แต่เซียนหวย
ทั้งหลายก็ยังเชื่อว่าพระอาจารย์ของเขารู้ล่วงหน้าได้
ไม่มีหลักวิทยาศาสตร์ หรือคำอธิบายเรื่องความน่าจะเป็น
จะทำให้เขา "เชื่อ" ได้เลย
มันเป็นเรื่อง "ความเชื่อ" ล้วนๆ
จนเมื่อผลออกมาไม่ตรงกับเลขเด็ดของพระอาจารย์
เขาจึงค้นพบสัจธรรม
"อโรคยา ปรมา ลาภาคนไม่มีลาภ ซื้อหวยอย่างไรก็ไม่ถูก"
คนขับรถส้ม
คนขับรถหนีราชการ
และคนขับรถบรรทุกที่ชอบซื้อหวย
แต่ละคนคงเป็นคนมองโลกในแง่ดี
คนขับรถส้มเวลาเห็นคนขับรถปรับอากาศ
แทนที่จะรู้สึกว่าคนอื่นโชคดี
แต่ตัวเราโชคร้ายเขากลับคิดเรื่องนี้ในมุมล้อเลียนและมีอารมณ์ขัน


เมื่อเป็น "รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง"
ไม่ได้ก็ขอเป็น "รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง"
ก็แล้วกันป้าย "รถระบายอากาศชั้นหนึ่ง-ใช้หนีราชการเท่านั้น"
หรือ "อโรคยา ปรมา ลาภา คนไม่มีโชคซื้อหวยอย่างไรก็ไม่ถูก"
ล้วนเกิดขึ้นเพื่อให้คนที่อ่านแล้วยิ้มหรือหัวเราะ
เป็นการเผื่อแผ่ "อารมณ์ดี"
ให้กับคนบนท้องถนน

ผมนึกถึงประโยคหนึ่งของ "จอห์น เมเจอร์" อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
"คนมองโลกในแง่ดี เขาจะหัวเราะเพื่อจะลืม
แต่คนมองโลกในแง่ร้าย เขาจะลืมที่จะหัวเราะ"ครับ
เสียงหัวเราะหรืออารมณ์ขัน คือ ยาชั้นดีของคนที่มี "ความทุกข์"
บางทีที่เราทุกข์เพราะเราคิดวน คิดเวียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นปัญหานิดเดียว
แต่คิดถึงบ่อยๆ มันก็เพิ่มขนาดขึ้นเสียงหัวเราะ หรืออารมณ์ขัน
ทำให้เราเลิกคิดถึงปัญหาไปชั่วขณะ
หรือทำให้มองปัญหาในอีกมุมหนึ่งหัวเราะเล่นกับปัญหาบ้าง

มองแบบขำ-ขำ

ไม่ได้จริงจังกับมันมากไป
มองโลกในแง่ดีเหมือนคนขับรถส้ม หรือคนขับรถบรรทุก
หัวเราะให้ลืมไม่ใช่ลืมแม้แต่กระทั่งหัวเราะ
อย่าลืมนะครับ ให้ถือคตินี้เป็นประจำ

"อโรคยา ปรมา ฮาฮาเสียงหัวเราะ เป็นลาภอันประเสริฐ"

แค่ชอบยังไม่พอ : PRAPAS.COM

www.Prapas.com
แม้จะทำงานเพลงน้อยลงแล้ว แต่คำถามที่ผมมักถูกถามบ่อยเป็นอันดับต้นๆ
ก็คือ “อะไรชักนำให้ผมมาทำงานศิลปะด้านเสียงเพลง”
ความชอบหรือ
ฟังคำถามมากๆเข้า
ผมก็เลยย้อนถามกลับไปบ้าง
สำหรับคนที่ทำงานทำนองเดียวกัน “ความชอบใช่ไหม”
หลายคนสารภาพกับผมตรงๆว่า
เขาวาดภาพความสำเร็จของตัวเองไว้ที่ปลายสุดของความฝัน อยากเป็นนักเขียน อยากเป็นนักแต่งเพลง อยากเป็นนักดนตรี ฯลฯ
ลองสำรวจหัวใจตัวเองดู ผมว่าผมไม่เคยคิดอยากเป็นอะไรอย่างที่ว่าเลย
ที่ผมมาเป็นนักเขียน เพราะผมอยากเขียน ไม่ใช่เพราะผมอยากเป็น

สองคำนี้ต่างกันจริงๆ หรือเล่นลิ้น

คนที่กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเลือกทางเดินคงต้องคิดต่อเอง
อีกคำถามที่ถามว่า เพราะชอบหรือ บอกได้เลยว่าแค่ชอบยังไม่พอ
เสียงเพลงนี่ใครๆก็ชอบใครๆก็รักทั้งนั้น ไม่เชื่อไปเดินตามร้านคาราโอเกะดูก็ได้
ที่นั่นมีลูกค้าตั้งแต่รุ่นยังไม่ถึงสิบขวบยันไปถึงรุ่นอายุเจ็ดสิบ
ขึ้นชื่อว่าดนตรีแล้วมีใครไม่ชอบบ้าง
เพื่อนนักเรียนหลายคนของผมเมื่อครั้งเรียนมัธยมก็รักดนตรี และชอบเล่นดนตรี แต่มีเหลือไม่กี่คนที่ยังคงเล่นดนตรีมาถึงทุกวันนี้
ผมเข้ามาทำงานเพลงครั้งแรก
แม้จะเป็นงานอย่างที่ทุกวันนี้เขาเรียกกันว่า “อินดี้”
แต่ผมก็โชคดีที่ได้เห็นระดับพระกาฬทำงานอยู่ใกล้ๆข้างหน้าไม่ถึงศอก
พี่ป้อมอัสนี พี่ปราจีน ทรงเผ่า พี่ต๋องเทวัญ ฯลฯ
ผมนั่งดูพวกพี่พวกนั้นทำงานแล้วบอกได้เลยว่า ไม่ใช่แค่ความชอบ เท่านั้นที่
พวกเขามีต่อ “ดนตรี” มันแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนทั้งความรับผิดชอบและแววตา พวกเขาไม่เพียงแต่แค่ “ชอบ”
แต่พวกเขา “หลงใหล”มันหัวปักหัวปำเลยครับ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
อยากทำอะไรอย่าเพียงแต่แค่ชอบ ต้องหลงใหลมันอย่างโงหัวไม่ขึ้นเท่านั้น
จึงจะสร้างงานชนิดเปลี่ยนโลกได้
และนี่คือคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคำถามบรรทัดแรก
ประภาส ชลศรานนท์
มกราคม 2549

อยากเป็นสถาปนิก?

From T2
บทความ: อิง สน.จุฬา

หลายๆคน ตอนเด็กๆก็ไม่ค่อยรู้จักหรอกกับคำว่าถาปัด
แต่ก็จำได้ว่าอยากเรียนคณะนี้ๆ หรือบางคนมาสังเกตตัวเองก็พบว่า
เอ....เรานี่ก็ชอบดูบ้านเก๋ๆ ชอบตกแต่งห้อง
ชอบต้นไม้หรือชอบคิดอะไรใหม่ๆเจ๋งๆ
บางทีเราอาจจะเหมาะกับคณะนี้นะเนี่ย
แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีว่า พี่ๆที่เรียนคณะนี้เค้าเรียนอะไรกัน
เรียนไปแล้วไปทำงานอะไร มันใช่อย่างที่เราคิดไว้มั้ย ไหนเรามาลองดูกัน

ก่อนที่จะตัดหมายเลขคณะแล้วแปะลงในใบคัดเลือก
เชื่อว่าบางคนอาจจะผ่านมรสุมจากที่บ้านมาบ้างว่า
อย่าไปเรียนเลยน่า คณะนี้ เรียนไปก็ตกงาน เรียนก็หนัก
บ้านก็ไม่ได้กลับ หรือเห็นน้องบางคนก็ได้รับฟังคำกล่าวบอกมาว่า
คณะสถาปัตย์เนี่ย คณะผู้ชายนะ เป็นผู้หญิงอย่าเรียนเลย ก็อยากจะบอกว่า
คณะนี้เรียนได้ทั้งหญิงชายนะคะ เดี๋ยวนี้เค้ามีกัน 50:50 แล้ว!!

ส่วนเรื่องงาน พอเราเรียนจบไปเนี่ย เราจะพร้อมด้วยทักษะที่ฝึกฝนมาอย่างดี
(ทั้งนี้ความพยายามและความตั้งใจส่วนตัวก็มีส่วนนะจ๊ะ)
เพราะฉะนั้น งานน่ะ ไม่ตกหรอก ต่อมาคือ เรื่องงานหนัก
อันนี้จริง จะเป็นอารมณ์ประมาณว่าอดหลับอดนอน คิดแบบ เขียนแบบ
ทำโมเดลส่ง ส่วนเรื่องบ้านไม่ได้กลับเนี่ย นานๆที
อาจจะกลับค่ำบ้างเป็นบางวัน ก็ต้องทำใจเรื่องอดนอนไว้
และก็อย่าเพิ่งท้อถ้าเข้ามาแล้วจะรู้สึกเหนื่อยบ้าง
แต่มันสนุกจริงๆ เพราะว่าเราได้ทำในสิ่งที่เราชอบไง

ที่ไหนบ้างที่มีสอนคณะนี้
จุฬาฯ ม.ศิลปากร ม.เกษตร สถาบันเทคโนฯพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนฯพระจอมเกล้าธนบุรี
(บางมด-หลักสูตรอินเตอร์ด้วยนะ) สถาบันราชมงคลต่างๆ ม.เอแบค
ม.รังสิต ม.ธรรมศาสตร์
(หลักสูตร 4+2 เรียน 4 ได้ปริญญาตรี อีก 2 ปีได้ปริญญาโทด้วยเลย)
ม.นเรศวร ม.มหาสารคาม

มีภาควิชาอะไรบ้างในคณะสถาปัตย์ และเค้าเรียนอะไรกันมั่ง
จบแล้วไปทำอะไร

สถาปัตยกรรม : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบบ้าน อาคารเล็ก-ใหญ่
ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า มีพื้นที่ใช้สอยเหมาะสม
ถูกต้องตามกฎหมาย โครงสร้างแข็งแรง และที่สำคัญคือ สวยงาม
จบแล้วก็ไปเป็นสถาปนิก เริ่มแรกอาจจะอยู่ในบริษัทก่อน
ถ้าต่อมาเริ่มมีประสบการณ์สั่งสมมากขึ้น มีเงินมากขึ้นก็สามารถเปิดออฟฟิศเองก็ได้

สถาปัตยกรรมภายใน : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบภายในอาคารให้สวยงาม
น่าสนใจ มีแสงสว่างและสิ่งต่างๆที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละพื้นที่
จะทำงานในลักษณะที่ต้องลงรายละเอียดมากแบบ มากๆ จริงๆแล้ว
สถาปัตยกรรม ก็มีรายละเอียดมากนะ แต่จะเป็นคนละแบบกัน
จบไปเป็นสถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน การทำงานคล้าย ๆ สถาปนิกเลย
แต่เป็นการทำงานตกแต่งแทนที่จะออกแบบอาคาร


สถาปัตยกรรมไทย : แน่นอนว่า ต้องเรียนเกี่ยวกะบ้านไทย ศิลปะไทยเช่น
วัด อุโบสถ ลายไทย การแกะสลัก ปูนปั้น การเขียนลายต่างๆ
การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยและการบูรณะ ออกแบบวัดขึ้นใหม่ อาจจะ
ทำงานกับกรมศิลปากร แต่ภาคนี้จะรับจากการสอบตรงอย่างเดียวนะจ๊ะ
เพราะว่าคนที่จะมาเรียนด้านนี้ได้ น่าจะเป็นคนที่มีใจรักด้านนี้อย่างแท้จริงมากๆ
ภูมิสถาปัตยกรรม : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคาร
รู้จักการเลือกใช้ต้นไม้ พืชพันธุ์ที่เหมาะสมกับประเภทอาคาร
การจัดสวนทั้งในพื้นที่เล็กๆทั้งภายนอกภายใน
ไปจนถึงโครงการใหญ่ๆอย่างสนามกอล์ฟ
สวนสาธารณะและอุทยานแห่งชาติเลยทีเดียว
ออกแบบอุตสาหกรรม : เรียนการออกแบบหลายๆอย่างทั้งผลิตภัณฑ์
ก็ประมาณแพคเกจจิ้งต่างๆด้วยแหละ ออกแบบตกแต่งภายในพวกดิสเพลย์หน้าร้าน
ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบกราฟิค และเซรามิค
โดยทุกคนจะได้เรียนหมดทุกตัว และเลือกทำทีสิส (วิทยานิพนธ์)
ในตัวที่เราชอบและถนัดเพียงตัวเดียว จบแล้ว ก็ไปทำงานได้หลายหลายมาก
ตามที่เรียนมา หรือจะรับงานฟรีแลนซ์ก็ได้ คือ
ทำงานอิสระไม่ได้ทำตรงกับบริษัทไหนเฉพาะ เป็นครีเอทีฟ
ออกแบบสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกแบบลายผ้าทำเฟอร์นิเจอร์
โอยย เยอะมาก และตอนนี้ภาคนี้ก็กำลังบูมใช้ได้เลย
วางแผนภาคและผังเมือง : ภาคนี้เป็นน้องใหม่ของป.ตรีที่จุฬา
แต่เดิมเปิดสอนในระดับ ป.โท ตอนนี้รับทั้งน้องสายวิทย์ และสายศิลป์อย่างละครึ่ง
เรียนเกี่ยวกับการจัดการผังเมืองให้เป็นระบบ ทางสัญจร ระบบการบริการ
การจัดการเมืองให้เป็นส่วน มีจุดเด่นที่ดี ทำให้ภาพของเมืองเป็นภาพที่น่าดู
เป็นเมืองที่น่าอยู่ การทำงานก็ ประมาณว่า
วางผังเมืองให้กับโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
(ที่จุฬา) การเรียนในปีแรก ทุกภาคจะเรียนวิชาพื้นฐานร่วมกันก่อน
เช่นวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ พื้นฐานการออกแบบ ภาษาอังกฤษ
อาจจะมีบางวิชาที่เรียนเฉพาะภาคบ้าง ต่อมาเทอม 2 ของปีแรก
ภาคผังเมืองจะแยกไปเรียนวิชาของตัวเองแล้ว (เรียกว่า แยกไปก่อนเพื่อนเลย)
ภาคอื่นๆจะได้เริ่มออกแบบบ้านกัน ส่วน สถ.ไทย
จะเรียนวิชาการออกแบบของภาคตัวเอง
ปี 2 เทอมแรกภาคที่เหลือจะยังเรียนรวมกันอยู่ ยังคงทำบ้านกัน
ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมจะเริ่มไปเรียนวิชาภาคกันมากขึ้น
มีการปั้นเซรามิคกันสนุกสนาน
ต่อมาเทอมหลังเพื่อนๆภูมิสถาปัตยกรรมก็จะไปเรียนวิชาออกแบบของเค้าเอง
ออกแบบบริเวณและจัดต้นไม้ สถ.ไทย ก็เรียนของตัวเองอยู่แล้ว
ส่วน สถาปัตย์ กับ สถาปัตย์ภายในก็ยังเรียนเหมือนกันอยู่
จะเริ่มทำอาคารสาธารณะเล็กๆ
ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมก็จะแยกไปเรียนวิชาของภาคเค้าเองอย่างเต็มตัว
ทั้งกราฟิค ออกแบบภายใน และสิ่งทอ
ปี 3 ภาคสถาปัตย์กะสถาปัตย์ภายในยังเรียนด้วยกันอยู่ แต่สถาปัตย์ภายใน
จะเริ่มเรียนวิชาของภาค และจะแยกไปในตอนปี 4
ดังนั้นทุกภาคก็จะเรียนวิชาของตัวเอง ถึงตอนนั้นก็จะมีสกิลมากขึ้น
ขยันมากขึ้น รู้อะไรๆมากขึ้น และต้องเตรียมพร้อมเพื่อไปฝีกงานก่อนจะขึ้นปี 5
และในปี 5 ทุกคนก็จะได้ทำทีสิส (วิทยานิพนธ์) คนละชิ้น
ซึ่งหากผ่านไปได้ด้วยดี ก็จะเรียนจบรับปริญญามาให้พ่อแม่ได้ชื่นใจ
การปรับตัวเมื่อเข้ามาเรียนในคณะ อย่างที่สำคัญที่สุดคือ
เราต้องขยันขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคณะไหน มหาลัยไหนก็ตาม
เพราะอาจารย์ท่านจะถือว่าเราโตแล้ว ควรจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองได้แล้ว
อย่างที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ถ้าเรียนคณะนี้แล้ว ควรจะรับได้กับการอดนอน
เพราะงานเราเยอะจริงๆนะ และต้องรู้จักการแบ่งเวลาให้ดี
การเรียนมหาวิทยาลัยให้ได้ผลดีนั้นจะต้องมีทั้งการเรียนที่ดี
และการทำกิจกรรมที่เหมาะสม ถ้าเรียนอย่างเดียว
เราอาจขาดทักษะทางการเข้าสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องการแน่นอน
เมื่อเราเรียนจบไปและต้องทำงานเลี้ยงครอบครัว
แต่หากทำกิจกรรมมากไปจนลืมเรื่องเรียนแล้วเนี่ยนะ.......เหอะๆ
บางทีเราอาจจะ เรียนไม่จบก็ได้เน้อ ส่วนสังคมในคณะ
พี่ๆน้องๆก็จะมีการช่วยเหลือกันอบอุ่นน่ารักดี
มีกิจกรรมให้เราได้มารวมกันอยู่เสมอ
เรียกว่าพลาดไม่ได้เลยซักงานละ
กิจกรรมอาจจะต่างกันไปในแต่ละมหาลัย แต่ก็สนุกไม่แพ้กันเลย
สุดท้ายแล้ว อยากจะบอกน้องๆที่อยากเรียนสถาปัตย์ว่า
ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
แต่ที่สำคัญอยู่ที่เราตั้งใจจริงในสิ่งที่เราทำ เรามีความพยายาม มีน้ำใจ
มีคุณค่าในตัวเอง นั่นหละที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จ.....














Aug 18, 2007

คุยกับ ต้นกล้าสถาปนิก : A49.COM

From T2
From T2


“คุยกับ ต้นกล้าสถาปนิก Conversations with Architects” 


1.คุยกับต้นกล้าสถาปนิก (CONVERSATIONS WITH ARCHITECTS)
2.คุยกับสถาปนิกหญิง (CONVERSATIONS WITH ARCHITECTS)
ในเล่ม จะประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์จาก สถาปนิก นิธิ สถาปิตานนท์
จะถามในหลากหลายแนวคิดของแต่ละคน มีทั้ง สนุก ยียวนกวนประสาท ฮาๆ ก็มี
ซึ่งบุคคลที่มาพูดคุยก็ถือได้ว่า เป็น Young Architects ของไทย
เนื้อหา : จะถามตั้งแต่ สมัยเรียน จนจบ เริ่มทำงาน และมาจนถึงปัจจุบัน
และก็นำผลงานที่เด่นๆ ของแต่ละคนมาผู้คุยด้วย
ผมมองว่า เป็นการดีมากที่มีหนังสือแบบนี้มาให้ทุกท่านได้อ่าน
ซึ่งก็จะได้เป็นการ Review ตัวเองไปในตัวด้วยว่า เราจะต้อง พัฒนา ตัวเราอย่างไร
หรือ นำมาเป็นแนวคิดในการทำ
บริษัทของตัวเองก็ได้ประโยชน์ .....เยอะแยะ
แนะนำเลยครับ....2 เล่มนี้
1.คุยกับต้นกล้าสถาปนิก (CONVERSATIONS WITH ARCHITECTS)
รวมบทให้สัมภาษณ์โดยหลายสถาปนิก อาทิเช่น
- พลวัต บัวศรี และทรงสุดา อธิบาย ,S+ PBA Co. Ltd.
- กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล ,Spacetime Architects Co. Ltd.
- บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ , Boon Design
- อมตะ หลูไพบูลย์ และทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ,
- ชาตรี ลดาลลิตสกุล ,บริษัท ต้นศิลป์ สตูดิโอ จำกัด ฯลฯ
2.คุยกับสถาปนิกหญิง (CONVERSATIONS WITH ARCHITECTS)
รวมบทให้สัมภาษณ์โดยหลายสถาปนิกหญิง อาทิเช่น
- ระวีวรรณ โชคสมบัติชัย ,VeeV Co.Ltd. (คนนี้ IDOL ผมเลยหล่ะ55++)
- ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ ,(CASE) Co.Ltd. , Con case Co.Ltd.
- จิรากร ประสงค์กิจ ,สถาปนิกจิรากร ประสงค์กิจ จำกัด
- จันทนา ซื่อตรง ,Spacetime Architects Co. Ltd. ,ตำแหน่งสถาปนิกโครงการ ,
ผู้จัดการโครงการ ฯลฯ
3.คุยกับลูกสถาปนิก (CONVERSATIONS WITH ARCHITECTS)

- อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
- ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
- สมคิด เปี่ยมปิยชาติ
- สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์
- ตรัย ภูมิรัตน์
- วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์
- ปวิณ สุวรรณชีพ - เมธี น้อยจินดา

เหตุผลอย่างแรกที่ซื้อ
เพราะมีบทสัมภาษณ์เจ้านายเก่าของเราอยู่ด้วยยังอยากติดตามอยู่ห่าง ๆ
ว่าเขาคิดอะไรอยู่ และเดินไปจนถึงจุดไหนแล้วผลพลอยได้อย่างอื่น ๆ
ก็คือ บทสัมภาษณ์แนวความคิดของสถาปนิกรุ่นใหม่ ๆ
ทั้งสิ้นสิบสองคน มีบางคนเป็นคนที่เราแอบชื่นชม
และติดตามผลงานอยู่สม่ำเสมอเช่นกันประมาณว่า
อยากยึดไว้เป็นแบบอย่าง รวมทั้งเก็บเกี่ยวประสบการณ์เอาไว้พัฒนาตัวเอง
ปรากฏว่าในที่นี้ มีชื่อของ Samuel Mockbee อาจารย์แห่ง University of Georgia
และ Rural Studio ได้รับการอ้างถึงถึงสองครั้งหนึ่งในสอง อ้างถึงโดย
สถาปนิกหญิงเจ้าของสำนักงานเจ้าของสำนวนข้างบนด้วยแรงบันดาลใจ
และความคิดสร้างสรรค์ที่น่าชื่นชมด้วยปรัชญาง่าย ๆ 2 วลี
คือ “goodness over greatness” ซึ่งแปลว่า “ความดีเหนือความยิ่งใหญ่”
และ “compassion over passion” ซึ่งแปลว่า “ความเอื้ออาทรเหนือความอยาก”
–เปิดหนังสืออ่านตั้งแต่ต้นจนจบทุก ๆ บทสัมภาษณ์ล้วนแล้ว
แต่จบลงตรงความคิดที่ฝากถึงสถาปนิกรุ่นน้อง“อดทน ๆ ๆ ๆ …”
คำว่า อดทน คือภาระหน้าที่ที่ใหญ่หลวงที่สุดต้องอยู่ในสายเลือด
อยู่ด้วยใจรักอดทน และรักงาน และเราก็จะสนุกกับสิ่งที่เราทำเพราะว่า
งานสถาปัตยกรรม ไม่มีก้าวกระโดด ไม่มีทางลัด
ถ้าไม่ “เอาจริง” ไม่นาน คุณก็อยู่กับมันไม่ได้ …–

Aug 17, 2007

กระทรวงการต่างประเทศ & A49 : A49.COM
















ที่มา HiClass-Society
www.A49.com

"เราต้องตีโจทย์กันก่อนก็คือ หนึ่งงานของกระทรวงต่างประเทศ เป็นงานของทางราชการที่ต้องประกวดแบบ สองเป็นอาคารราชการที่ต้องเป็นหน้าตาของประเทศชาติ สามจะต้องเป็นสถานที่ต้อนรับแขกชาวต่างประเทศระดับกระทรวงอยู่เสมอๆ แล้วเมื่อต้องเป็นหน้าตาของประเทศก็ควรจะต้องมีความเป็นไทย"

เป็นโจทย์คร่าวๆ ที่ นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สถาปนิก และประธานบริหาร บริษัท Architects 49 ได้บอกเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับงานออกแบบชิ้นนี้ของเขา

กระทรวงต่างประเทศ เป็นอาคารในแบบไทยประยุกต์ที่เรียบง่าย แต่สวยสง่า ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนศรีอยุธยา ติดกับบริเวณพระราชวังสวนจิตลดา คอนเซ็ปท์ที่ทำให้แปลกกว่าอาคารโดยทั่วไปคืออาคารหลังนี้ถูกบังคับด้วยกฎหมาย ตัวอาคารจะสูงได้ไม่เกิน 23 เมตร เนื่องจากติดพระราชวัง บางส่วนจำเป็นต้องทำเป็นผนังตันปิดทึบหมด โดยเฉพาะในด้านที่ติดกับพระราชวัง และจากข้อกำหนดที่ทำให้มีความสูงได้ไม่มากนี้ ตัวอาคารจึงต้องมีการแผ่กว้างออกไปเต็มพื้นที่ และในส่วนที่เป็นผนังทึบก็ต้องมีการดึงเอาแสงจากภายนอกเข้ามา โดยอาศัยการออกแบบให้มีหลังคากระจก หรือการเปิดพื้นที่ว่างทำเป็นคอร์ท

ในส่วนของแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นไทยของงานออกแบบอาคารกระทรวงต่างประเทศนั้น เริ่มต้นกันตั้งแต่การวางผังพื้นกันเลยทีเดียว ตัวอาคารมีการวางระบบแกน เหมือนเช่น สิ่งปลูกสร้างในสมัยโบราณ วัดวาอาราม หรือพระราชวังต่างๆ ที่ต้องมีแกนที่สัมพันธ์กับทิศ ซึ่งอาคารหลังนี้รับเอารูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดเป็นหลังคาทรงจั่ว (โดยวัสดุที่ใช้เน้นเป็นวัสดุสมัยใหม่) มีระเบียงแก้ว ช่องประตู หน้าต่าง และโคมระย้าที่ยังเป็นองค์ประกอบที่สื่อถึงความเป็นไทย

โจทย์อีกอันหนึ่งที่ทางกระทรวงมอบหมาย ซึ่งได้กลายมาเป็นแนวคิดในการออกแบบก็คือ ทางกระทรวงจะเน้นให้อาคารหลังนี้สามารถรองรับการประชุมในระดับนานชาติ ที่จัดอยู่เสมอๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นฟังก์ชั่นโดยส่วนใหญ่ของอาคารในหลายส่วนจึงต้องเป็นลักษณะมัลติฟังก์ชั่น โดยรับรองหรือใช้งานได้ในหลายกรณี ในตัวอาคารมีการปูพรม มีการออกแบบระบบปรับอากาศ ระบบเสียงที่ดี ในมาตรฐานเดียวกับโรงแรม ส่วนที่โดดเด่นของอาคารก็คือ พรีฟังก์ชั่นแอเรียที่ปูพื้นด้วยไม้สัก ซึ่งให้ความรู้สึกว่ามีความเป็นไทยอยู่ที่นี่ และ 'บุษบก' ที่มองเห็นได้ตั้งแต่หน้าประตูทางเข้า ซึ่งเป็นการจำลองพระราชบัลลังก์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่พระองค์เคยใช้รับรองทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ในสมัยอยุทธยามาไว้ในตัวอาคารได้อย่างลงตัว

นิธิ สถาปิตานนท์ ยังได้เล่าให้เราฟังถึงอีกโครงการหนึ่งที่เชียงใหม่ ซึ่งเขาอุทิศเวลาให้กับโครงการนี้เป็นนานถึงเวลา 10 ปี
"เกิดจากคำถามว่า ถ้าเราจะทำอะไรที่เชียงใหม่ ทำไมต้องเป็นสไตล์ยุโรป สไตล์โรมัน สไตล์บาวาเรียน หรือสไตล์ตะวันตก และถ้าจะทำสไตล์เชียงใหม่เจ้าของโครงการก็จะบอกว่ามันขายไม่ได้ คนไม่ซื้อ จากนั้นก็เลยเกิดความคิดว่าเราคงต้องทำเองแล้วละ พยายามหาที่สักแปลงหนึ่ง ซึ่งก็พอดีกับได้ไปรับประทานอาหารที่แม่ริม และได้เห็นที่แปลงหนึ่งเป็นทุ่งนาสวยมาก มีความลาดชันนิดหน่อย มีฉากหลังเป็นดอยสุเทพ แล้วเราก็ลงขันรวบรวมเงินกัน ซื้อที่มาเป็นจำนวน 99 ไร่ เมื่อสิบปีมาแล้ว"


จากการที่ นิธิ สนใจบุคลิกภาพของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเชียงใหม่ ที่มีแนวคิดแตกต่างหลากหลายไปตามจินตนาการของช่าง (ซึ่งเรามักจะเข้าใจผิดไปว่ามีมาจากหลังคาทรงกาแล หรือองค์ประกอบไม่กี่อย่างบนเครื่องหลังคา) เขาจึงจัดทำโครงการบ้านจัดสรรที่ได้แรงบันดาลใจจากความเป็นอาคารบ้านเรือนพื้นถิ่น แน่นอนโดยพื้นฐานโครงการนี้ไม่ได้บังคับให้ลูกค้าทุกคนต้องปลูกบ้านที่มีหน้าตาแบบเดียวกันไปหมด เพียงแต่พยายามเสนอแนะให้ลูกค้าคำนึงถึงวัสดุและความกลมกลืนของบ้านแต่ละหลัง ซึ่งหลายคนก็เห็นด้วย และมีบ้านในโครงการที่วางอยู่บนแนวคิดนี้สิบกว่าหลังด้วยกัน

โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จทั้งในตัวโครงการเอง และในด้านที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนวิธีคิด หรือทัศนภาพของบ้านพักตากอากาศในเชียงใหม่ (ซึ่งเมื่อสิบปีที่แล้วค่านิยมในความเป็นไทยยังมีอยู่น้อย โดยมากยึดถือรูปแบบของยุโรปเป็นหลัก) เป็นโครงการแรกๆ

Aug 12, 2007

อาณาจักรสีเทา










สัมภาษณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2545
อาณาจักรสีเทาที่ออกแบบวกวนน่าฉงน
ของบริษัท มอร์ มิวสิค เป็นที่ซึ่ง
อัสนี โชติกุล ศิลปินเพลงร็อก

"บ้าหอบฟาง"

บริหารสร้างสรรค์ธุรกิจเพลงอยู่ที่ชั้น 32 ของอาคารใหม่

"GMM Grammy Place" บริเวณซอยอโศก

มอร์ มิวสิค ถือว่าเป็นกรณีศึกษาหนึ่งใน 11 ค่ายเพลงของแกรมมี่ โดย 9 ค่าย

อยู่ในสังกัดของบริษัท คือ แกรมมี่ แกรนด์, แกรมมี่ โกลด์,แกรมมี่ บิ๊ก, จีนี่ เร็คคอร์ด,

อังกอร์, อัพจี, อาร์พีจี, กรีน บีนส์ และจีโปร และอีก 2 ค่ายเป็นบริษัท

ในเครือที่แกรมมี่ถือหุ้น 100% ได้แก่ Maker head

และมอร์ มิวสิค ทั้งนี้ 11 ค่ายเพลง แบ่งตามแนวเพลงถนัด Pop, Pop Rock, Rock,
Alternative, Indy เป็นต้น
"รายได้ของแกรมมี่มาจากค่าย เพลงร็อกประมาณ 30% ของบิลลิ่งทั้งหมด
ซึ่งมาจากมอร์, Makerhead, RPG และอื่นๆ แต่เป็นร็อกคนละแนวที่หนาบางกว่ากัน"
นี่คือตัวเลขประมาณการของอัสนี เมื่อปีที่แล้วบริษัทแม่
แกรมมี่มีรายได้จากธุรกิจเพลง 2,683 ล้านกว่าบาท

ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดรองลงมาคือ ธุรกิจวิทยุ 769 ล้านบาท และอันดับสามคือ ธุรกิจโทรทัศน์ 402 ล้านบาท
บนเวทีต่อหน้าแฟนานุแฟน "อัสนี วสันต์" คือ ศิลปิน duo
ที่ได้รับการปรบมือโห่ร้องยินดี
แต่บนเวทีธุรกิจมอร์ มิวสิค อัสนีสวมหมวกอีกใบ
ที่ต้องรับผิดชอบตัวเลขกำไรขาดทุน
ศิลปิน และผู้ถือหุ้น
แม้ไม่เป็นนักธุรกิจคอยนับดวงดาวเป็นตัวเลขเหมือน
ในเรื่อง "เจ้าชายน้อย" ของ อองตวน แซงเตก-ชูเปรีที่อัสนีมีไว้บนโต๊ะทำงานก็ตาม
ภายใต้โครงสร้างธุรกิจ บริษัทมอร์ มิวสิค ก่อตั้งเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2538
ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท แต่ชำระแล้ว 1 ใน 4 คือ 12.5 ล้านบาท
โดย แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 100%
แต่มอร์ มิวสิคยังคงวัฒนธรรมองค์กรที่อิสระเป็นเอกเทศ
ที่เน้นศิลปินประเภท "ตัวจริง เสียงจริง" เหมือนบุคลิกผู้นำอย่างอัสนี
ขณะที่ระบบการให้ผลตอบแทนศิลปิน
มีลักษณะสากลระหว่างศิลปินและค่ายเพลงที่ชัดเจน
ปีที่แล้ว มอร์ มิวสิค ทำบิลลิ่งยอดขายประมาณ 146 ล้านบาท
แต่ปีนี้เพียงแค่ 5 เดือนที่ผ่านมา บิลลิ่งของมอร์พุ่งแตะ 115 ล้านบาทอย่างมีเหตุผล
เพราะผลดีจากยอดขายเพิ่มขึ้นจากการใช้กลยุทธ์ลดราคา 50% ในซีดี
และวีซีดีสู้เทปผีซีดีเถื่อน ที่สอดคล้องกับงานเพลง "ไม่อยากไปพันธุ์ทิพย์"
ในอัลบั้มปกสีแดงของเสก LOSO ด้วย
"ผมคิดว่าเราทำเกินเป้าที่ตั้งใจไว้จะโตแค่ 15-20% เพราะผลจากการลดราคาซีดี
ผสมกับกลางปีที่แล้ว LOSO เน้นพันธุ์ทิพย์ด้วย ต่อเนื่องถึงปลายปีที่แล้ว LOSO
ออกงานแสดงสด ทำให้รายได้ผ่องมาออกต้นๆ ปีด้วย"
อัสนีเล่าให้ฟัง

ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทวัย 47 อัสนีบอกว่า
ไม่ถนัดเลยที่จะจัดการเชิงพาณิชย์ศิลป์นี้ ในระยะ 2 ปีแรก
ต้องมีพี่เลี้ยงอย่างเรวัต พุทธินันทน์ (พี่เต๋อ) คอยช่วยเหลือ
ซึ่งถ้าดูจากประวัติของอัสนี จะพบว่า เรวัตเป็น role model
ที่อัสนีเรียนรู้ถึงประสบการณ์ความสามารถจัดการทันสมัย balance
ธุรกิจกับงานสร้างสรรค์เพลงได้สำเร็จคนหนึ่งของไทย
"ตอนแรกผมคิดว่าจะเป็นเพียงเอ็กเซคคิวทีฟ โปรดิวเซอร์ โดยมอร์จะมี MD คนหนึ่ง
และ GM อีกคนหนึ่ง แต่พี่เต๋อและคุณไพบูลย์บอกว่า คงต้องให้ผมดูเอง
ผมต้องตอบคำถามเสมอๆ ว่า ตลาดไปหรือเปล่า ? ธุรกิจไปหรือเปล่า ?
ความที่ตัวเองเป็นนักเล่นดนตรีและโปรดิวเซอร์ ก็เน้นว่า
พยายามเอาศิลปะดนตรีด้านนี้ออกมาเป็นด้านนำ
แทนที่จะเบี่ยงเบนไปสู่ธุรกิจ" นี่คือจุดยืนของอัสนี
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผลงานของมอร์ มิวสิค จะมีเพียงปีละ 3-6 อัลบั้มเท่านั้น
ขณะที่ค่ายเพลงอื่นๆ ของแกรมมี่ เช่น กรีน บีนส์
จะมีความถี่ในการออกงานเพลงป้อนตลาดมากกว่า
"เราพยายามคัดเลือกตัวงานที่ไว้ใจได้ออกไป โดยเราไม่ผลิตเยอะ
บางทีก็เหนื่อยเกินไป แม้ว่านโยบายจะให้ทำเพิ่ม แต่เราก็ทำเท่าที่เป็นไปได้
มากกว่านี้ก็ไม่ไหว เดี๋ยวจะไปเฉือนกันเอง อย่างน้อย 2 เดือนต้องห่างกัน
เพื่อความคล่องตัวของการทำโปรโมตและการผลิตด้วย
ซึ่งมีการตกลงกับบอร์ดข้างบนไม่ให้ขัดกัน เช่น อย่าให้คนนี้อยู่ใกล้คนนี้
มันขัดแย้งกันเวลาทำโปรโมต"
ปัจจุบัน มอร์ มิวสิค มี portfolio ศิลปินทั้งหมด 7 artists
ได้แก่ วง LOSO ที่มีเสกสรรค์ ศุขพิมาย กับเพื่อน,
Silly Fools ที่มีณัฐพล พุทธภาวนา (โต)กับเพื่อน
ที่เคยมีผลงาน sampler 3 เพลงจากค่ายเบเกอรี่มิวสิคมาก่อน, Blackhead กับ
อานนท์ สายแสงจันทร์ (ปู) กับเพื่อนที่เคยมีงานเพลง Black list ก่อนร่วมกับมอร์,
โจ-ก้อง, สุนิสา สุข บุญสังข์ (อ้อม), ศรุตยา ดวงสร้อยทอง (โอ๋)
และวงใหม่ล่าสุด ซีล ที่จะออกผลงานในครึ่งปี 2545 นี้
การได้มาซึ่งศิลปินในค่ายมอร์นั้น
ไม่ได้ผ่านกระบวนการสรรหาของอราทิสท์ แมเนจเม้นท์
ส่วนใหญ่จะเดินเข้ามาที่มอร์ มิวสิค เองเลย
และวัดความสามารถกันที่ "ตัวจริง เสียงจริง"
มีแนวเพลงร็อกชัดเจน โดยที่มอร์ มิวสิค
จะไม่มีโปรดิวเซอร์ประจำเหมือนค่ายอื่น
ขณะเดียวกัน ศิลปินจะเน้นความดิบและสดในบุคลิกสไตล์ของ
แต่ละคนยกตัวอย่างวง LOSO ที่มีเสกสรรค์ ศุขพิมาย เป็นตัวหลัก
ประวัติเคยเป็นนักดนตรีตามสถานบันเทิงมา 5-6 ปี ซึ่งเป็น
อาชีพที่หล่อหลอมให้เสกสรรค์ครบเครื่อง ทั้งแต่งเอง-ร้องเองได้ดี
จนกลายเป็นศิลปิน ที่อัสนีวางใจด้านฝีมือ
ทำให้ตลอด 7 ปีของมอร์จะมีอัลบั้มใหม่สดจาก LOSO ทุกปี
เหมือน Silly Fools และ Blackhead งานของพวกเขาได้กลายเป็นสินทรัพย์
(Intellectual properties) อันมีค่าของ มอร์ มิวสิค
ซึ่งถูกพัฒนามูลค่าเพิ่มจาก music market ที่ LOSO ทำไว้ 6 ชุด
ในรูปเทปและแผ่นซีดี สู่ธุรกิจร้อง singing market
ที่นำผลงาน LOSO ทำคาราโอเกะ
ทั้งหมด 3 ชุด คือ LOSO Bonus Track, อัสนี วสันต์+LOSO, Best of LOSO
ขณะเดียวกันลิขสิทธิ์เพลงอย่าง LOSO ก็จะอยู่บริษัท มอร์ มิวสิค
โดยศิลปินจะเซ็นสัญญากับมอร์ เนื้อร้องจะเป็นลิขสิทธิ์ของผู้แต่ง
และมอร์ซื้อลิขสิทธิ์มา ผลิตเป็นมาสเตอร์เทป โดยมอร์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
และจัดการบริหารอัลบั้มเพลงให้ออกสู่ตลาด เมื่อได้กำไรก็ปันส่วนกัน
"ผมคิดว่าเขามีส่วนคล้ายๆ ผมในอดีต ตรงที่อยากเล่นดนตรี
แม้ไม่ได้เรียนดนตรีเป็นเรื่องราวมาก่อน แต่ว่ามี sense ของการแต่งเพลง
วันแรกผมกับเขาไม่ได้เจอกัน เพราะผมทำงานห้องอัดอยู่ เขาก็ฝากเทปให้ฟัง
พอฟังเสร็จ ผมได้นัดพบอีก 2 วัน จากนั้นทุกอย่างก็เดินไปจนถึงห้องซ้อม
ห้องอัด ทำงานเร็วมาก 2 อาทิตย์ก็เสร็จ พอออกผลงานไป
ก็มีคนชอบ เช่นเพลง "ไม่ต้องห่วงฉัน" ถือว่าเป็นความสามารถพิเศษ
ที่ไม่ต้องประดิษฐ์ปั้นแต่งมาก อย่าง LOSO ตอนนี้ ผมดูแค่ 5-10%
เช่น อันนี้แรงไปหรือเปล่า ? วกวนหรือเปล่า ? อธิบายได้ไหมว่า
ไปมาอย่างไรแล้วคลี่คลายได้" อัสนีเล่าให้ฟัง

ค่ายเพลงอย่างมอร์ จะมีบทบาทบริหารศิลปินอยู่ 3 ประการ คือ ด้านการผลิต โปรโมต
และจัดการ โดยมอร์จะมีห้องอัดเพลงเองถึง 3 ห้องมูลค่า 20 ล้านบาท
โดยกระบวนการผลิตตั้งแต่วันแรกมีการคุยกันระหว่างโปรดิวเซอร์กับนักร้องในวง
เสร็จแล้วนัดกันอีก 2 เดือนทำการอัดเสียงเทป Demo
เพื่อให้บอร์ดและทีมงานอัสนีฟังกันก่อนว่าพอใจแนวเพลงนี้ไหม?
เมื่อทุกฝ่ายพอใจก็ใช้เวลาผลิต 2 เดือนเสร็จแล้วทำโปรโมต
ศิลปินจะมีคิวถ่ายมิวสิกวิดีโอ และโชว์ตัวให้สัมภาษณ์
ตามสื่อวิทยุโทรทัศน์ของแกรมมี่และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ
โดยสรุปตั้งแต่วันแรกถึงงานเสร็จ ศิลปินหนึ่งคนจะใช้เวลาบวกลบประมาณ 4 เดือน
ถ้าวงดังๆ แต่วง LOSO ก็ประมาณ 1-2 เดือน เพราะการแสดงยังไปเรื่อยๆ ปีหนึ่ง
อาจเล่นยาวถึง 150-200 โชว์ก็มี
"เทปม้วนหนึ่งจะแบ่งผลตอบแทนเท่าไรนั้นเป็นเรื่องภายใน
แต่โดยปกติมี 3 หน่วยในการผลิต ตั้งแต่ executive Producer
ที่จะตัดสินใจ yes หรือ no รองลงมาคือ producer ซึ่งเป็นคนถนัดเพลง
เสียงหรือดนตรีเป็นอย่างไร ซื้อเครื่องใหม่ไหม? ลงมาคือนักแต่งเพลงซึ่งไม่ใช่นักร้อง
แต่ที่มอร์จะเป็นนักร้องและเล่นดนตรีเองด้วย งานของมอร์จะมีเอกเทศนิดๆ
เพราะบัญชีก็แยก โปรโมชั่นก็แยก กลุ่มทำงานก็แยก
แต่ก็ประสานงานขายกับ MGA หลังทำเสร็จ"

เกือบ 7 ปีของการบริหารมอร์ มิวสิค ที่อัสนีต้องเสนอแผนงานประจำปี (year plan)
และทุกสามเดือนก็จะมีการประชุมติดตามผลงานและเป้าหมาย โดยประชุมร่วม
กับบอร์ดบริหาร เช่น ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม, อภิรักษ์ โกษะโยธิน,
กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ, บุษบา ดาวเรือง, อัญชลี จิวะรังสินี, อัคร เดช โรจน์เมธา
และเชฎฐ์ชาย จัมมวานิชกุล
"ผมขอตัวไม่ขออยู่ในบอร์ดแกรมมี่ แค่อยู่ตรงนี้ (กรรมการผู้จัดการ)
ก็แปลกมากพอแล้ว แต่ผมต้องทำในฐานะเป็นลูกพี่ เป็นโค้ชให้เขา"
นี่คือบทบาทแสร้งว่าเป็นเอ็มดีของอัสนี
อย่างไรก็ตาม งบลงทุนใหม่สำหรับ ห้องอัดเสียง 3 ห้องใหญ่-กลาง-เล็ก
ที่ทันสมัยของมอร์ มิวสิค ที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
ถือว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ที่อัสนีจะต้องรับผิดชอบ ธุรกิจเพลงของ
มอร์ให้ถึงจุด break-even
"ผมได้คุยกับคุณไพบูลย์ว่า ควรจะสร้างห้องอัดให้ใหญ่หน่อย
เวลาศิลปินต่างประเทศมาดูจะได้ไม่อาย ผู้ใหญ่เข้าใจก็บอกว่า ป้อมทำเลย
ผมต้องหาเงิน 20 ล้าน มาตอบโจทย์นี้ให้ได้
เพราะจะมีการตัดค่าเสื่อม 5 ปีตามบัญชี ผมคิดว่าจุดคุ้มทุนก็ประมาณ 2 ปีก็คงจะพอ
แต่ปีนี้ก็น่าจะได้แล้ว"

ครึ่งปีหลัง 2545 นี้ ค่ายมอร์ มิวสิค จะมีงานของ "อัสนี วสันต์" ออกมา
และมีผลงานดนตรีของวงใหม่ "ซีล" ออกมา และมีงานเล็กๆ ร่วมกับ GMM Pictures
ทำเพลงประกอบหนัง ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มอร์จะทำ
โดยภาพยนตร์เรื่องนี้จะฉายตอนสิ้นปี ที่จะทำให้ Billing ของทั้งสอง
บริษัทโตขึ้น เป็นการ synergy ระหว่างกระเป๋าซ้ายและขวาของแกรมมี่
15 ปีที่อัสนีอยู่กับแกรมมี่ ทั้งสอง ฝ่ายยังอยู่ในลักษณะคิดแบบ Win-Win
แกรมมี่ได้สินทรัพย์ลิขสิทธิ์ที่จับต้องได้ ในรูปรายได้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ขณะที่ศิลปินก็ได้รับความพึงพอใจกับผลงาน
กับผลตอบแทนที่มีการจัดการบริหารแบบสมัยใหม่
ที่ตรวจสอบยอดขายได้จากใบแจ้งยอดขายแต่ละ items
แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่อัสนียังต้องมีภารกิจทำให้ปรากฏ คือ
การดูแลผลประโยชน์ของศิลปินแต่ละคน
ให้มีอำนาจต่อรองให้มากที่สุดภายใต้โครงการสร้างสัญญาที่เป็นธรรม
ระหว่างศิลปินกับค่ายเพลง มิใช่เป็นเรื่องส่วนตัวที่ขึ้นอยู่กับความดังของศิลปินแต่ละคน
เพราะคนอาจตายได้ แต่ลิขสิทธิ์เพลง และเพลง Rock never die....







อุดมการณ์ผู้นำ

รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ
อยากให้เพื่อนๆลองอ่านดูนะ แล้วจะได้ข้อคิดดีๆ จากบทกลอนสุดท้าย...
ฉันจะผ่านโลกนี้ แต่เพียงหน
จึงกุศล ใดใด ที่ทำได้หรือเมตตา
ซึ่งอาจให้มนุษย์ใด ขอให้ฉันทำหรือให้
แต่โดยพลัน อย่าให้ฉัน ละเลย
เพิกเฉยเสียหรือผัดผ่อน อ่อนเพลีย
ไม่แข็งขัน เพราะตัวฉันต่อไป
ไม่มีวันจรจรัล ทางนี้ อีกทีเลยฯ

I shall pass through this world but once;
Any good, therefore, that I can do,
Or any kindness that I can show
to any human being, Let me do it now.
Let me not defer it, nor neglect it;
For I shall not pass this way again.

William Penn (ค.ศ. 1644-1718) บทแปลเป็นไทยข้างต้น
(จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ คุณพิสุทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา)
โดยอดีตองคมนตรี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์
ปูชนียบุคคลของสังคมไทย มีแง่มุมให้คิดในยามที่มี
เสียงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบันลาออก
เพราะขาดความชอบธรรม
ในการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี
มีหลักฐานทางวิชาการจากโลกตะวันตกในเรื่องการเผาศพคนตายว่า
คนสูง 6 ฟุตมีร่างกายแข็งแรงบึกบึนปกติ
เมื่อเผาแล้วโดยเฉลี่ยจะเหลือขี้เถ้าหนักประมาณ 8.5 ปอนด์
และนี่คือสิ่งที่เหลืออย่างแท้จริงหลังจาก
"ผ่านโลกนี้แต่เพียงหน.................ต่อไป
ไม่มีวัน จรจรัลทางนี้อีกทีเลยฯ"
ไม่ว่าผู้นั้นจะ "ผ่านโลกนี้" อย่างเป็นมหาเศรษฐีหรือยาจก
อย่างมีอำนาจภาคภูมิหรือเป็นคนปกติธรรมดาอย่างเต็มไปด้วยศักดิ์ศรี
หรือไร้เกียรติฯ สุดท้ายก็จบลงด้วยเถ้าถ่านประมาณนี้ด้วยกันทั้งนั้น
ทิ้งไว้แต่สิ่งที่เล่าขานเกี่ยวกับตัวเขาเท่านั้น
ผู้นำทางการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว
กังวลอย่างมากว่าหลังจากที่เขา "ผ่านโลกนี้" ไปแล้ว
ผู้คนในภายภาคหน้าจะพูดถึงเขาอย่างไร
นักประวัติศาสตร์จะบันทึกเรื่องราวของเขาอย่างไร
และด้วยสาเหตุนี้ประกอบการเข้าใจถึง
ความรับผิดชอบของการเป็นผู้นำการมี
"ความสำนึกในประวัติศาสตร์"
เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งของผู้นำ
ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีอังกฤษ
ผู้นำประเทศพัฒนาแล้ว และผู้นำบางประเทศกำลังพัฒนา
อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ
หนังสือบันทึกชีวิตของผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในอดีต
เหตุการณ์สำคัญในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
หนังสือเกี่ยวกับความเป็นตัวตนของชาติตนเอง ฯลฯ
เพื่อเข้าใจความละเอียดอ่อนของสังคมตนผู้นำมีภารกิจที่ยิ่งใหญ่
เพราะสามารถทำให้ชีวิตเลือดเนื้อของคนจำนวนมาก
ขึ้นเขาหรือลงเหว
เสียงหัวเราะและน้ำตาของประชาชนยิ่งใหญ่กว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัว
ยิ่งเป็นผู้นำที่ร่ำรวยมหาศาลก็เรียกได้ว่า
มีทั้งวาสนาและอำนาจจากตำแหน่งและเงินทอง
ก็ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบเป็นสองเท่า
เพราะในทางจริยธรรมคนรวยต้องช่วยเหลือ
คนที่บังเอิญมีน้อยกว่าตน
ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันและ
พึ่งพากันสำหรับผู้ที่ไม่ได้ร่ำรวยและไม่มีอำนาจวาสนาขนาดนี้
ผมขอยกกลอนชื่อ "พอใจให้สุข"
ของท่านอาจารย์ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
ปรมาจารย์ภาษาไทยที่ได้ประพันธ์ไว้อย่างงดงาม ดังต่อไปนี้
นี่คือ บทกลอนที่อยากให้เพื่อนๆอ่าน

"แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาวจงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
แม้มิได้เป็นน้ำแม่คงคาจงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น
แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัยจงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น
แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง
แม้มิได้เป็นต้นสนระหงจงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอางจงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดีอันจะเป็นสิ่งใด
ไม่ประหลาดกำเนิดชาติดีทรามตามวิถีถือสันโดษ
ทำประโยชน์ในชีวีให้สมที่เกิดมาน่าชมเอย"

ในชีวิตของความเป็นมนุษย์ทุกคนมีโอกาสเพียงครั้งเดียว
ที่จะเขียนเรื่องราวชีวิตของตนให้คนรุ่นหลังอ่าน เพราะทุกคน
"จะผ่านโลกแต่เพียงหน................ต่อไป
ไม่มีวัน จรจรัล ทางนี้อีกทีเลยฯ"
เราจะเลือกสร้างสิ่งที่ประทับใจในบรรทัดหนึ่งของประวัติศาสตร์
หรือ รอยดำที่ไม่อาจแก้ไขได้ตลอดไป
แม้ร่างกายจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว...

" Fratres! .. Three weeks from now, I will be harvesting my crops. Imagine where you will be, and it will be so. Hold the line! Stay with me! If you find yourself alone, riding in the green fields with the sun on your face, do not be troubled. For you are in Elysium, and you're already dead! ... Brothers, what we do in life... echoes... in eternity. "

การจัดการความรู้ เสรีภาพ และความสุข


รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

http://www.varakorn.com

มีข้อเขียนอยู่ชิ้นหนึ่งที่ถอดมาจากคำบรรยายเมื่อไม่นานมานี้
ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 2 ของ
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.)

บางท่านอาจไม่ได้อ่าน จึงขอนำมาแพร่หลายต่อ
เพราะเป็นข้อเขียนที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
เพราะให้แง่คิดที่เราอาจละเลยมองข้ามไป
คุณหมอประเวศ วะสี เป็นผู้บรรยาย ในชื่อเรื่อง
"การจัดการความรู้ :
กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข"
การจัดการความรู้เกี่ยวพันเสรีภาพและความสุขอย่างไร
กรุณาดูข้อความที่ตัดต่อมาดังต่อไปนี้

"....สังคมปัจจุบันเชื่อมโยงกันจนหมดทุกมิติ
ข้อมูลข่าวสารตัวประชากรจะมีมากขึ้น
มีระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกัน
ระบบการเมืองที่เชื่อมโยงกัน
สามารถเคลื่อนไหวไปรอบโลกได้ด้วยความเร็วของแสงต่างๆ
เหล่านี้เกิดเป็นระบบที่ซับซ้อนที่จัดยาก
ไม่รู้เลยว่าใครเป็นมิตรเป็นศัตรู
เมื่อก่อนรู้ไปหมด
ถ้ารู้ว่าใครเป็นศัตรูก็มีหนทางที่จะต่อสู้ได้
แต่ในเชิงของความซับซ้อนเราไม่รู้ว่าเขาคิดยังไง
เกิดเป็นปัญหาทางโครงสร้าง...

....ที่ฟิลิปปินส์ได้มีการปฏิวัติไล่มาร์คอสออกไปโดยคณะร่วมปฏิวัติประชาชน
เอาอะคีโนขึ้นมาเป็นเพรสิเดนต์ คนมีกำลังใจกันมากกว่า
นี่แหละเป็นโอกาสของคนฟิลิปปินส์แล้วที่จะแก้ปัญหาที่แก้ไม่ได้ เช่น
ความยากจน ความอยุติธรรมในสังคม
เดี๋ยวนี้ฟิลิปปินส์ก็ดิ่งลงต่ำมากขึ้น
เพราะติดอยู่ในโครงสร้างที่ซับซ้อน
ยากต่อการเข้าใจ อันนี้คือกฎแห่งความทุกข์
ความบีบคั้นตนเองขนาดหนัก
ถึงแม้ว่าเรามีสมองที่มีศักยภาพสูง
แต่ถ้าเราถูกอะไรกดทับเราอยู่นั้น
ทำให้การที่คนเราอยากทำอะไรดีๆ อยากแก้ปัญหา
อยากช่วย แต่ไม่รู้จะช่วยอย่างไร
ก็ได้รู้สึกหมดหวังมาอยู่ในจิตใจของผู้คน
เรามาดูว่าสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ทางสังคมเป็นอย่างไร
เราป่วยกันหมดทั้งโครงสร้าง

จะเห็นว่าเราจะถูกซักอยู่ในโครงสร้างของชุมชนต่างๆ
องค์กร การเมือง ราชการการศึกษา ธุรกิจ และการศาสนา
ทั้งหมดนี้เป็นโครงสร้างทางดิ่ง
โครงสร้างทางดิ่งหมายถึงเน้นการใช้กฎหมาย
กฎระเบียบ และการบริหารสั่งการจากเบื้องบนลงล่าง

...ขณะที่อำนาจทุนมหึมาที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่รอบโลก
มีอยู่จำนวนมาก มีการกำหนดบทบาทหรือ
แม้กระทั่งการควบคุมสื่อ วิทยุโทรทัศน์
หรือแม้กระทั่งกำหนดให้คนกินผัก 3 ชนิด เช่น
คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ซึ่งเป็นผักต้นเตี้ย
ซึ่งทำลายความเป็นป่า
ซึ่งถือว่าอำนาจทุนมหึมานั้นมีจำนวนมากขึ้นในสังคม
สำหรับทุนกับการเมืองก็พยายามเข้ามาในกลุ่มสื่อมวลชน
ปิดหูปิดตาสื่อ ทำให้เกิดความเครียดต่างๆ ขึ้นในสังคม
ซึ่งคนไทยจะติดอยู่ในโครงสร้างทุนมหึมาโดยไม่รู้ตัว
และครอบงำผู้คนอยู่ทั้งโลกในเวลานี้

ทางออกที่ดีคือ เราคงต้องกลับไปสู่ศีลธรรมพื้นฐานของสังคม คือ
การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นคนของคนทุกอย่างเท่าเทียมกัน
โดยเฉพาะของคนเล็กคนน้อย คนยากคนจน
ถ้าสังคมไม่มีศีลธรรมพื้นฐานแล้วการพัฒนาด้านต่างๆ จะบิดเบี้ยว
สิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ เช่น ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน
สิทธิสตรี สิทธิเด็ก ความเป็นธรรมทางสังคมจะไม่มี
หากขาดศีลธรรมพื้นฐาน
คือการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นคน

....ดังนั้น ที่เราขาดศีลธรรมพื้นฐาน
ประชาธิปไตยมันก็เป็นเพียงกลไกเท่านั้น
มันไม่ได้อยู่ในศีลธรรม
เมื่อมันเป็นกลไกก็กลับเป็นกลโกงได้อย่างที่เราเห็น
ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้องอยู่บนศีลธรรมพื้นฐาน
ดังนั้น เรื่องศีลธรรม สิทธิสตรี สิทธิเด็ก
การพัฒนาที่เคารพคนอื่นต้องมีความเป็นธรรมในสังคม
ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก หากสังคมมีความเป็นธรรม
คนจะเรียกว่าชาติ เรียกว่าส่วนรวม
และอยากจะรักษาระบบนั้นไว้

....ระบบการศึกษาของเราทั้งหมดตั้งแต่อนุบาล
จนถึงมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ทำลายศีลธรรมพื้นฐานของสังคม
ศีลธรรมในที่นี้คือความเคารพศักดิ์ศรีของคน
โดยเฉพาะคนเล็กคนน้อย คนยากจน
หลายปีมาแล้วผมไปเยี่ยมโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
โรงเรียนวัดพนัญเชิง ซึ่งให้นักเรียนเรียนรู้จากชาวบ้าน
เรียนจากชาวสวน เรียนจากคนขายของชำ
เรียนจากช่างเสริมสวย
ซึ่งคนเหล่านั้นไม่เคยมีนักเรียนมาเรียนด้วย
เมื่อมีนักเรียนมาเรียนรู้จากเขา
เขาจะรู้สึกมีเกียรติขึ้นทันทีเดิมชาวบ้านไม่เคยมีเกียรติเลย
มีศักดิ์ศรีขึ้น และเขาสามารถสอนได้จริงๆ
ซึ่งความรู้ที่สอนก็เป็นความรู้ในตัวจากประสบการณ์ตรง

แต่ครูไม่สามารถสอนในรูปแบบนี้ได้เพราะครูสอนไม่เป็น
แต่ชาวบ้านสามารถสอนได้
เพราะมันมาจากความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน
แต่นั่นการที่ครูจะสอนจากประสบการณ์ตรง
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงก็มีวิธีง่ายๆ นิดเดียวคือ
การสอนศีลธรรมพื้นฐานให้แก่เด็กพร้อมกับ
จัดประเภทของความรู้ในตัวคนให้ด้วย
เพราะเราแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนกับความรู้ที่อยู่ในตำรา
ทั้งสองอย่างมีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่
แต่ต้องวางความสัมพันธ์ให้ถูกต้อง
ที่ผ่านมาเราวางความสัมพันธ์ไม่ถูกต้อง

เพราะความรู้ที่อยู่ในตัวคนได้จากประสบการณ์
ได้จากการทำงาน เช่น เราใช้ตำราทำกับข้าวเล่มเดียวกัน
เราก็จะได้สูตรเหมือนๆ กัน
แต่เคล็ดลับความรู้ของแต่ละคนที่อยู่ในตัว
ก็อาจทำให้รสชาติอาหารแตกต่างกันไป
ซึ่งนั่นเป็นความรู้ในตัวคน

...หากเราจะเอาความรู้ที่อยู่ในตัวคนเป็นฐาน
ความรู้ในตำราประกอบ มาปรับแต่ง มาต่อยอด
ก็จะเป็นการจัดความสัมพันธ์ของความรู้ที่ส่งเสริมทุกคน
เพราะถ้าเราถือความสำคัญของความรู้ของคน
คนทุกคนจะกลายเป็นคนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ
แต่ถ้าเราเอาความรู้ในตำราเป็นตัวตั้ง
คนส่วนใหญ่จะไม่มีเกียรติ
เหมือนชาวบ้านไม่มีเกียรติ
ไม่มีศักดิ์ศรี เพราะมีคนจำนวนน้อยที่จะรู้คล่องแคล่วในตำรา

....เราไม่ควรปฏิเสธความรู้ทั้งสองด้าน
แต่เราควรจัดความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงให้เหมาะสม
ซึ่งจะทำให้เกิดผลในแง่บวกต่อสังคมได้ เพราะฉะนั้น
การจัดการความรู้คือรูปธรรมของการเคารพความรู้ที่มีในตัวคน
ฉะนั้น การจัดการความรู้ก็คือศีลธรรม
เป็นศีลธรรมพื้นฐานที่เราควรจะส่งเสริมให้คนทุกคนมีเกียรติ
มีศักดิ์ศรี มีความภูมิใจและมั่นใจในตัวเอง
แต่หากเราเอาความรู้ในตำราเป็นฐาน
คนจะขาดความมั่นใจ ซึ่งจุดนี้เองจะเป็นพลังทางศีลธรรม
ที่จะเข้ามาปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข

การศึกษาปัจจุบันนี้ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นคนไม่เก่ง
มีคนอยู่ไม่กี่คนที่ได้ชื่อว่าเป็นคนเก่ง
เพราะว่าท่องสูตรเก่ง ตอบเก่ง ได้คะแนนสูง
ก็เป็นคนเก่ง นอกนั้นเป็นคนไม่เก่ง
แต่อันที่จริงแล้วต้องถือว่าทุกคนมีความเก่ง
แต่จะเก่งในคนละด้านที่ต่างกันไป

....ความรู้ในตัวคนทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรี
แต่การจัดการความรู้ช่วยไปเสริมกระบวนการธรรมชาติ
ให้มีการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยน
มีการงอกงามไปตามธรรมชาติ มีการหยั่งลึก
มีการฟังอย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะทำให้เรารู้ความหมายภายในของคนคนนั้น
แต่ถ้าเป็นการฟังแบบตื้นๆ จะเป็นการรู้แบบ "รู้เปรี้ยง ทำเปรี้ยง"
อย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันในสังคม เป็นอารมณ์
เป็นเหยื่อของกิเลสเข้ามาก็ดี ซึ่งคนเยอรมันได้สร้างทฤษฎีตัวยู
คือการได้รับรู้อะไรมากอย่าเพิ่งตัดสิน
ให้แขวนความรู้นั้นไว้ก่อน และนำมาพินิจพิจารณา สงบ และมีสติ
แล้วก็จะเกิดปัญญา
เมื่อเราเกิดปัญญาแล้วจะสามารถเชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน อนาคต
ทำให้เห็นอนาคต และกลับไปพิจารณาอดีตปัจจุบัน
ด้วยกระบวนการทางปัญญา

ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ใครพูดอะไรอย่าเพิ่งรับ
อย่าเพิ่งปฏิเสธ ให้แขวนไว้ก่อน หรือพิจารณาอย่างลึกซึ้ง
มีสติ ก็จะทำให้ปัญญาเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นวิธีการทางบวกที่เรามองความสำเร็จ
ทำให้เกิดพลังเพิ่มขึ้น และไม่เริ่มต้นจากความทุกข์
เมื่อเราพูดว่าทุกข์มาก ความทุกข์ก็จะท่วม
แล้วเกิดการทะเลาะกัน เจริญธรรมะ 4 ประกา
คือการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า interactive learning
แต่ตามปกติมนุษย์จะไม่เรียนรู้ร่วมกัน มีการเกลียดกันบ้าง

ดังนั้น การที่จะเรียนรู้ร่วมกันต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน
เปิดเผยต่อกัน มีความจริงใจต่อกัน และมีความไว้วางใจกันได้
ซึ่งจะมีความสุขมโหฬาร ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติ
ถือเป็นหัวใจของการจัดการความรู้ถักทอ
ไปสู่โครงสร้างใหม่ขององค์กรและสังคม
มีทั้งแบบใช้อำนาจและแบบตัวใครตัวมัน
แต่การจัดการความรู้ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างคนกับคน
คนกับกลุ่มคน กลุ่มคนกับกลุ่มคน
ซึ่งจะทำให้เกิดโครงสร้างใหม่ขึ้นในองค์กรและสังคม
การเจริญสติในการกระทำหรือการรู้ตัว การทำอะไร
และฟังอย่างเงียบนิ่ง จะเป็นการเจริญสติ
เมื่อเข้าใจและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
จะทำให้เป็นการเจริญสติ ซึ่งพระพุทธเจ้าเรียกว่าเอกะมรรคโค
เป็นธรรมอันเอก และถ้าใครเจริญสติ
ก็จะรู้ว่ามันมีประโยชน์มากมายทุกๆ ประการ
เพราะฉะนั้น ประชาคมจัดการความรู้ควรจะสนใจตรงนี้
ว่าควรจะเจริญสติในการทำงาน

หากเราพูดถึงเสรีภาพของระบบ มันจะพูดถึงเสรีภาพของบุคคล
พูดถึงบุคคลกับจิตก็ต้องมีระบบอีก เหมือนรถยนต์ ถ้าส่วนต่างๆ
มีเสรีภาพมันก็ไม่มีเสรีภาพของรถยนต์
ฉะนั้นทุกส่วนต้องเชื่อมโยงกันอย่างถูกต้อง
ซึ่งจะทำให้ระบบทั้งหมดมีเสรีภาพและรถพุ่งไปได้ฉิว

ฉะนั้น หากเราไม่ระวังเราจะไปติดในเสรีภาพส่วนบุคคล
ทำให้เกิดการตีตรา ดังนั้น กระบวนการจัดการความรู้
เราควรจะมองทั้งหมดให้เชื่อมโยงกัน
ขณะที่การพัฒนาในโลกนี้ก็พัฒนาแบบแยกส่วนกัน
ดังนั้น จะต้องครบและเชื่อมโยงกัน บูรณาการ
มีทั้งทางกาย ทางจิต วัตถุ สังคม และปัญญา
เราพัฒนาวัตถุไปอย่างที่เราเห็น
ขาดการพัฒนาทางจิต ทางสังคม ทางปัญญา
ซึ่งด้านร่างกายและวัตถุ
ก็จะมีเรื่องสุขภาพและทักษะความสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อม
มีการเคารพคนอื่น มีเมตตา มีความมั่นใจ
มีสติ เรื่องสังคม และการดูแลศีลธรรมพื้นฐาน
ร่วมคิดร่วมทำและการปรับโครงสร้างทางสังคมแนวดิ่ง
สู่เครือข่ายไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันด้วยสันติ
มีการนึกถึงคนอื่น
การเข้าถึงธรรมชาติที่ไม่ใช้อำนาจใช้การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ
นำทั้งหมดมาบูรณาการจัดการความรู้
เพราะทุกวันนี้เราไม่มีแบบนี้

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาการวิจัย เราทำกันอย่างแยกส่วน

จึงกล่าวได้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการปลดปล่อยมนุษย์
ไปสู่ศักยภาพเสรีภาพ และความสุข และไปสู่การยกระดับ
ไปสู่จิตสำนึกใหม่ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน(transformation)
ที่นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ร่วมกันได้"